สมัยนี้คนไทยเริ่มรู้จักการนวดกดจุด การฝึกชี่กง การฝังเข็ม และการแมะหรือการจับชีพจรกันกว้างขวางยิ่งขึ้น วิธีการเหล่านี้หลายคนทราบดีว่าเป็นการรักษาคนไข้ตามแบบแพทย์แผนจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในศาสตร์แพทย์ทางเลือกที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากขณะนี้
ทั้งนี้ หากย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ก็จะพบว่า การแพทย์แผนจีนนั้น เข้าสู่ประเทศไทยมานานพอสมควรนับเป็นร้อยๆ ปีเลยทีเดียว และที่น่าสนใจก็คือ ขณะนี้มีสถาบันการศึกษาหลายต่อหลายแห่งที่เปิดการเรียนการสอนทางด้านนี้ขึ้น

-1-
กำเนิดแพทย์จีนในสยามประเทศ
น.พ.ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า หลักฐานการแพทย์แผนจีนที่ปรากฏในประเทศไทยเก่าแก่ที่สุดคือ “คัมภีร์โอสถพระนารายณ์” ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมยาในราชสำนักของไทย ประกอบด้วยตำรับล้านนา ยุโรป ไทย รวมทั้งจีนด้วย
หลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การแพทย์จีนแพร่หลายในไทยนานแล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มคนไทยเชื้อสายจีน
ที่น่าสนใจก็คือ ปัจจุบัน การแพทย์แผนจีนได้รับการยอมรับอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีการบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในการแพทย์ทางเลือก ที่รับรองโดยกระทรวงสาธารณสุขของไทย มีการตั้งสมาคมแพทย์ฝังเข็มและใช้สมุนไพรในไทย รวมทั้งมีการเปิดสถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของรัฐบาลไทยและจีนอีกด้วย
สำหรับหนึ่งในคลินิกแพทย์แผนจีนในไทยที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ ก็คือ คลินิกแพทย์แผนจีนของโรงพยาบาลหัวเฉียว ซึ่งที่ผ่านมามีคนมาใช้บริการมาก ทั้งชายไทยเชื้อสายจีน คนจีนโพ้นทะเลและคนต่างชาติ คนพม่า ลาว เวียดนาม ฝรั่งตะวันตก คนดำคนขาว มารักษาด้วยอาการต่างๆ กัน

“เราเปิดคลินิกจีนมาได้ 11 ปีแล้ว มีแพทย์ทั้งที่มาจากจีนและแพทย์จีนในไทยที่ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะรักษาผู้ป่วยด้วยการแพทย์แผนจีน 20 กว่า เปิดให้บริการทั้งด้านอายุรกรรมและแมะ ฝังเข็ม นวดและทุยหนา โรคผิวหนัง และโรคกระดูก”หมอหลินตันเฉียน แพทย์จีนที่เดินทางเข้ามาทำงานรักษาคนไข้ในเมืองไทยเป็นเวลา 11 ปี และปัจจุบันยังเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลหัวเฉียว ให้ข้อมูลเพิ่มเติม
นอกจากนี้ ความร่วมมือยังกระจายไปสู่วงการการศึกษา โดยมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเข้าไปร่วมมือกับมหาวิทยาลัยการแพทย์ของจีน อาทิ ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยการแพทย์ของเซี่ยงไฮ้ เปิดสอนการแพทย์แผนจีนระดับปริญญาตรี และในอนาคตจะมีการส่งนักศึกษาแพทย์แผนจีนไปฝึกงานที่เซี่ยงไฮ้ด้วย ขณะที่ ม.มหิดลก็จับมือกับม.การแพทย์ปักกิ่ง ส่วนม.อุบลราชธานีก็จับมือกับม.การแพทย์เฉิงตู ด้านม.ราชภัฏจันทรเกษมจับมือกับม.การแพทย์ในกว่างโจว (กวางเจา)
