สธ.ห่วงคนไทยซึมซับวัฒนธรรมอาหารเกาหลี จนลืมอาหารไทย ซึ่งดีต่อสุขภาพ แนะหนุ่มสาวหุ่นถังเบียร์ – ถังแก๊ส ควรเปิบอาหารจำพวกแกงส้ม ต้มยำ แกงป่า นึ่ง ย่าง เพราะไขมันต่ำ และเลี่ยง ลด งดอาหารประเภททอด จำพวกโดนัท ปลาท่องโก๋ ที่มีไขมันสูงถึงร้อยละ 28-70 สร้างปัญหาเกิดโรคความดันโลหิตพุ่งกระฉูด เพราะไขมันอุดเส้นเลือด เร่งอายุสั้นเร็วขึ้น
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้คนไทยติดละครทีวีเรื่องแดจังกึม หรือจอมนางแห่งวังหลวง ของประเทศเกาหลี กันมาก ซึ่งจัดว่าเป็นการนำเสนอเรื่องราวเคล็ดลับของการปรุงอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีมาก จึงมีความเป็นห่วง เกรงคนไทยจะซึมซับวัฒนธรรมอาหารเกาหลี จนลืมว่าอาหารของไทย ซึ่งเป็นอาหารที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นอาหารสุขภาพ เพราะส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นสมุนไพร และมีไขมันต่ำ เช่น แกงส้ม จัดเป็นอาหารที่มีไขมันต่ำ กินแล้วไม่อ้วน จึงเป็นเมนูชูสุขภาพง่ายๆ ทำได้ในครัวเรือน ทั้งประเภทฟาสต์ฟู้ดแบบไทยๆ หรืออาหารจานเดียว เช่น ก๋วยเตี๋ยวหลอด ข้าวยำปักษ์ใต้ ขนมจีนน้ำยา ข้าวราดแกงป่าไก่ และอาหารสำรับ เช่น แกงเลียงปลาย่าง ปลากะพงนึ่ง แกงส้มผักริมรั้ว แกงจืดเต้าหู้อ่อน ยำตะไคร้
ที่น่าเป็นห่วงมาก ขณะนี้สูตรอาหารไทย ทั้งอาหารหวานและอาหารคาว มีการดัดแปลงให้เป็นสากล และให้ความสำคัญทางเศรษฐกิจ คือ เน้นสีสัน ทำให้น่ากิน จนลืมนึกถึงคุณค่าต่อสุขภาพ มีการใช้ส่วนประกอบอื่นๆ ใช้เครื่องชูรส น้ำมัน ไขมัน และน้ำตาลกันมาก จนเกิดปัญหาทำให้มีการบริโภคเกิน ส่งผลให้คนไทยอ้วนเพิ่มขึ้น
จากผลสำรวจของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ล่าสุด ในปี 2547 พบว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป น้ำหนักเกินมาตรฐานร้อยละ 15 หรือประมาณ 6 ล้านคน ในจำนวนนี้อยู่ในข่ายอ้วน คือ หากเป็นผู้ชายจะมีรูปร่างเหมือนหุ่นถังเบียร์ คือ พองตรงกลาง และหุ่นถังแก๊สในผู้หญิง ส่วนเอวหายไปเกือบร้อยละ 3 คนกลุ่มนี้จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานให้หมด ไม่สะสมในร่างกาย ซึ่งจะกลายเป็นไขมันอยู่ตามพุง หน้าขา สะโพก
นายอนุทิน กล่าวต่อไปว่า จากการศึกษาอาหารประเภททอด เช่นปลาทอด เนื้อสัตว์ทอด โดยกองโภชนาการ เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า มีปริมาณไขมันสูงระหว่างร้อยละ 28-70 โดยพบว่าเนื้อสัตว์ที่ชุบแป้งทอด เช่น กุ้งฝอยชุบแป้งทอด มีไขมันร้อยละ 51 ปลารากกล้วยชุบแป้งทอดมีไขมันร้อยละ 40 ส่วนกลุ่มน้ำจิ้มต่างๆ ส่วนใหญ่มีรสหวาน จึงมีคาร์โบไฮเดรตสูงร้อยละ 20-40 ส่วนในกลุ่มขนมที่เป็นขนมทอด เช่น โดนัท ปลาท่องโก๋ มีปริมาณไขมันสูงร้อยละ 44-57 หากเป็นขนมหวานจะมีคาร์โบไฮเดรตสูงร้อยละ 55-68 ดังนั้น คนที่มีน้ำหนักเกิน คนอ้วน คนที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย ต้องลดการบริโภคอาหารประเภทนี้ และควรเพิ่มการกินผักให้มากขึ้นทั้งผักสุกและผักดิบให้มากกว่าวันละ 5 ทัพพี
