องค์การอนามัยโลก แจงข้อมูลน่าห่วง ทั่วโลกขาดแคลนบุคลากรสาธารณสุขกว่า 4 ล้านคน ถือเป็นปัญหาขั้นวิกฤต เผย แนวโน้มสุขภาพของโลกเปลี่ยนไป อีก 19 ปี ผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็น 1,200 ล้านคน รวมทั้งป่วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น ขณะที่ไทยมีปัญหาขาดแคลนหมออันดับหนึ่ง แถมที่มีอยู่ยังทยอยลาออกปีละกว่า 700 คน เตรียมประกาศแผนผลิตกำลังคนครั้งใหญ่รอบ 10 ปี ในวันที่ 7 เมษายน 2549 นี้เพื่อเติมเต็มในระบบ
วันนี้ (3 เม.ย.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและ ยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข นพ.ประภัสสร เจียมบุญศรี ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก และ นพ.วิลเลียม แอล. อัลดิส (Dr.William L. Aldis) ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ร่วมกันแถลงข่าว “วันอนามัยโลกประจำ พ.ศ. 2549” ซึ่งตรงกับวันที่ 7 เมษายนของทุกปี
นายอนุทิน กล่าวว่า ในปีนี้องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดคำขวัญว่า Working together for Health หรือ “สานมือ สานใจ เพื่อคนไทยสุขภาพดี” มุ่งเน้นให้ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุข ซึ่งมีความขาดแคลนในขั้นวิกฤต โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา องค์การอนามัยโลก คาดว่า ทั่วโลกยังขาดแคลน แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ผดุงครรภ์ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอีกกว่า 4 ล้านคน ไม่เพียงพอที่จะรับมือกับปัญหาสุขภาพในอนาคต โดยเฉพาะปัญหาผู้สูงอายุ ซึ่งทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 600 ล้านคน ในปี 2543 เป็น 1200 ล้านคน ในอีก 19 ปีข้างหน้านี้ รวมทั้งยังมีปัญหาโรคเรื้อรังที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้น เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ซึ่งจะต้องเน้นมาตรการเชิงป้องกันมากขึ้น
นายอนุทิน กล่าวต่อว่า ในส่วนของประเทศไทยจากการศึกษาปัญหากำลังคนด้านสุขภาพ พบว่า มีประเด็นสำคัญ 4 เรื่อง ได้แก่ 1.ความขาดแคลน รุนแรงที่สุด คือ แพทย์ ซึ่งตามแผนฯ กำหนดให้มีแพทย์ 1 คนต่อประชากร 1,800 คน แต่ขณะนี้แพทย์ 1 คน ต้องดูแลประชาชนถึง 2,758 คน และปัญหาการลาออกของแพทย์ ซึ่งมีแนวโน้มมากขึ้น โดยในปี 2544 มีแพทย์ลาออก 276 คน ปี 2545 ลาออก 564 คน และในปี 2546 ลาออกถึง 795 คน และจากการสำรวจของสถาบันพระบรมราชชนก พบว่า พยาบาลจบใหม่ในปี 2548 อย่างน้อยร้อยละ 23 ตัดสินใจไม่รับราชการ 2.การกระจายบุคลากรทางภูมิศาสตร์ที่ไม่สมดุล ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ในบางพื้นที่ต้องรับภาระงานหนักมาก โดยเมื่อเปรียบเทียบระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับ กทม.พบว่า แพทย์ต้องดูแลประชาชนมากกว่าถึง 12 เท่า ทันตแพทย์ 15 เท่า เภสัชกร 6 เท่า และพยาบาลวิชาชีพ 4 เท่า
3.การจัดการและระบบสนับสนุนในการปฏิบัติงาน ทั้งการจัดการระบบในระดับประเทศ และการบริหารจัดการภายในโรงพยาบาล รวมทั้งค่าตอบแทนที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ หรือฟิลิปปินส์ 4.ความต้องการด้านสุขภาพที่เปลี่ยนไป มีการขยายตัวของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ผู้ป่วยชาวต่างชาติเข้ามารับบริการเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 13-15 ต่อปี จำนวนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น รวมทั้งประชาชนเข้าถึงระบบบริการสุขภาพมากขึ้น
ด้าน นพ.ปราชญ์ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาขาดแคลนบุคลากร และได้ประกาศพันธสัญญาต่อประชาชนไทย กำหนดให้ปี 2549 เป็นปีเริ่มต้นแห่งทศวรรษการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางรณรงค์ขององค์การอนามัยโลก โดยจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุขในภาพรวมของประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน ระยะยาว 10 ปี เพื่อประกาศเป็นเจตนารมณ์ในวันอนามัยโลกที่จะถึงนี้ และเสนอ ครม. ให้การสนับสนุนเชิงนโยบาย พร้อมทั้งร่วมกับภาคีต่างๆ ทั้งรัฐ เอกชน และภาคประชาชน จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนทางสังคม
“ในวันที่ 7 เมษายน 2549 ตัวแทนแพทย์ พยาบาล แพทย์แผนไทย คณะวิทยาศาสตร์สาธารณสุข นักวิชาการ อสม.ประชาชน และ อบต.จะได้ร่วมกันอภิปรายและแสดงพันธสัญญา “สานมือ สานใจ เพื่อคนไทยสุขภาพดี” นอกจากนี้ จะเปิดตู้ ปณ.211 ปณจ.นนทบุรี อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 เพื่อให้คนไทยทุกคนได้เขียนเล่าประสบการณ์ ความประทับใจ การร่วมกันของชุมชน หรือหน่วยงานต่างๆ ในการสร้างสุขภาพดีร่วมกับบุคลากรด้านสาธารณสุข ซึ่งเรื่องที่น่าสนใจจะถูกนำมาเผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับทราบ พร้อมทั้งจะจัดส่งรางวัลตอบแทนให้ถึงบ้าน โดยจะเปิดรับเรื่องไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 นี้”
