อย.ลุยตรวจตลาดสดแสงฟ้าหลังห้างวันเดอร์ เขตบางแค พบอาหารสดปนเปื้อนเพียบ มีทั้งบอแรกซ์ในหมูบด ฟอร์มาลินในสไบนาง กรดซาลิซิลิค หรือสารกันราในอาหาร แต่แม่ค้ารู้ตัวเผ่นหนีก่อน “ดร.ภักดี” เผย สภาพตลาดสดสุดสกปรกทั้งที่เปิดได้ปีเดียว ประสานงาน กทม.ให้เข้าโครงการตลาดสดน่าซื้อและอาหารปลอดภัยด่วน เตือนผู้ประกอบการอย่าลักลอบนำสารอันตรายมาผสมในอาหารเด็ดขาด เพราะจะถูกดำเนินคดีอย่างเข้มงวด ฐานผลิตอาหารไม่บริสุทธิ์มีโทษถึงคุก
วันนี้ (22 มิ.ย.) ศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้นำเจ้าหน้าที่อาหารและยาพร้อมรถหน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ไปที่ตลาดสดแสงฟ้าหลังห้างวันเดอร์ เขตบางแค ซึ่งเป็นตลาดที่มีแม่บ้านจับจ่ายซื้ออาหารในช่วงเช้าจำนวนมาก เพื่อตรวจสอบอาหารสดที่จำหน่ายในตลาด ว่า มีสารปนเปื้อนหรือไม่ หลังจากที่ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ทีมเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารได้ส่งสายสืบเข้าไปเก็บตัวอย่างอาหาร เพื่อตรวจหาสารปนเปื้อนในตลาดดังกล่าว และได้พบสารบอแรกซ์ในหมูบด ฟอร์มาลินในสไบนาง และกรดซาลิซิลิค หรือสารกันราในผักกาดดองหลายตัวอย่าง อย่างไรก็ตาม การไปตรวจสอบในวันนี้ ร้านค้าส่วนหนึ่งที่พบว่ามีอาหารปนเปื้อนได้เก็บร้านไปก่อนที่คณะของ อย.จะไปถึง เนื่องจากเห็นคณะของผู้สื่อข่าวเข้าไปในตลาด ส่งผลให้ อย.ไม่สามารถตรวจจับได้ ทำได้เพียงพูดคุยและตักเตือนในบางร้านเท่านั้น
ศ.ดร.ภักดี กล่าวว่า จากการตรวจสอบซ้ำอีกครั้งในวันนี้ในแผงจำหน่ายอาหารจำนวน 30 แผง และเก็บตัวอย่างอาหารจำนวน 30 ตัวอย่าง ประกอบด้วย หมูบด 22 ตัวอย่าง สไบนาง 6 ตัวอย่าง และผักกาดดอง 2 ตัวอย่าง ปรากฏผลวิเคราะห์เบื้องต้น พบว่า มีสารบอแรกซ์ในหมูบด 7 ตัวอย่าง ฟอร์มาลิน ในสไบนาง ทั้ง 6 ตัวอย่าง ส่วนกรดซาลิซิลิคไม่พบแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ในเบื้องต้น อย.ได้ตักเตือนผู้จำหน่ายมิให้นำมาขายอีก และนำผลิตภัณฑ์ที่พบสารปนเปื้อนดังกล่าวส่งตรวจวิเคราะห์ เพื่อยืนยันผลอีกครั้งที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมทั้งยังได้สอบสวนและสืบถึงต้นตอของแหล่งผลิต โดยในส่วนของฟอร์มาลินได้ทราบจากผู้ขายว่ารับผลิตภัณฑ์อาหารมาจากจังหวัดราชบุรี และสมุทรสาคร ซึ่ง อย.จะได้ดำเนินการอย่างเฉียบขาดถึงต้นตอต่อไป และหากผลการตรวจสอบยืนยันผลว่ามีการปนเปื้อนจริงจะถือว่าเป็นอาหารที่ไม่บริสุทธิ์ ผู้ผลิต/ผู้จำหน่ายจะถูกดำเนินคดีทันที มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ศ.ดร.ภักดี กล่าวต่อว่า ตลาดแห่งนี้เพิ่งได้รับอนุญาตเปิดตลาดได้ 1 ปี แต่สภาพของตลาดสดมีความสกปรกมาก จึงได้ประสานงานขอความร่วมมือไปยังเขตบางแค และ กทม.โดยให้ตลาดเข้าโครงการตลาดสดน่าซื้อ และอาหารปลอดภัย รวมทั้งการควบคุมดูแลจัดสถานที่ให้มีห้องแล็บพร้อมชุดตรวจสอบเพื่อสกรีนอาหาร รวมทั้งบริการผู้บริโภคที่สงสัยในการนำอาหารมาตรวจสอบด้วย
