อาจารย์กฎหมาย ม.ธรรมศาสตร์ เสนอ พม. รื้อระบบการจดทะเบียนสมรสใหม่ ให้จดทะเบียนได้ที่เดียวในภูมิลำเนาของคู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น และให้ถือเป็นหน้าที่ของนายทะเบียนที่ต้องตรวจสอบข้อมูลก่อนรับจดทะเบียน ป้องกันผู้หญิงถูกหลอกจดทะเบียนซ้อน
ผศ.ดร.มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้ว่าจ้างให้วิจัยศึกษาปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อสตรี เพื่อนำไปสู่การยกร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียม เปิดเผยว่า ได้นำเสนอรายงานผลการวิจัยศึกษาบางส่วนกับทางสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พม.แล้ว ที่สำคัญ คือ เรื่องการจดทะเบียนสมรส เพื่อป้องกันปัญหาฝ่ายชายที่มีภรรยาแล้วไปหลอกลวงผู้หญิงไปจดทะเบียนสมรสซ้อน โดยเสนอให้รื้อระบบใหม่ ดังนี้ คือ 1.ให้นายทะเบียนตรวจสอบข้อมูลของฝ่ายชายและหญิงจนมั่นใจว่าไม่มีการจดทะเบียนสมรสอยู่แล้ว จึงค่อยรับจดทะเบียนให้โดยให้ถือเป็นหน้าที่ของนายทะเบียน หากไม่ปฏิบัติให้ถือเป็นความผิดที่ละเว้นไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ 2.ให้จดทะเบียนสมรสได้เพียงเฉพาะในภูมิลำเนาของคู่สมรสเท่านั้น จะเป็นภูมิลำเนาของฝ่ายชายหรือหญิงก็ได้ ไม่ใช่สามารถจดทะเบียนได้ทุกที่อย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และ 3.กรณีที่ย้ายภูมิลำเนานั้น ให้กำหนดระยะเวลาด้วยว่าต้องย้ายมาเป็นระยะเวลาเท่าไร จึงจะให้จดทะเบียนสมรสในภูมิลำเนาใหม่ได้ เพื่อป้องกันการที่ฝ่ายชายต้องย้ายที่ทำงานบ่อย และอาจหลอกจดทะเบียนซ้อนกับผู้หญิงที่อยู่ในภูมิลำเนาของที่ทำงานใหม่ได้
“กำหนดเลยว่าภูมิลำเนาที่จดทะเบียนได้แค่ 2 ที่ คือภูมิลำเนาของคู่สมรส จะเป็นชายหรือหญิงที่ใดที่หนึ่ง ไม่ใช่ให้จดได้ทุกแห่งอย่างปัจจุบัน ซึ่งฝ่ายหญิงก็ควรเลือกจดในภูมิลำเนาของสามี สามีจะได้ไปจดอีกครั้งไม่ได้ ส่วนพวกที่ต้องย้ายที่ทำงานบ่อยนั้น จะมีการกำหนดชัดเจนว่าต้องย้ายภูมิลำเนาเป็นเวลาอย่างน้อยเท่าไร จึงจะให้จดได้ ไม่เช่นนั้นอาจมีบางคนที่จดทะเบียนแล้ว ไปเที่ยวหลอกจดกับผู้หญิงอีกคนในที่ทำงานใหม่ได้” ผศ.ดร.มาตาลักษณ์ กล่าว
ผศ.ดร.มาตาลักษณ์ กล่าวด้วยว่า ยังได้เสนอให้แก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 276 ที่ระบุว่า ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราหญิงซึ่งไม่ใช่ภรรยาของตนต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 4 – 20 ปี และปรับ 8 พัน ถึง 4 หมื่น โดยเสนอให้แก้ใหม่ว่า ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่นให้เป็นความผิดต้องระวางโทษเช่นกัน ทั้งนี้ ที่ไม่เลือกแก้เป็นใช้คำว่า ผู้อื่น แทนคำว่า หญิงอื่น เพราะตีความว่าการข่มขืน เป็นเรื่องของชายกระทำหญิง ส่วนกรณีชายกระทำกับชาย หรือหญิงกระทำต่อหญิงด้วยกันนั้น น่าจะเป็นความรุนแรงทางเพศมากกว่า
นางกิ่งแก้ว อินหว่าง รอง ผอ.สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พม. กล่าวว่า ทางสำนักงานได้รับรายงานผลวิจัยศึกษาจาก ผศ.ดร.มาตาลักษณ์ แล้ว โดยเห็นชอบในภาพรวมทั้งหมด แต่การจะนำข้อเสนอใดไปใช้หรือไม่นั้น คงต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดต่อไป
