นักวิชาการชี้มาตรา 41 จะเป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ยลดการฟ้องร้องคนไข้-แพทย์ ได้ดีที่สุด สอดคล้องกับมติบอร์ด สปสช.ปรับการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้รับบริการตามมาตรา 41 ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า แถมเพิ่มกรณี “เหตุสุดวิสัยในระบบการรักษาพยาบาล”
รศ.ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง นักวิจัยจากคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการติดตามและประเมินผลการดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 พบว่า การใช้ระบบที่ไม่ต้องพิสูจน์ถูก-ผิดนั้น ในภาพรวมพบว่า มาตรา 41 เป็นประโยชน์และมีส่วนช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ใช้บริการช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และ 2 ใน 3 ผู้ขอความช่วยเหลือส่วนใหญ่เป็นผู้ที่หาเช้ากินค่ำ มีรายได้น้อย ซึ่งต้องบอกว่า มาตรา 41 ไม่ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ผู้รับบริการก็ได้รับการช่วยเหลือ
“มาตรา 41 มีแง่มุมหลายส่วนที่นำมาใช้ได้ในพื้นที่ที่มีการเชื่อมโยงกับสังคม กับชุมชนดี มาตรา 41 จะเป็นกลไกที่จะช่วยเพิ่มทรัพยากร กล่าวคือ แทนที่ รพ.จะให้เงิน หรือส่วนตัวแพทย์จะต้องจ่ายเงินเวลาที่เกิดปัญหาทั้งที่บางกรณีอาจเป็นเหตุสุดวิสัย ไม่ใช่ความผิดพลาดของแพทย์ แต่มาตรา 41 จะมีกระบวนการเข้ามาช่วย มีคนกลางเข้ามาไกล่เกลี่ย พร้อมๆ กับการเข้าใจอันดีระหว่างแพทย์และคนไข้มากขึ้น อย่าไปถือว่า มาตรา 41 เป็นกลไกที่เปิดช่องทางให้ชาวบ้านร้องเรียนได้มาก แต่มาตรา 41 จะเป็นกลไกนำไปสู่การไกล่เกลี่ย ถ้าเข้าใจเรื่องนี้แล้ว และดึงผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น และเข้าใจว่า มาตรา 41 เป็นกลไกของความช่วยเหลือเบื้องต้น และช่วยลดการฟ้องร้องระหว่างคนไข้และหมอได้อีกทางหนึ่งอย่างไรก็ตามเป็นที่สังเกตว่าผู้ที่ได้รับการชดเชยตามมาตรา 41 ได้รับประโยชน์อย่างมากขึ้น”
นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า จากผลการศึกษาวิจัยของนักวิชาการสอดคล้องกับมติของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ให้ยกเลิกข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหาย พ.ศ.2547 แล้ว ซึ่งมีรายละเอียดในเรื่องปรับวิธีจ่ายเงินชดเชยพิจารณาเงินช่วยเหลือเบื้องต้นจากเดิมผู้เสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร ให้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นจากเดิมไม่เกิน 80,000 บาท ปรับใหม่เป็นไม่เกิน 200,000 บาท ผู้สูญเสียอวัยวะหรือพิการ จากเดิมไม่เกิน 50,000 บาท เป็น 120,000 บาท และกรณีบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยต่อเนื่องจากเดิมไม่เกิน 20,000 บาท ปรับใหม่ไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งเงินช่วยเหลือที่ปรับเปลี่ยนใหม่นี้ได้กำหนดให้เงินที่จะจ่ายให้ผู้รับบริการหรือทายาท และได้เพิ่ม “ผู้อุปการะ” ในการรับขอรับเงินช่วยเหลือด้วยเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ “โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ถูกผิด” ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่1 ก.พ.ที่ผ่านมา
นอกจากนี้แล้ว คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพยังได้แก้ไขในเรื่องความเสียหายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ ที่จะเป็นเหตุให้ได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ให้รวมถึง “เหตุสุดวิสัยในระบบการรักษาพยาบาล” แต่ต้องไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากการดำเนินไปตามพยาธิสภาพ หรือเหตุแทรกซ้อนของโรคที่เป็นไปตามสภาพปกติธรรมดาของโรคนั้นอยู่ ซึ่งโรคนั้นได้รับการวินิจฉัยและรักษาตามมาตรฐานทั่วไป
“สำหรับผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการหรือทายาท หรือผู้อุปการะ หรือหน่วยบริการที่ให้บริการ มีสิทธิยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ที่สำนักงานสาขา หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในจังหวัดนั้น หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทันทีไม่ต้องร้องเรียนศาล หรือหนังสือพิมพ์ ทั้งนี้ ต้องยื่นคำร้องภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ทราบความเสียหายที่ผ่านมา พบว่า ทั้งฝ่ายคนไข้และบุคลากรทางการแพทย์มีการเห็นอกเห็นใจช่วยเหลือกัน” นพ.สงวน กล่าว
นพ.สงวน ในตอนท้ายว่า ตามมาตรา 41 ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 นั้นครอบคลุมเฉพาะผู้ถือบัตรทอง 30 บาท ที่ใช้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพ ตั้งแต่ 2547 - กันยายน 2548 มีผู้ถือบัตรทองได้รับความเสียหายที่ ได้รับการชดเชยปี 2547 จำนวน 85 ราย เป็นจำนวนเงิน 4.5 ล้านบาท ปี 2548 จำนวน 221 ราย เป็นเงิน 12.8 ล้านบาท ล่าสุด ตั้งแต่ตุลาคม 2548 - มกราคม 2549 มีผู้ยื่นคำร้องขอรับการช่วยเหลือ 145 ราย เข้าเกณฑ์ได้รับการชดเชย 125 ราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,612,500 บาท
เลขาธิการ สปสช.กล่าวอีกว่า มีผู้ยื่นขอรับการช่วยเหลือตามมาตรา 41 มากที่สุด คือ ทางด้านสูติ-นรีเวช โดยเฉพาะการคลอดบุตรเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดความเสียหายถึงขั้นเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ และพบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วยซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย รองลงมาด้านอายุรกรรม ศัลยกรรม จักษุฯ และทันตกรรม เป็นต้น
รศ.ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง นักวิจัยจากคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการติดตามและประเมินผลการดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 พบว่า การใช้ระบบที่ไม่ต้องพิสูจน์ถูก-ผิดนั้น ในภาพรวมพบว่า มาตรา 41 เป็นประโยชน์และมีส่วนช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ใช้บริการช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และ 2 ใน 3 ผู้ขอความช่วยเหลือส่วนใหญ่เป็นผู้ที่หาเช้ากินค่ำ มีรายได้น้อย ซึ่งต้องบอกว่า มาตรา 41 ไม่ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ผู้รับบริการก็ได้รับการช่วยเหลือ
“มาตรา 41 มีแง่มุมหลายส่วนที่นำมาใช้ได้ในพื้นที่ที่มีการเชื่อมโยงกับสังคม กับชุมชนดี มาตรา 41 จะเป็นกลไกที่จะช่วยเพิ่มทรัพยากร กล่าวคือ แทนที่ รพ.จะให้เงิน หรือส่วนตัวแพทย์จะต้องจ่ายเงินเวลาที่เกิดปัญหาทั้งที่บางกรณีอาจเป็นเหตุสุดวิสัย ไม่ใช่ความผิดพลาดของแพทย์ แต่มาตรา 41 จะมีกระบวนการเข้ามาช่วย มีคนกลางเข้ามาไกล่เกลี่ย พร้อมๆ กับการเข้าใจอันดีระหว่างแพทย์และคนไข้มากขึ้น อย่าไปถือว่า มาตรา 41 เป็นกลไกที่เปิดช่องทางให้ชาวบ้านร้องเรียนได้มาก แต่มาตรา 41 จะเป็นกลไกนำไปสู่การไกล่เกลี่ย ถ้าเข้าใจเรื่องนี้แล้ว และดึงผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น และเข้าใจว่า มาตรา 41 เป็นกลไกของความช่วยเหลือเบื้องต้น และช่วยลดการฟ้องร้องระหว่างคนไข้และหมอได้อีกทางหนึ่งอย่างไรก็ตามเป็นที่สังเกตว่าผู้ที่ได้รับการชดเชยตามมาตรา 41 ได้รับประโยชน์อย่างมากขึ้น”
นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า จากผลการศึกษาวิจัยของนักวิชาการสอดคล้องกับมติของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ให้ยกเลิกข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหาย พ.ศ.2547 แล้ว ซึ่งมีรายละเอียดในเรื่องปรับวิธีจ่ายเงินชดเชยพิจารณาเงินช่วยเหลือเบื้องต้นจากเดิมผู้เสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร ให้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นจากเดิมไม่เกิน 80,000 บาท ปรับใหม่เป็นไม่เกิน 200,000 บาท ผู้สูญเสียอวัยวะหรือพิการ จากเดิมไม่เกิน 50,000 บาท เป็น 120,000 บาท และกรณีบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยต่อเนื่องจากเดิมไม่เกิน 20,000 บาท ปรับใหม่ไม่เกิน 50,000 บาท ซึ่งเงินช่วยเหลือที่ปรับเปลี่ยนใหม่นี้ได้กำหนดให้เงินที่จะจ่ายให้ผู้รับบริการหรือทายาท และได้เพิ่ม “ผู้อุปการะ” ในการรับขอรับเงินช่วยเหลือด้วยเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ “โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ถูกผิด” ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่1 ก.พ.ที่ผ่านมา
นอกจากนี้แล้ว คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพยังได้แก้ไขในเรื่องความเสียหายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ ที่จะเป็นเหตุให้ได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ให้รวมถึง “เหตุสุดวิสัยในระบบการรักษาพยาบาล” แต่ต้องไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากการดำเนินไปตามพยาธิสภาพ หรือเหตุแทรกซ้อนของโรคที่เป็นไปตามสภาพปกติธรรมดาของโรคนั้นอยู่ ซึ่งโรคนั้นได้รับการวินิจฉัยและรักษาตามมาตรฐานทั่วไป
“สำหรับผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการหรือทายาท หรือผู้อุปการะ หรือหน่วยบริการที่ให้บริการ มีสิทธิยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ที่สำนักงานสาขา หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในจังหวัดนั้น หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทันทีไม่ต้องร้องเรียนศาล หรือหนังสือพิมพ์ ทั้งนี้ ต้องยื่นคำร้องภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ทราบความเสียหายที่ผ่านมา พบว่า ทั้งฝ่ายคนไข้และบุคลากรทางการแพทย์มีการเห็นอกเห็นใจช่วยเหลือกัน” นพ.สงวน กล่าว
นพ.สงวน ในตอนท้ายว่า ตามมาตรา 41 ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 นั้นครอบคลุมเฉพาะผู้ถือบัตรทอง 30 บาท ที่ใช้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพ ตั้งแต่ 2547 - กันยายน 2548 มีผู้ถือบัตรทองได้รับความเสียหายที่ ได้รับการชดเชยปี 2547 จำนวน 85 ราย เป็นจำนวนเงิน 4.5 ล้านบาท ปี 2548 จำนวน 221 ราย เป็นเงิน 12.8 ล้านบาท ล่าสุด ตั้งแต่ตุลาคม 2548 - มกราคม 2549 มีผู้ยื่นคำร้องขอรับการช่วยเหลือ 145 ราย เข้าเกณฑ์ได้รับการชดเชย 125 ราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,612,500 บาท
เลขาธิการ สปสช.กล่าวอีกว่า มีผู้ยื่นขอรับการช่วยเหลือตามมาตรา 41 มากที่สุด คือ ทางด้านสูติ-นรีเวช โดยเฉพาะการคลอดบุตรเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดความเสียหายถึงขั้นเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ และพบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วยซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย รองลงมาด้านอายุรกรรม ศัลยกรรม จักษุฯ และทันตกรรม เป็นต้น