xs
xsm
sm
md
lg

ผ่าตัดลดเต้าเด็กวัย 13 ผ่านฉลุย ทึ้งเฉือดเนื้อออกกว่า 3,000 กรัม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ทีมแพทย์ศิริราชพยาบาล ผ่าตัดเต้านมเด็กหญิงอายุ 13 ปี มีขนาดเต้านมโหญ่เกินมาตรฐาน ระบุผลผ่าตัดเรียบร้อยดี ใช้ 2 เทคนิค ผ่าตัดเต้านมสองข้าง เพราะขนาดไม่เท่ากัน ตัดเนื้อเต้านมออกไปกว่า 3,000 กรัม ในอนาคตเต้านมอาจขยายได้อีก จะใช้การรับประทานฮอร์โมนลดขนาด หากโตเกินมาตรฐานอาจต้องผ่าตัดอีกครั้ง

ทีมแพทย์สาขาวิชาศัลยศาสตร์ศีรษะคอและเต้านม ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล นำโดย รศ.นพ.ศุภกร โรจนนินทร์ รองคณบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจการพิเศษ และหัวหน้าสาขาวิชาศัลยศาสตร์ฯ และ พญ.ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ ศัลยแพทย์ศีรษะฯ ร่วมกันแถลงผลการผ่าตัดเต้านมเด็กหญิงอายุ 13 ปี ซึ่งมีขนาดเต้านมโตเกินและขนาดไม่เท่ากัน โดย รศ.นพ.ศุภกร กล่าวว่า เนื่องจากขนาดของเต้านมไม่เท่ากัน ขนาดข้างขวาใหญ่กว่าข้างซ้าย แพทย์จึงตัดสินใจผ่าตัดเต้านมด้านขวาออกก่อน ด้วยวิธี Superior medial pedicle technique โดยใช้เส้นเลือดจากกล้ามเนื้อหน้าอกด้านบนเป็นตัวหล่อเลี้ยงน้ำนม พร้อมตัดเนื้อเต้านมส่วนเกินออกประมาณ 2,300 กรัม จากนั้น จึงผ่าตัดเต้านมด้านซ้ายด้วยวิธี Inferior pedicle technique โดยใช้เส้นเลือดจากกล้ามเนื้อหน้าอกด้านล่างเป็นตัวหล่อเลี้ยงน้ำนม พร้อมตัดเนื้อเต้านมส่วนเกินออกประมาณ 740 กรัม ซึ่งทั้ง 2 วิธี ในอนาคตผู้ป่วยสามารถให้น้ำนมบุตรได้ เนื่องจากแพทย์ไม่ได้ตัดท่อน้ำนมออกจากหัวนม การผ่าตัดเรียบร้อยดี ใช้เวลาประมาณกว่า 3 ชั่วโมง คาดว่าผู้ป่วยจะฟื้นตัว สุขภาพกายและใจดีขึ้น และสามารถกลับบ้านได้ประมาณ 3-4 วัน หลังผ่าตัด หากไม่มีอาการแทรกซ้อนใด ๆ แพทย์จะนัดมาตรวจดูอาการเป็นระยะ ๆ ช่วงแรกจะนัดดูแผลสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 1 เดือน ก่อนจะติดตามผลการรักษาต่อไป

รศ.นพ.ศุภกร กล่าวถึงโอกาสการขยายของเต้านมหลังผ่าตัดแล้วว่า ในอนาคตโอกาสของเต้านมที่จะขยายใหญ่ขึ้นเหลือจำนวนไม่มากแล้ว หากจะใหญ่ก็คงจะรับได้เท่ากับบุคคลทั่วไป ขณะนี้ขนาดเต้านมหลังผ่าตัดสามารถใช้ชุดต่าง ๆ ได้ตามปกติ แต่จะยังมีโอกาสเติบโตได้อีกถึง 25 ปี แต่ลักษณะเต้านมไม่มีไขมันแทรก ดังนั้น โอกาสที่จะขยายใหญ่อาจจะไม่มากเกินเหมือนปัจจุบัน และอาจต้องให้รับประทานฮอร์โมนช่วยลดขนาดลง แต่หากโตเกินขนาดแพทย์อาจต้องผ่าตัดอีกครั้ง สำหรับสาเหตุของเต้านมใหญ่เกินขนาดนี้ เพราะคนไข้มีหน้าอกที่ตอบสนองฮอร์โมนเอสโตเจนมาเกินไป ทำให้เนื้อเต้านมขยายมากกว่าทั่วไป

“สำหรับผู้ป่วยที่มีขนาดเต้านมใหญ่เกินที่เข้ามารับการรักษาที่ศิริราชพยาบาล ปี ๆ หนึ่ง เฉลี่ย 2 เดือน 1 ครั้ง กรณีนี้เป็นเต้านมขนาดใหญ่เกินมาตรฐาน แต่หากการเข้ารับการผ่าตัดเต้านมก็มีเรื่อย ๆ และหลังผ่าตัดแล้ว ไม่เคยมีผู้ป่วยมาผ่าตัดซ้ำอีก” รศ.นพ.ศุภพร กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น