ด้านโรงพยาบาลต่างๆในไทยก็มีความร่วมมือกับโรงพยาบาลในประเทศจีนด้วย อาทิ โรงพยาบาลหัวเฉียวมีความร่วมมือกับโรงพยาบาลหลงหัว โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์กับโรงพยาบาลจงซัน โรงพยาบาลศิริราชกับโรงพยาบาลเรนจี สถาบันบำราศนราดูรกับวิทยาลัยการสาธารณสุขเซี่ยงไฮ้ เป็นต้น

-2-
การศึกษาแพทย์จีนในไทย
แม้การแพทย์แผนจีนในระดับโลกจะเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง แต่กล่าวสำหรับประเทศไทยแล้ว ยังคงมีปัญหาและอุปสรรคอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิสูจน์ว่า การแพทย์แผนจีนสามารถรักษาคนไข้ได้จริงโดยมีหลักการทางวิทยาศาสตร์รองรับ
ดังนั้น ทาง ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจึงได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนแพทย์แผนจีน 5 ปีขึ้นมาเพื่อกำจัดจุดอ่อนดังกล่าว
รศ.ดร. สุนิพนธ์ ภุมมางกูร คณบดีแผนกการแพทย์แผนจีน ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้ข้อมูลว่า นักศึกษาที่เรียนในแผนกการแพทย์แผนจีนจะต้องเรียนในแบบที่เป็นวิทยาศาสตร์ กล่าวคือ ต้องเรียนวิชาสรีรศาสตร์ ชีวเคมี และศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นหลักการมากกว่าการแพทย์แผนจีนที่เราเคยเข้าใจว่ามีการเรียนแบบสืบทอดจากบรรพบุรุษ เพื่อความถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัยและรักษาโรค
ทั้งนี้ นักศึกษาปี 1 จะเรียนความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ขึ้นปีที่ 3 จะเรียนกับผู้เชี่ยวชาญรับเชิญจากสถาบันการแพทย์แผนจีนแห่งนครเซี่ยงไฮ้ พร้อมทั้งเข้ารับการฝึกงานที่โรงพยาบาลหัวเฉียวครึ่งปี และไปฝึกงานที่สถาบันการแพทย์เซี่ยงไฮ้อีกครึ่งปี
ส่วนนักศึกษาที่ไม่เคยเรียนภาษาจีนมาก่อน ต้องเข้าเรียนภาษาจีนเป็นเวลา 1 ปี เพื่อสอบพื้นฐานทางภาษาจีนให้ได้เทียบเท่า เอชเอสเค ระดับ 5 จึงจะเข้าเรียนในวิชาการแพทย์แผนจีนเบื้องต้นได้ โดยนักศึกษาที่จบการศึกษาแล้วจะได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (การแพทย์แผนจีน) วทย. สาขาแพทย์แผนจีน

“ขณะนี้ หัวเฉียวฯร่วมกับสถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสมาคมแพทย์จีน (เอกชน) กำลังทำร่างกฤษฎีกาไปยังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขอรับรองวุฒิการศึกษาของนักศึกษาที่จบการศึกษาจากแผนกแพทย์แผนจีนให้มีวุฒิเทียบเท่าแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อในอนาคตจะสามารถเปิดคลินิกแพทย์จีนของตนเองได้ นอกเหนือจากการออกใบอนุญาตรักษาโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน ซึ่งปัจจุบันแบ่งเป็น ใบอนุญาตด้านการฝังเข็ม การใช้ยาและการกดจุดหยุดอาการ รวม 3 แขนง ซึ่งหากใครได้ใบใดใบหนึ่งก็จะรักษาผู้ป่วยได้เฉพาะทางนั้นๆ ซึ่งมีอายุคราวละ 2 ปี”รศ.ดร. สุนิพนธ์แจกแจง
