กว่าหนึ่งสัปดาห์มาแล้วที่บรรยากาศในโรงพยาบาลศิริราชเนืองแน่นและคลาคล่ำไปด้วยพสกนิกรชาวไทยจากทั่วทุกสารทิศซึ่งพร้อมใจและร่วมใจสวมใส่เสื้อเหลืองเพื่อลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เสด็จพระราชดำเนินเข้ารับการถวายการรักษาพระปิฐิกัณฐกัฐิ(กระดูกสันหลัง) และเฝ้าติดตามความคืบหน้าของพระอาการอย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ นับจากวันแรกจนถึงเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคมที่ผ่านมามีผู้มาลงนามถวายพระพรแล้วทั้งสิ้น 405,914 คน
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สร้างความปลาบปลื้มใจให้แก่พสกนิกรเป็นล้นพ้น นอกเหนือจากข่าวที่สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์ในทุกๆ วันว่า พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวมีพระอาการดีขึ้นเป็นลำดับ และการได้ชื่นชมพระบารมีของพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์แล้ว ก็คือ พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถที่พระราชทานอาหารเลี้ยงประชาชนที่มาเข้าเฝ้าฯ ซึ่งที่ประชาชนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ถือเป็นบุญที่ครั้งหนึ่งในชีวิตที่ได้ลิ้มรส “อาหารพระราชทาน”
สำหรับอาหารพระราชทานที่ได้พระราชทานแจกจ่ายให้แก่ประชาชนนั้น มีหลายหลากชนิดด้วยกัน อาทิ ข้าวหน้าไก่ ก๋วยเตี๋ยวหมู ก๋วยเตี๋ยวน่องไก่ ข้าวหน้าเป็ด กระเพาะปลาฯลฯ อาหารเหล่านี้โดยมากมาจากร้านรวงต่างๆ ที่หลายครั้งหลายคราได้มีโอกาสประกอบอาหารขึ้นโต๊ะเสวยถวายพระองค์ท่าน
“ผู้จัดการรายวัน” ขออาสาและพาไปรู้จักบรรดาร้านอาหารเหล่านั้นว่า มีประวัติ ความเป็นมาและเมนูเด็ดอันเป็นที่มาของความอร่อยกันอย่างไรบ้าง.....
ก๋วยเตี๋ยวหมูต้มยำโบราณ ร้านนายทองสุข
ร้านแรกที่จะพาไปรู้จักกันก็คือ “ร้านนายทองสุข” ร้านดังย่านตลาดน้ำวัดศาลเจ้า (วัดมะขาม)จ.ปทุมธานีที่ขึ้นชื่อด้วยสุดยอดเมนูที่มีชื่อว่า “ก๋วยเตี๋ยวหมูต้มยำโบราณ”
สมชาย มงคลปทุมรัตน์ วัย 34 ปี เจ้าของร้านนายทองสุก เล่าว่า ร้านแห่งนี้มีประวัติยาวนานกว่า 46 ปี ตั้งแต่รุ่นพ่อ-แม่ ร่วมกันสร้างขึ้นมา โดยเมนูประจำร้านที่ได้รับความนิยมอย่างมากก็จะเป็นเมนูที่ได้มาทำเลี้ยงที่โรงพยาบาลศิริราช คือ ก๋วยเตี๋ยวหมูต้มยำโบราณ จำนวน 800 ชาม ซึ่งในวันนั้นทางร้านใช้เนื้อหมูในการทำถึง 60 กิโลกรัมเลยทีเดียว
“ก๋วยเตี๋ยวหมูต้มยำโบราณของเราจะมีรสชาติกลมกล่อม มีดีที่กุ้งแห้งตัวโตสดใหม่ น้ำต้มกระดูกหมู หัวไชเท้า หอมหวาน และราคาไม่แพง”
สมชายเล่าอีกว่า ครั้งหนึ่งทางร้านได้เคยจัดถวายที่วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และอีกหลายครั้งที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วังศุโขทัย ส่วนล่าสุดสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ มีรับสั่งให้จัดเลี้ยงประชาชนที่วัดยานนาวา
