อาคารขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ เกิดขึ้นมากมายในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่าน มีทั้ง โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า อาคารพาณิชย์ ตลอดจนหน่วยงานราชการขนาดใหญ่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น คือ ศูนย์ราชการที่ถนนแจ้งวัฒนะ ก่อนหน้านี้ผมเคยได้กล่าวถึงการดูแลระบบวิศวกรรมต่างๆ เพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างมีสมรรถนะตามที่ออกแบบไว้ อีกทั้งเกิดการประหยัดพลังงานและรักษาไว้ซึ่งมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการอาคารมิได้ครอบคลุมเพียงแค่ระบบวิศวกรรมเหล่านี้(Facility Management) โดยเฉพาะอาคารพาณิชย์ที่มีผู้เช่า (Tenants) และ ลูกค้าที่มาทำธุรกิจ/ธุรกรรม ที่อาคาร ดังนั้น จึงต้องมีระบบจัดการด้านทรัพย์สิน(Facility Management)และลูกค้าสัมพันธ์(Customer Relation Management)ด้วย

จากเหตุผลที่ปริมาณธุรกิจการค้า(Business Transaction)เกิดขึ้นมาก จึงจำเป็นต้องพึ่ง “สมองกล” : ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ มาช่วยรองรับการคำนวณ การติดตามผล การตรวจสอบ เพื่อลดความผิดพลาดที่บางครั้งหมายถึงก้อนเงินรายได้มหาศาล ทั้งนี้ก็เนื่องจากสมองกลเหล่านี้ช่วยติดตาม “รายละเอียด” แบบกัดไม่ปล่อย และในขณะเดียวกันก็รายงานสถานะต่างๆ เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ที่รวมเรื่องของ ดรรชนีชี้วัด Balanced Score Card เอาไว้ด้วย ถือว่าเป็นผู้ช่วยที่เจ้าของอาคารนำมาใช้ในการแข่งขันอีกด้วย ในแง่ของการจัดการแล้วหลายท่านเห็นว่าประเด็นหลังเป็นเรื่องที่สำคัญมากครับ
การใช้งานค่อนข้างสะดวก เพราะเป็น Web Based Application ผู้ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งเจ้าของอาคารที่มีรหัสเข้า (Password) สามารถ login จากที่ไหนก็ได้ตราบเท่าที่มีบริการอินทราเน็ตให้ ปัจจุบันมีบริษัททั้งไทยและเทศให้บริการซอฟท์แวร์บริหารอาคารเหล่านี้ แต่ผมขอเตือนว่า ถ้าหากท่านเจ้าของอาคารเลือกได้ ขอให้ติดตั้ง Data Server ที่บันทึกข้อมูลทั้งหลายนี้ไว้ที่อาคารของท่านหรืออยู่ในความดูแลของท่าน ส่วนจะต่อกับ Web Server ที่ใดสามารถกระทำได้หลายแนวทาง ที่ผมเสนอเช่นนี้ก็เพราะว่า ข้อมูลของอาคารท่านเป็นสมบัติของท่าน หากตกไปอยู่กับผู้ประสงค์ร้ายหรือคู่แข่งทางธุรกิจ ท่านอาจตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากและเพลี่ยงพล้ำได้ นอกจากนี้ท่านควรเป็นหนึ่งในการกำหนดและเปลี่ยนแปลงรหัสเข้าระบบด้วยครับ ข้อมูลว่าใครได้ Login เข้ามาและเวลาใดบ้าง ก็มีความสำคัญยิ่งสำหรับการตรวจสอบในภายหลัง
