หากใครคิดว่าคนที่ใช้ไอทีเก่ง ๆ จะขาดปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น และค่อย ๆ แข็งกระด้างจนกลายเป็นแอนดรอยด์หรือมนุษย์หุ่นยนต์ อาจจะคิดผิด.....เพราะคนที่เก่งไอที อาจเป็นคนที่เข้าใจศิลปะและดนตรีที่ทำให้มนุษย์เกิดความรู้สึกอ่อนโยนอ่อนไหวได้อย่างลึกซึ้ง จนสามารถสร้างผลงานศิลปะใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ด้วยไอทีนั่นแหละ
ด.ญ.จินดาภัทร สินธวัชต์ (น้องปิ่น) นักเรียนชั้น ป. 5 โรงเรียนเซนต์เมรี่ จ.อุดรธานี ได้ใช้ไอทีเป็นเครื่องมือต่อยอดความรู้ทางคณิตศาสตร์เชื่อมโยงเข้ากับเรื่องศิลปะและภูมิปัญญาไทย
น้องปิ่นได้ออกแบบลายผ้าขิดใหม่ ๆ กว่า 20 ลาย จากโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) หลังจากนั้นก็ได้เลือกสั่งทอบางลายออกมาเป็นผืนผ้าขิดได้อย่างสวยงามด้วยความช่วยเหลือของคุณป้าไพบูลย์ เชี่ยวชาญ และกลุ่มแม่บ้านดงยางเป็นกลุ่มทอผ้า ที่อ.พิบูลรักษ์ จ.อุดรธานี ช่วยแปลงจินตนาการออกมาเป็นผ้าทอได้อย่างสวยงาม
น้องปิ่น บอกว่า “จากการที่หนูได้ใช้โปรแกรม GSP ได้ออกแบบภาพเรขาคณิตแบบต่าง ๆ ได้รับความรู้คณิตศาสตร์เรื่องการเลื่อนขนานจากคุณครู ด้วยความชอบใช้คอมพิวเตอร์อยู่แล้ว และประกอบกับเห็นคุณแม่ใส่เสื้อลายผ้าขิด จึงลองออกแบบลายผ้า เพราะคิดว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่กับภูมิปัญญาท้องถิ่นนำมาประยุกต์ใช้ด้วยกันได้ ลายผ้าเก่า ๆ ที่เห็นอยู่ก็ยังมีน้อย ต้องการเพิ่มลายใหม่ขึ้นมาใช้ดู การใช้โปรแกรม GSP ช่วยให้ออกแบบลายผ้าได้สมบูรณ์และรวดเร็ว”
หลังจากที่เด็กหญิงคนนี้ได้ศึกษาเรียนรู้โปรแกรม GSP จากอาจารย์อย่างเข้าใจแล้ว ก็ได้ศึกษาลายผ้าขิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อนำความรู้มาประยุกต์ดัดแปลงใช้กับโปรแกรม แล้วก็ลงมือออกแบบลายผ้า การสร้างลายผ้าขิดของน้องปิ่นใช้คำสั่งสำคัญในโปรแกรม GSP ก็คือคำสั่ง การสร้างส่วนของเส้นตรง และการแปลง-เลื่อนขนาน
เมื่อได้ลายผ้าตามจินตนาการแล้ว ก็นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการทอผ้าในท้องถิ่นดูว่าลายใดบ้างที่สามารถทอได้ หรือลายใดที่ควรจะปรับปรุงแก้ไขก่อนนำไปทอผ้า ซึ่งพบว่าลายที่เป็นเหลี่ยมจะมัดลายผ้าได้ง่ายกว่า และทอเป็นผืนได้ลวดลายที่สวยกว่าลายวงกลม นอกจากนั้นยังมีการปรึกษาระหว่างน้องปิ่น คุณครูที่โรงเรียนกับกลุ่มแม่บ้านดงยางในการที่จะทอผ้าเพื่อให้ได้ลวดลายและสีสันตามความต้องการของผู้ใช้ด้วย
