“หนังสือนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการที่จะทำให้คนเรามีความก้าวหน้า เพราะว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วต้องหัดเรียนทั้งในทางกายทั้งในทางใจ เพื่อที่จะมีความสามารถและมีความรู้ที่จะดำรงชีพได้ มนุษย์นี้ต่างกับสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็โดยที่ได้ใช้ปัญญา ใช้ความคิด ใช้สมอง มาทำให้ก้าวหน้าไกลมากไปกว่าสภาพที่เกิดมาเป็นกายคน”
“หนังสือนี้ ถ้าดูในทางพัฒนา ในทางความก้าวหน้าของมนุษย์ เพื่อให้ชีวิตของตนสามารถที่จะมีความมั่นคงนั้น จึงมีความสำคัญไม่น้อย เพราะว่าเป็นแหล่งของความรู้ที่จะค้ำจุนเราให้มีความสุขได้”
พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท วันที่ 25 พ.ย.2534

เนื่องในวโรกาสปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ปวงพสกนิกรชาวไทยร่วมกันทำความดีถวายในหลวงหลากหลายอย่าง โดยเฉพาะเด็กๆ ที่จะมีโอกาสร่วมแสดงความจงรักภักดีผ่านโครงการ ‘เด็กไทยรวมใจอ่านถวายในหลวง 60 ล้านเล่ม’ เพื่อเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงสนพระราชหฤทัยในวิชาความรู้หลายแขนง ทรงเป็นนักคิด นักค้นคว้า รวมถึงนักอ่าน ทรงถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ให้พสกนิกรของพระองค์ท่านสม่ำเสมอ หลายครั้งยังทรงย้ำอย่างชัดเจนถึงความสำคัญของการอ่านที่เป็นรากฐานการพัฒนาความรู้ สติปัญญาให้เจริญงอกงาม
ทั้งนี้ในการเปิดตัวโครงการฯ เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ที่ผ่านมา ศ. เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ได้ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ในหลวงกับการอ่าน” โดยถ่ายทอดพระบรมราโชวาท เรื่องราวความสำคัญยิ่งของการอ่านหนังสือไว้อย่างน่าสนใจว่า... นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี 2489 ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการมาอย่างต่อเนื่องยาวนานเพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของปวงพสกนิกร ดั่งพระปฐมบรมราชโองการที่ว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
ที่สำคัญก็คือ ระยะเวลายาวนานนี้ ทรงมิเคยหยุดคิดแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยในด้านต่างๆ ส่งผลให้ทุกวันนี้เกิดโครงการตามพระราชดำริกว่า 3,000 โครงการที่มีคุณูปการยิ่งต่อประเทศชาติ ประชาชน โดยจะทรงยึดหลักคิดตามพระพุทธศาสนา ‘อริยสัจ 4’ ทุกข์ สมุทัยนิโรธ มรรค และหากอยากทราบว่าทำไมโครงการพระราชดำริแต่ละโครงการจึงประสบผลสำเร็จก็ควรไปศึกษาอย่างถี่ถ้วนพิจารณา
นอกจากนั้น พระองค์ท่านยังทรงใช้หลักวิชาศึกษาหาความรู้ โดยการศึกษาจากต่างประเทศที่สำคัญไม่ใช่การเลียนแบบ แต่นำมาเป็นตัวอย่างและทดลอง ดังจะเห็นว่าพระราชวังสวนจิตรลดาเป็นพระราชวังที่ไม่เหมือนที่ใดด้วยมีทั้งนา โรงสีข้าว โรงงาน และที่ขาดไม่ได้คือหลักการปฏิบัติ ที่ทรงนำมาใช้อย่างสม่ำเสมอคือใช้วิธีการทำไปติดตามผลไป รวมทั้งในส่วนการศึกษาก็ยังเป็นหนึ่งในพระราชกรณียกิจที่ทรงให้ความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะการอ่านที่เป็นพื้นฐานของความรู้ต่างๆ โดยมีพระบรมราโชวาทถึงเรื่องการอ่านหลายๆ ครั้ง
ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม ยกตัวอย่างพระบรมราโชวาท ซึ่งทรงพระราชทานให้แก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2514 ตอนหนึ่งว่า ...หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมา ทำมา ตั้งแต่โบราณกาลจนถึงทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้มนุษย์ก้าวหน้าโดยแท้...
...หนังสือนี้ถ้าดูในทางพัฒนาในด้านความก้าวหน้าของมนุษย์เพื่อใช้ชีวิตของตนสามารถมีความมั่นคงนั้นจึงมีความสำคัญไม่น้อยเพราะเป็นแหล่งของการเรียนรู้...
