โรคไตนั้น เป็นโรคที่นอกจากจะสร้างความทุกข์ทรมานสำหรับผู้ป่วยแล้ว ยังเป็นโรคที่ต้องใช้ “เงิน” ในการบำบัดรักษาที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย ดังนั้น การควบคุมอาหารเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ หนทางในการแก้ไขและช่วยชะลอการฟอกไตก็ใช่ว่าจะไม่มีความหวังเอาเสียเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะแรก เนื่องจากถ้าหากรู้จักควบคุมอาหารที่ถูกต้องแล้ว ก็สามารถช่วยชะลอเวลาเข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ก่อนที่จะต้องเข้ารับการบำบัดรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาหรือการผ่าตัดเปลี่ยนไตซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงได้
นพ.อุปถัมภ์ ศุภสินธุ์ อายุรแพทย์โรคไต โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า ให้ข้อมูลถึงไตและหน้าที่การทำงานของไต กรณีสาเหตุปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคไตเรื้อรัง และวิธีการชะลอไม่ให้ไตเสื่อมเร็วไปจนกระทั่งระยะสุดท้ายว่า ถ้าคิดเปอร์เซ็นต์ของการทำงานของไตที่สมบูรณ์คือ 100% เมื่อไตเสื่อม เปอร์เซ็นต์การทำงานของไตก็จะลดลง เมื่อใดก็ตามที่ไตทำหน้าที่ได้น้อยกว่า 30% แต่ยังลงไม่ถึง 10% การควบคุมอาหารจะช่วยชะลอให้ไตเสื่อมช้าลงได้ ไม่เช่นนั้นแล้วถ้าไตทำงานได้น้อยกว่า10% เมื่อไหร่นั้น นั่นหมายความว่าผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการบำบัดทดแทนไตทันที
ด้านดร.ชนิดา ปโชติการ จากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายเสริมว่า ผู้ป่วยจะต้องทานอาหารให้เป็นเวลา ไม่อดมื้อใดมื้อหนึ่ง รับประทานให้ครบทั้ง 5 หมู่ เลือกรับประทานอาหารและควบคุมปริมาณโปรตีนตามที่แพทย์สั่งและนักกำหนดอาหารกำหนดให้ เลือกอาหารที่สดสะอาดไม่มีสารพิษตกค้าง หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด หวานจัด อาหารกระป๋อง ของหมักดอง อาหารสำเร็จรูปต่างๆ อาหารไขมันสูง เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล อาหารที่ให้ฟอสฟอรัสหรือโพแทสเซียมสูง
ในกรณีที่มีเกลือแร่ 2 ตัวนี้ในเลือดสูง หลีกเลี่ยงการใช้ผงชูรส ถ้าเป็นไปได้ ให้ปรุงอาหารรับประทานด้วยตนเอง ใช้วิธีการตักอาหารแบบบุฟเฟต์ นั่นคือตักมาเป็นส่วนๆ พอรับประทาน เมื่อรับประทานจนหมดจาน นั่นหมายความว่าครบตามปริมาณที่กำหนด เมื่อปฏิบัติได้ดังนั้นแล้ว ท่านอาจไม่ต้องเข้ารับการฟอกเลือด การล้างช่องท้อง หรือไม่ต้องรับการผ่าตัดเปลี่ยนไตไปอีกนานถึง 5-10 ปีก็เป็นได้
ทั้งนี้ การควบคุมอาหารให้ได้ผล สิ่งสำคัญต้องอาศัยหลัก 5 ต.คือ 1. ตกลงใจที่จะปฏิบัติก่อนว่าอยากชะลอให้นานที่สุดก่อนที่จะไปฟอกเลือด 2.ตั้งต้น ที่จะทำ ต้องกำหนดแล้วกลับไปทำ ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามแพทย์กำหนด 3. ตั้งมั่นว่าจะทำจริงๆ 4.ต่อเนื่อง และ5.ตรวจสอบ ไปพบแพทย์เป็นประจำว่าสิ่งที่ท่านได้ปฏิบัติไปนั้นถูกต้องหรือให้ผลดีมากน้อยเพียงใด