“ร้านของเราทำงานถวายพระองค์ท่านมานาน 7-8 ปี แล้ว ดีใจที่มีโอกาสได้ถวายงาน และทรงโปรดอาหารที่ประชาชนธรรมดาอย่างพวกเราทำ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะโปรดบะหมี่น้ำจืดๆ เป็นอย่างมาก”สมชายพูดด้วยสีหน้าแช่มชื่น

บะหมี่เกี้ยว ร้านบุญเลิศ
ถัดจากก๋วยเตี๋ยวหมูโบราณแห่งเมืองปทุม ก็มาถึงอีกร้านที่มีรสชาติอร่อยไม่แพ้ใคร นั่นก็คือ “ร้านบุญเลิศ” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณปากซอยสวรรค์ 8 ตลาดนางเลิ้ง กรุงเทพมหานครที่มีเมนูอาหารชื่อดังหลายต่อหลายอย่าง เช่น บะหมี่เกี้ยว ข้าวหมูแดง ก๋วยเตี๋ยวเป็ด เป็นต้น
สิริรัตน์ โชติเกียรติ อายุ 35 ปี เจ้าของร้าน บอกกว่า ทางร้านได้มาเปิดเมนูให้บริการกับประชาชนที่มาเข้าเฝ้าติดตามพระอาการและลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาติดต่อกันหลายวันแล้ว โดยสลับสับเปลี่ยนรายการอาหารที่แตกต่างกันไป เช่น บะหมี่เกี๊ยว ข้าวหมูแดง ข้าวหมูกรอบ ก๋วยเตี๋ยวเป็ด
ทั้งนี้ เมนูอาหารของร้านบุญเลิศมีค่อนข้างหลากหลาย แต่ที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็น “บะหมี่เกี๊ยว”
“หมูที่เราใช้ทำก๋วยเตี๋ยวเป็นหมูย่างซีอิ๊วอย่างดี ไม่ใช้หมูที่ย้อมสีแดง ส่วนเส้นบะหมี่มีความเหนียวนุ่ม กลมกล่อม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชอบบะหมี่เกี้ยวเป็นอย่างมาก”
“ครั้งแรกที่ประกอบอาหารถวายจำได้ไม่มีลืม วันนั้นคนในวังสั่งให้จัดอาหารใส่ถาดรับประทานแบบบุพเฟ่ต์ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน โดยมารู้ที่หลังว่าคนในวังได้รับประทานแล้วติดใจและมีการบอกต่อๆ กัน ตนเองรู้สึกดีใจที่พระองค์ท่านโปรดอาหารที่พวกเราทำ”สิริรัตน์เล่าด้วยความดีใจ
ข้าวหน้าไก่ ร้านเกษมสุข
สำหรับร้านที่ 3 ที่ไม่อาจไม่กล่าวถึงได้ก็คือ “ข้าวหน้าไก่” จากร้านเกษมสุข ย่านสามแยกพิชัย กรุงเทพมหานคร
ศักดิ์ชัย นราวดี เจ้าของร้านเกษมสุข เล่าว่า ร้านเกษมสุขเปิดให้บริการมานานเป็น 20 ปีแล้ว โดยที่ร้านมีอาหารหลายหลายอย่าง ทั้งข้าวหมูอบ ข้าวหน้าเป็ด ข้าวหน้าไก่ ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า เป็ดย่าง ฯลฯ ทุกอย่างมีรสชาติอร่อยกลมกล่อมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
“เมื่อก่อนพระองค์ท่านจะรับสั่งเลี้ยงอาหารประชาชนซึ่งเปรียบเสมือนแขกในงานขอบ่อยๆ รวมทั้งประกอบอาหารถวายก็บ่อย แต่เดี๋ยวนี้ไม่บ่อยเพราะพระองค์ท่านมักประทับที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน แต่ก็เคยตามไปทำถวายขึ้นโต๊ะเสวยที่นั่นเหมือนกัน”
ก๋วยเตี๋ยวหมูน้ำตก ร้านลุงเกิน
ร้านที่สี่ก็เป็นอีกร้านหนึ่งที่มีความน่าสนใจไม่น้อย นั่นก็คือ “ก๋วยเตี๋ยวหมูน้ำตก” จากร้านลุงเกิน
