ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผย สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าในไทยไม่น่าวางใจ ปีนี้มีประชากรตายจากโรคนี้แล้ว 13 ราย ใน 11 จังหวัด ส่วนใหญ่ถูกลูกสุนัขวัย 2-3 เดือนกัด เร่งให้ทุกจังหวัดเผยแพร่ความรู้ประชาชนเพื่อป้องกัน ด้านอธิบดีกรมควบคุมโรค ชี้ ต้นเหตุเสียชีวิต เพราะชะล่าใจ ชาวบ้านยังไม่เชื่อว่าลูกสุนัขมีเชื้อ

นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในปี 2549 ได้รับรายงานว่า มีประชาชนทั้งประเทศเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า 13 ราย จาก 11 จังหวัด ได้แก่ ระยอง ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร สงขลา ราชบุรี เชียงใหม่ สมุทรสงคราม สมุทรปราการ นครศรีธรรมราช สุรินทร์ และรายล่าสุดที่ จ.สระแก้ว แม้ว่าโรคนี้จะมีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2543 ลดจาก 50 ราย เหลือ 19 ราย ในปี 2547 ก็ตาม จึงขอแนะให้ประชาชนทุกคนที่ถูกสุนัขกัด หรือถูกสุนัขเลียแผล อย่าชะล่าใจ อย่าดูแลแผลเองเด็ดขาด ควรไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกัน หากปล่อยให้มีอาการป่วย จะเสียชีวิตทุกราย เนื่องจากไม่มียารักษา แต่มีวัคซีนป้องกันได้ ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขทั่วประเทศ เร่งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนในการดูแลสุนัขที่เลี้ยง ซึ่งตามข้อมูลกรมปศุสัตว์ คาดว่า มีไม่ต่ำกว่า 6 ล้านตัว ให้นำไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกปี
ด้าน นพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่มีชื่อว่า เรบีส์(Rabies Virus) ในประเทศไทยกว่า ร้อยละ 90 เกิดจากสุนัข เมื่อเชื้อเข้าบาดแผลไม่ว่าสัตว์หรือคน เชื้อจะเดินทางไปตามเส้นประสาท เข้าสู่สมอง เชื้อมีระยะฟักตัวเฉลี่ยประมาณ 3 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน อาการจะปรากฏเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับบาดแผล หากบาดแผลใหญ่ทำให้เชื้อมีโอกาสเข้าสู่ร่างกายได้ปริมาณมาก รวมทั้งตำแหน่งที่ถูกกัด หากอยู่ใกล้สมอง หรือจุดที่มีปลายประสาทมาก เช่น ที่ปลายเท้า ปลายมือ ที่ใบหน้า ลำคอ เชื้อจะเข้าสู่สมองได้เร็ว หากไม่ฉีดวัคซีนมันมีหลังถูกกัด ก็อาจจะป้องกันไม่ทัน
อาหารของโรคนี้จะเริ่มจากมีไข้ต่ำๆ เจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ต่อมาจะคัน มักจะคันที่บาดแผล แสบๆ ร้อนๆ บางรายคันมาก และมีอาการทางประสาท พูดจ้าเพ้อเจ้อ ตาเบิกโพลง ซึ่งอาการนี้ชาวบ้านบางคนเข้าใจผิดนึกว่าเป็นโรคจิตหรือผีเข้า บางคนพาคนป่วยไปพึ่งวิธีไสยศาสตร์ เพื่อปัดเป่าตามความเชื่อ สุดท้ายก็เสียชีวิต
นพ.ธวัช กล่าวอีกว่า จากการติดตามประวัติของผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า มีทุกเพศทุกวัย เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง แต่ผู้ถูกกัดส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็ก 5-9 ปี ซึ่งเด็กวัยนี้กำลังซุกซน โดยรายที่เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าส่วนใหญ่ถูกลูกสุนัขวัย 2-3 เดือนที่มีเชื้อกัด หรืออาจแค่ถูกเลีย น้ำลายเข้าตามรอยแผล รอยถลอกก็ได้ แต่เด็กมักไม่ค่อยบอกพ่อแม่ หรือบอกแต่ประชาชนมักจะไม่ค่อยให้ความสนใจ เนื่องจากเชื่อว่าลูกสุนัขไม่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งแท้ที่จริงนั้นไม่ว่าจะเป็นลูกสุนัข หรือสุนัขที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า มีสิทธิเป็นโรคนี้ได้ทั้งสิ้น จึงแนะนำให้ประชาชนทุกรายที่ถูกสุนัขกัด หรือถูกสุนัขที่ไม่ทราบประวัติว่าฉีดวัคซีนหรือไม่กัด ขอให้รีบล้างชำระบาดแผลด้วยน้ำสะอาด และฟอกสบู่หลายๆ ครั้ง เพื่อขจัดเชื้ออกจากบาดแผลโดยเร็วที่สุด และรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว ซึ่งขณะนี้มีวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ฉีดเพียง 5 เข็ม ไม่ต้องฉีดรอบสะดือ เหมือนแต่ก่อนแล้ว
สำหรับการป้องกันไม่ให้สุนัขกัด ขอให้ประชาชนยึดหลัก 5 ย.คือ อย่าแหย่สุนัข อย่าเหยียบหางสุนัข อย่าเข้าไปแยกสุนัขขณะกำลังกัดกัน อย่าหยิบขณะสุนัขกำลังกินอาหาร และอย่าให้เด็กเข้าไปยุ่งกับสุนัข โดยเฉพาะผู้ที่เลี้ยงสุนัข ควรพาลูกสุนัขไปฉีดวัคซีน เมื่ออายุได้ 2-4 เดือนทุกปี หากเป็นลูกสุนัขที่คลอดจากแม่ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนมาก่อน ให้พาไปฉีดวัคซีนเมื่ออายุ 2 เดือน และฉีดซ้ำอีก 1 เข็ม เมื่ออายุ 3 เดือน
