หากพูดถึงอาชีพ “เต้นกินรำกินหรือผู้ที่มีอาชีพเป็นนักแสดง” ในความรู้สึกและความเข้าใจของคนรุ่นเก่าในสังคมไทยสมัยเมื่อสี่สิบห้าสิบปีที่ผ่านมา คงจะอนุมานได้ว่าเป็นอาชีพที่ไม่ได้รับการสนับสนุนหรือเห็นดีเห็นงามให้คนในครอบครัวประกอบอาชีพนี้กัน เพราะดูเหมือนว่า นอกจากจะเป็นอาชีพที่ไม่สร้างความมั่นคงให้กับชีวิตแล้ว ก็ยังเป็นอาชีพที่ผู้คนบางกลุ่มในสังคมดูถูกดูแคลนก็มีให้รับรู้อยู่เช่นกัน

แต่หากจะนำเปรียบกับสังคมโลกแล้วจะพบว่า อาชีพนักแสดงในประเทศอื่นๆไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และจีน ฯลฯ ต่างได้รับการยกย่องจากสังคมและประเทศชาติเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะประจำชาติ เช่น การแสดงบัลเลต์ การแสดงคาบูกิ การแสดงงิ้ว เป็นต้น เนื่องจากเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาตินั้นๆ
กาลเวลาที่ผ่านไป จากวันเป็นเดือนและจากเดือนเป็นปีจวบจนถึงวันนี้ นอกจากจะพบข้อเท็จจริงที่ว่าหลายสิ่งหลายอย่างในวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมไทยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสี่ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ในขณะเดียวกันก็ยังพบว่าค่านิยมและความรู้สึกนึกคิดของคนก็ถูกปรับเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน
ถึงวันนี้ ความคิดและความเข้าใจของผู้คนในสังคมเกี่ยวกับกับอาชีพ “เต้นกินรำกิน” ดูเหมือนจะเปลี่ยนไปจากอดีตที่ผ่านมา ความคิดเดิมๆที่เป็นอคติต่ออาชีพนี้แทบจะไม่หลงเหลืออยู่ในจิตใจของคนในสังคมอีกต่อไป รวมถึงการดูถูกเหยียดหยามกับอาชีพนี้ถึงวันนี้กลับไม่ได้ยินได้ฟังด้วยเช่นกัน
หากแต่คนที่ยึดถืออาชีพนักแสดงกลับได้รับเกียรติยศให้เป็นคนของประชาชนจนกลายเป็นอาชีพที่คนในสังคมต่างให้การยอมรับ ชื่นชม และยกย่อง จากทุกภาคส่วนแม้แต่เยาวชนคนรุ่นใหม่ต่างก็อยากเป็นนักแสดง เพียรพยายามที่จะเข้ามาสู่วงการจนเป็นกระแส เพราะหวังจะมีชื่อเสียงและมีรายได้ก้อนโตหากประสบความสำเร็จ สามารถเลี้ยงตัวเองและจุนเจือครอบครัวได้เป็นอย่างดี รวมทั้งมีอนาคตที่สดใส
เท้าความไปในปี ๒๕๒๘ ถือเป็นปีแรกที่ประเทศไทยโดยรัฐบาลได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะยกย่องศิลปินของชาติขึ้น โดยได้มีการสรรหาศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะอันเป็นมรดกล้ำค่าของแผ่นดินเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ซึ่งได้มีบุคคลที่ได้รับการยกย่องในครั้งนั้นถึง ๔ ท่านด้วยกัน
ประกอบด้วย พลตรีม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช สาขาวรรณศิลป์ ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย) นายมนตรี ตราโมท สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) และนายเฟื้อ หริพิทักษ์ สาขาทัศนศิลป์ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีและเป็นจุดเริ่มต้นให้สังคมตระหนักในคุณค่าของศิลปินและนักแสดงอาชีพที่สร้างสรรค์และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ นับแต่นั้นจวบจนถึงปัจจุบันรวมแล้วศิลปินแห่งชาติที่ได้รับการยกย่องมีจำนวนถึง ๑๗๒ คน