ผศ.ดร.มาตาลักษณ์ ออรุ่งโรจน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้ว่าจ้างให้วิจัยศึกษาปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อสตรี เพื่อนำไปสู่การยกร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมโอกาสและความเท่าเทียม เปิดเผยว่า ได้นำเสนอรายงานผลการวิจัยศึกษาบางส่วนกับทางสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พม.แล้ว ที่สำคัญ คือ เรื่องการจดทะเบียนสมรส เพื่อป้องกันปัญหาฝ่ายชายที่มีภรรยาแล้วไปหลอกลวงผู้หญิงไปจดทะเบียนสมรสซ้อน โดยเสนอให้รื้อระบบใหม่ ดังนี้ คือ 1.ให้นายทะเบียนตรวจสอบข้อมูลของฝ่ายชายและหญิงจนมั่นใจว่าไม่มีการจดทะเบียนสมรสอยู่แล้ว จึงค่อยรับจดทะเบียนให้โดยให้ถือเป็นหน้าที่ของนายทะเบียน หากไม่ปฏิบัติให้ถือเป็นความผิดที่ละเว้นไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ 2.ให้จดทะเบียนสมรสได้เพียงเฉพาะในภูมิลำเนาของคู่สมรสเท่านั้น จะเป็นภูมิลำเนาของฝ่ายชายหรือหญิงก็ได้ ไม่ใช่สามารถจดทะเบียนได้ทุกที่อย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และ 3.กรณีที่ย้ายภูมิลำเนานั้น ให้กำหนดระยะเวลาด้วยว่าต้องย้ายมาเป็นระยะเวลาเท่าไร จึงจะให้จดทะเบียนสมรสในภูมิลำเนาใหม่ได้ เพื่อป้องกันการที่ฝ่ายชายต้องย้ายที่ทำงานบ่อย และอาจหลอกจดทะเบียนซ้อนกับผู้หญิงที่อยู่ในภูมิลำเนาของที่ทำงานใหม่ได้
“กำหนดเลยว่าภูมิลำเนาที่จดทะเบียนได้แค่ 2 ที่ คือภูมิลำเนาของคู่สมรส จะเป็นชายหรือหญิงที่ใดที่หนึ่ง ไม่ใช่ให้จดได้ทุกแห่งอย่างปัจจุบัน ซึ่งฝ่ายหญิงก็ควรเลือกจดในภูมิลำเนาของสามี สามีจะได้ไปจดอีกครั้งไม่ได้ ส่วนพวกที่ต้องย้ายที่ทำงานบ่อยนั้น จะมีการกำหนดชัดเจนว่าต้องย้ายภูมิลำเนาเป็นเวลาอย่างน้อยเท่าไร จึงจะให้จดได้ ไม่เช่นนั้นอาจมีบางคนที่จดทะเบียนแล้ว ไปเที่ยวหลอกจดกับผู้หญิงอีกคนในที่ทำงานใหม่ได้” ผศ.ดร.มาตาลักษณ์ กล่าว
ผศ.ดร.มาตาลักษณ์ กล่าวด้วยว่า ยังได้เสนอให้แก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 276 ที่ระบุว่า ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราหญิงซึ่งไม่ใช่ภรรยาของตนต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 4 – 20 ปี และปรับ 8 พัน ถึง 4 หมื่น โดยเสนอให้แก้ใหม่ว่า ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่นให้เป็นความผิดต้องระวางโทษเช่นกัน ทั้งนี้ ที่ไม่เลือกแก้เป็นใช้คำว่า ผู้อื่น แทนคำว่า หญิงอื่น เพราะตีความว่าการข่มขืน เป็นเรื่องของชายกระทำหญิง ส่วนกรณีชายกระทำกับชาย หรือหญิงกระทำต่อหญิงด้วยกันนั้น น่าจะเป็นความรุนแรงทางเพศมากกว่า
นางกิ่งแก้ว อินหว่าง รอง ผอ.สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พม. กล่าวว่า ทางสำนักงานได้รับรายงานผลวิจัยศึกษาจาก ผศ.ดร.มาตาลักษณ์ แล้ว โดยเห็นชอบในภาพรวมทั้งหมด แต่การจะนำข้อเสนอใดไปใช้หรือไม่นั้น คงต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดต่อไป