สสส.ระบุปัญหาท้อง แท้ง ทิ้ง ติดอันดับ 8 ที่คุกคามสุขภาพคนไทย ปีที่ผ่านมาพบทารกถูกทิ้งวันละ 2 ราย เผยแพทยสภายอมปรับข้อบังคับใหม่ เปิดให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพจิตย่ำแย่อย่างรุนแรง สามารถทำแท้งได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ด้านรอง ผอ.สถาบันวิจัยประชากร ม.มหิดล แนะสร้างวัฒนธรรมเพศใหม่ “สวมถุงยางทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์”
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสถาบันวิจัยประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาหัวข้อ “ท้อง แท้ง ทิ้ง ปัญหาใหญ่ที่ยังไม่มีใครดูแล” ภายใต้โครงการจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล กรรมการโครงการสุขภาพคนไทย กล่าวว่า ในปีนี้พบว่าปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม การทำแท้ง และทิ้งทารก เป็นปัญหาลำดับที่ 8 ที่คุกคามสุขภาพคนไทย จากข้อมูลของโครงการติดตามสถานการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch) พบว่าตลอดทั้งปี 2548 มีทารกถูกทิ้ง 700-800 คน หรือเฉลี่ยถูกทิ้งวันละ 2 คน และจากรายงานของโครงการรณรงค์เพื่อสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ พบว่าปัญหาการทำแท้งยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของสังคม โดยกลุ่มอายุระหว่าง 20-29 ปี เป็นกลุ่มคนที่มาทำแท้งมากที่สุด
รศ.ดร.กฤตยา เสนอทางออกของปัญหาว่าต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และกระทรวงศึกษาธิการ อย่างเป็นระบบ โดยต้องแยกออกเป็น 2 กรณี คือ การท้องที่ไม่พร้อมและการมีท้องแล้วท้องต่อ ถ้าเลือกท้องต่อ สังคมจะเข้าไปช่วยเหลือได้อย่างไรบ้าง และหากต้องการยุติการตั้งท้องสังคมจะดูแลอย่างไร ล่าสุดทราบว่าแพทยสภาได้ปรับแก้ข้อบังคับของแพทยสภาให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพจิตใจที่ย่ำแย่อย่างรุนแรง หรือที่เรียกว่าเจ็บป่วยด้านจิตเวช สามารถทำแท้งถูกกฎหมายได้ แต่จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของคณะแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านจิตแพทย์ลงความเห็นก่อน จากเดิมที่การทำแท้งถูกกฎหมายทำได้เพียง 2 กรณี คือ ผู้ตั้งครรภ์ถูกข่มขืนกับการตั้งครรภ์มีอันตรายต่อสุขภาพกายของแม่และเด็กในครรภ์ ซึ่งจะช่วยให้ครอบคลุมผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมมากขึ้น
ส่วนการรณรงค์ให้ใช้ถุงยางนั้น รศ.ดร.กฤตยา ยืนยันว่าเป็นแนวทางหนึ่งที่สำคัญที่จะลดและชะลอความรุนแรงปัญหาท้อง แท้ง และทิ้งเด็กทารก จึงต้องการให้สังคมไทยเร่งรณรงค์สร้างวัฒนธรรมทางเพศใหม่ว่าหากจะมีเพศสัมพันธ์กับใครก็ตามแม้แต่สามีหรือภรรยาต้องสวมถุงยางทุกครั้ง
น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้ประสานงานมูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.) กล่าวว่า แม้จะมีกฎหมายรองรับให้ทำแท้งได้เมื่อถูกข่มขืน แต่ในทางปฏิบัติจริงแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐไม่กล้าทำ โดยต้องให้แจ้งความก่อน หรือขอรอจนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาล นอกจากนี้ ยังพบว่าในสถานศึกษาภายใต้กระทรวงศึกษาธิการที่ประกาศว่าไม่มีการลงโทษหรือไล่นักเรียนที่ตั้งครรภ์ออก แต่ในทางปฏิบัติจริงกลับตรงข้าม หลายโรงเรียนเพ่งเล็งและกดดันจนนักเรียนที่ตั้งครรภ์อยู่ไม่ได้
น.ส.วไลพร วรสุข ผู้อำนวยการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ บ้านพักฉุกเฉิน กล่าวว่า เมื่อปี 2546 พม.ได้ปรับแก้อายุสำหรับผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมที่จะยกลูกให้รัฐหาพ่อแม่บุญธรรมใหม่ จากเดิมที่อายุ 18 ปี สามารถตัดสินใจยกลูกหรือไม่ได้ แก้เป็นว่าต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไปจึงจะตัดสินใจได้ และจะต้องให้ผู้ปกครองมาลงนามเห็นชอบด้วย ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อผู้หญิงที่ประสบปัญหามากที่ไม่ต้องการให้ครอบครัวและชุมชนทราบว่าตั้งครรภ์ หลายคนจึงทิ้งลูกหายไปเลย จึงต้องการให้กระทรวงทบทวนแก้ไขด้วย พร้อมขอร้องสื่อมวลชนว่าหยุดนำเสนอข่าวประเด็นการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในช่วงวาเลนไทน์หรือเทศกาลต่าง ๆ ได้แล้ว เพราะจะไปตอกย้ำภาพลบหรือตีตรากับวัยรุ่นที่ประสบปัญหา และขอให้เข้าใจว่าการมีเพศสัมพันธ์นั้นไม่ได้ขึ้นกับเทศกาลเลย
ผศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์และสื่อสารสาธารณะเพื่อสังคม สสส. กล่าวว่า คณะกรรมการ สสส. กำลังพัฒนาแผนงานใหม่อีก 1 แผน เรียกว่า Unsafe Sex เพื่อสร้างความเข้าใจและการเรียนรู้การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายจากหลายองค์กรเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังคือใช้มุมมองทางวัฒนธรรม สังคม และสุขภาพ มาผสมผสานในการทำงาน คาดว่าแผนงานดังกล่าวจะแล้วเสร็จเป็นรูปธรรมได้ภายในเดือนเมษายนนี้
นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า แพทยสภาได้ออกระเบียบใหม่เมื่อประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา ให้แพทย์สามารถทำแท้งให้กับแม่ที่เป็นโรคจิตขั้นรุนแรง หรือแม่ที่ตั้งครรภ์และลูกมีพันธุกรรมผิดปกติอย่างรุนแรง หรือพิการแต่กำเนิด ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตของเด็ก โดยต้องมีคำวินิจฉัยทางการแพทย์จากแพทย์คนอื่นที่ไม่ใช่แพทย์ที่ทำแท้งให้กับหญิงตั้งครรภ์ เพื่อเป็นการช่วยเหลือแม่ในด้านสภาพจิตใจ แต่ขอยืนยันว่าระเบียบนี้ไม่ได้ทำให้สามารถทำแท้งได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่ว่าใครก็ได้ที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์แล้วจะสามารถทำแท้งได้ เพราะการทำแท้งตามระเบียบนี้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทยสภาอย่างเคร่งครัด แพทย์ที่ทำจะต้องรายงานแพทยสภาด้วยว่าทำแท้งไปกี่ราย ด้วยข้อบ่งชี้ทางการแพทย์อย่างไรบ้าง และต้องมีแพทย์ที่รับรองว่าแม่มีโรคทางจิตอย่างรุนแรง หรือลูกมีปัญหาโรคทางพันธุกรรมที่รักษาไม่หายเท่านั้น
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสถาบันวิจัยประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาหัวข้อ “ท้อง แท้ง ทิ้ง ปัญหาใหญ่ที่ยังไม่มีใครดูแล” ภายใต้โครงการจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย
รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล กรรมการโครงการสุขภาพคนไทย กล่าวว่า ในปีนี้พบว่าปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม การทำแท้ง และทิ้งทารก เป็นปัญหาลำดับที่ 8 ที่คุกคามสุขภาพคนไทย จากข้อมูลของโครงการติดตามสถานการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch) พบว่าตลอดทั้งปี 2548 มีทารกถูกทิ้ง 700-800 คน หรือเฉลี่ยถูกทิ้งวันละ 2 คน และจากรายงานของโครงการรณรงค์เพื่อสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ พบว่าปัญหาการทำแท้งยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของสังคม โดยกลุ่มอายุระหว่าง 20-29 ปี เป็นกลุ่มคนที่มาทำแท้งมากที่สุด
รศ.ดร.กฤตยา เสนอทางออกของปัญหาว่าต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และกระทรวงศึกษาธิการ อย่างเป็นระบบ โดยต้องแยกออกเป็น 2 กรณี คือ การท้องที่ไม่พร้อมและการมีท้องแล้วท้องต่อ ถ้าเลือกท้องต่อ สังคมจะเข้าไปช่วยเหลือได้อย่างไรบ้าง และหากต้องการยุติการตั้งท้องสังคมจะดูแลอย่างไร ล่าสุดทราบว่าแพทยสภาได้ปรับแก้ข้อบังคับของแพทยสภาให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพจิตใจที่ย่ำแย่อย่างรุนแรง หรือที่เรียกว่าเจ็บป่วยด้านจิตเวช สามารถทำแท้งถูกกฎหมายได้ แต่จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาของคณะแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านจิตแพทย์ลงความเห็นก่อน จากเดิมที่การทำแท้งถูกกฎหมายทำได้เพียง 2 กรณี คือ ผู้ตั้งครรภ์ถูกข่มขืนกับการตั้งครรภ์มีอันตรายต่อสุขภาพกายของแม่และเด็กในครรภ์ ซึ่งจะช่วยให้ครอบคลุมผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมมากขึ้น
