สธ.โดนอีกแล้ว “ศาลแพ่งนนท์” สั่งชดเชยคนไข้เกือบ 5 ล้าน เหตุ รพ.ชุมแสงนครสวรรค์ รักษาฟัน “น้องเต๋า” ตั้งแต่อายุ 3 ขวบจนสมองตาย ตาบอด หูหนวก ด้าน "พินิจ" ระบุ สธ.ยื่นอุทรณ์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับ “คลัง” พิจารณา ขณะที่นายกทันตแพทยสภา ถือเป็นอุทาหรณ์ทันตแพทย์ทั่วประเทศ ต้องระมัดระวังการรักษา

วันนี้ (31 ม.ค.) ที่ศาลแพ่ง จ.นนทบุรี พิพากษาคดี ด.ช.ชนายุทธ ปะตังถาเน น้องเต๋า ที่ปัจจุบันอายุ 6 ปี ยื่นฟ้อง ทญ.วลีพรรณ วีระพงศ์ กับพวก คือ โรงพยาบาลชุมแสง ในฐานะโรงพยาบาลต้นสังกัด นพ.วงศ์สวัสดิ์ ตันวิสุทธิ์ ผอ.โรงพยาบาลชุมแสง นพ.ปัจจุบัน เหมหงษา สาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และกระทรวงสาธารณสุข จากกรณีที่ ด.ช.ชนายุทธ ได้เขารับการรักษาฟันที่ รพ.ดังกล่าว จนทำให้เกิดการทุพพลภาพ สมองตาย ตาบอด หูหนวก แขนขาลีบ
สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 4 มี.ค.2546 เวลา 07.00 น. นายไชยา ปะตังถาเน บิดาของ ด.ช.ชนายุทธ ได้พาบุตรไปตรวจรับการรักษาฟันที่ รพ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ โดยทันตแพทย์ได้ทำการอุดฟันและกรอฟัน ทั้งหมด 3 ซี่ โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที ซึ่งระหว่างทำการรักษา ด.ช.ชนายุทธ ร้องไห้ตลอดเวลา และไม่ยอมให้การรักษา ทันตแพทย์จึงขออนุญาตผู้ปกครองมัดมือ มัดเท้า เพื่อทำการรักษา
ซึ่งระหว่างนั้น ด.ช.ชนายุทธ ก็ยังคงร้องอยู่ตลอดเวลา หลังจากนั้น ก็เงียบเสียงไปจนกระทั่งทันตแพทย์รักษาเสร็จ จึงได้สังเกตพบว่า เหงือกและตัวเด็กซีด และพบว่า เด็กสลบไปแล้ว จึงรีบพาตัวส่ง รพ.สวรรค์ประชารักษ์ เพื่อช่วยชีวิต แต่พบว่าสมองเด็กขาดออกซิเจน ไปประมาณ 4-5 นาที เป็นเหตุให้สมองตายและทุพพลภาพในที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลแพ่ง จ.นนทบุรี ได้วินิจฉัยว่า แพทย์ได้ให้การรักษาอย่างถูกต้องแล้ว แต่ขาดความระมัดระวัง จึงตัดสินให้ กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะ รพ.ต้นสังกัดเป็นผู้รับผิดชอบ จ่ายค่าชดเชยแก่ ด.ช.ชนายุทธ เป็นจำนวนเงิน 3,400,000 บาท และจ่ายค่าชดเชยแก่ น.ส.ทิวากาล อ่อนใย มารดาของ ด.ช.ชนายุทธ เป็นจำนวน 1,070,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 นับตั้งแต่วันฟ้องร้อง โดยต้องจ่ายภายใน 30 วัน