ในปี ๒๕๔๘ นี้ มีศิลปินแห่งชาติที่ได้รับการยกย่องจำนวน ๑๙ คน ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ คณบดีสถาบันพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร หรือครูศุภชัย ของเหล่าลูกศิษย์ ที่มักเรียกขานตัวเองว่า “น้อย” ระหว่างครูอาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ และคนสนิทสนม หนุ่มใหญ่วัย ๕๐ ปี เป็นหนึ่งในศิลปินที่ได้รับการพิจารณายกย่องประกาศเกียรติคุณเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย)
ทันทีที่รับรู้ว่าครูศุภชัย หรือ “น้อย” ที่พวกเราเรียกขานในฐานะคนสนิทได้เป็นศิลปินแห่งชาติทุกคนต่างก็รู้สึกปลื้มใจยิ่งนักและเห็นด้วยกับผู้ที่เป็นกรรมการที่พิจารณาได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากครูศุภชัย “น้อย” เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ของผู้ที่จะได้เป็นศิลปินแห่งชาติ
คือ นอกจากเป็นผู้มีบุคลิกภาพสง่างามและเรียบร้อยแล้ว ยังเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและชำนาญการในผลงานศิลปะ จนเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และในโอกาสที่ไปแสดงเผยแพร่ศิลปะไทยในต่างประเทศเกือบทั่วโลกในหลายโอกาส
ครูศุภชัย หรือ “น้อย” ของเพื่อนๆและพี่ๆ ในวงการนาฏศิลป์ไทยเป็นผู้ที่มีพรสวรรค์ทางด้านศิลปะการแสดงมาตั้งแต่เยาว์วัย โดยปกติแล้วการที่จะเป็นนักแสดงอาชีพเกือบทุกคนล้วนแล้วแต่ต้องไต่เต้ามาตั้งแต่ ตัวประกอบ ทหารเลว นางกำนัล หรือพี่เลี้ยง ก่อนที่จะเลื่อนฐานะเป็นนายโรงพระเอกนางเอก (หากฉายแวว) แต่สำหรับวิถีทางในอาชีพนักแสดงของครูศุภชัยกลับไม่เป็นเช่นนั้น ยังจำได้ดีว่าครูศุภชัยได้รับคัดเลือกให้รับบทพระรามตั้งแต่หัดเรียนรำได้เพียง ๒-๓ ปี
หลังจากนั้น ก็ได้รับบทพ่อลาวแก่นท้าวในละครเรื่องราชาธิราชที่แสดงได้ถึงอารมณ์และฝีมือรำที่ฉกาจฉกรรจ์ผนวกกับปฏิภาณไหวพริบได้เปิดตัวฉายแววนักแสดงอาชีพให้ครูอาจารย์ พี่ๆ และเพื่อนๆได้เห็นและยอมรับกันถ้วนหน้า
หลังจากนั้นในการแสดงถวายทอดพระเนตร ณ โรงละครแห่งชาติ ในงานที่รัฐบาลจัดขึ้นเพื่อถวายการต้อนรับราชอาคันตุกะจักรพรรดิแห่งเอธิโอเปีย ครูศุภชัยซึ่งในขณะนั้นมีอายุเพียง ๑๑ ปีก็ได้รับคัดเลือกให้แสดงในบทบาทของพระมงกุฎในการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอนปล่อยม้าอุปการ ซึ่งบทบาทของพระมงกุฎผู้แสดงจะต้องมีฝีมือและทักษะในการแสดงที่สามารถถ่ายทอดความงดงามของลีลาท่ารำ การสื่ออารมณ์ให้ผู้ชมรู้สึกซาบซึ้ง ก็ยิ่งดูเหมือนว่าฝีมือการแสดงของครูศุภชัยจะเป็นที่ยอมรับและถูกกล่าวขานยิ่งขึ้น
นอกจากนั้นหลังจากการแสดงครูศุภชัยยังได้รับเกียรติให้เป็นตัวแทนเหล่าศิลปิน เข้ารับพระราชทานช่อดอกไม้จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญที่เป็นมงคลของครูศุภชัยที่หลายต่อหลายคนอดไม่ได้ที่จะปลื้มปีติกับเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วย
การที่ครูศุภชัยได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติในช่วงอายุที่ยังไม่อาวุโสมากนัก คงไม่ใช่ประเด็นสำคัญ การยกย่องคนที่มีฝีมือของชาติคงไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุ แต่เป็นเรื่องของการพิจารณาที่ฝีมือและคุณค่าของผู้นั้นมากกว่า ซึ่งในความเป็นจริงของสังคมไทยโดยทั่วไปการที่ผู้คนจะถูกกำหนดให้ดำรงฐานะต่างๆ หรือถูกยกย่องให้เป็นที่ปรากฏมักจะยึดถือเรื่องอาวุโสเป็นลำดับแรก ซึ่งทำให้คนดี มีความสามารถ แต่อ่อนอาวุโส มักถูกมองข้ามและหลุดไปจากวงจรที่ควรจะเป็น ทำให้ประเทศเสียประโยชน์อย่างน่าเสียดาย เพราะมีวิธีคิดและธรรมเนียมปฏิบัติที่ไม่ถูกทำนองคลองธรรม
