สาธารณสุขตั้งทีมสื่อสารสร้างสรรค์ในโรงพยาบาล หวังลดความขัดแย้งระหว่างผู้ให้บริการกับคนไข้และญาติ รอบ 4 ปีปัญหาความขัดแย้งพุ่งสูงถึง 6 เท่า จากปีละ 50 เรื่อง เป็นปีละกว่า 300 เรื่อง ผอ.ศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข เผยคดี “น้องเต๋า” เจ้าชายนิทราจากการทำฟันเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยแล้ว
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดประชุมการสื่อสารในโรงพยาบาลเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ มีแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จากทั่วประเทศเข้าร่วม 150 คน เพื่อสร้างทีมสื่อสารในหน่วยบริการเพื่อลดการฟ้องร้องแพทย์ ซึ่งในรอบ 4 ปีที่ผ่านมาความขัดแย้งระหว่างคนไข้กับผู้ให้บริการเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า จากปีละ 50 เรื่องเป็นปีละกว่า 300 เรื่อง เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนแพทย์ การกระจายของแพทย์ไม่เหมาะสม ในต่างจังหวัดแพทย์ 1 คน ต้องตรวจคนไข้มากกว่า 100 คน ใน 3 ชั่วโมง เฉลี่ยคนละ 2-3 นาที ขณะที่สถิติการรักษาแบบผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลภาครัฐปี 2548 มีมากถึง 118 ล้านครั้ง ผู้ป่วยใน 4.5 ล้านคน แต่ละคนนอนในโรงพยาบาล 3-5 วัน
ทั้งนี้ ข้อมูลของแพทยสภาตั้งแต่ปี 2531-2547 มีเรื่องร้องเรียนแพทย์ 2,247 เรื่อง ในจำนวนนี้นำไปสู่การฟ้องร้องเป็นคดีอาญา 31 คดี สาเหตุจูงใจในการฟ้องร้องแพทย์คือ ผลแทรกซ้อนร้ายแรงจากการรักษา รองลงมาเนื่องจากความบกพร่องของแพทย์ ความคาดหวังสูงต่อการรักษา การรับรู้ข้อมูลไม่ตรงกัน ต้องการเรียกร้องค่าชดเชย หากผู้ให้บริการมีการพูดคุยยิ้มแย้มกับคนไข้จะสร้างบรรยากาศแห่งความเป็นมิตร
นพ.บรรพต ต้นธีรวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้รักษาราชการแทนปลัด สธ. ได้ลงนามในหนังสือขออุทธรณ์และไกล่เกลี่ยคดี ด.ช.ชนายุทธ ประตังถาเน หรือน้องเต๋า ซึ่งได้รับผลกระทบจากการทำฟันจนกลายเป็นเจ้าชายนิทราแล้ว ส่วนแม่น้องเต๋าก็ลงนามในหนังสือเพื่อไกล่เกลี่ยแล้วเช่นกัน หากศาลอุทธรณ์นัดมาทั้ง สธ. และผู้เสียหายจะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยประนีประนอม คาดว่าจะดำเนินการได้ในเร็วๆ นี้
สำหรับโครงการสร้างทีมสื่อสารในโรงพยาบาลฯ มีการอภิปรายเรื่องความขัดแย้งด้านการรักษาพยาบาล ใครช้ำกว่าใครแพทย์หรือผู้ป่วย โดยนางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ นายชมะนันท์ วรรณวินเวศร์ ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ทีวี ร่วมอภิปรายด้วย
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดประชุมการสื่อสารในโรงพยาบาลเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ มีแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จากทั่วประเทศเข้าร่วม 150 คน เพื่อสร้างทีมสื่อสารในหน่วยบริการเพื่อลดการฟ้องร้องแพทย์ ซึ่งในรอบ 4 ปีที่ผ่านมาความขัดแย้งระหว่างคนไข้กับผู้ให้บริการเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า จากปีละ 50 เรื่องเป็นปีละกว่า 300 เรื่อง เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนแพทย์ การกระจายของแพทย์ไม่เหมาะสม ในต่างจังหวัดแพทย์ 1 คน ต้องตรวจคนไข้มากกว่า 100 คน ใน 3 ชั่วโมง เฉลี่ยคนละ 2-3 นาที ขณะที่สถิติการรักษาแบบผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลภาครัฐปี 2548 มีมากถึง 118 ล้านครั้ง ผู้ป่วยใน 4.5 ล้านคน แต่ละคนนอนในโรงพยาบาล 3-5 วัน
ทั้งนี้ ข้อมูลของแพทยสภาตั้งแต่ปี 2531-2547 มีเรื่องร้องเรียนแพทย์ 2,247 เรื่อง ในจำนวนนี้นำไปสู่การฟ้องร้องเป็นคดีอาญา 31 คดี สาเหตุจูงใจในการฟ้องร้องแพทย์คือ ผลแทรกซ้อนร้ายแรงจากการรักษา รองลงมาเนื่องจากความบกพร่องของแพทย์ ความคาดหวังสูงต่อการรักษา การรับรู้ข้อมูลไม่ตรงกัน ต้องการเรียกร้องค่าชดเชย หากผู้ให้บริการมีการพูดคุยยิ้มแย้มกับคนไข้จะสร้างบรรยากาศแห่งความเป็นมิตร
นพ.บรรพต ต้นธีรวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้รักษาราชการแทนปลัด สธ. ได้ลงนามในหนังสือขออุทธรณ์และไกล่เกลี่ยคดี ด.ช.ชนายุทธ ประตังถาเน หรือน้องเต๋า ซึ่งได้รับผลกระทบจากการทำฟันจนกลายเป็นเจ้าชายนิทราแล้ว ส่วนแม่น้องเต๋าก็ลงนามในหนังสือเพื่อไกล่เกลี่ยแล้วเช่นกัน หากศาลอุทธรณ์นัดมาทั้ง สธ. และผู้เสียหายจะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยประนีประนอม คาดว่าจะดำเนินการได้ในเร็วๆ นี้
สำหรับโครงการสร้างทีมสื่อสารในโรงพยาบาลฯ มีการอภิปรายเรื่องความขัดแย้งด้านการรักษาพยาบาล ใครช้ำกว่าใครแพทย์หรือผู้ป่วย โดยนางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ นายชมะนันท์ วรรณวินเวศร์ ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ทีวี ร่วมอภิปรายด้วย