พื้นที่ป่าต้นน้ำแม่ลาว ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่เรียกได้ว่ามีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งป่าไม้ และเทือกเขาอันสลับซับซ้อน เป็นแหล่งต้นน้ำ สายธารน้ำตก เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า พืชสมุนไพรและแหล่งกองกำลังสำคัญทางด้านอาหารธรรมชาติที่หลากหลาย

ท่ามกลางทรัพยากรธรรมชาติที่เกื้อกูลให้ชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ตามวิถีของแต่ละกลุ่มชน ทำให้ชุมชน เหล่านี้มีวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อที่สอดคล้องกับธรรมชาติ โดยเฉพาะการอยู่ร่วมกันกับป่า และการจัดการดูแล รักษาป่าต้นน้ำได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนสืบทอดกันมานับตั้งแต่บรรพบุรุษ
บุญประเสริฐ ทนันชัย ที่ปรึกษาเครือข่ายอนุรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ลาว บอกว่า พื้นที่ป่าต้นน้ำแม่ลาว ธรรมชาติได้แบ่งแยก เอาไว้อย่างชัดเจน ชาวบ้านแทบไม่ต้องต่อสู้ดิ้นรนมากนัก เพียงแต่ไม่ไปทำลายก็สามารถมีกินมีใช้อยู่ได้ในชุมชน เพราะมีอาหารธรรมชาติขึ้นอยู่เต็มทั่วทั้งผืนป่า เช่น หน่อไม้ หนอนไม้ไผ่ นอกนั้นยังมีเห็ดเกิดขึ้นหลายชนิด ทั้งเห็ดโคน เห็ดผึ้งหรือเห็ดปลวก ฯลฯ ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์จากป่าครบวงจรชีวิต เป็น “ป่าสวนครัว” ของทุกคน แม้ยามเจ็บไข้ได้ป่วย ก็มีสมุนไพรช่วยรักษา โดยไม่ต้องพึ่งพาโลกภายนอก
“ที่นี่เรามีน้ำอันบริสุทธิ์สามารถดื่มกินได้ทันทีโดยไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต มีสัตว์ป่าหลายชนิด ที่สามารถพบเห็นได้ในป่าต้นน้ำแม่โถ”
ด้านอ้ายอินแหลง ไทยกรณ์ ประธานเครือข่ายอนุรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ลาว บอกว่า วิถีของเราเริ่มจาก “ข้าวตำ น้ำตัก” ช่วยเหลือเกื้อกูลกันมานาน มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง แต่เมื่อติดต่อกับโลกภายนอกมากขึ้นก็เริ่มนำสิ่งแปลกปลอมเข้ามาสู่ชุมชนทีละน้อย เช่น ซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ ขนมขบเคี้ยว ของเล่นติดไม้ติดมือกลับมาฝากลูกฝากหลานกันยกใหญ่ นานๆเข้าจึงเกิดความเคยชิน จนทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ต่อมาเมื่อปี 2527 ผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างมากสำหรับชาวบ้านแม่โถคือ การเข้ามาสัมปทานเหมืองแร่ของนายทุนทำให้มีการตัดต้นไม้ใหญ่ไปเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างถนนหนทางให้เดินทางเข้าออกได้สะดวกขึ้น มีการเอารถแบ็กโฮมาขุดเจาะแร่ จนทำให้สายน้ำแม่โถมีลักษณะขุ่นและมีสีแดง ไม่สามารถอุปโภค บริโภคได้

อีกทั้งผู้คนกว่า 200 คนที่มากับการเกิดขึ้นของเหมืองแร่ ต่างก็มีส่วนทำลายความงดงามของแม่ลาวกันอย่างเมามันบ้างก็กินเหล้ายามค่ำคืนส่งเสียงดังไปทั่วทั้งผืนป่า ทำให้สัตว์ป่าอพยพหนีไปเป็นจำนวนมาก หนำซ้ำบางคนถึงกับติดยาเสพติด บ้างก็ตัดต้นไม้มาสร้างบ้านเรือน แต่ละหลังมีขนาดใหญ่ๆกันทั้งนั้น
ป่าที่เคยเงียบสงบกลับวุ่นวายสับสนกันไปหมด ...พอเหมืองแร่หมดไปก็ทิ้งความเสื่อมโทรมเป็นมรดกให้ขบคิดแก้ไข