เกิด ชมโคกกรวด อายุ 60 ปี เจ้าของต้นตำรับก๋วยเตี๋ยวหมูน้ำตก บอกว่า พื้นเพเป็นชาวโคราช แต่มาตั้งร้านขายอาหารหน้าประตูพระตำหนักสวนจิตรฯ เป็นเวลา 29 ปีแล้ว เหตุที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเมนูพระราชทานในครั้งนี้ได้นั้นเกิดจากข้าราชบริพารของพระองค์ท่านฝ่ายห้องเครื่องซึ่งเป็นลูกค้าประจำของที่ร้านได้แนะนำขึ้นไป เมื่อท่านผู้หญิงอรนุช อิศรางกูร ณ อยุธยา นางสนองพระโอษฐ์ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทราบจึงได้ติดต่อมา

“ตอนที่สำนักพระราชวังติดต่อมาลุงดีใจจนพูดไม่ถูก ปลื้มใจมาก พอติดต่อมาเป็นครั้งที่ 2 ก็ยิ่งทวีความภาคภูมิใจ ปลาบปลื้มมาก เพราะเกิดมาไม่เคยคิดว่าจะได้มารับใช้พระองค์ท่าน ลุงถือว่าลุงเป็นคนต่างจังหวัดเป็นคนธรรมดาคนหนึ่งไม่คิดว่าจะมีโอกาสได้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทอย่างนี้ ทั้งนี้โดยก่อนหน้าที่จะมาเป็นเมนูพระราชทาน ลุงกับป้าเคยนำก๋วยเตี๋ยวไปจัดเลี้ยงให้กับข้าราชบริพารในวังสวนจิตรฯ แล้ว 1 ครั้ง” ลุงเกิดบอกด้วยความตื้นตันใจอย่างหาที่สุดมิได้
สำหรับสูตรเด็ดที่ได้มาเป็น 1 ในเมนูพระราชทาน ลุงเกิด ได้เล่าให้ฟังถึงเคล็ดลับความอร่อยของที่ร้านว่า จะอยู่ที่น้ำซุปข้อกระดูกหมูที่มีไส้ในซึ่งเมื่อต้มแล้วจะหวานมาก อีกทั้งที่ร้านก็ไม่ใส่ผงชูรสเพราะแค่ข้อกระดูกหมูที่มีไส้ในจำนวน 15 กิโลกรัมต่อวันแต่มาที่ร.พ.ศิริราชนี้ใช้ 30 กิโลกรัมเคี่ยวประมาณ 2 ชั่วโมง จนได้ที่ เพียงแค่นี้ก็มีรสชาติหอมหวาน กลมกล่อมแล้ว และเมื่อได้น้ำซุปจากข้อกระดูกหมูที่มีไส้ในก็จะนำมาปรุงอีกครั้งเพื่อทำเป็นน้ำซุปก๋วยเตี๋ยวน้ำตก โดยจะใส่น้ำตาลกรวดเม็ดเล็กๆประมาณ ครึ่งกิโลกรัมกว่าๆ ซอสภูเขาทอง 2 ขวด และอย่าลืมใส่หัวกะทิอีกนิดหน่อยเพื่อช่วยให้น้ำซุปหม้อนี้มีความหอมมันมากยิ่งขึ้น
เมื่อปรุงจนได้ที่แล้วก็จะนำเลือดหมูที่ผ่านกรรมวิธีกำจัดกลิ่นคาวเลือดด้วยการนำตะไคร้ เกลือ มาขยำให้เข้ากับเลือดจนเกิดฟองแล้วนำไปกรองเพื่อให้ได้เลือดที่ปราศจากกลิ่นคาวมาตีในน้ำซุปประมาณ 1 ชั่วโมงเพื่อไม่ให้เกิดเป็นเม็ดและเข้ากับน้ำซุปเป็นเนื้อเดียวจึงจะสามารถนำไปบริการลูกค้าได้
ส่วนเครื่องปรุงต่างๆ ที่ร้านลุงเกิดจะเน้นการทำเองคือ พริกป่นก็จะคั่วและตำเองเพื่อให้รสชาติที่ดีกว่าไปซื้อ พริกน้ำส้มก็ทำเองเช่นกัน และที่ร้านจะไม่ใช้ถั่วลิสงเด็ดขาด ลูกชิ้นหมูที่ใช้จะสั่งจากร้านประจำที่เชื่อถือได้ ส่วนเนื้อหมูก็จะใช้เนื้อสันที่เขาเรียกว่าสันฝรั่งเพราะมันจะมีเนื้อนิ่ม มีความนุ่มมาก โดยก่อนที่จะนำมาใสก๋วยเตี๋ยวให้ลูกค้าได้รับประทานนั้นลุงเกิดบอกว่าจะต้องนำหมูเนื้อสันไปหมักกับโซดาครึ่งขวดต่อหมู 3 กิโลกรัมเพื่อที่เวลาเนื้อหมูสัมผัสกับลิ้นจะทราบถึงความอ่อนนุ่มของเนื้อ แต่ระวังอย่าใส่โซดามากเพราะหากใส่มากเกินไปมันจะไม่เหนียว เนื้อจะเปื่อยเร็ว และอย่าลืมใส่น้ำตาลทรายอีกนิดหน่อยเพื่อให้รสชาติกลมกล่อมขึ้นกว่าเดิม