วันนี้ (3 เม.ย.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและ ยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข นพ.ประภัสสร เจียมบุญศรี ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก และ นพ.วิลเลียม แอล. อัลดิส (Dr.William L. Aldis) ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ร่วมกันแถลงข่าว “วันอนามัยโลกประจำ พ.ศ. 2549” ซึ่งตรงกับวันที่ 7 เมษายนของทุกปี
นายอนุทิน กล่าวว่า ในปีนี้องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดคำขวัญว่า Working together for Health หรือ “สานมือ สานใจ เพื่อคนไทยสุขภาพดี” มุ่งเน้นให้ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุข ซึ่งมีความขาดแคลนในขั้นวิกฤต โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา องค์การอนามัยโลก คาดว่า ทั่วโลกยังขาดแคลน แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ผดุงครรภ์ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอีกกว่า 4 ล้านคน ไม่เพียงพอที่จะรับมือกับปัญหาสุขภาพในอนาคต โดยเฉพาะปัญหาผู้สูงอายุ ซึ่งทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 600 ล้านคน ในปี 2543 เป็น 1200 ล้านคน ในอีก 19 ปีข้างหน้านี้ รวมทั้งยังมีปัญหาโรคเรื้อรังที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้น เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ซึ่งจะต้องเน้นมาตรการเชิงป้องกันมากขึ้น
นายอนุทิน กล่าวต่อว่า ในส่วนของประเทศไทยจากการศึกษาปัญหากำลังคนด้านสุขภาพ พบว่า มีประเด็นสำคัญ 4 เรื่อง ได้แก่ 1.ความขาดแคลน รุนแรงที่สุด คือ แพทย์ ซึ่งตามแผนฯ กำหนดให้มีแพทย์ 1 คนต่อประชากร 1,800 คน แต่ขณะนี้แพทย์ 1 คน ต้องดูแลประชาชนถึง 2,758 คน และปัญหาการลาออกของแพทย์ ซึ่งมีแนวโน้มมากขึ้น โดยในปี 2544 มีแพทย์ลาออก 276 คน ปี 2545 ลาออก 564 คน และในปี 2546 ลาออกถึง 795 คน และจากการสำรวจของสถาบันพระบรมราชชนก พบว่า พยาบาลจบใหม่ในปี 2548 อย่างน้อยร้อยละ 23 ตัดสินใจไม่รับราชการ 2.การกระจายบุคลากรทางภูมิศาสตร์ที่ไม่สมดุล ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ในบางพื้นที่ต้องรับภาระงานหนักมาก โดยเมื่อเปรียบเทียบระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับ กทม.พบว่า แพทย์ต้องดูแลประชาชนมากกว่าถึง 12 เท่า ทันตแพทย์ 15 เท่า เภสัชกร 6 เท่า และพยาบาลวิชาชีพ 4 เท่า
3.การจัดการและระบบสนับสนุนในการปฏิบัติงาน ทั้งการจัดการระบบในระดับประเทศ และการบริหารจัดการภายในโรงพยาบาล รวมทั้งค่าตอบแทนที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ หรือฟิลิปปินส์ 4.ความต้องการด้านสุขภาพที่เปลี่ยนไป มีการขยายตัวของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ผู้ป่วยชาวต่างชาติเข้ามารับบริการเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 13-15 ต่อปี จำนวนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น รวมทั้งประชาชนเข้าถึงระบบบริการสุขภาพมากขึ้น
ด้าน นพ.ปราชญ์ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาขาดแคลนบุคลากร และได้ประกาศพันธสัญญาต่อประชาชนไทย กำหนดให้ปี 2549 เป็นปีเริ่มต้นแห่งทศวรรษการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางรณรงค์ขององค์การอนามัยโลก โดยจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนด้านสาธารณสุขในภาพรวมของประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน ระยะยาว 10 ปี เพื่อประกาศเป็นเจตนารมณ์ในวันอนามัยโลกที่จะถึงนี้ และเสนอ ครม. ให้การสนับสนุนเชิงนโยบาย พร้อมทั้งร่วมกับภาคีต่างๆ ทั้งรัฐ เอกชน และภาคประชาชน จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนทางสังคม
“ในวันที่ 7 เมษายน 2549 ตัวแทนแพทย์ พยาบาล แพทย์แผนไทย คณะวิทยาศาสตร์สาธารณสุข นักวิชาการ อสม.ประชาชน และ อบต.จะได้ร่วมกันอภิปรายและแสดงพันธสัญญา “สานมือ สานใจ เพื่อคนไทยสุขภาพดี” นอกจากนี้ จะเปิดตู้ ปณ.211 ปณจ.นนทบุรี อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 เพื่อให้คนไทยทุกคนได้เขียนเล่าประสบการณ์ ความประทับใจ การร่วมกันของชุมชน หรือหน่วยงานต่างๆ ในการสร้างสุขภาพดีร่วมกับบุคลากรด้านสาธารณสุข ซึ่งเรื่องที่น่าสนใจจะถูกนำมาเผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับทราบ พร้อมทั้งจะจัดส่งรางวัลตอบแทนให้ถึงบ้าน โดยจะเปิดรับเรื่องไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 นี้”