ยิ่งกว่านั้น ยังมีพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่คณะเยาวชนจาก 20 จังหวัด เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2512 โดยทรงสอนให้เรารู้จักการพิจารณา วิเคราะห์ ด้วยเหตุผลไม่ว่าจะอ่าน ฟัง หรือ เห็นด้วยตาตนเอง ดังนั้น สถานที่ราชการ วัด โรงเรียน ที่ทำงาน จึงควรจัดให้มีห้องสมุดขึ้น ทุกแห่งทุกที่ แต่สิ่งสำคัญคืออ่านแล้วต้องคิด ไม่เช่นนั้นก็จะทำให้หลงทางได้
ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม ยังกล่าวถึงพระบรมราโชวาท เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2524 ที่สวนอัมพร เนื่องในงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงสอนให้เราเลือกอ่านหนังสือกว้างๆ มากๆ โดยอย่าเลือกเฉพาะที่ชอบเท่านั้น ซึ่งเมื่ออ่านหนังสือก็เปรียบได้กับความรู้ของผู้อื่น จะยังไม่ประทับตราสู่สมอง การจะทำให้ความรู้ประทับในสมองเป็นความรู้ของเราจึงต้องคิดตามเหตุผล วิเคราะห์จนเกิดความเข้าใจ จากนั้นนำความรู้ที่ได้มาร้อยเรียงเชื่อมโยงจนเป็นเรื่องราวได้กับความรู้อื่นๆ จึงถือว่าเป็นการมีปัญญา
“หากเพียงแค่อ่านเหมือนท่องหนังสือเข้าห้องสอบ สอบเสร็จก็ลืมหมด ถือเป็นความรู้แต่ไม่ใช่ปัญญา เพราะปัญญาต้องเกิดจากการนำความรู้ที่ได้ เช่น เรียน ม.4-5-6 สามารถนำมาประยุกต์กับสิ่งที่ได้พบเห็นใหม่ๆ จากข่าว ทีวี หนังสือพิมพ์ นำไปสู่ที่มาของคำที่พระเจ้าอยู่หัวทรงใช้คำว่า “ฉลาดรู้” คือ การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ และยังทรงให้พระบรมราโชวาทอีกว่า ความรู้แม้จะใฝ่หามากขึ้นเท่าไร ก็อาจไม่ช่วยให้ฉลาดหรือเจริญงอกงาม หากการเรียนรู้นั้นไม่ถูกถ้วนไม่รู้จริงแท้ และนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกไม่ควร”
ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม ได้สรุปใจความคำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ว่า คนทุกคนเกิดมาต้องอ่านหนังสือ เพราะหนังสือเป็นธนาคารความรู้ที่สะสมมานาน รวมทั้งควรอ่านทุกประเภทให้กว้างและลึก หนังสือทุกประเภทมีประโยชน์ เว้นแต่หนังสือบางประเภทเท่านั้น และหากว่างเมื่อใดก็ขอให้หยิบจับหนังสือขึ้นมาอ่าน ไม่ว่าจะนั่งรถลงเรือ เมื่อได้อ่านมากๆ ก็แปลงความรู้ที่มีมากมายในตำราเป็นความรู้ของเรา ด้วยการคิดวิเคราะห์ด้วยเหตุผล แล้วใช้ปัญญารู้จักนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างชาญฉลาด
อนึ่ง สำหรับโครงการ “เด็กไทยรวมใจอ่านถวายในหลวง 60 ล้านเล่ม” เป็นการรณรงค์ให้เด็กไทยรักการอ่าน เพียงอ่านหนังสือเล่มใดก็ได้ ถวายเป็นราชสักการะ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 60 ปี ระหว่างเดือนมิถุนายน 2549- มีนาคม 2550 โดยรวบรวมความประทับใจและประโยชน์จากการอ่านหนังสือเล่มนั้น รวมทั้งรายงานบันทึกการอ่านและรวบรวมหนังสือที่อ่านให้ครบ 60 ล้านเล่ม ภายในปีการศึกษา 2549
พร้อมทั้งรวบรวมรายชื่อโรงเรียน รายชื่อนักเรียน ห้องสมุด ประชาชน และรายชื่อหนังสือที่เด็กๆ อ่าน จัดทำบันทึกเป็นซีดีถวายรายงานแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกทั้งจะมีการแข่งขันค้นหาสุดยอดนักอ่านของประเทศไทย โดยแบ่งการแข่งขันเป็นระดับต่างๆ ชิงรางวัลมากมายด้วย ทั้งนี้ สอบถามข้อมูล หรือสมัครได้ที่ www.60MillionbooksForKing.com โทร 0-2662-3000 ต่อ 4323, 4330, 4335
