สั่ง สสจ.ทั่วประเทศเฝ้าระวังการระบาดของโรคมือเท้าปากอย่างใกล้ชิด แนะผู้ปกครองหากพบเด็กมีตุ่มใสขึ้นที่ปาก มือ หรือเท้า ต้องพาไปพบแพทย์ โดยเฉพาะศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล ขอให้เข้มงวดเรื่องความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ ของเล่น กำจัดสิ่งขับถ่ายให้ถูกสุขลักษณะ
จากกรณีที่มีเด็กมาเลเซียวัยต่ำกว่า 5 ขวบในรัฐซาราวัก บนเกาะบอร์เนียว ประเทศมาเลเซีย ติดเชื้อโรคมือเท้าปากกว่า 200 ราย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียมีคำสั่งปิดโรงเรียนอนุบาลในรัฐซาราวัก 488 แห่ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2549 เป็นต้นมา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคดังกล่าว
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคมือเท้าปาก ไม่ใช่โรคใหม่พบนานแล้ว เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่าเอนเทอโรไวรัส ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ เกิดการระบาดเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี โดยประเทศไทยได้มีระบบการเฝ้าระวังโรคนี้อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง พบว่าสายพันธุ์ชนิดที่พบในไทยไม่ใช่สายพันธุ์รุนแรง ในปี 2548 พบ 4,718 ราย เสียชีวิต 1 ราย ในปีนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 1 มีนาคม 2549 พบผู้ป่วย 147 ราย พบการระบาด 2 ครั้งที่จังหวัดลำปางและน่าน ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ยังไม่มีรายงานเสียชีวิต ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเป็นเด็กอายุ 2-5 ปีมากถึงร้อยละ 95 สถานที่เกิดโรคในไทยมักพบตามโรงเรียนอนุบาลและศูนย์เด็กเล็ก
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ไม่มีข้อห้ามการเดินทางไปประเทศมาเลเซีย แต่ขอเพิ่มความระมัดระวัง โดยเฉพาะเด็ก ขอให้ล้างมือบ่อย ๆ หลังจับต้องสิ่งของต่าง ๆ และสั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศเฝ้าระวังโรคมือเท้าปากอย่างเข้มงวด และสั่งการให้โรงพยาบาลทุกแห่งทำหน้าที่เป็นยามเฝ้าระวัง ซักประวัติ ตรวจร่างกายเด็กอย่างละเอียดในการวินิจฉัยอย่างถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้การรักษาและดำเนินการควบคุมโรคไม่ให้แพร่ระบาดโดยเร็วที่สุด
นพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่าการป้องกันที่สำคัญที่สุดต้องเน้นที่การล้างมือให้สะอาดหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง และก่อนรับประทานอาหารและหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ของเล่นเด็ก แก้วน้ำ รวมทั้งห้ามใช้หลอดดูดน้ำร่วมกันโดยเฉพาะในสถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล ต้องมีวิธีกำจัดอุจจาระให้ถูกต้อง พี่เลี้ยงเด็ก ต้องล้างมือทุกครั้งหลังเปลี่ยนผ้าอ้อมและก่อนเตรียมอาหาร
เมื่อพบเด็กมีอาการไข้ ผื่นขึ้น มีตุ่มใสขึ้นที่ปาก มือ หรือเท้า ขอให้นึกถึงโรคนี้ ขอให้หยุดเรียนและพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่รวดเร็วเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่อาจเกิดตามมา และให้แยกเด็กป่วยไม่ให้คลุกคลีกับเด็กอื่นเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ซึ่งโรคนี้ไม่มียาฆ่าเชื้อโดยตรงจะรักษาตามอาการและเฝ้าระวังอาการที่รุนแรง หรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ที่สำคัญหากเด็กมีไข้สูงอาจชักได้
จากกรณีที่มีเด็กมาเลเซียวัยต่ำกว่า 5 ขวบในรัฐซาราวัก บนเกาะบอร์เนียว ประเทศมาเลเซีย ติดเชื้อโรคมือเท้าปากกว่า 200 ราย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียมีคำสั่งปิดโรงเรียนอนุบาลในรัฐซาราวัก 488 แห่ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2549 เป็นต้นมา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคดังกล่าว
นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคมือเท้าปาก ไม่ใช่โรคใหม่พบนานแล้ว เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่าเอนเทอโรไวรัส ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ เกิดการระบาดเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี โดยประเทศไทยได้มีระบบการเฝ้าระวังโรคนี้อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง พบว่าสายพันธุ์ชนิดที่พบในไทยไม่ใช่สายพันธุ์รุนแรง ในปี 2548 พบ 4,718 ราย เสียชีวิต 1 ราย ในปีนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 1 มีนาคม 2549 พบผู้ป่วย 147 ราย พบการระบาด 2 ครั้งที่จังหวัดลำปางและน่าน ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ยังไม่มีรายงานเสียชีวิต ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเป็นเด็กอายุ 2-5 ปีมากถึงร้อยละ 95 สถานที่เกิดโรคในไทยมักพบตามโรงเรียนอนุบาลและศูนย์เด็กเล็ก
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ไม่มีข้อห้ามการเดินทางไปประเทศมาเลเซีย แต่ขอเพิ่มความระมัดระวัง โดยเฉพาะเด็ก ขอให้ล้างมือบ่อย ๆ หลังจับต้องสิ่งของต่าง ๆ และสั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศเฝ้าระวังโรคมือเท้าปากอย่างเข้มงวด และสั่งการให้โรงพยาบาลทุกแห่งทำหน้าที่เป็นยามเฝ้าระวัง ซักประวัติ ตรวจร่างกายเด็กอย่างละเอียดในการวินิจฉัยอย่างถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้การรักษาและดำเนินการควบคุมโรคไม่ให้แพร่ระบาดโดยเร็วที่สุด
นพ.ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่าการป้องกันที่สำคัญที่สุดต้องเน้นที่การล้างมือให้สะอาดหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง และก่อนรับประทานอาหารและหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ของเล่นเด็ก แก้วน้ำ รวมทั้งห้ามใช้หลอดดูดน้ำร่วมกันโดยเฉพาะในสถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล ต้องมีวิธีกำจัดอุจจาระให้ถูกต้อง พี่เลี้ยงเด็ก ต้องล้างมือทุกครั้งหลังเปลี่ยนผ้าอ้อมและก่อนเตรียมอาหาร
เมื่อพบเด็กมีอาการไข้ ผื่นขึ้น มีตุ่มใสขึ้นที่ปาก มือ หรือเท้า ขอให้นึกถึงโรคนี้ ขอให้หยุดเรียนและพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่รวดเร็วเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่อาจเกิดตามมา และให้แยกเด็กป่วยไม่ให้คลุกคลีกับเด็กอื่นเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ซึ่งโรคนี้ไม่มียาฆ่าเชื้อโดยตรงจะรักษาตามอาการและเฝ้าระวังอาการที่รุนแรง หรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ที่สำคัญหากเด็กมีไข้สูงอาจชักได้