อย.รายงานผลดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนพ.ร.บ.อาหาร พบเฉาก๊วยดอนเมืองมียีสต์และเชื้อราเจือปน นมผงทารกแล็คโตเย่นมีเชื้ออาหารเป็นพิษ ส่วนลูกอมเมนทอส หมากฝรั่งริกลี่ย์มีสารที่ยังไม่ได้ขอความเห็นชอบให้ใช้หลายรายการ โทษปรับจิ๊บจ๊อยแค่ 1-4 หมื่นบาทเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานผลการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ พ.ศ.2522 ในปีงบประมาณ 2549 ในลักษณะความผิดต่างๆกัน โดยปรากฏผลคดีดังนี้ ความผิดฐานผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน 1.ห้างหุ้นส่วนจำกัด เฉาก๊วยดอนเมือง สถานประกอบการเลขที่ 29-14 ม.3 ถ.เพื่อสิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กทม. เนื่องจากเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2548 เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสถานประกอบการผลิตเพื่อจำหน่ายอาหาร “เฉาก๊วยตราดอนเมือง” และเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ดังกล่าวส่งตรวจวิเคราะห์ ปรากฏผลวิเคราะห์พบยีสต์และเชื้อรา ซึ่งมาตรฐานกำหนดให้ไม่พบ และพบเชื้อจุลินทรีย์ประเภทโคลิฟอร์มสูงเกินมาตรฐานที่กำหนด จึงได้เปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 40,000 บ. เมื่อวันที่ 15 มี.ค.2549
2.บริษัทร่มไผ่ 62 จำกัด สถานประกอบการเลขที่ 62/17 ซ.วิภาวดี 42 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กทม. เนื่องจากเมื่อวันที่ 30 ก.ค.2548 เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบการนำเข้าพร้อมเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหาร “ตับหมูแช่แข็ง” ซึ่งนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย ส่งตรวจวิเคราะห์ ปรากฏผลวิเคราะห์พบสารปรอทสูงเกินมาตรฐานที่กำหนด จึงได้เปรียบเทียบปรับ 10,000 บ. เมื่อวันที่ 8 พ.ค.2549
3.บริษัท เนสท์เล่(ไทยแลนด์) จำกัด สถานประกอบการเลขที่ 999/9 ม.7 ถ.พระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม. เนื่องจากเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2548 และวันที่ 3 พ.ย. 2548 เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบการนำเข้าพร้อมเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหาร “แล็คโตเย่น 1 นมผงดัดแปลงสำหรับทารกเสริมธาตุเหล็ก(Lactogen 1 Infant Formula with Iron)” ซึ่งนำเข้าจากประเทศฟิลิปปินส์ส่งตรวจวิเคราะห์ ปรากฏผลวิเคราะห์พบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษแบซิลลัส ซีเรียส(Bacillus cereus) จึงได้เปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 10,000 บ. เมื่อวันที่ 15 พ.ค.2549
ความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารสุข บริษัทซิโน แปซิฟิค เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์)จำกัด สถานประกอบการเลขที่ 122/2-3 ถ.นนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กทม. พบความผิด 4 รายการคือ 1.ลูกอมเมนทอส ใน Mentos Ice Orange Mint Sugarfree Chewing Gum และ Mentos Ice Artic Mint Sugarfree Chewing Gum ซึ่งนำเข้าจากประเทศเวียดนาม การส่งตรวจวิเคราะหฺพบอะซีซัลเฟม-เค(วัตถุที่ให้รสหวานจัด) ซึ่งเป็นวัตถุเจือปนอาหารในทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ โดยผู้นำเข้ายังไม่ได้ขอความเห็นชอบการใช้วัตถุเจือปนอาหารดังกล่าวจากอย. จึงเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 40,000 บ. เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2549
2.ผลิตภัณฑ์ “ริกลีย์ คูลแอร์ หมากฝรั่งกลิ่นแบล็กเคอแรนต์” ซึ่งนำเข้าจากประเทศฟิลิปปินส์ พบสีอัลลูร่า เรด ซึ่งเป็นวัตถุเจือปนอาหาร โดยผู้นำเข้ายังไม่ได้ของความเห็นชอบการใช้วัตถุเจือปนอาหารดังกล่าวจากสำนักงานคณะกกรมการอาหารและยา จึงเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 40,000 บ. เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2549
3.ผลิตภัณฑ์ “หมากฝรั่งปราศจากน้ำตาล ริกลีย์ เอ็กซ์ตรา ไซลิทอล(กลิ่นสวีตมินต์)” และ “หมากฝรั่งปราศจากน้ำตาลกลิ่นสตรอว์เบอร์รี่ ริกลี่ย์ เอ็กซ์ตรา ไซลิทอล” ซึ่งนำเข้าจากประเทศจีน พบอะซีซัลเฟม-เค (วัตถุที่ให้รสหวานจัด) ซึ่งเป็นวัตถุเจือปนอาหารในทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ โดยผู้นำเข้ายังไม่ได้ของความเห็นชอบการใช้วัตถุเจือปนอาหารดังกล่าวจากสำนักงานคณะกกรมการอาหารและยา จึงเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 40,000 บ. เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2549
4.ผลิตภัณฑ์ “Sunflower Seed Choco Ball” ซึ่งนำเข้าจากประเทศเกาหลีพบสีอัลลูร่า เรด ซึ่งเป็นวัตถุเจือปนอาหาร โดยผู้นำเข้ายังไม่ได้ของความเห็นชอบการใช้วัตถุเจือปนอาหารดังกล่าวจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 40,000 บ. เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2549
