สธ.เร่งรณรงค์ลดการกินเค็มของคนไทย เผย ปริมาณบริโภคสูงกว่ามาตรฐานโลก 3 เท่าตัว กินเฉลี่ยมากกว่าวันละ 3 ช้อนชา ส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในรอบ 5 ปี ผลตรวจสุขภาพล่าสุดพบคนไทยวัย 15 ปีขึ้นไปความดันโลหิตสูงผิดปกติ ร้อยละ 22 หรือประมาณ 11 ล้านคน เสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต
วันนี้ (24 พ.ค.) นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคสุวะพลา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ทางการแพทย์และโภชนาการ พบว่า ขณะนี้คนไทยนิยมบริโภคอาหารรสเค็ม ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของอาหารรสแซบ เช่น อาหารประเภทยำ ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ ซึ่งจะต้องใส่เครื่องปรุงมากกว่าปกติ บางรายติดแม้ปรุงแล้วก็ปรุงเพิ่มเติมอีก รวมทั้งยังมีขนมขบเคี้ยว หรือที่วัยรุ่นเรียกว่าสแน็ก ทำให้ปริมาณเกลือมีมากกว่าความจำเป็นของร่างกายถึง 3 เท่าตัวโดยองค์การอนามัยโลกกำหนดให้ต่อวันควรได้รับเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา แต่ค่าเฉลี่ยอาหารที่คนไทยบริโภคมีเกลือสูงถึง 3 ช้อนชาต่อคน ขณะเดียวกัน คนไทยกินผักน้อยลงเรื่อยๆ เฉลี่ยวันละ 3 ทัพพี การกินเค็มดังกล่าวทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและไตวาย
“จากการสำรวจสภาวะสุขภาพคนไทย โดยการตรวจร่างกายปี 2547 พบคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปมีความดันโลหิตสูงผิดปกติ (เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท ขึ้นไป) เกือบ 11 ล้านคน หรือร้อยละ 22 ของประชากร ในผู้ชายพบร้อยละ 23 และหญิงร้อยละ 21 เพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อปี 2540 กว่า 1 เท่าตัว ในจำนวนนี้เกือบ 6 ล้านคนไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มที่รู้ตัวมีเพียงร้อยละ 30 ที่เข้ารักษาตัว และปฏิบัติตัวจนสามารถควบคุมความดันลดลงมาเหลือปกติ (ไม่เกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท) เพียงร้อยละ 16 เท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่ต้องรณรงค์ ทั้งเรื่องการลดบริโภคอาหารรสเค็ม รับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น และต้องออกกำลังกายเป็นประจำ หากปล่อยให้ปัญหาบานปลายอาการความดันโลหิตสูงกำเริบจนถึงขั้นเจ็บป่วยจะทำให้ประเทศไทยต้องลงทุนรักษาผู้ป่วยเหล่านี้ปีละเกือบ 20,000 ล้านบาท”
ด้านนพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ลักษณะการป่วยจากโรคความดันโลหิตสูงจะค่อยเป็นค่อยไป เรียกว่า “ฆาตกรเงียบ” โดยในระยะแรกไม่มีอาการผิดปกติจะรู้ตัว เมื่อมีอาการแสดงสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าจะเป็นความดันโลหิตสูง ได้แก่ วิงเวียน ปวดศีรษะบ่อยๆ โดยเฉพาะบริเวณท้ายทอย ตาพร่ามัว บางรายอยู่เฉยๆ ก็วูบ จะต้องรีบพบแพทย์ เนื่องจากความดันโลหิตสูงเกิดจากเส้นเลือดตีบตัน ยังมีคนไทยบางรายเข้าใจว่าคนเป็นโรคนี้จะต้องอ้วนเท่านั้น คนผอมไม่เป็น ซึ่งปัจจุบันพบได้ทั้งคนอ้วน คนผอม อันตรายทั้งคู่
“วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดจะต้องลดเกลือ เพิ่มผักผลไม้ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตรวจเช็กความดันโลหิตทุก 6 เดือน รายใดที่ความดันสูงผิดปกติยังมีเวลารักษาทันด้วยการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ 3 หลักการใหญ่ คือ กินยา ออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร กินอาหารรสจืดกินผักให้ได้วันละ 5 ทับพีเป็นอย่างน้อย ทั้งนี้ หากไม่รักษา โรคจะกำเริบ อันตรายที่สำคัญและน่ากลัวที่สุดโรคหลอดเลือดสมองแตกหรือตีบ อุดตันซึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่าโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมีโอกาสเป็นโรคดังกล่าว สูงกว่าคนที่มีความดันปกติ 3-17 เท่าโรคดังกล่าวมักพบกับคนวัยทำงานเป็นเสาหลักของครอบครัวมีอายุ 45 ปีขึ้นไป” นพ.ณรงค์ กล่าวในที่สุด