จากนั้น ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านจึงมาปรึกษาหารือกันในเรื่องการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ โดยส่งผู้นำชุมชนไปอบรมดูงานในที่ต่างๆ แล้วกลับมาขยายแนวความคิดการรักษาป่าต้นน้ำออกไปสู่ลูกบ้าน รวมตัวกันเป็นเครือข่ายชุมชนคนรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ลาว โดยมีหมู่บ้านแม่โถ หมู่บ้านห้วยคุณพระและหมู่บ้านขุนลาว เป็นหมู่บ้านที่ริเริ่มแนวคิดในเรื่องนี้ ต่อมาก็มีบ้านเมืองน้อย บ้านห้วยน้ำริน บ้านปางมะกาด บ้านห้วยทราย บ้านปางมะแหละ และหมู่บ้านอื่นๆที่ได้เข้ามาเป็นเครือข่ายเพื่อร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรตลอดลุ่มน้ำ
โส จานเก่า รองประธานเครือข่ายป่าต้นน้ำแม่ลาว เล่าว่า กิจกรรมที่เป็นไปเพื่อการอนุรักษ์ป่าและสายน้ำ มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน เช่น การทำแนวกันไฟ การจัดทำระบบเหมืองฝาย การทำน้ำประปาภูเขา มีการบวชป่าสืบชะตาแม่น้ำ การเลี้ยงผีขุนน้ำ เป็นการทำพิธีสังเวยผีฟ้า เทวดาอารักษ์ ที่คอยสอดส่องดูแลเพื่อปกป้องรักษาผืนป่าที่เป็นแหล่งกำเนิดของสายน้ำ จนทำให้ป่าที่มีแนวโน้มจะเสื่อมโทรม สมบูรณ์ขึ้นมาอีกครั้ง
ส่วนกิจกรรมที่ชาวบ้านให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก คือ การใช้พลังงานที่ไม่ไปทำลายระบบนิเวศ โดยการติดตั้งเป็นแผงโซลาร์เซลล์รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่ใช้เป็นพลังงานในครัวเรือน
ขณะที่การประกอบอาชีพก็จะอิงอยู่กับระบบนิเวศในท้องถิ่น เป็นกิจกรรมเพื่อการยังชีพอยู่ร่วมกันกับป่าอย่างพอเพียง เป็นการปลูกเพื่ออยู่เพื่อกิน เพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือไม่ก็แจกจ่ายพี่น้อง โดยไม่หวังค้าขายมากนัก เช่น การปลูกข้าวไร่และพืชอื่นๆ โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าแมลง
...และนี่คืออีกวิถีชีวิตหนึ่งที่อยู่อย่างพอเพียงที่แท้จริง
ท่ามกลางทรัพยากรธรรมชาติที่เกื้อกูลให้ชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ตามวิถีของแต่ละกลุ่มชน ทำให้ชุมชน เหล่านี้มีวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อที่สอดคล้องกับธรรมชาติ โดยเฉพาะการอยู่ร่วมกันกับป่า และการจัดการดูแล รักษาป่าต้นน้ำได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนสืบทอดกันมานับตั้งแต่บรรพบุรุษ
บุญประเสริฐ ทนันชัย ที่ปรึกษาเครือข่ายอนุรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ลาว บอกว่า พื้นที่ป่าต้นน้ำแม่ลาว ธรรมชาติได้แบ่งแยก เอาไว้อย่างชัดเจน ชาวบ้านแทบไม่ต้องต่อสู้ดิ้นรนมากนัก เพียงแต่ไม่ไปทำลายก็สามารถมีกินมีใช้อยู่ได้ในชุมชน เพราะมีอาหารธรรมชาติขึ้นอยู่เต็มทั่วทั้งผืนป่า เช่น หน่อไม้ หนอนไม้ไผ่ นอกนั้นยังมีเห็ดเกิดขึ้นหลายชนิด ทั้งเห็ดโคน เห็ดผึ้งหรือเห็ดปลวก ฯลฯ ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์จากป่าครบวงจรชีวิต เป็น “ป่าสวนครัว” ของทุกคน แม้ยามเจ็บไข้ได้ป่วย ก็มีสมุนไพรช่วยรักษา โดยไม่ต้องพึ่งพาโลกภายนอก
“ที่นี่เรามีน้ำอันบริสุทธิ์สามารถดื่มกินได้ทันทีโดยไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต มีสัตว์ป่าหลายชนิด ที่สามารถพบเห็นได้ในป่าต้นน้ำแม่โถ”