ทางด้านนายแพทย์สมยศ เจริญศักดิ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การที่ร่างกายได้รับไขมันจากอาหารเกินความต้องการของร่างกาย เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจได้ ไขมันมาจากสัตว์และพืช เทคนิคการเลือกและเตรียมอาหารเพื่อจำกัดไขมัน ควรเลือกใช้เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน หรือติดมันน้อย เช่น เนื้อไก่ ควรเลือกใช้ส่วนที่เป็นส่วนอก หรือสันในไก่ หนังหมู ควรจำกัดการบริโภคเครื่องในสัตว์ต่างๆ และไข่แดง ในผู้ที่มีระดับโคเลสเตอรอลค่อนข้างสูง ควรบริโภคเนื้อปลาแทนเนื้อสัตว์ชนิดอื่น เนื่องจากเนื้อปลา ส่วนใหญ่จะให้โปรตีนที่ย่อยง่าย มีไขมันต่ำ
นอกจากนี้ ต้องปรับเปลี่ยนวิธีปรุงอาหารจากการทอด หรือผัดที่ใช้น้ำมัน มาเป็นวิธีต้ม แกงที่ไม่ใส่กะทิ หรือใช้วิธีนึ่ง หรือย่างแทน ซึ่งจะช่วยจำกัดปริมาณไขมันในอาหาร เช่น การเจียวไข่ 1 ฟอง ไข่จะถูกดูดซับน้ำมันถึง 7 กรัม เมื่อเรากินไข่เจียว จะได้พลังงานถึง 140 กิโลแคลอรี่ แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นไข่ต้มจะได้พลังงานเพียง 82 กิโลแคลอรี่ ผู้ที่ดื่มนมเป็นประจำ อาจเลือกดื่มนมพร่องไขมัน เพื่อช่วยจำกัดมิให้ระดับไขมันในเลือดสูงเกินปกติ ไม่แนะนำให้งดดื่มนม เนื่องจากนมให้โปรตีน แคลเซียม และวิตามินบี 2 ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
ทั้งนี้ การจำกัดอาหารพวกไขมันนี้ เหมาะสำหรับผู้ใหญ่ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือผู้ที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูง แต่ถ้าเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และเด็กวัยเรียน ไม่ควรจำกัดการกินไขมันเหมือนผู้ใหญ่ เพราะร่างกายและสมองกำลังเจริญเติบโต และต้องการกรดไขมันจำเป็น ซึ่งร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น
นายแพทย์สมยศ กล่าวอีกว่า สำหรับเมนูชูสุขภาพกลุ่มให้ไขมันต่ำ เช่น ปลากะพงลวกจิ้ม, แกงส้มปลาช่อน, ต้มยำปลาช่อน, ปลาเนื้ออ่อนนึ่งแจ่ว, ก๋วยเตี๋ยวปลา, ปลาช่อนเผา, ปลาทับทิมนึ่งแจ่ว, แกงเหลืองปลา, ข้าวต้มปลา, แกงส้มปลากะพง, , แกงไตปลา, ปลากะพงนึ่งมะนาว, แกงแคไก่, แกงเลียง, แกงอ่อมกบ, แกงส้มรวมมิตร, แกงป่าไก่, แกงป่าสมุนไพร, แกงจืดมะระยัดไส้, ต้มยำกุ้ง, ข้าวต้มเบญจรงค์, ต้มจืดวุ้นเส้น, ไก่ต้มฟักมะนาวดอง, ส้มตำ , ส้มตำผลไม้, ยำสมุนไพร, ยำมะม่วง, ยำส้มโอ, ยำมะระ, ก๋วยเตี๋ยวทะเล, ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋น, ก๋วยเตี๋ยวเป็ดน้ำ, ขนมจีนน้ำยาป่า, สุกี้น้ำ, น้ำพริกกุ้งสด-ผักสด, น้ำพริกหนุ่ม-ผักสด, น้ำพริกขี้กา-ผักสด เป็นต้น