น.ส.ทิวากาล อ่อนใย มารดาของ ด.ช.ชนายุทธ กล่าวด้วยน้ำเสียงสั่นเครือ ว่า พอใจกับคำตัดสินของศาลในระดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเมื่อเทียบเงินกับความเจ็บปวดทรมานที่ลูกชายตนได้รับนั้น ไม่สามารถเทียบกันได้ คนบางคนอาจมองว่า เงินที่ตนได้รับเป็นเงินจำนวนมาก และเหมาะสมแล้วสำหรับคนจน แต่ตนคิดว่าไม่ใช่ เพราะหากเอาไปเทียบกับรถยนต์บางยี่ห้อ หรือสัตว์เลี้ยงบางตัว ยังมีราคามากกว่าลูกชายตนด้วยซ้ำ แต่ก็ไม่คิดจะร้องต่อศาลอีก เพราะไม่รู้ว่าลูกจะมีโอกาสใช้เงินจำนวนนั้นหรือไม่ และตอนนี้ลูกชายตนก็ไม่เหมือนกับคนปกติทั่วไปแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศภายในห้องตัดสิน มีเพียงครอบครัวปะตังถาเน เดินทางมาฟังคำตัดสิน โดย ด.ช.ชนายุทธ ได้นอนอยู่บนเบาะพร้อมเครื่องดูดเสมหะ ไม่สามารถรับรู้สิ่งรอบข้างใดๆ ได้ ตาลอยและบอดสนิท
ด้าน นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กรณีที่ สธ.จะมีการยื่นอุทธรณ์ต่อหรือไม่นั้นต้องข้นอยู่กับกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ระเบียบราชการของกระทรวงการคลัง ระบุว่า กรณีที่มีการฟ้องร้องหน่วยงานราชการในทางแพ่ง กระทรวงการคลังจะจ่ายค่าเสียหายก็ต่อเมื่อคดีความได้สิ้นสุดตามกระบวนการถึงศาลฎีกาแล้ว อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ในกรณีของ นางดอกรัก เพชรประเสริฐ สธ.ก็ไม่ได้อุทธรณ์ และกระทรวงการคลัง ก็เห็นชอบด้วย แต่ก็คงไม่สามารถใช้กรณีของนางดอกรักเป็นบรรทัดฐานได้ในทุกคดีความ ทั้งนี้ กรณีของ ด.ช.ชนายุทธ คงต้องขึ้นอยู่กับกระทรวงการคลัง
ส่วนการแก้ไขปัญหาวิกฤติความขัดแย้งระหว่างแพทย์และผู้ป่วยนั้น นายพินิจ กล่าวว่า ขณะนี้ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ได้เป็นประธานในการดูแลเรื่องนี้ มีการระดมความคิดจากแพทย์และผู้ป่วย เพื่อหาแนวทางการแก้ไขกันอยู่ ส่วนจะมีการตั้งกองทุนเยียวยาหรือไม่อย่างไรนั้น ก็คงขึ้นอยู่กับแนวทางที่ราษฎรอาวุโสนำเสนอมา
ด้าน พล.ท.ศ.พิศาล เทพสิทธา นายกทันตแพทยสภา กล่าวว่า ทางทันตแพทย์จะนำเอาคำตัดสินของศาลมาดู เพื่อเป็นกรณีศึกษาและกำชับไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องให้ระมัดระวังการรักษาให้มากขึ้น ส่วนประเด็นการลงโทษทันตแพทย์ที่ให้การรักษานั้น เนื่องจากผู้เสียหายไม่ได้ร้องมาที่แพทยสภาโดยตรง ดังนั้น ทันตแพทยสภาคงทำอะไรไม่ได้ เข้าใจว่า ผู้เสียหายคงไม่ต้องการเอาผิดเรื่องจรรยาบรรณ ต้องการได้รับสินไหมทดแทนอย่างเดียว จึงไม่ได้ร้องเรียนมาที่ทันตแพทยสภา ซึ่งหากจะร้องเรียนต้องทำภายใน 3 ปี แต่ตอนนี้ถือว่ากรณีดังกล่าวเลย 3 ปีแล้ว
เมื่อถามว่า ที่ผ่านมา มีการร้องเรียนทันตแพทย์มาที่ทันตยแพทยสภามากหรือไม่ พล.ท.ศ.พิศาล กล่าวว่า ปีละประมาณ 30-40 ราย น้อยกว่าแพทยสภา ทั้งนี้ คงเป็นเพราะส่วนใหญ่ผู้เสียหายไม่ถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่มาก สาเหตุส่วนใหญ่มาจากทันตแพทย์ไปสร้างความคาดหวังให้กับคนไข้ เมื่อคนไข้เสียเงินมากแล้ว ไม่เป็นตามที่โฆษณาทำให้เกิดการฟ้องร้องเกิดขึ้น
