เนื่องในวันที่ 20 พฤษภาคม 2549 ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ ตรงกับ “วันอัฐมีบูชา” หรือ “วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ” ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า “ประเพณีเผาศพพระพุทธเจ้าจำลอง” ซึ่งชาวพุทธจึงนิยมถือว่าดังกล่าวเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวชและระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสติภาวนามัยกุศล
สำหรับกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น การถวายภัตราหารแด่พระสงฆ์ การแห่พระบรมศพพระพุทธเจ้าจำลอง กระกระทำทักษิณาวัตรเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา การจัดแสดงขบวนแห่งจำลองเหตุการณ์เกี่ยวกับพุทธประวัติ นรกภูมิและวิถีชีวิตไทย ที่แสดงให้เห็นถึงผู้ที่กระทำผิดศีลจะได้รับกรรมตอบสนองในรูปแบบต่างๆ ที่เป็นความทุกข์ทรมานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อย้ำเตือนให้พุทธศาสนิกชนที่ไปร่วมงานได้เกิดสติคำนึงถึงบาปบุญคุณโทษ และมีความเกรงกลัวที่จะกระทำบาป
ในปีนี้มี “วัด” ที่จัดงาน “ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ” หลายแห่งด้วยกัน และเพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานงานบุญประเพณีให้คงอยู่สืบไป จึงขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมบำเพ็ญกุศล ใน “วันอัฐมีบูชา” นี้
วัดบวรนิเวศวิหาร
วัดบวรนิเวศวิหารจัดกิจกรรมเส้นทางบุญ สวดมนต์ ไหว้พระพุทธรูปสำคัญ 9 แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร เสวนาธรรม รวมทั้งสืบสานวัฒนธรรมไทย นิทรรศการ “วันอัฐมีบูชา” ตลาดย้อนยุค และภูมิปัญญาชุมชน ระหว่างวันที่ 20-21 พฤษภาคม 2549 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
วัดใหม่สุคนธาราม
พิธีกรรมการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าของชาว ต.วัดละมุด อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม จัดสืบทอดกันมามากว่า 100 ปีแล้ว โดยพิธีกรรมเริ่มต้นตั้งแต่ตอนเช้าของวันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม ชาวบ้านจะช่วยกันตักบาตรและถวายภัตราหารแด่พระสงฆ์ ส่วนช่วงบ่ายมีการจำลองพิธีอัญเชิญพระบรมศพพระพุทธเจ้าและเวลาประมาณ 14.00 น. จะมีขบวนแห่เกี่ยวกับพุทธประวัติ นรกภูมิ และวิถีชีวิตไทยจากหมู่บ้านต่างๆ 9 ขบวน ในช่วงเย็นประมาณ 17.00 น.จึงเริ่มพิธีสงฆ์ โดยจะร่วมกันสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ จนกระทั่งชาวบ้านจุดพลุ ตะไล และดอกไม้ไฟถวายเป็นพุทธบูชาถือเป็นอันเสร็จพิธี ทั้งนี้สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คุณชำนาญ ส่งแสงทอง 0-1944-2784
วัดด่าน พระราม 3 ยานนาวา