อีกประการหนึ่ง เจ้าของอาคาร (Landlord) ต้องการระบบสมองกลนี้ช่วยประมวลข้อมูลเชิงกลยุทธ์ จึงควรพิถีพิถันในการกำหนดความต้องการนี้กับบริษัทผู้ให้บริหารอาคารให้ท่าน มิฉะนั้นเขาอาจ “มัวนิ่ม” นำระบบที่บริษัทเขาต้องใช้ดำเนินการให้บริการท่านตามปกติทั่วๆ ไปและได้คิดค่าใช้จ่ายไปแล้ว มาเก็บเงิน(Double Charge)ท่านอีกครั้งหนึ่ง
สิ่งที่เราใช้วัดว่า ระบบสมองกลดังกล่าวทำในสิ่งที่ผมพูดถึงนั้นมีอยู่สามมิติคือ (1) สามารถประสานข้อมูลและพารามิเตอร์ ระหว่างกลุ่มข้อมูลทางด้านระบบเทคนิค ทรัพย์สิน และลูกค้าสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิผล (Effectiveness) และอย่างต่อเนื่อง (2) มีข้อมูลด้านประสิทธิภาพ (Efficiency) และ (3) รายงานที่เกิดจากการประมวลข้อมูลปฐมภูมิเพื่อการตัดสินใจในเชิงนโยบาย
ผมได้แนะนำซอฟท์แวร์สายพันธ์ต่างชาติที่มาบรรยายสรรพคุณผลิตภัณฑ์ของเขาให้ผมฟังว่า จำเป็นต้องสร้าง identity ของข้อมูลเพื่อให้เราโยงใยระหว่างกลุ่ม 3 กลุ่มข้างต้นได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อ Module ด้านลูกค้าสัมพันธ์ได้รับทราบคำร้องเรียนจากผู้เช่ารายย่อย (Tenants) เกี่ยวกับความเย็นของระบบปรับอากาศซ้ำๆกัน บ่อยเข้าระบบต้องมีสัญญาณชี้ให้เห็นว่าระบบบำรุงรักษาแบบป้องกัน (Preventive Maintenance) ที่ทำอยู่มีประสิทธิผลต่ำควรต้องปรับปรุงได้แล้ว และบอกว่าต้องปรับปรุงในรายการใดบ้าง ที่ทำได้ถึงระดับนี้เพราะในขั้นการพัฒนาซอฟท์แวร์และโครงสร้างข้อมูล ได้ถูก Identity ตราไว้เรียบร้อยแล้ว

ระบบนี้ในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ยังได้ต่อระบบจากจัดซื้อและจัดจ้างกับผู้ขายอุปกรณ์โดยตรงโดยมีการกำหนดราคากลางไว้ มีการประมวลผ่านระบบดิจิตอล จึงปลอดการ “ฮั้ว” กันของผู้ขายและบางรายการเช่น หลอดไฟฟ้า สามารถส่งของกันได้ภายในหนึ่งวัน ทำให้เราไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการสต๊อกอุปกรณ์มากนัก ตลอดจนลดงานกระดาษไปได้มากพอสมควร
ตัวอย่าง KPI ที่ใช้วัดสำหรับการบริหารจัดการคือ แนวโน้มราคาเฉลี่ยของค่าเช่าต่อตารางเมตร (Average Gross Rental Rate Trend) เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบกับคู่แข่ง และราคาตลาดที่สอดคล้องกับสภาพอาคาร จนกำหนดกลยุทธ์ทางด้านราคาได้ นอกจากนี้ในระดับของดำเนินการต้องวัดเวลาเฉลี่ยที่เราเข้าไปแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้า น้ำไม่ไหล ไฟดับ แอร์ไม่เย็น ( Average Response Time for Call Handling)
เรื่องบางเรื่องที่นักเทคโนโลยีอย่างผมไม่ค่อยสนใจ แต่กลับมีความสำคัญทางธุรกิจอาคารพาณิชย์คือ เรื่อง Lease & Marketing Management ที่ระบบนี้สามารถช่วยวิเคราะห์และทำให้เจ้าของได้ราคาสูงอย่างต่อเนื่องไม่ปล่อยให้มีพื้นที่ว่างเกิดขึ้น เลือกผู้เช่าที่มีศักยภาพและสามารถ Close deal ได้ภายในระยะเวลาอันควร