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้คนไทยติดละครทีวีเรื่องแดจังกึม หรือจอมนางแห่งวังหลวง ของประเทศเกาหลี กันมาก ซึ่งจัดว่าเป็นการนำเสนอเรื่องราวเคล็ดลับของการปรุงอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีมาก จึงมีความเป็นห่วง เกรงคนไทยจะซึมซับวัฒนธรรมอาหารเกาหลี จนลืมว่าอาหารของไทย ซึ่งเป็นอาหารที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าเป็นอาหารสุขภาพ เพราะส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นสมุนไพร และมีไขมันต่ำ เช่น แกงส้ม จัดเป็นอาหารที่มีไขมันต่ำ กินแล้วไม่อ้วน จึงเป็นเมนูชูสุขภาพง่ายๆ ทำได้ในครัวเรือน ทั้งประเภทฟาสต์ฟู้ดแบบไทยๆ หรืออาหารจานเดียว เช่น ก๋วยเตี๋ยวหลอด ข้าวยำปักษ์ใต้ ขนมจีนน้ำยา ข้าวราดแกงป่าไก่ และอาหารสำรับ เช่น แกงเลียงปลาย่าง ปลากะพงนึ่ง แกงส้มผักริมรั้ว แกงจืดเต้าหู้อ่อน ยำตะไคร้
ที่น่าเป็นห่วงมาก ขณะนี้สูตรอาหารไทย ทั้งอาหารหวานและอาหารคาว มีการดัดแปลงให้เป็นสากล และให้ความสำคัญทางเศรษฐกิจ คือ เน้นสีสัน ทำให้น่ากิน จนลืมนึกถึงคุณค่าต่อสุขภาพ มีการใช้ส่วนประกอบอื่นๆ ใช้เครื่องชูรส น้ำมัน ไขมัน และน้ำตาลกันมาก จนเกิดปัญหาทำให้มีการบริโภคเกิน ส่งผลให้คนไทยอ้วนเพิ่มขึ้น
จากผลสำรวจของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ล่าสุด ในปี 2547 พบว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป น้ำหนักเกินมาตรฐานร้อยละ 15 หรือประมาณ 6 ล้านคน ในจำนวนนี้อยู่ในข่ายอ้วน คือ หากเป็นผู้ชายจะมีรูปร่างเหมือนหุ่นถังเบียร์ คือ พองตรงกลาง และหุ่นถังแก๊สในผู้หญิง ส่วนเอวหายไปเกือบร้อยละ 3 คนกลุ่มนี้จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานให้หมด ไม่สะสมในร่างกาย ซึ่งจะกลายเป็นไขมันอยู่ตามพุง หน้าขา สะโพก
นายอนุทิน กล่าวต่อไปว่า จากการศึกษาอาหารประเภททอด เช่นปลาทอด เนื้อสัตว์ทอด โดยกองโภชนาการ เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า มีปริมาณไขมันสูงระหว่างร้อยละ 28-70 โดยพบว่าเนื้อสัตว์ที่ชุบแป้งทอด เช่น กุ้งฝอยชุบแป้งทอด มีไขมันร้อยละ 51 ปลารากกล้วยชุบแป้งทอดมีไขมันร้อยละ 40 ส่วนกลุ่มน้ำจิ้มต่างๆ ส่วนใหญ่มีรสหวาน จึงมีคาร์โบไฮเดรตสูงร้อยละ 20-40 ส่วนในกลุ่มขนมที่เป็นขนมทอด เช่น โดนัท ปลาท่องโก๋ มีปริมาณไขมันสูงร้อยละ 44-57 หากเป็นขนมหวานจะมีคาร์โบไฮเดรตสูงร้อยละ 55-68 ดังนั้น คนที่มีน้ำหนักเกิน คนอ้วน คนที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย ต้องลดการบริโภคอาหารประเภทนี้ และควรเพิ่มการกินผักให้มากขึ้นทั้งผักสุกและผักดิบให้มากกว่าวันละ 5 ทัพพี