ลุงเกิด บอกด้วยว่า สำหรับก๋วยเตี๋ยวที่เตรียมปรุงแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่มาลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนี้ทางสำนักพระราชวังได้สั่งมากจำนวน 700 ชาม แต่ตนได้เตรียมมาทั้งหมด 900 ชามโดยส่วนที่เกินตั้งใจทำถวายเป็นพระราชกุศลเพื่อให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายประชวรโดยเร็ว

สำหรับผู้ที่สนใจจะไปรับประทานอาหารที่ร้านลุงเกินของลุงเกิดนั้นสามารถเดินทางเข้ามาชิมอาหารได้ในซอยสุจริต 2 บรรจบกับซอยราชวิถี 32 จะเลือกเข้าทางเส้นไหนก็ได้ หาไม่อยากเพราะอยู่ตรงข้ามประตูใหญ่วังสวนจิตรลดา
ข้าวหมูกระทียม ร้านบัวเทพ
มาถึงอีก 1 เมนูพระราชทานคือ”ข้าวหมูกระเทียม” เจ้าของก็คือบัวเทพ บุนปั๋น อายุ 54 ปี ชาวจังหวัดเชียงใหม่
ป้าบัวเทพ บอกว่า ทำอาหารมาส่งให้แก่ข้าราชบริพารที่มาประจำการที่ร.พ.ศิริราชได้รับประทานตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค.เป็นต้นมา และเริ่มทำแจกจ่ายให้แก่ประชาชนเมื่อวันที่ 24 ก.ค.โดยสาเหตุที่ได้ทำให้ข้าราชบริพารในพระองค์ท่านและประชาชนได้ทานนั้น เนื่องจากเป็นข้าราชบริพารฝ่ายห้องเครื่องของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชา ทินัดดามาตุ ส่วนพระเครื่องต้น
ทั้งนี้ ป้าบัวเทพ ทำงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทของพระบรมวงศานุวงศ์มาตั้งแต่ปี 2520 จนถึงปัจจุบัน สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนหาก นับก็ประมาณ 5-6 รุ่น ซึ่งป้าบัวเทพจะเปิดร้านร่วมกับเพื่อนๆข้าราชบริพารที่อยู่ฝ่ายห้องเครื่องเหมือนกันโดยตั้งร้านอยู่ที่ท่าวาสุกรี แต่จะไม่มีชื่อร้าน และแม่ครัวที่ร้านก็จะสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปแล้วแต่ว่าใครจะออกจากเวรรับใช้เจ้านายแล้ว
สำหรับสูตรเด็ดข้าวหมูกระเทียม ป้าบัวเทพบอกว่า หมูที่ใช้จะเป็นหมูสันหั่นเป็นชิ้นใหญ่ขนาด 3 นิ้วหนาประมาณ 2 มม.จำนวน 80 กิโลกรัม ก่อนที่จะนำไปทอดจะต้องนำไปคลุกเคล้ากับน้ำตาลทรายขาวมิตรผล 1 กิโลกรัม ซีอิ๊วใสตราเด็กสมบูรณ์ พริกไทยประมาณ 20 ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืชจำนวน 4 ถ้วยตรง น้ำมันหอยของแม่ประนอม และไข่ไก่จำนวน 30 ฟอง ให้เข้ากันจากนั้นหมักทิ้งไว้ประมาณ 5 ชั่วโมงจึงนำมาทอด หากผิดจากสูตรนี้จะได้รสชาติที่เพี้ยนไป และเมื่อกินแล้วรสชาติของหมูทอดก็จะนุ่มลิ้นมาก ส่วนกระเทียมจะให้ได้รสชาติดีต้องนำรากผักชี และพริกไทยโขลกรวมกันแล้วนำไปผัดในน้ำมันให้หอมเป็นสีเหลือทอง จึงค่อยนำไปคลุกเคล้ากับหมูที่ผ่านการทอดแล้วอีกครั้งเป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำข้าวหมูกระเทียม