ก่อนที่จะทอผ้าออกมาเป็นผืนให้เห็นนั้น ขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญก็คือ “การมัดลายผ้า” ตามที่ได้ออกแบบมา เพื่อให้เส้นด้ายตรงที่มัดนั้นติดสี จากนั้นชาวบ้านนำต้นครามมาตำละเอียดเป็นผง แล้วนำมาย้อมผ้าที่มัดลายไว้ หลังจากนั้นจะต้องมาแช่ในน้ำยาปรับผ้านุ่มอีกที เพราะครามนั้นมีกลิ่นฉุน
"ตอนนี้หนูออกแบบลายผ้าได้ 20 กว่าลายแล้ว และเพิ่งทอเสร็จ 5 ลาย บางลายที่เป็นลายเดียวกันก็ลองทอคนละแบบ ลองมัดกี่ให้เล็กลง ทำให้ได้ผ้าที่มีลวดลายหลากหลายมากขึ้น” น้องปิ่นเล่า
ลายผ้าใหม่ที่ทำขึ้นมานี้ มีคนเห็นแล้วชอบ อยากได้ และขอซื้อ ซึ่งคุณป้าไพบูลย์ เชี่ยวชาญ ก็ชมเปาะและการันตรีว่าสวย สามารถออกขายในตลาดได้แน่นอน “คุณค่าของผ้าทอก็คือลายสวย ย้อมดี ทอแน่น เนื้อผ้าดี ชื่นชมที่น้องปิ่นมีความคิดแปลกใหม่ ไม่เคยเห็นเด็กที่ไหนออกแบบลายผ้าได้อย่างนี้มาก่อนเลย” คุณป้าไพบูลย์กล่าวชม
สุพัตรา สินธวัชต์ คุณแม่ของน้องปิ่น เล่าให้ฟังว่า ลูกสาวชอบคิดอะไรแปลก ๆ ใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ ไม่อยากให้เขาหยุดแค่คิด จึงได้พยายามต่อยอดความคิดของเขา การเลี้ยงดูตั้งแต่เด็ก ๆ ก็เลี้ยงเหมือนเด็กทั่วไป แม่อ่านนิทานให้ฟังบ่อยตั้งแต่เด็ก น้องปิ่นเป็นเด็กที่ชอบเล่านิทานให้เพื่อนฟังด้วย ด้านการเรียนลูกเรียนใช้ได้อยู่แล้ว จึงไม่ได้เคี่ยวเข็ญด้านวิชาการมาก แต่อยากให้ลูกได้ทำกิจกรรมอื่น ๆ ควบคู่ไปกับการเรียนด้วย เช่น การช่วยเหลือสังคม วาดรูป ดนตรี การแสดง
โรงเรียนเซนต์เมรี่ ได้นำโปรแกรม GSP มาใช้สอนในโรงเรียน หลังจากที่ซิสเตอร์ยุวดี อารีย์จิตรานุสรณ์ ผู้จัดการโรงเรียน ได้เข้ารับการอบรมจาก สสวท. แล้วเกิดความประทับใจ จึงได้นำมาอบรมต่อให้ครูหมวดคณิตศาสตร์ทุกคน และขยายผลการอบรมให้แก่โรงเรียนในเครือซาเลเซียนหญิง ได้แก่ โรงเรียนธิดานุเคราะห์หาดใหญ่ จ.สงขลา โรงเรียนนารีวุฒิบ้านโป่ง จ.ราชบุรี โรงเรียนนารีอุปถัมภ์สามพราน จ.นครปฐม และโรงเรียนวิสุทธิวงศ์โพนสูง จ.อุดรธานี พร้อมกับส่งครูคณิตศาสตร์คนอื่น ๆ ในโรงเรียนเซนต์เมรี่เข้ารับการอบรม GSP จาก สสวท. ในหลักสูตรที่จัดขึ้นภายหลังด้วย
โดยในปี 2548 โรงเรียนเซนต์เมรี่ได้นำร่องนำ GSP มาสอน ชั้น ม. ต้นก่อน และปีการศึกษานี้ ได้ขยายผลนำไปใช้สอนในทุกระดับ อาทิ ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-ป.3) สอนเรื่องรูปเรขาคณิต ช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-ป.6) สอนเรื่องสูตรคูณ การคำนวณตัวเลข การหาพื้นที่ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3) สอนเรื่องกราฟพาราโบลา การเลื่อนขนาน การแปลง