ด้านอ้ายอินแหลง ไทยกรณ์ ประธานเครือข่ายอนุรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ลาว บอกว่า วิถีของเราเริ่มจาก “ข้าวตำ น้ำตัก” ช่วยเหลือเกื้อกูลกันมานาน มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง แต่เมื่อติดต่อกับโลกภายนอกมากขึ้นก็เริ่มนำสิ่งแปลกปลอมเข้ามาสู่ชุมชนทีละน้อย เช่น ซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ ขนมขบเคี้ยว ของเล่นติดไม้ติดมือกลับมาฝากลูกฝากหลานกันยกใหญ่ นานๆเข้าจึงเกิดความเคยชิน จนทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ต่อมาเมื่อปี 2527 ผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างมากสำหรับชาวบ้านแม่โถคือ การเข้ามาสัมปทานเหมืองแร่ของนายทุนทำให้มีการตัดต้นไม้ใหญ่ไปเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างถนนหนทางให้เดินทางเข้าออกได้สะดวกขึ้น มีการเอารถแบ็กโฮมาขุดเจาะแร่ จนทำให้สายน้ำแม่โถมีลักษณะขุ่นและมีสีแดง ไม่สามารถอุปโภค บริโภคได้
อีกทั้งผู้คนกว่า 200 คนที่มากับการเกิดขึ้นของเหมืองแร่ ต่างก็มีส่วนทำลายความงดงามของแม่ลาวกันอย่างเมามันบ้างก็กินเหล้ายามค่ำคืนส่งเสียงดังไปทั่วทั้งผืนป่า ทำให้สัตว์ป่าอพยพหนีไปเป็นจำนวนมาก หนำซ้ำบางคนถึงกับติดยาเสพติด บ้างก็ตัดต้นไม้มาสร้างบ้านเรือน แต่ละหลังมีขนาดใหญ่ๆกันทั้งนั้น
ป่าที่เคยเงียบสงบกลับวุ่นวายสับสนกันไปหมด ...พอเหมืองแร่หมดไปก็ทิ้งความเสื่อมโทรมเป็นมรดกให้ขบคิดแก้ไข
จากนั้น ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านจึงมาปรึกษาหารือกันในเรื่องการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ โดยส่งผู้นำชุมชนไปอบรมดูงานในที่ต่างๆ แล้วกลับมาขยายแนวความคิดการรักษาป่าต้นน้ำออกไปสู่ลูกบ้าน รวมตัวกันเป็นเครือข่ายชุมชนคนรักษ์ป่าต้นน้ำแม่ลาว โดยมีหมู่บ้านแม่โถ หมู่บ้านห้วยคุณพระและหมู่บ้านขุนลาว เป็นหมู่บ้านที่ริเริ่มแนวคิดในเรื่องนี้ ต่อมาก็มีบ้านเมืองน้อย บ้านห้วยน้ำริน บ้านปางมะกาด บ้านห้วยทราย บ้านปางมะแหละ และหมู่บ้านอื่นๆที่ได้เข้ามาเป็นเครือข่ายเพื่อร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรตลอดลุ่มน้ำ
โส จานเก่า รองประธานเครือข่ายป่าต้นน้ำแม่ลาว เล่าว่า กิจกรรมที่เป็นไปเพื่อการอนุรักษ์ป่าและสายน้ำ มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน เช่น การทำแนวกันไฟ การจัดทำระบบเหมืองฝาย การทำน้ำประปาภูเขา มีการบวชป่าสืบชะตาแม่น้ำ การเลี้ยงผีขุนน้ำ เป็นการทำพิธีสังเวยผีฟ้า เทวดาอารักษ์ ที่คอยสอดส่องดูแลเพื่อปกป้องรักษาผืนป่าที่เป็นแหล่งกำเนิดของสายน้ำ จนทำให้ป่าที่มีแนวโน้มจะเสื่อมโทรม สมบูรณ์ขึ้นมาอีกครั้ง
ส่วนกิจกรรมที่ชาวบ้านให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก คือ การใช้พลังงานที่ไม่ไปทำลายระบบนิเวศ โดยการติดตั้งเป็นแผงโซลาร์เซลล์รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่ใช้เป็นพลังงานในครัวเรือน
ขณะที่การประกอบอาชีพก็จะอิงอยู่กับระบบนิเวศในท้องถิ่น เป็นกิจกรรมเพื่อการยังชีพอยู่ร่วมกันกับป่าอย่างพอเพียง เป็นการปลูกเพื่ออยู่เพื่อกิน เพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือไม่ก็แจกจ่ายพี่น้อง โดยไม่หวังค้าขายมากนัก เช่น การปลูกข้าวไร่และพืชอื่นๆ โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าแมลง
...และนี่คืออีกวิถีชีวิตหนึ่งที่อยู่อย่างพอเพียงที่แท้จริง