วันนี้ (31 ม.ค.) ที่ศาลแพ่ง จ.นนทบุรี พิพากษาคดี ด.ช.ชนายุทธ ปะตังถาเน น้องเต๋า ที่ปัจจุบันอายุ 6 ปี ยื่นฟ้อง ทญ.วลีพรรณ วีระพงศ์ กับพวก คือ โรงพยาบาลชุมแสง ในฐานะโรงพยาบาลต้นสังกัด นพ.วงศ์สวัสดิ์ ตันวิสุทธิ์ ผอ.โรงพยาบาลชุมแสง นพ.ปัจจุบัน เหมหงษา สาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และกระทรวงสาธารณสุข จากกรณีที่ ด.ช.ชนายุทธ ได้เขารับการรักษาฟันที่ รพ.ดังกล่าว จนทำให้เกิดการทุพพลภาพ สมองตาย ตาบอด หูหนวก แขนขาลีบ
สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 4 มี.ค.2546 เวลา 07.00 น. นายไชยา ปะตังถาเน บิดาของ ด.ช.ชนายุทธ ได้พาบุตรไปตรวจรับการรักษาฟันที่ รพ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ โดยทันตแพทย์ได้ทำการอุดฟันและกรอฟัน ทั้งหมด 3 ซี่ โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที ซึ่งระหว่างทำการรักษา ด.ช.ชนายุทธ ร้องไห้ตลอดเวลา และไม่ยอมให้การรักษา ทันตแพทย์จึงขออนุญาตผู้ปกครองมัดมือ มัดเท้า เพื่อทำการรักษา
ซึ่งระหว่างนั้น ด.ช.ชนายุทธ ก็ยังคงร้องอยู่ตลอดเวลา หลังจากนั้น ก็เงียบเสียงไปจนกระทั่งทันตแพทย์รักษาเสร็จ จึงได้สังเกตพบว่า เหงือกและตัวเด็กซีด และพบว่า เด็กสลบไปแล้ว จึงรีบพาตัวส่ง รพ.สวรรค์ประชารักษ์ เพื่อช่วยชีวิต แต่พบว่าสมองเด็กขาดออกซิเจน ไปประมาณ 4-5 นาที เป็นเหตุให้สมองตายและทุพพลภาพในที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลแพ่ง จ.นนทบุรี ได้วินิจฉัยว่า แพทย์ได้ให้การรักษาอย่างถูกต้องแล้ว แต่ขาดความระมัดระวัง จึงตัดสินให้ กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะ รพ.ต้นสังกัดเป็นผู้รับผิดชอบ จ่ายค่าชดเชยแก่ ด.ช.ชนายุทธ เป็นจำนวนเงิน 3,400,000 บาท และจ่ายค่าชดเชยแก่ น.ส.ทิวากาล อ่อนใย มารดาของ ด.ช.ชนายุทธ เป็นจำนวน 1,070,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 นับตั้งแต่วันฟ้องร้อง โดยต้องจ่ายภายใน 30 วัน
น.ส.ทิวากาล อ่อนใย มารดาของ ด.ช.ชนายุทธ กล่าวด้วยน้ำเสียงสั่นเครือ ว่า พอใจกับคำตัดสินของศาลในระดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเมื่อเทียบเงินกับความเจ็บปวดทรมานที่ลูกชายตนได้รับนั้น ไม่สามารถเทียบกันได้ คนบางคนอาจมองว่า เงินที่ตนได้รับเป็นเงินจำนวนมาก และเหมาะสมแล้วสำหรับคนจน แต่ตนคิดว่าไม่ใช่ เพราะหากเอาไปเทียบกับรถยนต์บางยี่ห้อ หรือสัตว์เลี้ยงบางตัว ยังมีราคามากกว่าลูกชายตนด้วยซ้ำ แต่ก็ไม่คิดจะร้องต่อศาลอีก เพราะไม่รู้ว่าลูกจะมีโอกาสใช้เงินจำนวนนั้นหรือไม่ และตอนนี้ลูกชายตนก็ไม่เหมือนกับคนปกติทั่วไปแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศภายในห้องตัดสิน มีเพียงครอบครัวปะตังถาเน เดินทางมาฟังคำตัดสิน โดย ด.ช.ชนายุทธ ได้นอนอยู่บนเบาะพร้อมเครื่องดูดเสมหะ ไม่สามารถรับรู้สิ่งรอบข้างใดๆ ได้ ตาลอยและบอดสนิท
ด้าน นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กรณีที่ สธ.จะมีการยื่นอุทธรณ์ต่อหรือไม่นั้นต้องข้นอยู่กับกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ระเบียบราชการของกระทรวงการคลัง ระบุว่า กรณีที่มีการฟ้องร้องหน่วยงานราชการในทางแพ่ง กระทรวงการคลังจะจ่ายค่าเสียหายก็ต่อเมื่อคดีความได้สิ้นสุดตามกระบวนการถึงศาลฎีกาแล้ว อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ในกรณีของ นางดอกรัก เพชรประเสริฐ สธ.ก็ไม่ได้อุทธรณ์ และกระทรวงการคลัง ก็เห็นชอบด้วย แต่ก็คงไม่สามารถใช้กรณีของนางดอกรักเป็นบรรทัดฐานได้ในทุกคดีความ ทั้งนี้ กรณีของ ด.ช.ชนายุทธ คงต้องขึ้นอยู่กับกระทรวงการคลัง
ส่วนการแก้ไขปัญหาวิกฤติความขัดแย้งระหว่างแพทย์และผู้ป่วยนั้น นายพินิจ กล่าวว่า ขณะนี้ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ได้เป็นประธานในการดูแลเรื่องนี้ มีการระดมความคิดจากแพทย์และผู้ป่วย เพื่อหาแนวทางการแก้ไขกันอยู่ ส่วนจะมีการตั้งกองทุนเยียวยาหรือไม่อย่างไรนั้น ก็คงขึ้นอยู่กับแนวทางที่ราษฎรอาวุโสนำเสนอมา
ด้าน พล.ท.ศ.พิศาล เทพสิทธา นายกทันตแพทยสภา กล่าวว่า ทางทันตแพทย์จะนำเอาคำตัดสินของศาลมาดู เพื่อเป็นกรณีศึกษาและกำชับไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องให้ระมัดระวังการรักษาให้มากขึ้น ส่วนประเด็นการลงโทษทันตแพทย์ที่ให้การรักษานั้น เนื่องจากผู้เสียหายไม่ได้ร้องมาที่แพทยสภาโดยตรง ดังนั้น ทันตแพทยสภาคงทำอะไรไม่ได้ เข้าใจว่า ผู้เสียหายคงไม่ต้องการเอาผิดเรื่องจรรยาบรรณ ต้องการได้รับสินไหมทดแทนอย่างเดียว จึงไม่ได้ร้องเรียนมาที่ทันตแพทยสภา ซึ่งหากจะร้องเรียนต้องทำภายใน 3 ปี แต่ตอนนี้ถือว่ากรณีดังกล่าวเลย 3 ปีแล้ว
เมื่อถามว่า ที่ผ่านมา มีการร้องเรียนทันตแพทย์มาที่ทันตยแพทยสภามากหรือไม่ พล.ท.ศ.พิศาล กล่าวว่า ปีละประมาณ 30-40 ราย น้อยกว่าแพทยสภา ทั้งนี้ คงเป็นเพราะส่วนใหญ่ผู้เสียหายไม่ถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่มาก สาเหตุส่วนใหญ่มาจากทันตแพทย์ไปสร้างความคาดหวังให้กับคนไข้ เมื่อคนไข้เสียเงินมากแล้ว ไม่เป็นตามที่โฆษณาทำให้เกิดการฟ้องร้องเกิดขึ้น