....และทั้งหมดนั้นคือส่วนหนึ่งของเมนูพระราชทาน ที่ยังความปลื้มปีติให้กับผู้ที่ได้รับอย่างหาที่สุดมิได้
ทั้งนี้ นับจากวันแรกจนถึงเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคมที่ผ่านมามีผู้มาลงนามถวายพระพรแล้วทั้งสิ้น 405,914 คน
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สร้างความปลาบปลื้มใจให้แก่พสกนิกรเป็นล้นพ้น นอกเหนือจากข่าวที่สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์ในทุกๆ วันว่า พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวมีพระอาการดีขึ้นเป็นลำดับ และการได้ชื่นชมพระบารมีของพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์แล้ว ก็คือ พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถที่พระราชทานอาหารเลี้ยงประชาชนที่มาเข้าเฝ้าฯ ซึ่งที่ประชาชนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ถือเป็นบุญที่ครั้งหนึ่งในชีวิตที่ได้ลิ้มรส “อาหารพระราชทาน”
สำหรับอาหารพระราชทานที่ได้พระราชทานแจกจ่ายให้แก่ประชาชนนั้น มีหลายหลากชนิดด้วยกัน อาทิ ข้าวหน้าไก่ ก๋วยเตี๋ยวหมู ก๋วยเตี๋ยวน่องไก่ ข้าวหน้าเป็ด กระเพาะปลาฯลฯ อาหารเหล่านี้โดยมากมาจากร้านรวงต่างๆ ที่หลายครั้งหลายคราได้มีโอกาสประกอบอาหารขึ้นโต๊ะเสวยถวายพระองค์ท่าน
“ผู้จัดการรายวัน” ขออาสาและพาไปรู้จักบรรดาร้านอาหารเหล่านั้นว่า มีประวัติ ความเป็นมาและเมนูเด็ดอันเป็นที่มาของความอร่อยกันอย่างไรบ้าง.....
ก๋วยเตี๋ยวหมูต้มยำโบราณ ร้านนายทองสุข
ร้านแรกที่จะพาไปรู้จักกันก็คือ “ร้านนายทองสุข” ร้านดังย่านตลาดน้ำวัดศาลเจ้า (วัดมะขาม)จ.ปทุมธานีที่ขึ้นชื่อด้วยสุดยอดเมนูที่มีชื่อว่า “ก๋วยเตี๋ยวหมูต้มยำโบราณ”
สมชาย มงคลปทุมรัตน์ วัย 34 ปี เจ้าของร้านนายทองสุก เล่าว่า ร้านแห่งนี้มีประวัติยาวนานกว่า 46 ปี ตั้งแต่รุ่นพ่อ-แม่ ร่วมกันสร้างขึ้นมา โดยเมนูประจำร้านที่ได้รับความนิยมอย่างมากก็จะเป็นเมนูที่ได้มาทำเลี้ยงที่โรงพยาบาลศิริราช คือ ก๋วยเตี๋ยวหมูต้มยำโบราณ จำนวน 800 ชาม ซึ่งในวันนั้นทางร้านใช้เนื้อหมูในการทำถึง 60 กิโลกรัมเลยทีเดียว
“ก๋วยเตี๋ยวหมูต้มยำโบราณของเราจะมีรสชาติกลมกล่อม มีดีที่กุ้งแห้งตัวโตสดใหม่ น้ำต้มกระดูกหมู หัวไชเท้า หอมหวาน และราคาไม่แพง”
สมชายเล่าอีกว่า ครั้งหนึ่งทางร้านได้เคยจัดถวายที่วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และอีกหลายครั้งที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วังศุโขทัย ส่วนล่าสุดสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ มีรับสั่งให้จัดเลี้ยงประชาชนที่วัดยานนาวา