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานผลการดำเนินคดีผู้ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ พ.ศ.2522 ในปีงบประมาณ 2549 ในลักษณะความผิดต่างๆกัน โดยปรากฏผลคดีดังนี้ ความผิดฐานผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน 1.ห้างหุ้นส่วนจำกัด เฉาก๊วยดอนเมือง สถานประกอบการเลขที่ 29-14 ม.3 ถ.เพื่อสิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กทม. เนื่องจากเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2548 เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสถานประกอบการผลิตเพื่อจำหน่ายอาหาร “เฉาก๊วยตราดอนเมือง” และเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ดังกล่าวส่งตรวจวิเคราะห์ ปรากฏผลวิเคราะห์พบยีสต์และเชื้อรา ซึ่งมาตรฐานกำหนดให้ไม่พบ และพบเชื้อจุลินทรีย์ประเภทโคลิฟอร์มสูงเกินมาตรฐานที่กำหนด จึงได้เปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 40,000 บ. เมื่อวันที่ 15 มี.ค.2549
2.บริษัทร่มไผ่ 62 จำกัด สถานประกอบการเลขที่ 62/17 ซ.วิภาวดี 42 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กทม. เนื่องจากเมื่อวันที่ 30 ก.ค.2548 เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบการนำเข้าพร้อมเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหาร “ตับหมูแช่แข็ง” ซึ่งนำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย ส่งตรวจวิเคราะห์ ปรากฏผลวิเคราะห์พบสารปรอทสูงเกินมาตรฐานที่กำหนด จึงได้เปรียบเทียบปรับ 10,000 บ. เมื่อวันที่ 8 พ.ค.2549
3.บริษัท เนสท์เล่(ไทยแลนด์) จำกัด สถานประกอบการเลขที่ 999/9 ม.7 ถ.พระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กทม. เนื่องจากเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2548 และวันที่ 3 พ.ย. 2548 เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบการนำเข้าพร้อมเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหาร “แล็คโตเย่น 1 นมผงดัดแปลงสำหรับทารกเสริมธาตุเหล็ก(Lactogen 1 Infant Formula with Iron)” ซึ่งนำเข้าจากประเทศฟิลิปปินส์ส่งตรวจวิเคราะห์ ปรากฏผลวิเคราะห์พบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษแบซิลลัส ซีเรียส(Bacillus cereus) จึงได้เปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 10,000 บ. เมื่อวันที่ 15 พ.ค.2549
ความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารสุข บริษัทซิโน แปซิฟิค เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์)จำกัด สถานประกอบการเลขที่ 122/2-3 ถ.นนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กทม. พบความผิด 4 รายการคือ 1.ลูกอมเมนทอส ใน Mentos Ice Orange Mint Sugarfree Chewing Gum และ Mentos Ice Artic Mint Sugarfree Chewing Gum ซึ่งนำเข้าจากประเทศเวียดนาม การส่งตรวจวิเคราะหฺพบอะซีซัลเฟม-เค(วัตถุที่ให้รสหวานจัด) ซึ่งเป็นวัตถุเจือปนอาหารในทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ โดยผู้นำเข้ายังไม่ได้ขอความเห็นชอบการใช้วัตถุเจือปนอาหารดังกล่าวจากอย. จึงเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 40,000 บ. เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2549
2.ผลิตภัณฑ์ “ริกลีย์ คูลแอร์ หมากฝรั่งกลิ่นแบล็กเคอแรนต์” ซึ่งนำเข้าจากประเทศฟิลิปปินส์ พบสีอัลลูร่า เรด ซึ่งเป็นวัตถุเจือปนอาหาร โดยผู้นำเข้ายังไม่ได้ของความเห็นชอบการใช้วัตถุเจือปนอาหารดังกล่าวจากสำนักงานคณะกกรมการอาหารและยา จึงเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 40,000 บ. เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2549
3.ผลิตภัณฑ์ “หมากฝรั่งปราศจากน้ำตาล ริกลีย์ เอ็กซ์ตรา ไซลิทอล(กลิ่นสวีตมินต์)” และ “หมากฝรั่งปราศจากน้ำตาลกลิ่นสตรอว์เบอร์รี่ ริกลี่ย์ เอ็กซ์ตรา ไซลิทอล” ซึ่งนำเข้าจากประเทศจีน พบอะซีซัลเฟม-เค (วัตถุที่ให้รสหวานจัด) ซึ่งเป็นวัตถุเจือปนอาหารในทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ โดยผู้นำเข้ายังไม่ได้ของความเห็นชอบการใช้วัตถุเจือปนอาหารดังกล่าวจากสำนักงานคณะกกรมการอาหารและยา จึงเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 40,000 บ. เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2549
4.ผลิตภัณฑ์ “Sunflower Seed Choco Ball” ซึ่งนำเข้าจากประเทศเกาหลีพบสีอัลลูร่า เรด ซึ่งเป็นวัตถุเจือปนอาหาร โดยผู้นำเข้ายังไม่ได้ของความเห็นชอบการใช้วัตถุเจือปนอาหารดังกล่าวจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จึงเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 40,000 บ. เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2549