สนใจนำโปรแกรม GSP ไปใช้ในโรงเรียน ติดต่อได้ที่ สสวท. โทร. 02-392-4021 ต่อ 1245 หรือคลิกดูที่เว็บไซต์ http://thaigsp.ipst.ac.th
ด.ญ.จินดาภัทร สินธวัชต์ (น้องปิ่น) นักเรียนชั้น ป. 5 โรงเรียนเซนต์เมรี่ จ.อุดรธานี ได้ใช้ไอทีเป็นเครื่องมือต่อยอดความรู้ทางคณิตศาสตร์เชื่อมโยงเข้ากับเรื่องศิลปะและภูมิปัญญาไทย
น้องปิ่นได้ออกแบบลายผ้าขิดใหม่ ๆ กว่า 20 ลาย จากโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) หลังจากนั้นก็ได้เลือกสั่งทอบางลายออกมาเป็นผืนผ้าขิดได้อย่างสวยงามด้วยความช่วยเหลือของคุณป้าไพบูลย์ เชี่ยวชาญ และกลุ่มแม่บ้านดงยางเป็นกลุ่มทอผ้า ที่อ.พิบูลรักษ์ จ.อุดรธานี ช่วยแปลงจินตนาการออกมาเป็นผ้าทอได้อย่างสวยงาม
น้องปิ่น บอกว่า “จากการที่หนูได้ใช้โปรแกรม GSP ได้ออกแบบภาพเรขาคณิตแบบต่าง ๆ ได้รับความรู้คณิตศาสตร์เรื่องการเลื่อนขนานจากคุณครู ด้วยความชอบใช้คอมพิวเตอร์อยู่แล้ว และประกอบกับเห็นคุณแม่ใส่เสื้อลายผ้าขิด จึงลองออกแบบลายผ้า เพราะคิดว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่กับภูมิปัญญาท้องถิ่นนำมาประยุกต์ใช้ด้วยกันได้ ลายผ้าเก่า ๆ ที่เห็นอยู่ก็ยังมีน้อย ต้องการเพิ่มลายใหม่ขึ้นมาใช้ดู การใช้โปรแกรม GSP ช่วยให้ออกแบบลายผ้าได้สมบูรณ์และรวดเร็ว”
หลังจากที่เด็กหญิงคนนี้ได้ศึกษาเรียนรู้โปรแกรม GSP จากอาจารย์อย่างเข้าใจแล้ว ก็ได้ศึกษาลายผ้าขิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อนำความรู้มาประยุกต์ดัดแปลงใช้กับโปรแกรม แล้วก็ลงมือออกแบบลายผ้า การสร้างลายผ้าขิดของน้องปิ่นใช้คำสั่งสำคัญในโปรแกรม GSP ก็คือคำสั่ง การสร้างส่วนของเส้นตรง และการแปลง-เลื่อนขนาน
เมื่อได้ลายผ้าตามจินตนาการแล้ว ก็นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการทอผ้าในท้องถิ่นดูว่าลายใดบ้างที่สามารถทอได้ หรือลายใดที่ควรจะปรับปรุงแก้ไขก่อนนำไปทอผ้า ซึ่งพบว่าลายที่เป็นเหลี่ยมจะมัดลายผ้าได้ง่ายกว่า และทอเป็นผืนได้ลวดลายที่สวยกว่าลายวงกลม นอกจากนั้นยังมีการปรึกษาระหว่างน้องปิ่น คุณครูที่โรงเรียนกับกลุ่มแม่บ้านดงยางในการที่จะทอผ้าเพื่อให้ได้ลวดลายและสีสันตามความต้องการของผู้ใช้ด้วย
ก่อนที่จะทอผ้าออกมาเป็นผืนให้เห็นนั้น ขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญก็คือ “การมัดลายผ้า” ตามที่ได้ออกแบบมา เพื่อให้เส้นด้ายตรงที่มัดนั้นติดสี จากนั้นชาวบ้านนำต้นครามมาตำละเอียดเป็นผง แล้วนำมาย้อมผ้าที่มัดลายไว้ หลังจากนั้นจะต้องมาแช่ในน้ำยาปรับผ้านุ่มอีกที เพราะครามนั้นมีกลิ่นฉุน