“ร้านของเราทำงานถวายพระองค์ท่านมานาน 7-8 ปี แล้ว ดีใจที่มีโอกาสได้ถวายงาน และทรงโปรดอาหารที่ประชาชนธรรมดาอย่างพวกเราทำ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะโปรดบะหมี่น้ำจืดๆ เป็นอย่างมาก”สมชายพูดด้วยสีหน้าแช่มชื่น
บะหมี่เกี้ยว ร้านบุญเลิศ
ถัดจากก๋วยเตี๋ยวหมูโบราณแห่งเมืองปทุม ก็มาถึงอีกร้านที่มีรสชาติอร่อยไม่แพ้ใคร นั่นก็คือ “ร้านบุญเลิศ” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณปากซอยสวรรค์ 8 ตลาดนางเลิ้ง กรุงเทพมหานครที่มีเมนูอาหารชื่อดังหลายต่อหลายอย่าง เช่น บะหมี่เกี้ยว ข้าวหมูแดง ก๋วยเตี๋ยวเป็ด เป็นต้น
สิริรัตน์ โชติเกียรติ อายุ 35 ปี เจ้าของร้าน บอกกว่า ทางร้านได้มาเปิดเมนูให้บริการกับประชาชนที่มาเข้าเฝ้าติดตามพระอาการและลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาติดต่อกันหลายวันแล้ว โดยสลับสับเปลี่ยนรายการอาหารที่แตกต่างกันไป เช่น บะหมี่เกี๊ยว ข้าวหมูแดง ข้าวหมูกรอบ ก๋วยเตี๋ยวเป็ด
ทั้งนี้ เมนูอาหารของร้านบุญเลิศมีค่อนข้างหลากหลาย แต่ที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็น “บะหมี่เกี๊ยว”
“หมูที่เราใช้ทำก๋วยเตี๋ยวเป็นหมูย่างซีอิ๊วอย่างดี ไม่ใช้หมูที่ย้อมสีแดง ส่วนเส้นบะหมี่มีความเหนียวนุ่ม กลมกล่อม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชอบบะหมี่เกี้ยวเป็นอย่างมาก”
“ครั้งแรกที่ประกอบอาหารถวายจำได้ไม่มีลืม วันนั้นคนในวังสั่งให้จัดอาหารใส่ถาดรับประทานแบบบุพเฟ่ต์ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน โดยมารู้ที่หลังว่าคนในวังได้รับประทานแล้วติดใจและมีการบอกต่อๆ กัน ตนเองรู้สึกดีใจที่พระองค์ท่านโปรดอาหารที่พวกเราทำ”สิริรัตน์เล่าด้วยความดีใจ
ข้าวหน้าไก่ ร้านเกษมสุข
สำหรับร้านที่ 3 ที่ไม่อาจไม่กล่าวถึงได้ก็คือ “ข้าวหน้าไก่” จากร้านเกษมสุข ย่านสามแยกพิชัย กรุงเทพมหานคร
ศักดิ์ชัย นราวดี เจ้าของร้านเกษมสุข เล่าว่า ร้านเกษมสุขเปิดให้บริการมานานเป็น 20 ปีแล้ว โดยที่ร้านมีอาหารหลายหลายอย่าง ทั้งข้าวหมูอบ ข้าวหน้าเป็ด ข้าวหน้าไก่ ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า เป็ดย่าง ฯลฯ ทุกอย่างมีรสชาติอร่อยกลมกล่อมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
“เมื่อก่อนพระองค์ท่านจะรับสั่งเลี้ยงอาหารประชาชนซึ่งเปรียบเสมือนแขกในงานขอบ่อยๆ รวมทั้งประกอบอาหารถวายก็บ่อย แต่เดี๋ยวนี้ไม่บ่อยเพราะพระองค์ท่านมักประทับที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน แต่ก็เคยตามไปทำถวายขึ้นโต๊ะเสวยที่นั่นเหมือนกัน”
ก๋วยเตี๋ยวหมูน้ำตก ร้านลุงเกิน
ร้านที่สี่ก็เป็นอีกร้านหนึ่งที่มีความน่าสนใจไม่น้อย นั่นก็คือ “ก๋วยเตี๋ยวหมูน้ำตก” จากร้านลุงเกิน