สนนราคาซอฟท์แวร์ที่กล่าวถึงนี้เป็นสัดส่วนน้อยมาก ไม่เกิน 0.001 ของราคาอาคารพาณิชย์ ผมเห็นว่ามีประโยชน์คุ้มราคาลงทุน หากต้องการประหยัดอีก ก็สามารถหาผู้พัฒนาซอฟท์ไทยทำขึ้นมาได้ ผมยินดีนั่งหารือและให้คะแนะนำว่าโครงสร้างข้อมูล (Data Structure) ควรมีหน้าตาเช่นไร
น้องๆที่เรียนจบไอที หากอยากมีผลิตภัณฑ์ของตนเอง ลองมาพัฒนาซอฟต์แวร์นี้ดูครับ เอาแค่ขายให้เจ้าของอาคารในกรุงเทพฯ คงพอจะทำรายได้พอสมควรครับ
จากเหตุผลที่ปริมาณธุรกิจการค้า(Business Transaction)เกิดขึ้นมาก จึงจำเป็นต้องพึ่ง “สมองกล” : ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ มาช่วยรองรับการคำนวณ การติดตามผล การตรวจสอบ เพื่อลดความผิดพลาดที่บางครั้งหมายถึงก้อนเงินรายได้มหาศาล ทั้งนี้ก็เนื่องจากสมองกลเหล่านี้ช่วยติดตาม “รายละเอียด” แบบกัดไม่ปล่อย และในขณะเดียวกันก็รายงานสถานะต่างๆ เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ที่รวมเรื่องของ ดรรชนีชี้วัด Balanced Score Card เอาไว้ด้วย ถือว่าเป็นผู้ช่วยที่เจ้าของอาคารนำมาใช้ในการแข่งขันอีกด้วย ในแง่ของการจัดการแล้วหลายท่านเห็นว่าประเด็นหลังเป็นเรื่องที่สำคัญมากครับ
การใช้งานค่อนข้างสะดวก เพราะเป็น Web Based Application ผู้ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งเจ้าของอาคารที่มีรหัสเข้า (Password) สามารถ login จากที่ไหนก็ได้ตราบเท่าที่มีบริการอินทราเน็ตให้ ปัจจุบันมีบริษัททั้งไทยและเทศให้บริการซอฟท์แวร์บริหารอาคารเหล่านี้ แต่ผมขอเตือนว่า ถ้าหากท่านเจ้าของอาคารเลือกได้ ขอให้ติดตั้ง Data Server ที่บันทึกข้อมูลทั้งหลายนี้ไว้ที่อาคารของท่านหรืออยู่ในความดูแลของท่าน ส่วนจะต่อกับ Web Server ที่ใดสามารถกระทำได้หลายแนวทาง ที่ผมเสนอเช่นนี้ก็เพราะว่า ข้อมูลของอาคารท่านเป็นสมบัติของท่าน หากตกไปอยู่กับผู้ประสงค์ร้ายหรือคู่แข่งทางธุรกิจ ท่านอาจตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากและเพลี่ยงพล้ำได้ นอกจากนี้ท่านควรเป็นหนึ่งในการกำหนดและเปลี่ยนแปลงรหัสเข้าระบบด้วยครับ ข้อมูลว่าใครได้ Login เข้ามาและเวลาใดบ้าง ก็มีความสำคัญยิ่งสำหรับการตรวจสอบในภายหลัง
อีกประการหนึ่ง เจ้าของอาคาร (Landlord) ต้องการระบบสมองกลนี้ช่วยประมวลข้อมูลเชิงกลยุทธ์ จึงควรพิถีพิถันในการกำหนดความต้องการนี้กับบริษัทผู้ให้บริหารอาคารให้ท่าน มิฉะนั้นเขาอาจ “มัวนิ่ม” นำระบบที่บริษัทเขาต้องใช้ดำเนินการให้บริการท่านตามปกติทั่วๆ ไปและได้คิดค่าใช้จ่ายไปแล้ว มาเก็บเงิน(Double Charge)ท่านอีกครั้งหนึ่ง
