นับตั้งแต่การชุมนุมเมื่อวันที่ 4 ก.พ.ภายใต้ชื่อ “ภารกิจกู้ชาติ” จนมาถึงการชุมนุมเมื่อวันที่ 11 ก.พ. กระทั่งการชุมนุม “ทวงคืนประเทศไทย” วันที่ 26 ก.พ.และล่าสุดการชุมนุมครั้งใหญ่ 5 มี.ค. ชื่อของ “อวยชัย วะทา” ถูกประกาศบนเวทีของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทุกครั้งในการชุมนุม ทั้งในฐานะแกนนำองค์กรครูหนึ่งในพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และในฐานะผู้ปราศรัยคนสำคัญที่จะให้ข้อมูลแก่ประชาชน
ชื่อ อวยชัย วะทา ใช่ว่าจะเพิ่งปรากฏต่อสาธารณะเป็นครั้งแรก หากแต่ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักเคลื่อนไหว
“การเคลื่อนไหวของผมเริ่มตั้งแต่ช่วงหลังยุค 14 ตุลา ซึ่งขณะนั้นครูอยู่ภายใต้สังกัดของกระทรวงมหาดไทย เป็นครูประชาบาลและถือเป็นความตกต่ำของวงการครู ขณะนั้นผมอายุแค่ 23 ปี ได้ร่วมกับสมาพันธ์ครูแห่งประเทศไทย โดยดำรงตำแหน่งเลขาธิการครูภาคอีสาน เคลื่อนไหวปลดแอกครูจากการกำกับของกระทรวงมหาดไทยจนเป็นผลสำเร็จ นำมาสู่การตั้งสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ หรือ สปช.ในที่สุด”อวยชัยย้อนถึงบทบาทการเคลื่อนไหวในอดีตที่ผ่านมา
พื้นเพของอวยชัย เป็นคนจังหวัดร้อยเอ็ด พ่อและแม่มีอาชีพเกษตรกรเฉกเช่นเดียวกับชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ หลังศึกษาจนสำเร็จเข้ารับราชการครู อวยชัยได้ย้ายไปทำหน้าที่พ่อพิมพ์ของชาติอยู่ในจังหวัดมหาสารคาม นอกจากนั้นเขายังเขียนบทความลงตีพิมพ์ในสื่อต่างๆ อีกด้วย
ไม่เพียงแต่การเคลื่อนไหวในนามขององค์กรครูเท่านั้น อวยชัยยังได้เข้าร่วมกับเกษตรกรในนามของสมัชชาเกษตรกรรายย่อย โดยเขาเป็นหนึ่งในคณะกรรมการสมัชชาดังกล่าว เคลื่อนไหวเรียกร้องเรื่องที่ทำกินให้กับเกษตรกรในภาคอีสาน คัดค้านการทำโรงโม่หินในจังหวัดเลย ซึ่งในครั้งนั้นครูประเวียน บุญหนัก แกนนำในการเคลื่อนไหวคนสำคัญ ต้องสังเวยชีวิตให้กับอิทธิพลมืด รวมทั้งการเคลื่อนไหวคัดค้านโรงโม่หินในจังหวัดหนองบัวลำภู ที่มีการระเบิดภูเขาเป็นลูกๆ เขาก็เข้าร่วมเคลื่อนไหวในฐานะแกนนำคนหนึ่งเช่นกัน
“หลายคนอาจจะรู้สึกว่า เป็นครูทำไมไม่สอนหนังสือ ออกไปเคลื่อนไหวทำไม สำหรับผม ผมเชื่อว่า การเป็นครูแค่สอนอยู่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่เราต้องทำให้ลูกศิษย์เห็นด้วยว่า เราไม่ยอมแพ้กับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เราต้องกล้าที่จะยืนหยัดเพื่อให้ได้ความเป็นธรรม ต้องสอนด้วยการกระทำ ไม่ใช่ดีแต่พูด และต้องกล้าที่จะเอาตัวเองเป็นเครื่องสังเวยความถูกต้องและดีงาม”
แม้จะออกไปเคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับชาวบ้าน อวยชัยก็ยังยืนยันว่า เขาไม่ละทิ้งการทำหน้าที่ “ครู” และยังรักการสอนหนังสืออยู่
“ผมเคยใช้วิธีการตีเด็กนักเรียนในการสอนหนังสือ ครั้งหนึ่งผมตีเด็ก แล้วผมเห็นอาการสั่นกลัวของเขา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผมหักไม้เรียวทิ้งและเลิกใช้วิธีการตีอย่างเด็ดขาด แต่จะใช้วิธีการสอนด้วยความอดทน เอาชนะเด็กๆ ด้วยใจ ซึ่งมันทำให้เกิดความผูกพันทั้งเด็กและเรา เวลาย้ายโรงเรียนแต่ละครั้งจึงมีเด็กๆ ร้องไห้ตามผมแทบทุกครั้ง ทำให้ผมรักอาชีพนี้”