เกิด ชมโคกกรวด อายุ 60 ปี เจ้าของต้นตำรับก๋วยเตี๋ยวหมูน้ำตก บอกว่า พื้นเพเป็นชาวโคราช แต่มาตั้งร้านขายอาหารหน้าประตูพระตำหนักสวนจิตรฯ เป็นเวลา 29 ปีแล้ว เหตุที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเมนูพระราชทานในครั้งนี้ได้นั้นเกิดจากข้าราชบริพารของพระองค์ท่านฝ่ายห้องเครื่องซึ่งเป็นลูกค้าประจำของที่ร้านได้แนะนำขึ้นไป เมื่อท่านผู้หญิงอรนุช อิศรางกูร ณ อยุธยา นางสนองพระโอษฐ์ ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทราบจึงได้ติดต่อมา
“ตอนที่สำนักพระราชวังติดต่อมาลุงดีใจจนพูดไม่ถูก ปลื้มใจมาก พอติดต่อมาเป็นครั้งที่ 2 ก็ยิ่งทวีความภาคภูมิใจ ปลาบปลื้มมาก เพราะเกิดมาไม่เคยคิดว่าจะได้มารับใช้พระองค์ท่าน ลุงถือว่าลุงเป็นคนต่างจังหวัดเป็นคนธรรมดาคนหนึ่งไม่คิดว่าจะมีโอกาสได้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทอย่างนี้ ทั้งนี้โดยก่อนหน้าที่จะมาเป็นเมนูพระราชทาน ลุงกับป้าเคยนำก๋วยเตี๋ยวไปจัดเลี้ยงให้กับข้าราชบริพารในวังสวนจิตรฯ แล้ว 1 ครั้ง” ลุงเกิดบอกด้วยความตื้นตันใจอย่างหาที่สุดมิได้
สำหรับสูตรเด็ดที่ได้มาเป็น 1 ในเมนูพระราชทาน ลุงเกิด ได้เล่าให้ฟังถึงเคล็ดลับความอร่อยของที่ร้านว่า จะอยู่ที่น้ำซุปข้อกระดูกหมูที่มีไส้ในซึ่งเมื่อต้มแล้วจะหวานมาก อีกทั้งที่ร้านก็ไม่ใส่ผงชูรสเพราะแค่ข้อกระดูกหมูที่มีไส้ในจำนวน 15 กิโลกรัมต่อวันแต่มาที่ร.พ.ศิริราชนี้ใช้ 30 กิโลกรัมเคี่ยวประมาณ 2 ชั่วโมง จนได้ที่ เพียงแค่นี้ก็มีรสชาติหอมหวาน กลมกล่อมแล้ว และเมื่อได้น้ำซุปจากข้อกระดูกหมูที่มีไส้ในก็จะนำมาปรุงอีกครั้งเพื่อทำเป็นน้ำซุปก๋วยเตี๋ยวน้ำตก โดยจะใส่น้ำตาลกรวดเม็ดเล็กๆประมาณ ครึ่งกิโลกรัมกว่าๆ ซอสภูเขาทอง 2 ขวด และอย่าลืมใส่หัวกะทิอีกนิดหน่อยเพื่อช่วยให้น้ำซุปหม้อนี้มีความหอมมันมากยิ่งขึ้น
เมื่อปรุงจนได้ที่แล้วก็จะนำเลือดหมูที่ผ่านกรรมวิธีกำจัดกลิ่นคาวเลือดด้วยการนำตะไคร้ เกลือ มาขยำให้เข้ากับเลือดจนเกิดฟองแล้วนำไปกรองเพื่อให้ได้เลือดที่ปราศจากกลิ่นคาวมาตีในน้ำซุปประมาณ 1 ชั่วโมงเพื่อไม่ให้เกิดเป็นเม็ดและเข้ากับน้ำซุปเป็นเนื้อเดียวจึงจะสามารถนำไปบริการลูกค้าได้
ส่วนเครื่องปรุงต่างๆ ที่ร้านลุงเกิดจะเน้นการทำเองคือ พริกป่นก็จะคั่วและตำเองเพื่อให้รสชาติที่ดีกว่าไปซื้อ พริกน้ำส้มก็ทำเองเช่นกัน และที่ร้านจะไม่ใช้ถั่วลิสงเด็ดขาด ลูกชิ้นหมูที่ใช้จะสั่งจากร้านประจำที่เชื่อถือได้ ส่วนเนื้อหมูก็จะใช้เนื้อสันที่เขาเรียกว่าสันฝรั่งเพราะมันจะมีเนื้อนิ่ม มีความนุ่มมาก โดยก่อนที่จะนำมาใสก๋วยเตี๋ยวให้ลูกค้าได้รับประทานนั้นลุงเกิดบอกว่าจะต้องนำหมูเนื้อสันไปหมักกับโซดาครึ่งขวดต่อหมู 3 กิโลกรัมเพื่อที่เวลาเนื้อหมูสัมผัสกับลิ้นจะทราบถึงความอ่อนนุ่มของเนื้อ แต่ระวังอย่าใส่โซดามากเพราะหากใส่มากเกินไปมันจะไม่เหนียว เนื้อจะเปื่อยเร็ว และอย่าลืมใส่น้ำตาลทรายอีกนิดหน่อยเพื่อให้รสชาติกลมกล่อมขึ้นกว่าเดิม