ในกรุงเทพมหานครมีวัดที่จะจัดพิธีกรรมในลักษณะนี้น้อยมาก หนึ่งในวัดด่าน พระราม 3 ยานนาวา ได้มีการฟื้นฟูพิธีกรรมนี้ขึ้นมา โดยมี พระครูสถิตบุญวัฒน์ ท่านเจ้าอาวาส ร่วมกับสำนักงานเขตได้ทำการริเริ่มขึ้น ซึ่งปีนี้จะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 13-20 พฤษภาคมนี้ โดยในวันที่ 13-19 พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ตั้งแต่เวลา 19.00 น. และในวันที่ 20 ซึ่งตรงกับ แรม 8 ค่ำ เดือน 6 จะทำพิธีถวายพระเพลิง พร้อมกับโปรยพระธาตุ
ทั้งนี้ในพิธีดังกล่าว จะมีการแห่พระศพจากพระอุโบสถ นำมาประดับไว้บนเมรุที่ตกแต่งเตรียมเอาไว้ จากนั้นมีการสวดพระพุทธมนต์ และถวายพระเพลิง พิธีเวียนเทียน เมื่อประชุมเพลิงเสร็จแล้ว พระสงฆ์จะเจริญพระพุทธมนต์ พร้อมกับมีการโปรยถั่ว เป็นการจำลองว่า ถั่วนั้นเป็นส่วนของพระธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้ผ่านการปลุกเสกแล้ว มีความเชื่อกันว่า ผู้ที่มาร่วมงานนั้น หากใครที่ได้ถั่วกลับไป ผู้นั้นจะอยู่เย็นเป็นสุข
สำหรับกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น การถวายภัตราหารแด่พระสงฆ์ การแห่พระบรมศพพระพุทธเจ้าจำลอง กระกระทำทักษิณาวัตรเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา การจัดแสดงขบวนแห่งจำลองเหตุการณ์เกี่ยวกับพุทธประวัติ นรกภูมิและวิถีชีวิตไทย ที่แสดงให้เห็นถึงผู้ที่กระทำผิดศีลจะได้รับกรรมตอบสนองในรูปแบบต่างๆ ที่เป็นความทุกข์ทรมานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อย้ำเตือนให้พุทธศาสนิกชนที่ไปร่วมงานได้เกิดสติคำนึงถึงบาปบุญคุณโทษ และมีความเกรงกลัวที่จะกระทำบาป
ในปีนี้มี “วัด” ที่จัดงาน “ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ” หลายแห่งด้วยกัน และเพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานงานบุญประเพณีให้คงอยู่สืบไป จึงขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมบำเพ็ญกุศล ใน “วันอัฐมีบูชา” นี้
วัดบวรนิเวศวิหาร
วัดบวรนิเวศวิหารจัดกิจกรรมเส้นทางบุญ สวดมนต์ ไหว้พระพุทธรูปสำคัญ 9 แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร เสวนาธรรม รวมทั้งสืบสานวัฒนธรรมไทย นิทรรศการ “วันอัฐมีบูชา” ตลาดย้อนยุค และภูมิปัญญาชุมชน ระหว่างวันที่ 20-21 พฤษภาคม 2549 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
วัดใหม่สุคนธาราม
พิธีกรรมการถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าของชาว ต.วัดละมุด อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม จัดสืบทอดกันมามากว่า 100 ปีแล้ว โดยพิธีกรรมเริ่มต้นตั้งแต่ตอนเช้าของวันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม ชาวบ้านจะช่วยกันตักบาตรและถวายภัตราหารแด่พระสงฆ์ ส่วนช่วงบ่ายมีการจำลองพิธีอัญเชิญพระบรมศพพระพุทธเจ้าและเวลาประมาณ 14.00 น. จะมีขบวนแห่เกี่ยวกับพุทธประวัติ นรกภูมิ และวิถีชีวิตไทยจากหมู่บ้านต่างๆ 9 ขบวน ในช่วงเย็นประมาณ 17.00 น.จึงเริ่มพิธีสงฆ์ โดยจะร่วมกันสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ จนกระทั่งชาวบ้านจุดพลุ ตะไล และดอกไม้ไฟถวายเป็นพุทธบูชาถือเป็นอันเสร็จพิธี ทั้งนี้สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คุณชำนาญ ส่งแสงทอง 0-1944-2784