สำหรับการออกมาเคลื่อนไหวร่วมกับชาวบ้านในเรื่องต่างๆ นั้น อวยชัย บอกว่า เขาเห็นความเดือดร้อนของชาวบ้าน และอยากเข้าไปช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ ยิ่งเมื่อได้ทำงานใกล้ชิดกับชาวบ้าน ยิ่งพบว่าน้ำใจของชาวบ้านที่มีให้นั้นเป็นสิ่งตอบแทนที่คุ้มค่า สำหรับความเหนื่อย หรือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นยิ่งนัก
“เวลาผมไปร่วมเคลื่อนไหวหรือไปเดินขบวนกับชาวบ้าน ผมจะอ้วนทุกครั้ง เพราะแทบทุกครอบครัวเขาจะทำอาหารมาเผื่อผมด้วย บางครั้งพอเราจะเดินทางกลับเขาก็เอาเงินซึ่งเขาแทบไม่มีมายัดใส่มือผม บอกว่าช่วยค่ารถครู นี่คือสิ่งที่ผมสัมผัสตลอดมาในการเคลื่อนไหวร่วมกับชาวบ้าน”
ส่วนสาเหตุที่ตัดสินใจนำองค์กรครูร่วมเคลื่อนไหวกับ “สนธิ ลิ้มทองกุล” นั้น อวยชัย บอกว่า เป็นผลมาจากการคัดค้านการถ่ายโอนการศึกษาไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่รัฐบาลยืนยันว่าจะต้องถ่ายโอน แม้ว่าองค์กรครูจะยื่นคำขาดไปแล้วก็ตามว่าไม่ต้องการให้มีการถ่ายโอนการศึกษาเกิดขึ้น ทำให้องค์กรครูตัดสินใจเข้าร่วมสังฆกรรมกับกลุ่มแฟนรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ซึ่งขณะนั้นจัดเวทีสัญจรอยู่ที่สวนลุมพินี จนมารวมตัวกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า และท้องสนามหลวงในที่สุด โดยองค์กรครูเป็นหนึ่งในพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เคลื่อนไหวขับไล่ “ทักษิณ ชินวัตร”อยู่ในขณะนี้
อวยชัย มองการเข้าร่วมขององค์กรครูกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า เป็นการเคลื่อนไหวที่เกื้อหนุนกัน มิใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกเป็นเครื่องมือของอีกฝ่ายหนึ่ง และมีจุดุม่งหมายเหมือนกันคือ “ไล่ทักษิณออกจากตำแหน่ง”
“ส่วนเป้าหมายในการเคลื่อนไหวขององค์กรครูนั้น เราอยากเห็นการปฏิรูปการเมือง การสร้างสังคมด้วยเศรษฐกิจพอเพียง มีวัฒนธรรมชุมชน และมีประชาธิปไตยที่เป็นธรรมาภิบาล รวมไปถึงการปฏิรูปการศึกษาให้เห็นผลด้วย”
ถามว่าในวันนี้อวยชัย หวั่นเกรงกับการออกมาแสดงจุดยืนซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามรัฐบาลบ้างหรือไม่ เพราะปัจจุบันในตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 ที่อวยชัยดำรงอยู่นั้น เขาคือคนของรัฐที่ไม่ควรจะกระโดดออกมายืนฝั่งตรงข้าม แต่อวยชัยกลับบอกว่า การต่อสู้หลายๆ ครั้งที่ผ่านมา ได้เคี่ยวกรำความรู้สึกของเขาจนหมดความวิตกกังวลเรื่องใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการถูกปองร้าย หรือการถูกสอบสวนทางวินัย เพราะเขาเชื่อมั่นว่าการต่อสู้เคียงข้าง
ประชาชนคือสิ่งที่ถูกต้อง และการต่อสู้กับอำนาจรัฐจำเป็นต้องต่อสู้ด้วยความอดทน รอคอยชัยชนะที่จะต้องมาถึงอย่างแน่นอน และทุกครั้งที่เขาขึ้นไปยืนปราศรัยบนเวที เขายึดหลักการปราศรัย “ไม่เครียด แต่ดุเดือด และเจือบทกวี”