ลุงเกิด บอกด้วยว่า สำหรับก๋วยเตี๋ยวที่เตรียมปรุงแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่มาลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนี้ทางสำนักพระราชวังได้สั่งมากจำนวน 700 ชาม แต่ตนได้เตรียมมาทั้งหมด 900 ชามโดยส่วนที่เกินตั้งใจทำถวายเป็นพระราชกุศลเพื่อให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหายประชวรโดยเร็ว
สำหรับผู้ที่สนใจจะไปรับประทานอาหารที่ร้านลุงเกินของลุงเกิดนั้นสามารถเดินทางเข้ามาชิมอาหารได้ในซอยสุจริต 2 บรรจบกับซอยราชวิถี 32 จะเลือกเข้าทางเส้นไหนก็ได้ หาไม่อยากเพราะอยู่ตรงข้ามประตูใหญ่วังสวนจิตรลดา
ข้าวหมูกระทียม ร้านบัวเทพ
มาถึงอีก 1 เมนูพระราชทานคือ”ข้าวหมูกระเทียม” เจ้าของก็คือบัวเทพ บุนปั๋น อายุ 54 ปี ชาวจังหวัดเชียงใหม่
ป้าบัวเทพ บอกว่า ทำอาหารมาส่งให้แก่ข้าราชบริพารที่มาประจำการที่ร.พ.ศิริราชได้รับประทานตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค.เป็นต้นมา และเริ่มทำแจกจ่ายให้แก่ประชาชนเมื่อวันที่ 24 ก.ค.โดยสาเหตุที่ได้ทำให้ข้าราชบริพารในพระองค์ท่านและประชาชนได้ทานนั้น เนื่องจากเป็นข้าราชบริพารฝ่ายห้องเครื่องของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชา ทินัดดามาตุ ส่วนพระเครื่องต้น
ทั้งนี้ ป้าบัวเทพ ทำงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทของพระบรมวงศานุวงศ์มาตั้งแต่ปี 2520 จนถึงปัจจุบัน สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนหาก นับก็ประมาณ 5-6 รุ่น ซึ่งป้าบัวเทพจะเปิดร้านร่วมกับเพื่อนๆข้าราชบริพารที่อยู่ฝ่ายห้องเครื่องเหมือนกันโดยตั้งร้านอยู่ที่ท่าวาสุกรี แต่จะไม่มีชื่อร้าน และแม่ครัวที่ร้านก็จะสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปแล้วแต่ว่าใครจะออกจากเวรรับใช้เจ้านายแล้ว
สำหรับสูตรเด็ดข้าวหมูกระเทียม ป้าบัวเทพบอกว่า หมูที่ใช้จะเป็นหมูสันหั่นเป็นชิ้นใหญ่ขนาด 3 นิ้วหนาประมาณ 2 มม.จำนวน 80 กิโลกรัม ก่อนที่จะนำไปทอดจะต้องนำไปคลุกเคล้ากับน้ำตาลทรายขาวมิตรผล 1 กิโลกรัม ซีอิ๊วใสตราเด็กสมบูรณ์ พริกไทยประมาณ 20 ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืชจำนวน 4 ถ้วยตรง น้ำมันหอยของแม่ประนอม และไข่ไก่จำนวน 30 ฟอง ให้เข้ากันจากนั้นหมักทิ้งไว้ประมาณ 5 ชั่วโมงจึงนำมาทอด หากผิดจากสูตรนี้จะได้รสชาติที่เพี้ยนไป และเมื่อกินแล้วรสชาติของหมูทอดก็จะนุ่มลิ้นมาก ส่วนกระเทียมจะให้ได้รสชาติดีต้องนำรากผักชี และพริกไทยโขลกรวมกันแล้วนำไปผัดในน้ำมันให้หอมเป็นสีเหลือทอง จึงค่อยนำไปคลุกเคล้ากับหมูที่ผ่านการทอดแล้วอีกครั้งเป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำข้าวหมูกระเทียม
....และทั้งหมดนั้นคือส่วนหนึ่งของเมนูพระราชทาน ที่ยังความปลื้มปีติให้กับผู้ที่ได้รับอย่างหาที่สุดมิได้