สำหรับสถานการณ์การเรียนแพทย์แผนจีนในไทยนั้น รศ.ดร. สุนิพนธ์ แสดงความเห็นว่า โอกาสของนักศึกษาแพทย์แผนจีนในอนาคตที่เมื่อจบออกไปแล้วจะยิ่งมีสูงขึ้น โดยขณะนี้ไทยมีแพทย์แผนจีนกว่า 200 คน ที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ทางเลือก ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมถึงแพทย์จีนที่เดินทางเข้ามาในไทยด้วย เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วจะอนุญาตให้บุคคลที่ประกอบโรคศิลปะ ศาสตร์การแพทย์แผนจีนสามารถดำเนินกิจกรรมรักษาโรคได้
อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบัน แพทย์จีนในไทยจะยังไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดคลินิกส่วนตัวได้อย่างถูกกฎหมาย แต่เชื่อมั่นว่า หากการผลักดันของหน่วยงานการแพทย์จีนในไทยประสบผลสำเร็จ อนาคตของแพทย์จีนในไทยจะมีโอกาสรักษาผู้เจ็บไข้ได้กว้างขวางมากขึ้น
“แพทย์แผนปัจจุบันมุ่งรักษาโรค แต่การแพทย์แผนจีนมุ่งรักษาคน อย่างไรก็ตาม แพทย์แผนจีนไม่ได้รักษาได้ทุกโรค ต้องให้ความระมัดระวัง แพทย์จีนส่วนใหญ่ในประเทศจีนตอนนี้ก็มีการผสมผสานการแพทย์แผนปัจจุบันด้วย คิดว่า ทั้งสองอย่างต้องใช้อย่างควบคู่กัน ผสมผสานกัน เช่นการตรวจอาการเบื้องต้นบางอย่าง เช่น การตรวจหาการตั้งครรภ์ หากใช้วิธีแมะก็ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการไปตรวจด้วยเครื่องมือแพทย์ในโรงพยาบาล เป็นต้น”รศ.ดร.สุนิพนธ์สรุปทิ้งท้าย
ทั้งนี้ หากย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ก็จะพบว่า การแพทย์แผนจีนนั้น เข้าสู่ประเทศไทยมานานพอสมควรนับเป็นร้อยๆ ปีเลยทีเดียว และที่น่าสนใจก็คือ ขณะนี้มีสถาบันการศึกษาหลายต่อหลายแห่งที่เปิดการเรียนการสอนทางด้านนี้ขึ้น
-1-
กำเนิดแพทย์จีนในสยามประเทศ
น.พ.ชวลิต สันติกิจรุ่งเรือง ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า หลักฐานการแพทย์แผนจีนที่ปรากฏในประเทศไทยเก่าแก่ที่สุดคือ “คัมภีร์โอสถพระนารายณ์” ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมยาในราชสำนักของไทย ประกอบด้วยตำรับล้านนา ยุโรป ไทย รวมทั้งจีนด้วย
หลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การแพทย์จีนแพร่หลายในไทยนานแล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มคนไทยเชื้อสายจีน
ที่น่าสนใจก็คือ ปัจจุบัน การแพทย์แผนจีนได้รับการยอมรับอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีการบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในการแพทย์ทางเลือก ที่รับรองโดยกระทรวงสาธารณสุขของไทย มีการตั้งสมาคมแพทย์ฝังเข็มและใช้สมุนไพรในไทย รวมทั้งมีการเปิดสถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของรัฐบาลไทยและจีนอีกด้วย