วันนี้ (24 พ.ค.) นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคสุวะพลา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ทางการแพทย์และโภชนาการ พบว่า ขณะนี้คนไทยนิยมบริโภคอาหารรสเค็ม ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของอาหารรสแซบ เช่น อาหารประเภทยำ ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ ซึ่งจะต้องใส่เครื่องปรุงมากกว่าปกติ บางรายติดแม้ปรุงแล้วก็ปรุงเพิ่มเติมอีก รวมทั้งยังมีขนมขบเคี้ยว หรือที่วัยรุ่นเรียกว่าสแน็ก ทำให้ปริมาณเกลือมีมากกว่าความจำเป็นของร่างกายถึง 3 เท่าตัวโดยองค์การอนามัยโลกกำหนดให้ต่อวันควรได้รับเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา แต่ค่าเฉลี่ยอาหารที่คนไทยบริโภคมีเกลือสูงถึง 3 ช้อนชาต่อคน ขณะเดียวกัน คนไทยกินผักน้อยลงเรื่อยๆ เฉลี่ยวันละ 3 ทัพพี การกินเค็มดังกล่าวทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและไตวาย
“จากการสำรวจสภาวะสุขภาพคนไทย โดยการตรวจร่างกายปี 2547 พบคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปมีความดันโลหิตสูงผิดปกติ (เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท ขึ้นไป) เกือบ 11 ล้านคน หรือร้อยละ 22 ของประชากร ในผู้ชายพบร้อยละ 23 และหญิงร้อยละ 21 เพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อปี 2540 กว่า 1 เท่าตัว ในจำนวนนี้เกือบ 6 ล้านคนไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มที่รู้ตัวมีเพียงร้อยละ 30 ที่เข้ารักษาตัว และปฏิบัติตัวจนสามารถควบคุมความดันลดลงมาเหลือปกติ (ไม่เกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท) เพียงร้อยละ 16 เท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่ต้องรณรงค์ ทั้งเรื่องการลดบริโภคอาหารรสเค็ม รับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น และต้องออกกำลังกายเป็นประจำ หากปล่อยให้ปัญหาบานปลายอาการความดันโลหิตสูงกำเริบจนถึงขั้นเจ็บป่วยจะทำให้ประเทศไทยต้องลงทุนรักษาผู้ป่วยเหล่านี้ปีละเกือบ 20,000 ล้านบาท”
ด้านนพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ลักษณะการป่วยจากโรคความดันโลหิตสูงจะค่อยเป็นค่อยไป เรียกว่า “ฆาตกรเงียบ” โดยในระยะแรกไม่มีอาการผิดปกติจะรู้ตัว เมื่อมีอาการแสดงสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าจะเป็นความดันโลหิตสูง ได้แก่ วิงเวียน ปวดศีรษะบ่อยๆ โดยเฉพาะบริเวณท้ายทอย ตาพร่ามัว บางรายอยู่เฉยๆ ก็วูบ จะต้องรีบพบแพทย์ เนื่องจากความดันโลหิตสูงเกิดจากเส้นเลือดตีบตัน ยังมีคนไทยบางรายเข้าใจว่าคนเป็นโรคนี้จะต้องอ้วนเท่านั้น คนผอมไม่เป็น ซึ่งปัจจุบันพบได้ทั้งคนอ้วน คนผอม อันตรายทั้งคู่
“วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดจะต้องลดเกลือ เพิ่มผักผลไม้ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตรวจเช็กความดันโลหิตทุก 6 เดือน รายใดที่ความดันสูงผิดปกติยังมีเวลารักษาทันด้วยการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ 3 หลักการใหญ่ คือ กินยา ออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร กินอาหารรสจืดกินผักให้ได้วันละ 5 ทับพีเป็นอย่างน้อย ทั้งนี้ หากไม่รักษา โรคจะกำเริบ อันตรายที่สำคัญและน่ากลัวที่สุดโรคหลอดเลือดสมองแตกหรือตีบ อุดตันซึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่าโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมีโอกาสเป็นโรคดังกล่าว สูงกว่าคนที่มีความดันปกติ 3-17 เท่าโรคดังกล่าวมักพบกับคนวัยทำงานเป็นเสาหลักของครอบครัวมีอายุ 45 ปีขึ้นไป” นพ.ณรงค์ กล่าวในที่สุด