เอแบคโพลล์ เผยผลสำรวจดัชนีความสุขของคนไทยในเดือนกรกฎาคม ลดลงจาก 9.21 เดือนมิถุนายน เหลือ 7.29 จากปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ รวมถึงปัญหาด้านคมนาคม สิ่งแวดล้อม สาธารณูปโภค และชุมชน แต่ประชาชนเกินกว่าร้อยละ 90 ยังมีความสุขกับการเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติ 60 ปี และโครงการพระราชดำริ
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่องรายงานดัชนีความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness Index) ของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนกรกฎาคม : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชน 26 จังหวัด จำนวน 4,533 คน ระหว่างวันที่ 1 – 12 สิงหาคม 2549 พบว่า ดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศลดลงจาก 9.21 ในเดือนมิถุนายน มาอยู่ที่ 7.29 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความสุขมวลรวมของคนไทยลดลง คือ ความทุกข์ใจของประชาชนต่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้น ในขณะที่ดัชนีความสุขของคนไทยเรื่องการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระจากคะแนน -5 ถึง +5 อยู่ที่ -1 สภาวะเศรษฐกิจอยู่ที่ -2 และสภาพแวดล้อมที่พักอาศัญอยู่ที่ 0 ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์ไม่น่าพอใจกลายเป็นปัจจัยร่วมในการฉุดให้ความสุขของคนไทยลดต่ำลง
นายนพดล กล่าวอีกว่า จุดที่น่าเป็นห่วงต่อความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศ คือ ความสุขด้านสภาพแวดล้อมลดลง เช่น ด้านคมนาคม ถนนหนทาง ลดลงจากร้อยละ 76.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 47.6 ด้านสิ่งแวดล้อมทางน้ำ อากาศ ดิน ลดลงจากร้อยละ 73.1 เหลือร้อยละ 53.4 ด้านการบริการไฟฟ้า ลดลงจากร้อยละ 60.8 เหลือร้อยละ 43.4 ด้านน้ำประปาแหล่งน้ำกินน้ำใช้ ลดลงจากร้อยละ 45.7 เหลือร้อยละ 37.4 และความสุขด้านสภาพชุมชนที่พักอาศัยลดลง ได้แก่ ความสุขเรื่องการช่วยเหลือกันและกันของคนในชุมชน ปัญหายาเสพติด และการแก้ปัญหาอาชญากรรมในชุมชน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดความสุขคนไทยประจำเดือนกรกฎาคมมีหลายตัวที่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก ได้แก่ ความสุขด้านวัฒนธรรมประเพณีไทย ที่พบว่าคนไทยเกินกว่าร้อยละ 90 ยังคงมีความสุขกับการเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความปลื้มปีติโครงการพระราชดำริของพระองค์ และสุขภาพกาย สุขภาพใจ พบว่าคนไทยส่วนใหญ่มีความสุขต่อความเพียงพอของปัจจัย 4 มีความสุขด้านศีลธรรม พึ่งพาหลักคำสอนทางศาสนา
นอกจากนี้ เมื่อวัดดัชนีการปฏิบัติจริงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ประชาชนมีพฤติกรรมและทัศนคติขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงหลายประการ เช่น คิดอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ ซื้อมาแล้วพบว่าไม่ค่อยได้ใช้งานอย่างเต็มที่ กลุ่มตัวอย่างยังคิดว่าการแข่งขันแย่งชิงผลประโยชน์ทางธุรกิจสู่ชัยชนะเป็นเรื่องปกติธรรมดา คิดว่าการทุจริตคอร์รัปชันเป็นเรื่องปกติธรรมดา เป็นต้น แนวทางแก้ไข คือ ควรปลูกฝังคนไทยตระหนักและได้หลักการใช้ชีวิตพอเพียงที่นำไปปฏิบัติได้จริงอย่างกว้างขวาง