“หนังสือนี้ ถ้าดูในทางพัฒนา ในทางความก้าวหน้าของมนุษย์ เพื่อให้ชีวิตของตนสามารถที่จะมีความมั่นคงนั้น จึงมีความสำคัญไม่น้อย เพราะว่าเป็นแหล่งของความรู้ที่จะค้ำจุนเราให้มีความสุขได้”
พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท วันที่ 25 พ.ย.2534
เนื่องในวโรกาสปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ปวงพสกนิกรชาวไทยร่วมกันทำความดีถวายในหลวงหลากหลายอย่าง โดยเฉพาะเด็กๆ ที่จะมีโอกาสร่วมแสดงความจงรักภักดีผ่านโครงการ ‘เด็กไทยรวมใจอ่านถวายในหลวง 60 ล้านเล่ม’ เพื่อเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงสนพระราชหฤทัยในวิชาความรู้หลายแขนง ทรงเป็นนักคิด นักค้นคว้า รวมถึงนักอ่าน ทรงถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ให้พสกนิกรของพระองค์ท่านสม่ำเสมอ หลายครั้งยังทรงย้ำอย่างชัดเจนถึงความสำคัญของการอ่านที่เป็นรากฐานการพัฒนาความรู้ สติปัญญาให้เจริญงอกงาม
ทั้งนี้ในการเปิดตัวโครงการฯ เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ที่ผ่านมา ศ. เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ได้ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ในหลวงกับการอ่าน” โดยถ่ายทอดพระบรมราโชวาท เรื่องราวความสำคัญยิ่งของการอ่านหนังสือไว้อย่างน่าสนใจว่า... นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี 2489 ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการมาอย่างต่อเนื่องยาวนานเพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของปวงพสกนิกร ดั่งพระปฐมบรมราชโองการที่ว่า “เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
ที่สำคัญก็คือ ระยะเวลายาวนานนี้ ทรงมิเคยหยุดคิดแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยในด้านต่างๆ ส่งผลให้ทุกวันนี้เกิดโครงการตามพระราชดำริกว่า 3,000 โครงการที่มีคุณูปการยิ่งต่อประเทศชาติ ประชาชน โดยจะทรงยึดหลักคิดตามพระพุทธศาสนา ‘อริยสัจ 4’ ทุกข์ สมุทัยนิโรธ มรรค และหากอยากทราบว่าทำไมโครงการพระราชดำริแต่ละโครงการจึงประสบผลสำเร็จก็ควรไปศึกษาอย่างถี่ถ้วนพิจารณา
นอกจากนั้น พระองค์ท่านยังทรงใช้หลักวิชาศึกษาหาความรู้ โดยการศึกษาจากต่างประเทศที่สำคัญไม่ใช่การเลียนแบบ แต่นำมาเป็นตัวอย่างและทดลอง ดังจะเห็นว่าพระราชวังสวนจิตรลดาเป็นพระราชวังที่ไม่เหมือนที่ใดด้วยมีทั้งนา โรงสีข้าว โรงงาน และที่ขาดไม่ได้คือหลักการปฏิบัติ ที่ทรงนำมาใช้อย่างสม่ำเสมอคือใช้วิธีการทำไปติดตามผลไป รวมทั้งในส่วนการศึกษาก็ยังเป็นหนึ่งในพระราชกรณียกิจที่ทรงให้ความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะการอ่านที่เป็นพื้นฐานของความรู้ต่างๆ โดยมีพระบรมราโชวาทถึงเรื่องการอ่านหลายๆ ครั้ง
ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม ยกตัวอย่างพระบรมราโชวาท ซึ่งทรงพระราชทานให้แก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2514 ตอนหนึ่งว่า ...หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมา ทำมา ตั้งแต่โบราณกาลจนถึงทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้มนุษย์ก้าวหน้าโดยแท้...
...หนังสือนี้ถ้าดูในทางพัฒนาในด้านความก้าวหน้าของมนุษย์เพื่อใช้ชีวิตของตนสามารถมีความมั่นคงนั้นจึงมีความสำคัญไม่น้อยเพราะเป็นแหล่งของการเรียนรู้...
