“กรมอุทยานฯ” ออกโรงคัดค้านเหมืองแร่โมนิโก้ ซึ่งหยุดกิจการมาเกือบ 10 ปี ขอใช้พื้นที่ขุดแร่พลวงในเขตสัมปทาน ซึ่งอยู่ในป่ามรดกโลกทุ่งใหญ่นเรศวร เชื่อ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพคน ส่วนเอ็นจีโอหวั่นขนแร่เถื่อนจากพม่ามาแต่งในฝั่งไทย
นายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า ได้รับรายงานจากหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก จ.กาญจนบุรี ว่า ขณะนี้ บริษัท เหมืองแร่โมนิโก้ จำกัด ได้ทำหนังสือขอเข้าใช้พื้นที่และใช้เส้นทางกับกรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติ แต่กรมฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าจะส่งผลกระทบมากกว่าผลที่จะได้รับจากค่าภาษีเหมืองแร่ จึงไม่เห็นด้วย เนื่องจากเหมืองดังกล่าวมีพื้นที่สัมปทานจำนวน 274 ไร่ ในเขตพื้นที่ป่าสมบูรณ์กว่า 70,000 ไร่ ที่อยู่ระหว่างการเตรียมผนวกเป็นป่าผืนเดียวกับป่ามรดกโลกทุ่งใหญ่นเรศวร
“ถ้ามีการอนุญาตให้เข้าทำเหมืองแร่จะกระทบกับป่าสมบูรณ์ และเป็นแหล่งชุมนุมของสัตว์ป่าขนาดใหญ่ ทั้ง กระทิง ช้าง เสือ อย่างแน่นอน ดังนั้น กรมอุทยานฯ จะใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม สกัดกั้นการเข้าไปทำเหมืองในพื้นที่ป่ามรดกโลกแห่งนี้อย่างถึงที่สุด พร้อมทั้งเรียกร้องให้กรมอุตสาหกรรม และการพื้นฐานเหมืองแร่ รวมทั้งกรมป่าไม้ คำนึงถึงผลกระทบในระยะยาวด้วย” นายดำรงค์ กล่าว
นายเอิบ เชิงสะอาด หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก จ.กาญจนบุรี กล่าวว่า เหมืองโมนิโก้ ได้รับประทานบัตรในการทำเหมืองแร่พลวงพื้นที่ 274 ไร่ ในท้องที่ ม.6 ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย.2530 - 7 เม.ย.2555 ระยะเวลา 25 ปี และได้หยุดกิจการมาเกือบ 10 ปีแล้ว แต่ล่าสุด ทางบริษัทฯ ได้ทำหนังสือถึงกรมอุทยานฯ เพื่อขอเข้าใช้พื้นที่ และขนส่งแร่ผ่านเส้นทางป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ระยะทางประมาณ 90 กม.เนื่องจากอายุประทานบัตรยังเหลืออีก 6 ปี แต่ทางกรมอุทยานฯ ไม่เห็นด้วย เพราะจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ป่ามรดกโลก ซึ่งสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (ไอยูซีเอ็น) ก็ระบุชัดเจนว่า ต้องไม่ทำเหมืองในป่ามรดกโลก ทั้งนี้ คงต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้ใหญ่ทั้ง 2 กรม ว่า จะมีมาตรการในเรื่องนี้อย่างไร
นายสุรพงษ์ กองจันทึก ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและพัฒนา กล่าวว่า หากประเมินศักยภาพแร่พลวงและแร่ตะกั่ว ในพื้นที่เหมืองแร่พุจือ พุหม่อง บ่องาม ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียว ไม่น่าจะมีแร่พอที่จะลงทุน แต่เป็นห่วงว่าอาจเป็นเพียงการแอบอ้างขอใช้พื้นที่ในฝั่งไทย แต่ขนแร่เถื่อนทั้งแร่ตะกั่ว และแร่พลวง มาจากฝั่งพม่ามาสวม เนื่องจากอยู่ใกล้กับเหมือง 4 และ 6 ของกะเหรี่ยงเคเอ็นยู ซึ่งเหมืองเหล่านี้ก่อนที่จะปิดกิจการก็ใช้วิธีการนำแร่เถื่อนมาแต่ง ดังนั้น กรมอุทยานฯ และกรมป่าไม้ ต้องเบรกโครงการนี้ให้ได้
นายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า ได้รับรายงานจากหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก จ.กาญจนบุรี ว่า ขณะนี้ บริษัท เหมืองแร่โมนิโก้ จำกัด ได้ทำหนังสือขอเข้าใช้พื้นที่และใช้เส้นทางกับกรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติ แต่กรมฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าจะส่งผลกระทบมากกว่าผลที่จะได้รับจากค่าภาษีเหมืองแร่ จึงไม่เห็นด้วย เนื่องจากเหมืองดังกล่าวมีพื้นที่สัมปทานจำนวน 274 ไร่ ในเขตพื้นที่ป่าสมบูรณ์กว่า 70,000 ไร่ ที่อยู่ระหว่างการเตรียมผนวกเป็นป่าผืนเดียวกับป่ามรดกโลกทุ่งใหญ่นเรศวร
“ถ้ามีการอนุญาตให้เข้าทำเหมืองแร่จะกระทบกับป่าสมบูรณ์ และเป็นแหล่งชุมนุมของสัตว์ป่าขนาดใหญ่ ทั้ง กระทิง ช้าง เสือ อย่างแน่นอน ดังนั้น กรมอุทยานฯ จะใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม สกัดกั้นการเข้าไปทำเหมืองในพื้นที่ป่ามรดกโลกแห่งนี้อย่างถึงที่สุด พร้อมทั้งเรียกร้องให้กรมอุตสาหกรรม และการพื้นฐานเหมืองแร่ รวมทั้งกรมป่าไม้ คำนึงถึงผลกระทบในระยะยาวด้วย” นายดำรงค์ กล่าว
นายเอิบ เชิงสะอาด หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก จ.กาญจนบุรี กล่าวว่า เหมืองโมนิโก้ ได้รับประทานบัตรในการทำเหมืองแร่พลวงพื้นที่ 274 ไร่ ในท้องที่ ม.6 ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย.2530 - 7 เม.ย.2555 ระยะเวลา 25 ปี และได้หยุดกิจการมาเกือบ 10 ปีแล้ว แต่ล่าสุด ทางบริษัทฯ ได้ทำหนังสือถึงกรมอุทยานฯ เพื่อขอเข้าใช้พื้นที่ และขนส่งแร่ผ่านเส้นทางป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ระยะทางประมาณ 90 กม.เนื่องจากอายุประทานบัตรยังเหลืออีก 6 ปี แต่ทางกรมอุทยานฯ ไม่เห็นด้วย เพราะจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ป่ามรดกโลก ซึ่งสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (ไอยูซีเอ็น) ก็ระบุชัดเจนว่า ต้องไม่ทำเหมืองในป่ามรดกโลก ทั้งนี้ คงต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้ใหญ่ทั้ง 2 กรม ว่า จะมีมาตรการในเรื่องนี้อย่างไร
นายสุรพงษ์ กองจันทึก ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและพัฒนา กล่าวว่า หากประเมินศักยภาพแร่พลวงและแร่ตะกั่ว ในพื้นที่เหมืองแร่พุจือ พุหม่อง บ่องาม ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียว ไม่น่าจะมีแร่พอที่จะลงทุน แต่เป็นห่วงว่าอาจเป็นเพียงการแอบอ้างขอใช้พื้นที่ในฝั่งไทย แต่ขนแร่เถื่อนทั้งแร่ตะกั่ว และแร่พลวง มาจากฝั่งพม่ามาสวม เนื่องจากอยู่ใกล้กับเหมือง 4 และ 6 ของกะเหรี่ยงเคเอ็นยู ซึ่งเหมืองเหล่านี้ก่อนที่จะปิดกิจการก็ใช้วิธีการนำแร่เถื่อนมาแต่ง ดังนั้น กรมอุทยานฯ และกรมป่าไม้ ต้องเบรกโครงการนี้ให้ได้