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ หนทางในการแก้ไขและช่วยชะลอการฟอกไตก็ใช่ว่าจะไม่มีความหวังเอาเสียเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะแรก เนื่องจากถ้าหากรู้จักควบคุมอาหารที่ถูกต้องแล้ว ก็สามารถช่วยชะลอเวลาเข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ก่อนที่จะต้องเข้ารับการบำบัดรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาหรือการผ่าตัดเปลี่ยนไตซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงได้
นพ.อุปถัมภ์ ศุภสินธุ์ อายุรแพทย์โรคไต โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า ให้ข้อมูลถึงไตและหน้าที่การทำงานของไต กรณีสาเหตุปัจจัยที่ทำให้เป็นโรคไตเรื้อรัง และวิธีการชะลอไม่ให้ไตเสื่อมเร็วไปจนกระทั่งระยะสุดท้ายว่า ถ้าคิดเปอร์เซ็นต์ของการทำงานของไตที่สมบูรณ์คือ 100% เมื่อไตเสื่อม เปอร์เซ็นต์การทำงานของไตก็จะลดลง เมื่อใดก็ตามที่ไตทำหน้าที่ได้น้อยกว่า 30% แต่ยังลงไม่ถึง 10% การควบคุมอาหารจะช่วยชะลอให้ไตเสื่อมช้าลงได้ ไม่เช่นนั้นแล้วถ้าไตทำงานได้น้อยกว่า10% เมื่อไหร่นั้น นั่นหมายความว่าผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการบำบัดทดแทนไตทันที
ด้านดร.ชนิดา ปโชติการ จากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายเสริมว่า ผู้ป่วยจะต้องทานอาหารให้เป็นเวลา ไม่อดมื้อใดมื้อหนึ่ง รับประทานให้ครบทั้ง 5 หมู่ เลือกรับประทานอาหารและควบคุมปริมาณโปรตีนตามที่แพทย์สั่งและนักกำหนดอาหารกำหนดให้ เลือกอาหารที่สดสะอาดไม่มีสารพิษตกค้าง หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด หวานจัด อาหารกระป๋อง ของหมักดอง อาหารสำเร็จรูปต่างๆ อาหารไขมันสูง เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล อาหารที่ให้ฟอสฟอรัสหรือโพแทสเซียมสูง
ในกรณีที่มีเกลือแร่ 2 ตัวนี้ในเลือดสูง หลีกเลี่ยงการใช้ผงชูรส ถ้าเป็นไปได้ ให้ปรุงอาหารรับประทานด้วยตนเอง ใช้วิธีการตักอาหารแบบบุฟเฟต์ นั่นคือตักมาเป็นส่วนๆ พอรับประทาน เมื่อรับประทานจนหมดจาน นั่นหมายความว่าครบตามปริมาณที่กำหนด เมื่อปฏิบัติได้ดังนั้นแล้ว ท่านอาจไม่ต้องเข้ารับการฟอกเลือด การล้างช่องท้อง หรือไม่ต้องรับการผ่าตัดเปลี่ยนไตไปอีกนานถึง 5-10 ปีก็เป็นได้
ทั้งนี้ การควบคุมอาหารให้ได้ผล สิ่งสำคัญต้องอาศัยหลัก 5 ต.คือ 1. ตกลงใจที่จะปฏิบัติก่อนว่าอยากชะลอให้นานที่สุดก่อนที่จะไปฟอกเลือด 2.ตั้งต้น ที่จะทำ ต้องกำหนดแล้วกลับไปทำ ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามแพทย์กำหนด 3. ตั้งมั่นว่าจะทำจริงๆ 4.ต่อเนื่อง และ5.ตรวจสอบ ไปพบแพทย์เป็นประจำว่าสิ่งที่ท่านได้ปฏิบัติไปนั้นถูกต้องหรือให้ผลดีมากน้อยเพียงใด