ส่วนบั้นปลายของชีวิตของ อวยชัยนั้น เขาอยากจะใช้ชีวิตเรียบง่ายอยู่กับครอบครัว ได้ชักชวนเพื่อนฝูงพายเรือออกไปทอดแหจับปลาที่ลำน้ำชี ตกเย็นก็ได้เป่าแคน เขียนบทกวีกับเพื่อนๆ และได้ออกไปเผยแพร่ให้คนอื่นๆ ได้รับฟังบ้างเท่านั้น
และวันนี้เขาบอกตัวเองอยู่เสมอว่า “อะไรจะเกิด ก็ต้องเกิด”
ชื่อ อวยชัย วะทา ใช่ว่าจะเพิ่งปรากฏต่อสาธารณะเป็นครั้งแรก หากแต่ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักเคลื่อนไหว
“การเคลื่อนไหวของผมเริ่มตั้งแต่ช่วงหลังยุค 14 ตุลา ซึ่งขณะนั้นครูอยู่ภายใต้สังกัดของกระทรวงมหาดไทย เป็นครูประชาบาลและถือเป็นความตกต่ำของวงการครู ขณะนั้นผมอายุแค่ 23 ปี ได้ร่วมกับสมาพันธ์ครูแห่งประเทศไทย โดยดำรงตำแหน่งเลขาธิการครูภาคอีสาน เคลื่อนไหวปลดแอกครูจากการกำกับของกระทรวงมหาดไทยจนเป็นผลสำเร็จ นำมาสู่การตั้งสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ หรือ สปช.ในที่สุด”อวยชัยย้อนถึงบทบาทการเคลื่อนไหวในอดีตที่ผ่านมา
พื้นเพของอวยชัย เป็นคนจังหวัดร้อยเอ็ด พ่อและแม่มีอาชีพเกษตรกรเฉกเช่นเดียวกับชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ หลังศึกษาจนสำเร็จเข้ารับราชการครู อวยชัยได้ย้ายไปทำหน้าที่พ่อพิมพ์ของชาติอยู่ในจังหวัดมหาสารคาม นอกจากนั้นเขายังเขียนบทความลงตีพิมพ์ในสื่อต่างๆ อีกด้วย
ไม่เพียงแต่การเคลื่อนไหวในนามขององค์กรครูเท่านั้น อวยชัยยังได้เข้าร่วมกับเกษตรกรในนามของสมัชชาเกษตรกรรายย่อย โดยเขาเป็นหนึ่งในคณะกรรมการสมัชชาดังกล่าว เคลื่อนไหวเรียกร้องเรื่องที่ทำกินให้กับเกษตรกรในภาคอีสาน คัดค้านการทำโรงโม่หินในจังหวัดเลย ซึ่งในครั้งนั้นครูประเวียน บุญหนัก แกนนำในการเคลื่อนไหวคนสำคัญ ต้องสังเวยชีวิตให้กับอิทธิพลมืด รวมทั้งการเคลื่อนไหวคัดค้านโรงโม่หินในจังหวัดหนองบัวลำภู ที่มีการระเบิดภูเขาเป็นลูกๆ เขาก็เข้าร่วมเคลื่อนไหวในฐานะแกนนำคนหนึ่งเช่นกัน
“หลายคนอาจจะรู้สึกว่า เป็นครูทำไมไม่สอนหนังสือ ออกไปเคลื่อนไหวทำไม สำหรับผม ผมเชื่อว่า การเป็นครูแค่สอนอยู่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่เราต้องทำให้ลูกศิษย์เห็นด้วยว่า เราไม่ยอมแพ้กับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เราต้องกล้าที่จะยืนหยัดเพื่อให้ได้ความเป็นธรรม ต้องสอนด้วยการกระทำ ไม่ใช่ดีแต่พูด และต้องกล้าที่จะเอาตัวเองเป็นเครื่องสังเวยความถูกต้องและดีงาม”
แม้จะออกไปเคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับชาวบ้าน อวยชัยก็ยังยืนยันว่า เขาไม่ละทิ้งการทำหน้าที่ “ครู” และยังรักการสอนหนังสืออยู่
“ผมเคยใช้วิธีการตีเด็กนักเรียนในการสอนหนังสือ ครั้งหนึ่งผมตีเด็ก แล้วผมเห็นอาการสั่นกลัวของเขา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผมหักไม้เรียวทิ้งและเลิกใช้วิธีการตีอย่างเด็ดขาด แต่จะใช้วิธีการสอนด้วยความอดทน เอาชนะเด็กๆ ด้วยใจ ซึ่งมันทำให้เกิดความผูกพันทั้งเด็กและเรา เวลาย้ายโรงเรียนแต่ละครั้งจึงมีเด็กๆ ร้องไห้ตามผมแทบทุกครั้ง ทำให้ผมรักอาชีพนี้”