สิ่งที่เราใช้วัดว่า ระบบสมองกลดังกล่าวทำในสิ่งที่ผมพูดถึงนั้นมีอยู่สามมิติคือ (1) สามารถประสานข้อมูลและพารามิเตอร์ ระหว่างกลุ่มข้อมูลทางด้านระบบเทคนิค ทรัพย์สิน และลูกค้าสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิผล (Effectiveness) และอย่างต่อเนื่อง (2) มีข้อมูลด้านประสิทธิภาพ (Efficiency) และ (3) รายงานที่เกิดจากการประมวลข้อมูลปฐมภูมิเพื่อการตัดสินใจในเชิงนโยบาย
ผมได้แนะนำซอฟท์แวร์สายพันธ์ต่างชาติที่มาบรรยายสรรพคุณผลิตภัณฑ์ของเขาให้ผมฟังว่า จำเป็นต้องสร้าง identity ของข้อมูลเพื่อให้เราโยงใยระหว่างกลุ่ม 3 กลุ่มข้างต้นได้ ตัวอย่างเช่น เมื่อ Module ด้านลูกค้าสัมพันธ์ได้รับทราบคำร้องเรียนจากผู้เช่ารายย่อย (Tenants) เกี่ยวกับความเย็นของระบบปรับอากาศซ้ำๆกัน บ่อยเข้าระบบต้องมีสัญญาณชี้ให้เห็นว่าระบบบำรุงรักษาแบบป้องกัน (Preventive Maintenance) ที่ทำอยู่มีประสิทธิผลต่ำควรต้องปรับปรุงได้แล้ว และบอกว่าต้องปรับปรุงในรายการใดบ้าง ที่ทำได้ถึงระดับนี้เพราะในขั้นการพัฒนาซอฟท์แวร์และโครงสร้างข้อมูล ได้ถูก Identity ตราไว้เรียบร้อยแล้ว
ระบบนี้ในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ยังได้ต่อระบบจากจัดซื้อและจัดจ้างกับผู้ขายอุปกรณ์โดยตรงโดยมีการกำหนดราคากลางไว้ มีการประมวลผ่านระบบดิจิตอล จึงปลอดการ “ฮั้ว” กันของผู้ขายและบางรายการเช่น หลอดไฟฟ้า สามารถส่งของกันได้ภายในหนึ่งวัน ทำให้เราไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายในการสต๊อกอุปกรณ์มากนัก ตลอดจนลดงานกระดาษไปได้มากพอสมควร
ตัวอย่าง KPI ที่ใช้วัดสำหรับการบริหารจัดการคือ แนวโน้มราคาเฉลี่ยของค่าเช่าต่อตารางเมตร (Average Gross Rental Rate Trend) เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบกับคู่แข่ง และราคาตลาดที่สอดคล้องกับสภาพอาคาร จนกำหนดกลยุทธ์ทางด้านราคาได้ นอกจากนี้ในระดับของดำเนินการต้องวัดเวลาเฉลี่ยที่เราเข้าไปแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้า น้ำไม่ไหล ไฟดับ แอร์ไม่เย็น ( Average Response Time for Call Handling)
เรื่องบางเรื่องที่นักเทคโนโลยีอย่างผมไม่ค่อยสนใจ แต่กลับมีความสำคัญทางธุรกิจอาคารพาณิชย์คือ เรื่อง Lease & Marketing Management ที่ระบบนี้สามารถช่วยวิเคราะห์และทำให้เจ้าของได้ราคาสูงอย่างต่อเนื่องไม่ปล่อยให้มีพื้นที่ว่างเกิดขึ้น เลือกผู้เช่าที่มีศักยภาพและสามารถ Close deal ได้ภายในระยะเวลาอันควร
สนนราคาซอฟท์แวร์ที่กล่าวถึงนี้เป็นสัดส่วนน้อยมาก ไม่เกิน 0.001 ของราคาอาคารพาณิชย์ ผมเห็นว่ามีประโยชน์คุ้มราคาลงทุน หากต้องการประหยัดอีก ก็สามารถหาผู้พัฒนาซอฟท์ไทยทำขึ้นมาได้ ผมยินดีนั่งหารือและให้คะแนะนำว่าโครงสร้างข้อมูล (Data Structure) ควรมีหน้าตาเช่นไร
น้องๆที่เรียนจบไอที หากอยากมีผลิตภัณฑ์ของตนเอง ลองมาพัฒนาซอฟต์แวร์นี้ดูครับ เอาแค่ขายให้เจ้าของอาคารในกรุงเทพฯ คงพอจะทำรายได้พอสมควรครับ