ถึงเวลาที่ผู้มีอำนาจจะเปลี่ยนวิธีคิดและค่านิยมเช่นนี้ที่สวนทางสวนกระแสความเจริญได้แล้วหรือยัง!!! มิฉะนั้นกรุงรัตนโกสินทร์ก็อาจจะสิ้นคนดีได้เหมือนกัน
แต่หากจะนำเปรียบกับสังคมโลกแล้วจะพบว่า อาชีพนักแสดงในประเทศอื่นๆไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และจีน ฯลฯ ต่างได้รับการยกย่องจากสังคมและประเทศชาติเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะประจำชาติ เช่น การแสดงบัลเลต์ การแสดงคาบูกิ การแสดงงิ้ว เป็นต้น เนื่องจากเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาตินั้นๆ
กาลเวลาที่ผ่านไป จากวันเป็นเดือนและจากเดือนเป็นปีจวบจนถึงวันนี้ นอกจากจะพบข้อเท็จจริงที่ว่าหลายสิ่งหลายอย่างในวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมไทยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสี่ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ในขณะเดียวกันก็ยังพบว่าค่านิยมและความรู้สึกนึกคิดของคนก็ถูกปรับเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน
ถึงวันนี้ ความคิดและความเข้าใจของผู้คนในสังคมเกี่ยวกับกับอาชีพ “เต้นกินรำกิน” ดูเหมือนจะเปลี่ยนไปจากอดีตที่ผ่านมา ความคิดเดิมๆที่เป็นอคติต่ออาชีพนี้แทบจะไม่หลงเหลืออยู่ในจิตใจของคนในสังคมอีกต่อไป รวมถึงการดูถูกเหยียดหยามกับอาชีพนี้ถึงวันนี้กลับไม่ได้ยินได้ฟังด้วยเช่นกัน
หากแต่คนที่ยึดถืออาชีพนักแสดงกลับได้รับเกียรติยศให้เป็นคนของประชาชนจนกลายเป็นอาชีพที่คนในสังคมต่างให้การยอมรับ ชื่นชม และยกย่อง จากทุกภาคส่วนแม้แต่เยาวชนคนรุ่นใหม่ต่างก็อยากเป็นนักแสดง เพียรพยายามที่จะเข้ามาสู่วงการจนเป็นกระแส เพราะหวังจะมีชื่อเสียงและมีรายได้ก้อนโตหากประสบความสำเร็จ สามารถเลี้ยงตัวเองและจุนเจือครอบครัวได้เป็นอย่างดี รวมทั้งมีอนาคตที่สดใส
เท้าความไปในปี ๒๕๒๘ ถือเป็นปีแรกที่ประเทศไทยโดยรัฐบาลได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะยกย่องศิลปินของชาติขึ้น โดยได้มีการสรรหาศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะอันเป็นมรดกล้ำค่าของแผ่นดินเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ซึ่งได้มีบุคคลที่ได้รับการยกย่องในครั้งนั้นถึง ๔ ท่านด้วยกัน
ประกอบด้วย พลตรีม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช สาขาวรรณศิลป์ ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย) นายมนตรี ตราโมท สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) และนายเฟื้อ หริพิทักษ์ สาขาทัศนศิลป์ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีและเป็นจุดเริ่มต้นให้สังคมตระหนักในคุณค่าของศิลปินและนักแสดงอาชีพที่สร้างสรรค์และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ นับแต่นั้นจวบจนถึงปัจจุบันรวมแล้วศิลปินแห่งชาติที่ได้รับการยกย่องมีจำนวนถึง ๑๗๒ คน
ในปี ๒๕๔๘ นี้ มีศิลปินแห่งชาติที่ได้รับการยกย่องจำนวน ๑๙ คน ดร.ศุภชัย จันทร์สุวรรณ คณบดีสถาบันพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร หรือครูศุภชัย ของเหล่าลูกศิษย์ ที่มักเรียกขานตัวเองว่า “น้อย” ระหว่างครูอาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ และคนสนิทสนม หนุ่มใหญ่วัย ๕๐ ปี เป็นหนึ่งในศิลปินที่ได้รับการพิจารณายกย่องประกาศเกียรติคุณเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย)
ทันทีที่รับรู้ว่าครูศุภชัย หรือ “น้อย” ที่พวกเราเรียกขานในฐานะคนสนิทได้เป็นศิลปินแห่งชาติทุกคนต่างก็รู้สึกปลื้มใจยิ่งนักและเห็นด้วยกับผู้ที่เป็นกรรมการที่พิจารณาได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากครูศุภชัย “น้อย” เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ของผู้ที่จะได้เป็นศิลปินแห่งชาติ
คือ นอกจากเป็นผู้มีบุคลิกภาพสง่างามและเรียบร้อยแล้ว ยังเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและชำนาญการในผลงานศิลปะ จนเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และในโอกาสที่ไปแสดงเผยแพร่ศิลปะไทยในต่างประเทศเกือบทั่วโลกในหลายโอกาส
ครูศุภชัย หรือ “น้อย” ของเพื่อนๆและพี่ๆ ในวงการนาฏศิลป์ไทยเป็นผู้ที่มีพรสวรรค์ทางด้านศิลปะการแสดงมาตั้งแต่เยาว์วัย โดยปกติแล้วการที่จะเป็นนักแสดงอาชีพเกือบทุกคนล้วนแล้วแต่ต้องไต่เต้ามาตั้งแต่ ตัวประกอบ ทหารเลว นางกำนัล หรือพี่เลี้ยง ก่อนที่จะเลื่อนฐานะเป็นนายโรงพระเอกนางเอก (หากฉายแวว) แต่สำหรับวิถีทางในอาชีพนักแสดงของครูศุภชัยกลับไม่เป็นเช่นนั้น ยังจำได้ดีว่าครูศุภชัยได้รับคัดเลือกให้รับบทพระรามตั้งแต่หัดเรียนรำได้เพียง ๒-๓ ปี
หลังจากนั้น ก็ได้รับบทพ่อลาวแก่นท้าวในละครเรื่องราชาธิราชที่แสดงได้ถึงอารมณ์และฝีมือรำที่ฉกาจฉกรรจ์ผนวกกับปฏิภาณไหวพริบได้เปิดตัวฉายแววนักแสดงอาชีพให้ครูอาจารย์ พี่ๆ และเพื่อนๆได้เห็นและยอมรับกันถ้วนหน้า
หลังจากนั้นในการแสดงถวายทอดพระเนตร ณ โรงละครแห่งชาติ ในงานที่รัฐบาลจัดขึ้นเพื่อถวายการต้อนรับราชอาคันตุกะจักรพรรดิแห่งเอธิโอเปีย ครูศุภชัยซึ่งในขณะนั้นมีอายุเพียง ๑๑ ปีก็ได้รับคัดเลือกให้แสดงในบทบาทของพระมงกุฎในการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอนปล่อยม้าอุปการ ซึ่งบทบาทของพระมงกุฎผู้แสดงจะต้องมีฝีมือและทักษะในการแสดงที่สามารถถ่ายทอดความงดงามของลีลาท่ารำ การสื่ออารมณ์ให้ผู้ชมรู้สึกซาบซึ้ง ก็ยิ่งดูเหมือนว่าฝีมือการแสดงของครูศุภชัยจะเป็นที่ยอมรับและถูกกล่าวขานยิ่งขึ้น
นอกจากนั้นหลังจากการแสดงครูศุภชัยยังได้รับเกียรติให้เป็นตัวแทนเหล่าศิลปิน เข้ารับพระราชทานช่อดอกไม้จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญที่เป็นมงคลของครูศุภชัยที่หลายต่อหลายคนอดไม่ได้ที่จะปลื้มปีติกับเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วย
การที่ครูศุภชัยได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติในช่วงอายุที่ยังไม่อาวุโสมากนัก คงไม่ใช่ประเด็นสำคัญ การยกย่องคนที่มีฝีมือของชาติคงไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุ แต่เป็นเรื่องของการพิจารณาที่ฝีมือและคุณค่าของผู้นั้นมากกว่า ซึ่งในความเป็นจริงของสังคมไทยโดยทั่วไปการที่ผู้คนจะถูกกำหนดให้ดำรงฐานะต่างๆ หรือถูกยกย่องให้เป็นที่ปรากฏมักจะยึดถือเรื่องอาวุโสเป็นลำดับแรก ซึ่งทำให้คนดี มีความสามารถ แต่อ่อนอาวุโส มักถูกมองข้ามและหลุดไปจากวงจรที่ควรจะเป็น ทำให้ประเทศเสียประโยชน์อย่างน่าเสียดาย เพราะมีวิธีคิดและธรรมเนียมปฏิบัติที่ไม่ถูกทำนองคลองธรรม
ถึงเวลาที่ผู้มีอำนาจจะเปลี่ยนวิธีคิดและค่านิยมเช่นนี้ที่สวนทางสวนกระแสความเจริญได้แล้วหรือยัง!!! มิฉะนั้นกรุงรัตนโกสินทร์ก็อาจจะสิ้นคนดีได้เหมือนกัน