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในปี 2549 ได้รับรายงานว่า มีประชาชนทั้งประเทศเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า 13 ราย จาก 11 จังหวัด ได้แก่ ระยอง ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร สงขลา ราชบุรี เชียงใหม่ สมุทรสงคราม สมุทรปราการ นครศรีธรรมราช สุรินทร์ และรายล่าสุดที่ จ.สระแก้ว แม้ว่าโรคนี้จะมีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2543 ลดจาก 50 ราย เหลือ 19 ราย ในปี 2547 ก็ตาม จึงขอแนะให้ประชาชนทุกคนที่ถูกสุนัขกัด หรือถูกสุนัขเลียแผล อย่าชะล่าใจ อย่าดูแลแผลเองเด็ดขาด ควรไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกัน หากปล่อยให้มีอาการป่วย จะเสียชีวิตทุกราย เนื่องจากไม่มียารักษา แต่มีวัคซีนป้องกันได้ ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขทั่วประเทศ เร่งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนในการดูแลสุนัขที่เลี้ยง ซึ่งตามข้อมูลกรมปศุสัตว์ คาดว่า มีไม่ต่ำกว่า 6 ล้านตัว ให้นำไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกปี
ด้าน นพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่มีชื่อว่า เรบีส์(Rabies Virus) ในประเทศไทยกว่า ร้อยละ 90 เกิดจากสุนัข เมื่อเชื้อเข้าบาดแผลไม่ว่าสัตว์หรือคน เชื้อจะเดินทางไปตามเส้นประสาท เข้าสู่สมอง เชื้อมีระยะฟักตัวเฉลี่ยประมาณ 3 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน อาการจะปรากฏเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับบาดแผล หากบาดแผลใหญ่ทำให้เชื้อมีโอกาสเข้าสู่ร่างกายได้ปริมาณมาก รวมทั้งตำแหน่งที่ถูกกัด หากอยู่ใกล้สมอง หรือจุดที่มีปลายประสาทมาก เช่น ที่ปลายเท้า ปลายมือ ที่ใบหน้า ลำคอ เชื้อจะเข้าสู่สมองได้เร็ว หากไม่ฉีดวัคซีนมันมีหลังถูกกัด ก็อาจจะป้องกันไม่ทัน
อาหารของโรคนี้จะเริ่มจากมีไข้ต่ำๆ เจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ต่อมาจะคัน มักจะคันที่บาดแผล แสบๆ ร้อนๆ บางรายคันมาก และมีอาการทางประสาท พูดจ้าเพ้อเจ้อ ตาเบิกโพลง ซึ่งอาการนี้ชาวบ้านบางคนเข้าใจผิดนึกว่าเป็นโรคจิตหรือผีเข้า บางคนพาคนป่วยไปพึ่งวิธีไสยศาสตร์ เพื่อปัดเป่าตามความเชื่อ สุดท้ายก็เสียชีวิต
นพ.ธวัช กล่าวอีกว่า จากการติดตามประวัติของผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า มีทุกเพศทุกวัย เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง แต่ผู้ถูกกัดส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็ก 5-9 ปี ซึ่งเด็กวัยนี้กำลังซุกซน โดยรายที่เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าส่วนใหญ่ถูกลูกสุนัขวัย 2-3 เดือนที่มีเชื้อกัด หรืออาจแค่ถูกเลีย น้ำลายเข้าตามรอยแผล รอยถลอกก็ได้ แต่เด็กมักไม่ค่อยบอกพ่อแม่ หรือบอกแต่ประชาชนมักจะไม่ค่อยให้ความสนใจ เนื่องจากเชื่อว่าลูกสุนัขไม่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งแท้ที่จริงนั้นไม่ว่าจะเป็นลูกสุนัข หรือสุนัขที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า มีสิทธิเป็นโรคนี้ได้ทั้งสิ้น จึงแนะนำให้ประชาชนทุกรายที่ถูกสุนัขกัด หรือถูกสุนัขที่ไม่ทราบประวัติว่าฉีดวัคซีนหรือไม่กัด ขอให้รีบล้างชำระบาดแผลด้วยน้ำสะอาด และฟอกสบู่หลายๆ ครั้ง เพื่อขจัดเชื้ออกจากบาดแผลโดยเร็วที่สุด และรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว ซึ่งขณะนี้มีวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ฉีดเพียง 5 เข็ม ไม่ต้องฉีดรอบสะดือ เหมือนแต่ก่อนแล้ว
สำหรับการป้องกันไม่ให้สุนัขกัด ขอให้ประชาชนยึดหลัก 5 ย.คือ อย่าแหย่สุนัข อย่าเหยียบหางสุนัข อย่าเข้าไปแยกสุนัขขณะกำลังกัดกัน อย่าหยิบขณะสุนัขกำลังกินอาหาร และอย่าให้เด็กเข้าไปยุ่งกับสุนัข โดยเฉพาะผู้ที่เลี้ยงสุนัข ควรพาลูกสุนัขไปฉีดวัคซีน เมื่ออายุได้ 2-4 เดือนทุกปี หากเป็นลูกสุนัขที่คลอดจากแม่ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนมาก่อน ให้พาไปฉีดวัคซีนเมื่ออายุ 2 เดือน และฉีดซ้ำอีก 1 เข็ม เมื่ออายุ 3 เดือน