สำหรับหนึ่งในคลินิกแพทย์แผนจีนในไทยที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ ก็คือ คลินิกแพทย์แผนจีนของโรงพยาบาลหัวเฉียว ซึ่งที่ผ่านมามีคนมาใช้บริการมาก ทั้งชายไทยเชื้อสายจีน คนจีนโพ้นทะเลและคนต่างชาติ คนพม่า ลาว เวียดนาม ฝรั่งตะวันตก คนดำคนขาว มารักษาด้วยอาการต่างๆ กัน
“เราเปิดคลินิกจีนมาได้ 11 ปีแล้ว มีแพทย์ทั้งที่มาจากจีนและแพทย์จีนในไทยที่ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะรักษาผู้ป่วยด้วยการแพทย์แผนจีน 20 กว่า เปิดให้บริการทั้งด้านอายุรกรรมและแมะ ฝังเข็ม นวดและทุยหนา โรคผิวหนัง และโรคกระดูก”หมอหลินตันเฉียน แพทย์จีนที่เดินทางเข้ามาทำงานรักษาคนไข้ในเมืองไทยเป็นเวลา 11 ปี และปัจจุบันยังเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลหัวเฉียว ให้ข้อมูลเพิ่มเติม
นอกจากนี้ ความร่วมมือยังกระจายไปสู่วงการการศึกษา โดยมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเข้าไปร่วมมือกับมหาวิทยาลัยการแพทย์ของจีน อาทิ ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยการแพทย์ของเซี่ยงไฮ้ เปิดสอนการแพทย์แผนจีนระดับปริญญาตรี และในอนาคตจะมีการส่งนักศึกษาแพทย์แผนจีนไปฝึกงานที่เซี่ยงไฮ้ด้วย ขณะที่ ม.มหิดลก็จับมือกับม.การแพทย์ปักกิ่ง ส่วนม.อุบลราชธานีก็จับมือกับม.การแพทย์เฉิงตู ด้านม.ราชภัฏจันทรเกษมจับมือกับม.การแพทย์ในกว่างโจว (กวางเจา)
ด้านโรงพยาบาลต่างๆในไทยก็มีความร่วมมือกับโรงพยาบาลในประเทศจีนด้วย อาทิ โรงพยาบาลหัวเฉียวมีความร่วมมือกับโรงพยาบาลหลงหัว โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์กับโรงพยาบาลจงซัน โรงพยาบาลศิริราชกับโรงพยาบาลเรนจี สถาบันบำราศนราดูรกับวิทยาลัยการสาธารณสุขเซี่ยงไฮ้ เป็นต้น
-2-
การศึกษาแพทย์จีนในไทย
แม้การแพทย์แผนจีนในระดับโลกจะเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง แต่กล่าวสำหรับประเทศไทยแล้ว ยังคงมีปัญหาและอุปสรรคอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิสูจน์ว่า การแพทย์แผนจีนสามารถรักษาคนไข้ได้จริงโดยมีหลักการทางวิทยาศาสตร์รองรับ
ดังนั้น ทาง ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจึงได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนแพทย์แผนจีน 5 ปีขึ้นมาเพื่อกำจัดจุดอ่อนดังกล่าว
รศ.ดร. สุนิพนธ์ ภุมมางกูร คณบดีแผนกการแพทย์แผนจีน ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้ข้อมูลว่า นักศึกษาที่เรียนในแผนกการแพทย์แผนจีนจะต้องเรียนในแบบที่เป็นวิทยาศาสตร์ กล่าวคือ ต้องเรียนวิชาสรีรศาสตร์ ชีวเคมี และศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นหลักการมากกว่าการแพทย์แผนจีนที่เราเคยเข้าใจว่ามีการเรียนแบบสืบทอดจากบรรพบุรุษ เพื่อความถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัยและรักษาโรค
ทั้งนี้ นักศึกษาปี 1 จะเรียนความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ขึ้นปีที่ 3 จะเรียนกับผู้เชี่ยวชาญรับเชิญจากสถาบันการแพทย์แผนจีนแห่งนครเซี่ยงไฮ้ พร้อมทั้งเข้ารับการฝึกงานที่โรงพยาบาลหัวเฉียวครึ่งปี และไปฝึกงานที่สถาบันการแพทย์เซี่ยงไฮ้อีกครึ่งปี
ส่วนนักศึกษาที่ไม่เคยเรียนภาษาจีนมาก่อน ต้องเข้าเรียนภาษาจีนเป็นเวลา 1 ปี เพื่อสอบพื้นฐานทางภาษาจีนให้ได้เทียบเท่า เอชเอสเค ระดับ 5 จึงจะเข้าเรียนในวิชาการแพทย์แผนจีนเบื้องต้นได้ โดยนักศึกษาที่จบการศึกษาแล้วจะได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (การแพทย์แผนจีน) วทย. สาขาแพทย์แผนจีน
“ขณะนี้ หัวเฉียวฯร่วมกับสถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสมาคมแพทย์จีน (เอกชน) กำลังทำร่างกฤษฎีกาไปยังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขอรับรองวุฒิการศึกษาของนักศึกษาที่จบการศึกษาจากแผนกแพทย์แผนจีนให้มีวุฒิเทียบเท่าแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อในอนาคตจะสามารถเปิดคลินิกแพทย์จีนของตนเองได้ นอกเหนือจากการออกใบอนุญาตรักษาโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน ซึ่งปัจจุบันแบ่งเป็น ใบอนุญาตด้านการฝังเข็ม การใช้ยาและการกดจุดหยุดอาการ รวม 3 แขนง ซึ่งหากใครได้ใบใดใบหนึ่งก็จะรักษาผู้ป่วยได้เฉพาะทางนั้นๆ ซึ่งมีอายุคราวละ 2 ปี”รศ.ดร. สุนิพนธ์แจกแจง
สำหรับสถานการณ์การเรียนแพทย์แผนจีนในไทยนั้น รศ.ดร. สุนิพนธ์ แสดงความเห็นว่า โอกาสของนักศึกษาแพทย์แผนจีนในอนาคตที่เมื่อจบออกไปแล้วจะยิ่งมีสูงขึ้น โดยขณะนี้ไทยมีแพทย์แผนจีนกว่า 200 คน ที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ทางเลือก ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมถึงแพทย์จีนที่เดินทางเข้ามาในไทยด้วย เมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วจะอนุญาตให้บุคคลที่ประกอบโรคศิลปะ ศาสตร์การแพทย์แผนจีนสามารถดำเนินกิจกรรมรักษาโรคได้
อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบัน แพทย์จีนในไทยจะยังไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดคลินิกส่วนตัวได้อย่างถูกกฎหมาย แต่เชื่อมั่นว่า หากการผลักดันของหน่วยงานการแพทย์จีนในไทยประสบผลสำเร็จ อนาคตของแพทย์จีนในไทยจะมีโอกาสรักษาผู้เจ็บไข้ได้กว้างขวางมากขึ้น
“แพทย์แผนปัจจุบันมุ่งรักษาโรค แต่การแพทย์แผนจีนมุ่งรักษาคน อย่างไรก็ตาม แพทย์แผนจีนไม่ได้รักษาได้ทุกโรค ต้องให้ความระมัดระวัง แพทย์จีนส่วนใหญ่ในประเทศจีนตอนนี้ก็มีการผสมผสานการแพทย์แผนปัจจุบันด้วย คิดว่า ทั้งสองอย่างต้องใช้อย่างควบคู่กัน ผสมผสานกัน เช่นการตรวจอาการเบื้องต้นบางอย่าง เช่น การตรวจหาการตั้งครรภ์ หากใช้วิธีแมะก็ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการไปตรวจด้วยเครื่องมือแพทย์ในโรงพยาบาล เป็นต้น”รศ.ดร.สุนิพนธ์สรุปทิ้งท้าย