วัดด่าน พระราม 3 ยานนาวา
ในกรุงเทพมหานครมีวัดที่จะจัดพิธีกรรมในลักษณะนี้น้อยมาก หนึ่งในวัดด่าน พระราม 3 ยานนาวา ได้มีการฟื้นฟูพิธีกรรมนี้ขึ้นมา โดยมี พระครูสถิตบุญวัฒน์ ท่านเจ้าอาวาส ร่วมกับสำนักงานเขตได้ทำการริเริ่มขึ้น ซึ่งปีนี้จะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 13-20 พฤษภาคมนี้ โดยในวันที่ 13-19 พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ตั้งแต่เวลา 19.00 น. และในวันที่ 20 ซึ่งตรงกับ แรม 8 ค่ำ เดือน 6 จะทำพิธีถวายพระเพลิง พร้อมกับโปรยพระธาตุ
ทั้งนี้ในพิธีดังกล่าว จะมีการแห่พระศพจากพระอุโบสถ นำมาประดับไว้บนเมรุที่ตกแต่งเตรียมเอาไว้ จากนั้นมีการสวดพระพุทธมนต์ และถวายพระเพลิง พิธีเวียนเทียน เมื่อประชุมเพลิงเสร็จแล้ว พระสงฆ์จะเจริญพระพุทธมนต์ พร้อมกับมีการโปรยถั่ว เป็นการจำลองว่า ถั่วนั้นเป็นส่วนของพระธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้ผ่านการปลุกเสกแล้ว มีความเชื่อกันว่า ผู้ที่มาร่วมงานนั้น หากใครที่ได้ถั่วกลับไป ผู้นั้นจะอยู่เย็นเป็นสุข
"วันอัฏฐมีบูชา” : “วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ” ตามพุทธประวัติเล่าว่า ครั้นเมื่อถึงวันที่ 7 ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 จึงได้อัญเชิญพระศพไปถวายพระเพลิง ซึ่งคำแปลของ อัฏฐมีบูชา นั้น คือ การบูชาในดิถีที่ 8 ได้แก่การบูชาพระพุทธเจ้าในวันถวายเพลิงพุทธสรีระ ซึ่งจะทำภายหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 7 วัน หากปีใดมี “อธิกมาส” หรือมีเดือน 8 สองหน ก็จะตรงกับแรม 8 ค่ำ เดือน 7 โดยหลังจากเสร็จพิธีก็จะเป็นการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ หรือกระดูกของพระพุทธเจ้า ในพระพุทธประวัติมีอยู่ตอนหนึ่ง เล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน พระอนุรุทธะ ได้มอบให้พระอานนท์ ไปแจ้งข่าวแก่บรรดามัลลกษัตริย์ ในเมืองกุสินารา เมื่อทราบข่าวต่างโศกเศร้าเสียใจอาลัยในสมเด็จพระศาสดา และแจ้งข่าวให้ราชบริพาร พร้อมกับชาวเมืองได้รับทราบ จากนั้นให้จัดเตรียมเครื่องหอม, ดอกไม้, ดนตรี และผ้าอีก 500 คู่ เข้าไปยังป่าสาลวัน ทำการบูชาพระพุทธสรีระด้วยดอกไม้ของหอม แล้วโสรจสรงพระพุทธสรีระ นั่นคือการกระทำเช่นเดียวกับสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิ จากนั้นในพิธีถวายพระเพลิง ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ใต้ต้นสาละ ในราตรี 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่ง มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ทำการบูชาพระสรีระ ด้วยสักการะอย่างมโหฬาร เป็นเวลา 6 วัน ครั้งมาถึงวันที่ 7 ก็ปรึกษากันว่า จะอัญเชิญพระพุทธสรีระไปทางทิศใต้ของพระนครแล้วถวายเพลิงที่นั่น แต่กษัตริย์มัลลราช 8 พระองค์ได้พร้อมกันไปยกเพื่ออัญเชิญพระศพ แต่ไม่สามารถยกพระศพให้เคลื่อนที่ได้ ยังความประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง จึงได้เข้าไปถามพระอนุรุทธะ ว่า เป็นเพราะสาเหตุใด ซึ่ง พระเถระ ตอบว่า เพราะเทพยดาทั้งหลาย ต้องการอัญเชิญพระบรมศพเข้าเมืองทางประตูด้านทิศเหนือก่อน อัญเชิญไปในกลางพระนคร แล้วออกจากพระนครทางทิศตะวันออก และเชิญพระพุทธสรีระไปประดิษฐานถวายพระเพลิง ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ทางด้านทิศตะวันออกแห่งพระนครกุสินารา เทพยดามีความประสงค์ดังนี้ ทำให้ มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย ปฏิบัติตามพระเถระกล่าวแจ้งนั้น ซึ่งการเคลื่อนย้ายก็เป็นไปอย่างง่ายดาย เมื่อเคลื่อนพระศพไปทั่วพระนครแล้ว จึงอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระจิตกาธาน ลำดับนั้น มัลลกษัตริย์ 4 พระองค์ ชำระร่างกายให้บริสุทธิ์แล้วแต่งเครื่องทรงชุดใหม่ นำเพลิงเข้าจุดที่พระจิตกาธานทั้ง 4 แต่ไม่สามารถจุดให้ติดได้ ซึ่ง พระอนุรุทธเถระ กล่วาว่า มหาบพิตร เทพยดาทั้งหลายมีความประสงค์ จะรอคอยท่านพระมหากัสสปเถระ ซึ่งเป็นสาวกพระผู้ใหญ่ เพื่อให้ท่านได้ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระศาสดา ถ้าท่านพระมหากัสสปะ ยังมิได้ถวายนมัสการตราบใด เพลิงก็จุดไม่ติดตราบนั้น ขณะเดียวกัน พระมหากัสสปเถระ ได้เดินทางจากเมืองปาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์บริวาร 500 รูป เพื่อเข้าเฝ้าพระศาสดา ระหว่างทางได้แวะพัก และได้เห็น “อาชีวก” คนหนึ่ง ถือดอกมณฑารพ หรือดอกไม้สวรรค์ ก็เลยแปลกใจ เพราะดอกไม้นี้จะปรากฏในโลกต่อเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญ เกี่ยวกับพระบรมโพธิสัตว์ นั่นก็คือ เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดา, ประสูติ, เสด็จออกบรรพชา, ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ, ตรัสเทศนาพระธรรมจักร, ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์, เสด็จลงจากเทวโลก, ทรงปลงอายุขัย และเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระมหากัสสปเถระ จึงได้ไต่ถาม อาชีวก จึงได้ทราบความดังกล่าว จึงเดินทางไปยังมกุฏพันธนเจดีย์ และเข้าไปยังจิตกาธานกระทำประทักษิณเวียนสามรอบ แล้วยืนถวายอภิวาททางเบื้องพระบาท แล้วเกิดเรื่องอัศจรรย์ขึ้น เมื่อพระบาททั้งคู่ทำลายผ้าที่หุ้มห่อพระพุทธสรีระออกมาปรากฏภายนอก พระมหาเถระยกพระบาททั้งคู่เชิดชูไว้เหนือศรีษะ พร้อมกราบทูลต่อพระองค์ แล้วพระมหาเถระพร้อมกับพระสงฆ์บริวารได้อภิวาทกราบนมัสการโดยทั่วกัน จากนั้นพระเพลิงก็เกิดข้นเองที่จตกาธาน ด้วยอานุภาพของ เทพยดา เพลงิไปเผาพระพุทธสรีระพร้อมทั้งคู่ผ้า 500 ชั้นกับทั้งหีบทองและจิตกาธานจนหมดสิ้น จะเหลือเพียงแค่ ผ้าที่หุ้มห่อพระบรมศพชั้นใน 1 ผืน ชั้นนอก 1 ผืน, พระเขี้ยวแก้วทั้ง 4, พระรากขวัญ(กระดูกไหปลาร้า) ทั้ง 2 และพระอุณหิส คือ พระอัฐิเบื้องบนพระเศียร ส่วนพระธาตุที่เหลือจากนั้นแตกออกเป็น 3 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ เท่าเมล็ดถั่วแตก, ขนาดกลาง เท่ากับเมล็ดข้าวสารหัก และขนาดเล็ก เท่ากับเมล็ดพันธุ์ผักกาด |