“ความสุขมวลรวมของคนไทยประจำเดือนกรกฎาคม ขึ้นอยู่กับความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความจงรักภักดีและความรักความสามัคคีของคนในชาติ อย่างไรก็ตาม น่าแปลกใจมากสำหรับผลการวิเคราะห์ทางสถิติที่พบว่าเรื่องการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ กลายเป็นปัจจัยในอันดับท้ายๆ ที่มีผลต่อความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำในการสำรวจล่าสุดครั้งนี้” นายนพดล กล่าว
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจเรื่องรายงานดัชนีความสุขมวลรวม (Gross Domestic Happiness Index) ของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนกรกฎาคม : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชน 26 จังหวัด จำนวน 4,533 คน ระหว่างวันที่ 1 – 12 สิงหาคม 2549 พบว่า ดัชนีความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศลดลงจาก 9.21 ในเดือนมิถุนายน มาอยู่ที่ 7.29 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความสุขมวลรวมของคนไทยลดลง คือ ความทุกข์ใจของประชาชนต่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มขึ้น ในขณะที่ดัชนีความสุขของคนไทยเรื่องการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระจากคะแนน -5 ถึง +5 อยู่ที่ -1 สภาวะเศรษฐกิจอยู่ที่ -2 และสภาพแวดล้อมที่พักอาศัญอยู่ที่ 0 ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์ไม่น่าพอใจกลายเป็นปัจจัยร่วมในการฉุดให้ความสุขของคนไทยลดต่ำลง
นายนพดล กล่าวอีกว่า จุดที่น่าเป็นห่วงต่อความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศ คือ ความสุขด้านสภาพแวดล้อมลดลง เช่น ด้านคมนาคม ถนนหนทาง ลดลงจากร้อยละ 76.3 มาอยู่ที่ร้อยละ 47.6 ด้านสิ่งแวดล้อมทางน้ำ อากาศ ดิน ลดลงจากร้อยละ 73.1 เหลือร้อยละ 53.4 ด้านการบริการไฟฟ้า ลดลงจากร้อยละ 60.8 เหลือร้อยละ 43.4 ด้านน้ำประปาแหล่งน้ำกินน้ำใช้ ลดลงจากร้อยละ 45.7 เหลือร้อยละ 37.4 และความสุขด้านสภาพชุมชนที่พักอาศัยลดลง ได้แก่ ความสุขเรื่องการช่วยเหลือกันและกันของคนในชุมชน ปัญหายาเสพติด และการแก้ปัญหาอาชญากรรมในชุมชน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดความสุขคนไทยประจำเดือนกรกฎาคมมีหลายตัวที่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก ได้แก่ ความสุขด้านวัฒนธรรมประเพณีไทย ที่พบว่าคนไทยเกินกว่าร้อยละ 90 ยังคงมีความสุขกับการเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความปลื้มปีติโครงการพระราชดำริของพระองค์ และสุขภาพกาย สุขภาพใจ พบว่าคนไทยส่วนใหญ่มีความสุขต่อความเพียงพอของปัจจัย 4 มีความสุขด้านศีลธรรม พึ่งพาหลักคำสอนทางศาสนา
นอกจากนี้ เมื่อวัดดัชนีการปฏิบัติจริงตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ประชาชนมีพฤติกรรมและทัศนคติขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงหลายประการ เช่น คิดอยากจะซื้ออะไรก็ซื้อ ซื้อมาแล้วพบว่าไม่ค่อยได้ใช้งานอย่างเต็มที่ กลุ่มตัวอย่างยังคิดว่าการแข่งขันแย่งชิงผลประโยชน์ทางธุรกิจสู่ชัยชนะเป็นเรื่องปกติธรรมดา คิดว่าการทุจริตคอร์รัปชันเป็นเรื่องปกติธรรมดา เป็นต้น แนวทางแก้ไข คือ ควรปลูกฝังคนไทยตระหนักและได้หลักการใช้ชีวิตพอเพียงที่นำไปปฏิบัติได้จริงอย่างกว้างขวาง
“ความสุขมวลรวมของคนไทยประจำเดือนกรกฎาคม ขึ้นอยู่กับความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความจงรักภักดีและความรักความสามัคคีของคนในชาติ อย่างไรก็ตาม น่าแปลกใจมากสำหรับผลการวิเคราะห์ทางสถิติที่พบว่าเรื่องการเมือง-รัฐบาล-องค์กรอิสระ กลายเป็นปัจจัยในอันดับท้ายๆ ที่มีผลต่อความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศประจำในการสำรวจล่าสุดครั้งนี้” นายนพดล กล่าว