ศ.ดร.ภักดี กล่าวว่า การนำบอแรกซ์ใส่ในอาหารจะทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตราย โดยอาจเกิดพิษได้ 2 แบบ คือ แบบเฉียบพลันจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และแบบเรื้อรัง จะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ตับไตอักเสบ การทำงานของไตล้มเหลว โดยเฉพาะในเด็กเล็กจะเกิดอาการพิษได้ง่าย ส่วนฟอร์มาลินนั้นเป็นการนำมาใช้ในทางที่ผิด โดยเข้าใจว่าช่วยทำให้อาหารคงความสด ไม่เน่าเสียเร็ว และเก็บได้นาน แต่ที่จริงแล้วฟอร์มาลินเป็นสารพิษที่มีอันตรายต่อร่างกายมาก ถ้าบริโภคอาหารที่มีฟอร์มาลินอยู่อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง และปวดแสบปวดร้อนที่ปากและคอ ผู้ที่มีความไวต่อสารนี้จะแสดงอาการปวดศีรษะ หายใจติดขัด แน่นหน้าอก
และสำหรับกรดซาลิซิลิค หรือสารกันรา ก็มีอันตรายมากเช่นกัน โดยพิษของสารกันราจะเข้าไปทำลายเซลล์ในร่างกาย หากได้รับในปริมาณมากๆ จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ความดันโลหิตต่ำจนช็อกได้ หรือบางรายที่รับประทานปริมาณน้อยก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ โดยทำให้เป็นผื่นคันขึ้นตามตัว อาเจียน หูอื้อ และมีไข้ จึงขอเตือนผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารโปรดเห็นแก่ความปลอดภัยของผู้บริโภค อย่านำสารปนเปื้อนอันตรายเหล่านี้มาใส่ในอาหารอย่างเด็ดขาด หาก อย.ตรวจพบจะถูกดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
วันนี้ (22 มิ.ย.) ศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้นำเจ้าหน้าที่อาหารและยาพร้อมรถหน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ไปที่ตลาดสดแสงฟ้าหลังห้างวันเดอร์ เขตบางแค ซึ่งเป็นตลาดที่มีแม่บ้านจับจ่ายซื้ออาหารในช่วงเช้าจำนวนมาก เพื่อตรวจสอบอาหารสดที่จำหน่ายในตลาด ว่า มีสารปนเปื้อนหรือไม่ หลังจากที่ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ทีมเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารได้ส่งสายสืบเข้าไปเก็บตัวอย่างอาหาร เพื่อตรวจหาสารปนเปื้อนในตลาดดังกล่าว และได้พบสารบอแรกซ์ในหมูบด ฟอร์มาลินในสไบนาง และกรดซาลิซิลิค หรือสารกันราในผักกาดดองหลายตัวอย่าง อย่างไรก็ตาม การไปตรวจสอบในวันนี้ ร้านค้าส่วนหนึ่งที่พบว่ามีอาหารปนเปื้อนได้เก็บร้านไปก่อนที่คณะของ อย.จะไปถึง เนื่องจากเห็นคณะของผู้สื่อข่าวเข้าไปในตลาด ส่งผลให้ อย.ไม่สามารถตรวจจับได้ ทำได้เพียงพูดคุยและตักเตือนในบางร้านเท่านั้น