"ตอนนี้หนูออกแบบลายผ้าได้ 20 กว่าลายแล้ว และเพิ่งทอเสร็จ 5 ลาย บางลายที่เป็นลายเดียวกันก็ลองทอคนละแบบ ลองมัดกี่ให้เล็กลง ทำให้ได้ผ้าที่มีลวดลายหลากหลายมากขึ้น” น้องปิ่นเล่า
ลายผ้าใหม่ที่ทำขึ้นมานี้ มีคนเห็นแล้วชอบ อยากได้ และขอซื้อ ซึ่งคุณป้าไพบูลย์ เชี่ยวชาญ ก็ชมเปาะและการันตรีว่าสวย สามารถออกขายในตลาดได้แน่นอน “คุณค่าของผ้าทอก็คือลายสวย ย้อมดี ทอแน่น เนื้อผ้าดี ชื่นชมที่น้องปิ่นมีความคิดแปลกใหม่ ไม่เคยเห็นเด็กที่ไหนออกแบบลายผ้าได้อย่างนี้มาก่อนเลย” คุณป้าไพบูลย์กล่าวชม
สุพัตรา สินธวัชต์ คุณแม่ของน้องปิ่น เล่าให้ฟังว่า ลูกสาวชอบคิดอะไรแปลก ๆ ใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ ไม่อยากให้เขาหยุดแค่คิด จึงได้พยายามต่อยอดความคิดของเขา การเลี้ยงดูตั้งแต่เด็ก ๆ ก็เลี้ยงเหมือนเด็กทั่วไป แม่อ่านนิทานให้ฟังบ่อยตั้งแต่เด็ก น้องปิ่นเป็นเด็กที่ชอบเล่านิทานให้เพื่อนฟังด้วย ด้านการเรียนลูกเรียนใช้ได้อยู่แล้ว จึงไม่ได้เคี่ยวเข็ญด้านวิชาการมาก แต่อยากให้ลูกได้ทำกิจกรรมอื่น ๆ ควบคู่ไปกับการเรียนด้วย เช่น การช่วยเหลือสังคม วาดรูป ดนตรี การแสดง
โรงเรียนเซนต์เมรี่ ได้นำโปรแกรม GSP มาใช้สอนในโรงเรียน หลังจากที่ซิสเตอร์ยุวดี อารีย์จิตรานุสรณ์ ผู้จัดการโรงเรียน ได้เข้ารับการอบรมจาก สสวท. แล้วเกิดความประทับใจ จึงได้นำมาอบรมต่อให้ครูหมวดคณิตศาสตร์ทุกคน และขยายผลการอบรมให้แก่โรงเรียนในเครือซาเลเซียนหญิง ได้แก่ โรงเรียนธิดานุเคราะห์หาดใหญ่ จ.สงขลา โรงเรียนนารีวุฒิบ้านโป่ง จ.ราชบุรี โรงเรียนนารีอุปถัมภ์สามพราน จ.นครปฐม และโรงเรียนวิสุทธิวงศ์โพนสูง จ.อุดรธานี พร้อมกับส่งครูคณิตศาสตร์คนอื่น ๆ ในโรงเรียนเซนต์เมรี่เข้ารับการอบรม GSP จาก สสวท. ในหลักสูตรที่จัดขึ้นภายหลังด้วย
โดยในปี 2548 โรงเรียนเซนต์เมรี่ได้นำร่องนำ GSP มาสอน ชั้น ม. ต้นก่อน และปีการศึกษานี้ ได้ขยายผลนำไปใช้สอนในทุกระดับ อาทิ ช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-ป.3) สอนเรื่องรูปเรขาคณิต ช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-ป.6) สอนเรื่องสูตรคูณ การคำนวณตัวเลข การหาพื้นที่ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3) สอนเรื่องกราฟพาราโบลา การเลื่อนขนาน การแปลง
สนใจนำโปรแกรม GSP ไปใช้ในโรงเรียน ติดต่อได้ที่ สสวท. โทร. 02-392-4021 ต่อ 1245 หรือคลิกดูที่เว็บไซต์ http://thaigsp.ipst.ac.th