ทางด้านนายแพทย์สมยศ เจริญศักดิ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การที่ร่างกายได้รับไขมันจากอาหารเกินความต้องการของร่างกาย เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจได้ ไขมันมาจากสัตว์และพืช เทคนิคการเลือกและเตรียมอาหารเพื่อจำกัดไขมัน ควรเลือกใช้เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน หรือติดมันน้อย เช่น เนื้อไก่ ควรเลือกใช้ส่วนที่เป็นส่วนอก หรือสันในไก่ หนังหมู ควรจำกัดการบริโภคเครื่องในสัตว์ต่างๆ และไข่แดง ในผู้ที่มีระดับโคเลสเตอรอลค่อนข้างสูง ควรบริโภคเนื้อปลาแทนเนื้อสัตว์ชนิดอื่น เนื่องจากเนื้อปลา ส่วนใหญ่จะให้โปรตีนที่ย่อยง่าย มีไขมันต่ำ
นอกจากนี้ ต้องปรับเปลี่ยนวิธีปรุงอาหารจากการทอด หรือผัดที่ใช้น้ำมัน มาเป็นวิธีต้ม แกงที่ไม่ใส่กะทิ หรือใช้วิธีนึ่ง หรือย่างแทน ซึ่งจะช่วยจำกัดปริมาณไขมันในอาหาร เช่น การเจียวไข่ 1 ฟอง ไข่จะถูกดูดซับน้ำมันถึง 7 กรัม เมื่อเรากินไข่เจียว จะได้พลังงานถึง 140 กิโลแคลอรี่ แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นไข่ต้มจะได้พลังงานเพียง 82 กิโลแคลอรี่ ผู้ที่ดื่มนมเป็นประจำ อาจเลือกดื่มนมพร่องไขมัน เพื่อช่วยจำกัดมิให้ระดับไขมันในเลือดสูงเกินปกติ ไม่แนะนำให้งดดื่มนม เนื่องจากนมให้โปรตีน แคลเซียม และวิตามินบี 2 ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
ทั้งนี้ การจำกัดอาหารพวกไขมันนี้ เหมาะสำหรับผู้ใหญ่ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือผู้ที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูง แต่ถ้าเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และเด็กวัยเรียน ไม่ควรจำกัดการกินไขมันเหมือนผู้ใหญ่ เพราะร่างกายและสมองกำลังเจริญเติบโต และต้องการกรดไขมันจำเป็น ซึ่งร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น
นายแพทย์สมยศ กล่าวอีกว่า สำหรับเมนูชูสุขภาพกลุ่มให้ไขมันต่ำ เช่น ปลากะพงลวกจิ้ม, แกงส้มปลาช่อน, ต้มยำปลาช่อน, ปลาเนื้ออ่อนนึ่งแจ่ว, ก๋วยเตี๋ยวปลา, ปลาช่อนเผา, ปลาทับทิมนึ่งแจ่ว, แกงเหลืองปลา, ข้าวต้มปลา, แกงส้มปลากะพง, , แกงไตปลา, ปลากะพงนึ่งมะนาว, แกงแคไก่, แกงเลียง, แกงอ่อมกบ, แกงส้มรวมมิตร, แกงป่าไก่, แกงป่าสมุนไพร, แกงจืดมะระยัดไส้, ต้มยำกุ้ง, ข้าวต้มเบญจรงค์, ต้มจืดวุ้นเส้น, ไก่ต้มฟักมะนาวดอง, ส้มตำ , ส้มตำผลไม้, ยำสมุนไพร, ยำมะม่วง, ยำส้มโอ, ยำมะระ, ก๋วยเตี๋ยวทะเล, ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋น, ก๋วยเตี๋ยวเป็ดน้ำ, ขนมจีนน้ำยาป่า, สุกี้น้ำ, น้ำพริกกุ้งสด-ผักสด, น้ำพริกหนุ่ม-ผักสด, น้ำพริกขี้กา-ผักสด เป็นต้น