เรียนแพทย์จีนในจีน หลังเข้าเรียนภาษาจีนกลางที่ ม.ครุศาสตร์ปักกิ่ง (Beijing Normal University) ได้ 1 ปีครึ่ง ณัฐธยาน์ ปัญคิวจณาณ์ อาชีพเภสัชกร ก็สามารถสอบวัดระดับทางภาษาได้ (เอชเอสเค) ระดับ และได้ตัดสินใจเรียนต่อในมหาวิทยาลัยแพทย์แผนจีนในประเทศจีนทันที “แรงบันดาลใจที่อยากจะเปลี่ยนสายมาเรียนแพทย์จีน คือครั้งหนึ่งเคยพาคุณพ่อไปรักษาหมอจีน และรู้สึกทึ่งและประหลาดใจว่า คุณหมอแค่จับแมะก็รู้ทันทีเลยว่าพ่อเราเป็นอะไรมา แล้วตอนนี้ในเมืองไทยการแพทย์จีนก็กำลังได้รับการสนใจมากขึ้น” ณัฐธนาย์ เล่าว่า คนรอบตัวของเธอนอกจากคนในครอบครัวแล้ว บรรดาเพื่อนเก่าร่วมอาชีพ หรือแพทย์แผนปัจจุบันในเมืองไทยที่เคยได้พูดคุยกันต่างเห็นตรงกันว่า การรักษาตามแบบแพทย์แผนจีนในไทยกำลังมีความสำคัญอย่างมาก และในอนาคตจะต้องมีโอกาสอย่างมากสำหรับผู้ที่เรียนทางด้านนี้ เพียงแต่บ้านเรายังขาดแคลนบุคลากรด้านนี้อยู่มาก “แพทย์แผนจีนในไทยส่วนใหญ่ยังเป็นแพทย์ที่ผ่านการอบรมจากเมืองจีนระยะสั้นแค่ 3 เดือน รักษาได้แต่การฝังเข็ม แต่การจับชีพจรหรือการรักษาอื่นๆที่ลึกซึ้งกว่านั้นยังมีรายละเอียดอีกมากที่ต้องเรียนรู้ นอกจากนี้ การสอบใบอนุญาตของไทยยังไม่ได้มาตรฐานตามแบบของจีน แต่ตอนนี้ทราบมาว่า ทางมหาวิทยาลัยหัวเฉียวของไทยกำลังเปิดสอนการแพทย์จีน เชื่อว่า อนาคตมาตรฐานของแพทย์แผนจีนในไทยจะมีแนวโน้มดีขึ้น” ณัฐธนาย์ ยังแนะนำด้วยว่า มหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนที่ยอดเยี่ยมมีหลายแห่งอยู่ในเมืองสำคัญๆ ได้แก่ ม.การแพทย์แผนจีนปักกิ่ง ม.การแพทย์เซี่ยงไฮ้ นอกจากนี้ ยังมีม.การแพทย์ที่หนันจิงและที่เมืองเซี่ยเหมิน เป็นต้น โดยคุณสมบัติของผู้เข้าสมัครเรียนในม.การแพทย์ในจีนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี จะต้องเป็นนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้ว และต้องสอบวัดระดับทางภาษาจีนกลางให้ได้ (เอชเอสเค) ระดับ 6 จึงจะสมัครเรียนได้ “เมื่อจบหลักสูตร 5 ปีแล้วนักศึกษาแพทย์จีนในจีนยังต้องผ่านการฝึกงานอีก 1 ปี หลังจากนั้นจึงจะนับว่าได้เดินเข้าสู่ประตูของการเป็นแพทย์แผนจีนอย่างเป็นทางการ” ณัฐธนาย์ ยังเปิดเผยว่า ขณะนี้นักเรียนไทยที่ศึกษาต่อทางด้านการแพทย์แผนจีนยังมีจำนวนน้อยไม่ถึง 10 คน สำหรับค่าเล่าเรียนหลักสูตร 5 ปีตกอยู่ราว 1 ล้านบาท ทั้งนี้หากรวมค่าครองชีพและค่าที่พักอาจถึง 2 ล้านบาท |
ลายแทงหาหมอจีน -คลินิกแพทย์แผนจีน โรงพยาบาลหัวเฉียว โทร.02-223-1111 -สถาบันการแพทย์ ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความรู้ด้านการแพทย์แผนจีน โทร. 02-590-6381 02-951-0789 หรือติดต่อทางที่อยู่haichinamedicine@hotmail.com -‘โครงการผู้จัดการสุขภาพ’ เปิดให้ผู้สนใจเข้ารับคำปรึกษาและตรวจสุขภาพโดยนพ.หลินตันเฉียน ผู้เชี่ยวชาญด้านทุยหนา (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) ที่อาคารบ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ สอบถาม โทร.02-629-2211 ต่อ 1117,1118,1152 |