ยิ่งกว่านั้น ยังมีพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่คณะเยาวชนจาก 20 จังหวัด เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2512 โดยทรงสอนให้เรารู้จักการพิจารณา วิเคราะห์ ด้วยเหตุผลไม่ว่าจะอ่าน ฟัง หรือ เห็นด้วยตาตนเอง ดังนั้น สถานที่ราชการ วัด โรงเรียน ที่ทำงาน จึงควรจัดให้มีห้องสมุดขึ้น ทุกแห่งทุกที่ แต่สิ่งสำคัญคืออ่านแล้วต้องคิด ไม่เช่นนั้นก็จะทำให้หลงทางได้
ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม ยังกล่าวถึงพระบรมราโชวาท เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2524 ที่สวนอัมพร เนื่องในงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงสอนให้เราเลือกอ่านหนังสือกว้างๆ มากๆ โดยอย่าเลือกเฉพาะที่ชอบเท่านั้น ซึ่งเมื่ออ่านหนังสือก็เปรียบได้กับความรู้ของผู้อื่น จะยังไม่ประทับตราสู่สมอง การจะทำให้ความรู้ประทับในสมองเป็นความรู้ของเราจึงต้องคิดตามเหตุผล วิเคราะห์จนเกิดความเข้าใจ จากนั้นนำความรู้ที่ได้มาร้อยเรียงเชื่อมโยงจนเป็นเรื่องราวได้กับความรู้อื่นๆ จึงถือว่าเป็นการมีปัญญา
“หากเพียงแค่อ่านเหมือนท่องหนังสือเข้าห้องสอบ สอบเสร็จก็ลืมหมด ถือเป็นความรู้แต่ไม่ใช่ปัญญา เพราะปัญญาต้องเกิดจากการนำความรู้ที่ได้ เช่น เรียน ม.4-5-6 สามารถนำมาประยุกต์กับสิ่งที่ได้พบเห็นใหม่ๆ จากข่าว ทีวี หนังสือพิมพ์ นำไปสู่ที่มาของคำที่พระเจ้าอยู่หัวทรงใช้คำว่า “ฉลาดรู้” คือ การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ และยังทรงให้พระบรมราโชวาทอีกว่า ความรู้แม้จะใฝ่หามากขึ้นเท่าไร ก็อาจไม่ช่วยให้ฉลาดหรือเจริญงอกงาม หากการเรียนรู้นั้นไม่ถูกถ้วนไม่รู้จริงแท้ และนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกไม่ควร”
ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม ได้สรุปใจความคำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ว่า คนทุกคนเกิดมาต้องอ่านหนังสือ เพราะหนังสือเป็นธนาคารความรู้ที่สะสมมานาน รวมทั้งควรอ่านทุกประเภทให้กว้างและลึก หนังสือทุกประเภทมีประโยชน์ เว้นแต่หนังสือบางประเภทเท่านั้น และหากว่างเมื่อใดก็ขอให้หยิบจับหนังสือขึ้นมาอ่าน ไม่ว่าจะนั่งรถลงเรือ เมื่อได้อ่านมากๆ ก็แปลงความรู้ที่มีมากมายในตำราเป็นความรู้ของเรา ด้วยการคิดวิเคราะห์ด้วยเหตุผล แล้วใช้ปัญญารู้จักนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างชาญฉลาด
อนึ่ง สำหรับโครงการ “เด็กไทยรวมใจอ่านถวายในหลวง 60 ล้านเล่ม” เป็นการรณรงค์ให้เด็กไทยรักการอ่าน เพียงอ่านหนังสือเล่มใดก็ได้ ถวายเป็นราชสักการะ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 60 ปี ระหว่างเดือนมิถุนายน 2549- มีนาคม 2550 โดยรวบรวมความประทับใจและประโยชน์จากการอ่านหนังสือเล่มนั้น รวมทั้งรายงานบันทึกการอ่านและรวบรวมหนังสือที่อ่านให้ครบ 60 ล้านเล่ม ภายในปีการศึกษา 2549
พร้อมทั้งรวบรวมรายชื่อโรงเรียน รายชื่อนักเรียน ห้องสมุด ประชาชน และรายชื่อหนังสือที่เด็กๆ อ่าน จัดทำบันทึกเป็นซีดีถวายรายงานแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกทั้งจะมีการแข่งขันค้นหาสุดยอดนักอ่านของประเทศไทย โดยแบ่งการแข่งขันเป็นระดับต่างๆ ชิงรางวัลมากมายด้วย ทั้งนี้ สอบถามข้อมูล หรือสมัครได้ที่ www.60MillionbooksForKing.com โทร 0-2662-3000 ต่อ 4323, 4330, 4335