ส่วนการรณรงค์ให้ใช้ถุงยางนั้น รศ.ดร.กฤตยา ยืนยันว่าเป็นแนวทางหนึ่งที่สำคัญที่จะลดและชะลอความรุนแรงปัญหาท้อง แท้ง และทิ้งเด็กทารก จึงต้องการให้สังคมไทยเร่งรณรงค์สร้างวัฒนธรรมทางเพศใหม่ว่าหากจะมีเพศสัมพันธ์กับใครก็ตามแม้แต่สามีหรือภรรยาต้องสวมถุงยางทุกครั้ง
น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้ประสานงานมูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.) กล่าวว่า แม้จะมีกฎหมายรองรับให้ทำแท้งได้เมื่อถูกข่มขืน แต่ในทางปฏิบัติจริงแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐไม่กล้าทำ โดยต้องให้แจ้งความก่อน หรือขอรอจนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาล นอกจากนี้ ยังพบว่าในสถานศึกษาภายใต้กระทรวงศึกษาธิการที่ประกาศว่าไม่มีการลงโทษหรือไล่นักเรียนที่ตั้งครรภ์ออก แต่ในทางปฏิบัติจริงกลับตรงข้าม หลายโรงเรียนเพ่งเล็งและกดดันจนนักเรียนที่ตั้งครรภ์อยู่ไม่ได้
น.ส.วไลพร วรสุข ผู้อำนวยการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ บ้านพักฉุกเฉิน กล่าวว่า เมื่อปี 2546 พม.ได้ปรับแก้อายุสำหรับผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมที่จะยกลูกให้รัฐหาพ่อแม่บุญธรรมใหม่ จากเดิมที่อายุ 18 ปี สามารถตัดสินใจยกลูกหรือไม่ได้ แก้เป็นว่าต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไปจึงจะตัดสินใจได้ และจะต้องให้ผู้ปกครองมาลงนามเห็นชอบด้วย ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อผู้หญิงที่ประสบปัญหามากที่ไม่ต้องการให้ครอบครัวและชุมชนทราบว่าตั้งครรภ์ หลายคนจึงทิ้งลูกหายไปเลย จึงต้องการให้กระทรวงทบทวนแก้ไขด้วย พร้อมขอร้องสื่อมวลชนว่าหยุดนำเสนอข่าวประเด็นการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในช่วงวาเลนไทน์หรือเทศกาลต่าง ๆ ได้แล้ว เพราะจะไปตอกย้ำภาพลบหรือตีตรากับวัยรุ่นที่ประสบปัญหา และขอให้เข้าใจว่าการมีเพศสัมพันธ์นั้นไม่ได้ขึ้นกับเทศกาลเลย
ผศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์และสื่อสารสาธารณะเพื่อสังคม สสส. กล่าวว่า คณะกรรมการ สสส. กำลังพัฒนาแผนงานใหม่อีก 1 แผน เรียกว่า Unsafe Sex เพื่อสร้างความเข้าใจและการเรียนรู้การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายจากหลายองค์กรเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังคือใช้มุมมองทางวัฒนธรรม สังคม และสุขภาพ มาผสมผสานในการทำงาน คาดว่าแผนงานดังกล่าวจะแล้วเสร็จเป็นรูปธรรมได้ภายในเดือนเมษายนนี้
นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า แพทยสภาได้ออกระเบียบใหม่เมื่อประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา ให้แพทย์สามารถทำแท้งให้กับแม่ที่เป็นโรคจิตขั้นรุนแรง หรือแม่ที่ตั้งครรภ์และลูกมีพันธุกรรมผิดปกติอย่างรุนแรง หรือพิการแต่กำเนิด ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตของเด็ก โดยต้องมีคำวินิจฉัยทางการแพทย์จากแพทย์คนอื่นที่ไม่ใช่แพทย์ที่ทำแท้งให้กับหญิงตั้งครรภ์ เพื่อเป็นการช่วยเหลือแม่ในด้านสภาพจิตใจ แต่ขอยืนยันว่าระเบียบนี้ไม่ได้ทำให้สามารถทำแท้งได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่ว่าใครก็ได้ที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์แล้วจะสามารถทำแท้งได้ เพราะการทำแท้งตามระเบียบนี้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทยสภาอย่างเคร่งครัด แพทย์ที่ทำจะต้องรายงานแพทยสภาด้วยว่าทำแท้งไปกี่ราย ด้วยข้อบ่งชี้ทางการแพทย์อย่างไรบ้าง และต้องมีแพทย์ที่รับรองว่าแม่มีโรคทางจิตอย่างรุนแรง หรือลูกมีปัญหาโรคทางพันธุกรรมที่รักษาไม่หายเท่านั้น