ศ.ดร.ภักดี กล่าวว่า จากการตรวจสอบซ้ำอีกครั้งในวันนี้ในแผงจำหน่ายอาหารจำนวน 30 แผง และเก็บตัวอย่างอาหารจำนวน 30 ตัวอย่าง ประกอบด้วย หมูบด 22 ตัวอย่าง สไบนาง 6 ตัวอย่าง และผักกาดดอง 2 ตัวอย่าง ปรากฏผลวิเคราะห์เบื้องต้น พบว่า มีสารบอแรกซ์ในหมูบด 7 ตัวอย่าง ฟอร์มาลิน ในสไบนาง ทั้ง 6 ตัวอย่าง ส่วนกรดซาลิซิลิคไม่พบแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ในเบื้องต้น อย.ได้ตักเตือนผู้จำหน่ายมิให้นำมาขายอีก และนำผลิตภัณฑ์ที่พบสารปนเปื้อนดังกล่าวส่งตรวจวิเคราะห์ เพื่อยืนยันผลอีกครั้งที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมทั้งยังได้สอบสวนและสืบถึงต้นตอของแหล่งผลิต โดยในส่วนของฟอร์มาลินได้ทราบจากผู้ขายว่ารับผลิตภัณฑ์อาหารมาจากจังหวัดราชบุรี และสมุทรสาคร ซึ่ง อย.จะได้ดำเนินการอย่างเฉียบขาดถึงต้นตอต่อไป และหากผลการตรวจสอบยืนยันผลว่ามีการปนเปื้อนจริงจะถือว่าเป็นอาหารที่ไม่บริสุทธิ์ ผู้ผลิต/ผู้จำหน่ายจะถูกดำเนินคดีทันที มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ศ.ดร.ภักดี กล่าวต่อว่า ตลาดแห่งนี้เพิ่งได้รับอนุญาตเปิดตลาดได้ 1 ปี แต่สภาพของตลาดสดมีความสกปรกมาก จึงได้ประสานงานขอความร่วมมือไปยังเขตบางแค และ กทม.โดยให้ตลาดเข้าโครงการตลาดสดน่าซื้อ และอาหารปลอดภัย รวมทั้งการควบคุมดูแลจัดสถานที่ให้มีห้องแล็บพร้อมชุดตรวจสอบเพื่อสกรีนอาหาร รวมทั้งบริการผู้บริโภคที่สงสัยในการนำอาหารมาตรวจสอบด้วย
ศ.ดร.ภักดี กล่าวว่า การนำบอแรกซ์ใส่ในอาหารจะทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตราย โดยอาจเกิดพิษได้ 2 แบบ คือ แบบเฉียบพลันจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และแบบเรื้อรัง จะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ตับไตอักเสบ การทำงานของไตล้มเหลว โดยเฉพาะในเด็กเล็กจะเกิดอาการพิษได้ง่าย ส่วนฟอร์มาลินนั้นเป็นการนำมาใช้ในทางที่ผิด โดยเข้าใจว่าช่วยทำให้อาหารคงความสด ไม่เน่าเสียเร็ว และเก็บได้นาน แต่ที่จริงแล้วฟอร์มาลินเป็นสารพิษที่มีอันตรายต่อร่างกายมาก ถ้าบริโภคอาหารที่มีฟอร์มาลินอยู่อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง และปวดแสบปวดร้อนที่ปากและคอ ผู้ที่มีความไวต่อสารนี้จะแสดงอาการปวดศีรษะ หายใจติดขัด แน่นหน้าอก
และสำหรับกรดซาลิซิลิค หรือสารกันรา ก็มีอันตรายมากเช่นกัน โดยพิษของสารกันราจะเข้าไปทำลายเซลล์ในร่างกาย หากได้รับในปริมาณมากๆ จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ความดันโลหิตต่ำจนช็อกได้ หรือบางรายที่รับประทานปริมาณน้อยก็อาจทำให้เกิดอาการแพ้ โดยทำให้เป็นผื่นคันขึ้นตามตัว อาเจียน หูอื้อ และมีไข้ จึงขอเตือนผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารโปรดเห็นแก่ความปลอดภัยของผู้บริโภค อย่านำสารปนเปื้อนอันตรายเหล่านี้มาใส่ในอาหารอย่างเด็ดขาด หาก อย.ตรวจพบจะถูกดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด