xs
xsm
sm
md
lg

อายุ 40 ระวังข้อเข่าเสื่อม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

หากความชราภาพหรือการมีอายุสูงขึ้นเป็นการแสดงออกถึงความเสื่อมของร่างกาย ความเสื่อมจะเกิดขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ การเจ็บปวดกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อเป็นเรื่องที่ผู้สูงอายุจะต้องพบเสมอ ซึ่งจะเป็นมากหรือน้อยแล้วแต่บุคคลโรคข้อกระดูกหรืออาการเจ็บปวดดังกล่าวจะพบได้เกือบทุกคนถ้ามีอายุมากขึ้นออกไป ในร่างกายประกอบด้วยข้อต่อ 100 ข้อในการเชื่อมต่อกระดูก 206 ชิ้น

นพ. พิพัฒน์ ชุมเกษียร แพทย์ประจำโรงพยาบาลราชวิถี บอกว่า อาการปวดเข่ามักจะเกิดกับคนในวัยกลางคน จนถึงวัยสูงอายุ พบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชายส่วนสาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากกระดูกอ่อนที่ประกอบในข้อเสื่อมคุณภาพและกล้ามเนื้อขาส่วนเหนือเข่าไม่แข็งแรงสาเหตุที่ส่งเสริมให้เกิดข้อเข่าเสื่อม 1.น้ำหนักตัวมากเกินไปหรือคนอ้วน ทำให้เข่ารับน้ำหนักตัวมากเกิดการใช้งานที่มากเกินไปทำให้เกิดการอักเสบและปวดเข่าขึ้น 2.อายุมาก ความเสื่อมต่าง ๆ ของเอ็นกล้ามเนื้อที่ยึดจับกระดูกจะเสื่อมคุณสมบัติ 3.อากัปกริยาที่ทำบ่อย ๆ เช่น นั่งยอง ๆ ขึ้น-ลงบันได จะทำให้ผิวกระดูกถูกเสียดสีและแตกสลาย 4.มีความผิดปกติของข้อเข่าแต่กำเนิด

“อาการของโรคข้อเสื่อม จะมีอาการปวดมีลักษณะปวดตื้อ ๆ ทั่ว ๆไปบริเวณข้อไม่สามารถระบุตำแหน่งชัดเจนได้และมักปวดเรื้อรัง อาการปวดจะมากขึ้นเมื่อมีการใช้
งาน หรือลงน้ำหนักลงบนข้อนั้น ๆ และจะทุเลาลงเมื่อพักการใช้งาน เมื่อการดำเนิน
โรครุนแรงขึ้นอาจทำให้มีอาการปวดตลอดเวลา หรือปวดในช่วงเวลากลางคืนร่วมด้วย”

นพ.พิพัฒน์ ให้คำแนะนำอีกว่า สำหรับการรักษา ทางยาจะมี 2 ชนิด 1.ยารับ
ประทาน จะช่วยลดอาการอักเสบและแก้ปวดได้ แต่จะไม่ช่วยให้อาการข้อเสื่อมหายได้ 2. ยาฉีดเสตียรอยด์เข้าข้อ จะช่วยระงับ อาการปวด ลดการบวม แต่การใช้ยาก็มีผลเสีย ต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์ที่จะเลือกใช้กับผู้ป่วยเป็นบางรายเท่านั้น

ทั้งนี้ ยังมีการรักษาทางกายภาพด้วยการฝึกกายบริหาร เพื่อให้กล้ามเนื้อและ
เอ็นรอบข้อแข็งแรงขึ้น ทำให้เข่ากระชับเคลื่อนไหวดี จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้
ข้อที่เสื่อมได้ใกล้เคียงกับปกติ และการรักษาด้วยการผ่าตัด ในรายที่ผู้ป่วยเป็น
มาก ๆ จนกระทั่งการรักษาทางยา และทางกายภาพบำบัดไม่ได้ผลแล้ว

นายแพทย์พิพัฒน์ กล่าวถึงข้อควรปฏิบัติของผู้มีอาการข้อเข่าเสื่อม ดังนี้
1.ในระยะแรก ถ้ามีอาการปวดมากอาจใช้เครื่องช่วยเสริมรัดเข่าไม่ให้เหยียดงอมากเกินไปจะได้เดินสะดวก ผู้ป่วยที่อ้วนมาก ควรถือไม้เท้าช่วยเดินจะมีประโยชน์มาก เพราะจะช่วยผ่อนน้ำหนักของขาข้างที่เหยียบเวลายกขาอีกข้างก้าวเดิน
2.ลดน้ำหนักในกรณีของคนอ้วน ลดอาหารประเภทแป้งไขมันและน้ำตาลให้น้อยลง เพิ่มเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ดื่มน้ำตามมาก ๆ
3.หลีกเลี่ยงการใช้ข้อเข่าที่ผิดสุขลักษณะ เช่น นั่งคุกเข่า นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ นั่งยอง ๆ ยืนนาน ๆ เดินมากเกินไป หลีกเลี่ยงการก้าวขึ้นบันได
4.รับประทานยาแก้อักเสบและแก้ปวดตามแพทย์สั่ง
5.เมื่ออาการปวดเข่าทุเลาแล้วให้เริ่มบริหารข้อเข่าโดยสม่ำเสมอจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน
นอกจากนี้ ยังมีท่าบริหารเข่าด้วยกัน 4 ท่า 1.นอนหงายราบเหยียดเข่าให้ตรงพยายามกดใต้ท้องเข่าให้ติดกับพื้นนับ 1-10 แล้วปล่อยทำสลับกันข้างละ 10-20 ครั้ง
2.นอนหงาย ยกขาข้างหนึ่งในท่าชันเข่าแล้วยกขาอีกข้างหนึ่งสูงจากพื้น 1 ฟุต นับ 1-10 แล้วเอาลงทำสลับกันข้างละ 10+20 ครั้ง ท่านี้ใช้เมื่ออาการปวดทุเลาลงมาก
แล้ว
3.นั่งตัวตรงหลังพิงพนักเก้าอี้แล้วยกปลายเท้าสูงเท่าระดับเก้าอี้ที่นั่งให้ยกขาเกร็งกล้ามเนื้อ นับ 1-10 แล้วจึงพักเข่าข้างนั้น ไปเกร็งเข่าด้านตรงข้ามแทนด้วยวิธีเดียวกัน ให้ทำสลับกันข้างละ 10-20 ครั้ง 4. ท่านี้บริหารภายหลังอาการปวดบวมหายไปหมดแล้ว โดยใช้น้ำหนัก เช่น ถุงทรายห้อยที่ข้อเท้าเริ่มจากครึ่งกิโลกรัมก่อน วิธีบริหารทำเช่นเดียวกับท่าที่ 3จะเห็นได้ว่าโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ถ้าไม่รีบรับการรักษาจะทำให้ผู้สูงอายุตกอยู่ในความทุกข์ทรมานกับการใช้ชีวิตในบ้านปลาย หากเราผู้เป็นลูกหลานควรจะหันมาใส่ใจกับสุขภาพของผู้สูงอายุให้มากขึ้น จะทำให้ชีวิตผู้สูงอายุห่างไกลไร้โรคภัย
กำลังโหลดความคิดเห็น