สำหรับการออกมาเคลื่อนไหวร่วมกับชาวบ้านในเรื่องต่างๆ นั้น อวยชัย บอกว่า เขาเห็นความเดือดร้อนของชาวบ้าน และอยากเข้าไปช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ ยิ่งเมื่อได้ทำงานใกล้ชิดกับชาวบ้าน ยิ่งพบว่าน้ำใจของชาวบ้านที่มีให้นั้นเป็นสิ่งตอบแทนที่คุ้มค่า สำหรับความเหนื่อย หรือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นยิ่งนัก
“เวลาผมไปร่วมเคลื่อนไหวหรือไปเดินขบวนกับชาวบ้าน ผมจะอ้วนทุกครั้ง เพราะแทบทุกครอบครัวเขาจะทำอาหารมาเผื่อผมด้วย บางครั้งพอเราจะเดินทางกลับเขาก็เอาเงินซึ่งเขาแทบไม่มีมายัดใส่มือผม บอกว่าช่วยค่ารถครู นี่คือสิ่งที่ผมสัมผัสตลอดมาในการเคลื่อนไหวร่วมกับชาวบ้าน”
ส่วนสาเหตุที่ตัดสินใจนำองค์กรครูร่วมเคลื่อนไหวกับ “สนธิ ลิ้มทองกุล” นั้น อวยชัย บอกว่า เป็นผลมาจากการคัดค้านการถ่ายโอนการศึกษาไปสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่รัฐบาลยืนยันว่าจะต้องถ่ายโอน แม้ว่าองค์กรครูจะยื่นคำขาดไปแล้วก็ตามว่าไม่ต้องการให้มีการถ่ายโอนการศึกษาเกิดขึ้น ทำให้องค์กรครูตัดสินใจเข้าร่วมสังฆกรรมกับกลุ่มแฟนรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ซึ่งขณะนั้นจัดเวทีสัญจรอยู่ที่สวนลุมพินี จนมารวมตัวกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า และท้องสนามหลวงในที่สุด โดยองค์กรครูเป็นหนึ่งในพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่เคลื่อนไหวขับไล่ “ทักษิณ ชินวัตร”อยู่ในขณะนี้
อวยชัย มองการเข้าร่วมขององค์กรครูกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า เป็นการเคลื่อนไหวที่เกื้อหนุนกัน มิใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกเป็นเครื่องมือของอีกฝ่ายหนึ่ง และมีจุดุม่งหมายเหมือนกันคือ “ไล่ทักษิณออกจากตำแหน่ง”
“ส่วนเป้าหมายในการเคลื่อนไหวขององค์กรครูนั้น เราอยากเห็นการปฏิรูปการเมือง การสร้างสังคมด้วยเศรษฐกิจพอเพียง มีวัฒนธรรมชุมชน และมีประชาธิปไตยที่เป็นธรรมาภิบาล รวมไปถึงการปฏิรูปการศึกษาให้เห็นผลด้วย”
ถามว่าในวันนี้อวยชัย หวั่นเกรงกับการออกมาแสดงจุดยืนซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามรัฐบาลบ้างหรือไม่ เพราะปัจจุบันในตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 ที่อวยชัยดำรงอยู่นั้น เขาคือคนของรัฐที่ไม่ควรจะกระโดดออกมายืนฝั่งตรงข้าม แต่อวยชัยกลับบอกว่า การต่อสู้หลายๆ ครั้งที่ผ่านมา ได้เคี่ยวกรำความรู้สึกของเขาจนหมดความวิตกกังวลเรื่องใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการถูกปองร้าย หรือการถูกสอบสวนทางวินัย เพราะเขาเชื่อมั่นว่าการต่อสู้เคียงข้าง
ประชาชนคือสิ่งที่ถูกต้อง และการต่อสู้กับอำนาจรัฐจำเป็นต้องต่อสู้ด้วยความอดทน รอคอยชัยชนะที่จะต้องมาถึงอย่างแน่นอน และทุกครั้งที่เขาขึ้นไปยืนปราศรัยบนเวที เขายึดหลักการปราศรัย “ไม่เครียด แต่ดุเดือด และเจือบทกวี”
ส่วนบั้นปลายของชีวิตของ อวยชัยนั้น เขาอยากจะใช้ชีวิตเรียบง่ายอยู่กับครอบครัว ได้ชักชวนเพื่อนฝูงพายเรือออกไปทอดแหจับปลาที่ลำน้ำชี ตกเย็นก็ได้เป่าแคน เขียนบทกวีกับเพื่อนๆ และได้ออกไปเผยแพร่ให้คนอื่นๆ ได้รับฟังบ้างเท่านั้น
และวันนี้เขาบอกตัวเองอยู่เสมอว่า “อะไรจะเกิด ก็ต้องเกิด”