กล่าวถึงเรื่องการเรียนการสอน “ภาษาอังกฤษ” ของเด็กไทยนั้น คงต้องบอกว่า ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะร่ำเรียนกันมาคนละต่ำไม่ต่ำกว่า 10 ปี แต่ก็ไม่สามารถสื่อสารกับคนต่างชาติได้รู้เรื่อง เจอฝรั่งทีไรเป็นต้องวิ่งหนีหายทุกครั้งไป
ยิ่งล่าสุด เมื่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)ได้เปิดเผยว่า ภาษาอังกฤษของนักเรียนทุกระดับต่ำมาก ตั้งแต่ระดับประถม 6 ผลสอบลดลงเหลือร้อยละ 37.34 ระดับมัธยมต้น ลดลงเหลือร้อยละ 32.28 และระดับมัธยมปลาย ลดลงเหลือ ร้อยละ 32.45 รวมทั้งยังพบค่าเฉลี่ยคะแนนภาษาอังกฤษ จากการสอบเอนทรานซ์ ตั้งแต่ปี 45-48 พบว่า ไม่มีปีใดที่ผู้สอบทำคะแนนเฉลี่ยได้เกินร้อยละ 50 ก็ยิ่งสะท้อนถึงความล้มเหลวของระบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของชาติได้เป็นอย่างดี
ดังนั้น เพื่อลบล้างข้อกล่าวหานี้ เมื่อวันที่ 17-18 ธันวาคม ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้จัดงานมหกรรมวิชาการภาษาอังกฤษ (Expo for Communicative English Language Learning) ที่เมืองทองธานี ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความพยายามในการแก้ไขปัญหาภาษาอังกฤษไม่กระดิกของเด็กไทย เพื่อให้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษได้มาแลกเปลี่ยนเทคนิค และกลยุทธ์การเรียนการสอนระหว่างกัน รวมถึงให้เด็กนักเรียนได้เก็บเคล็ดลับที่จะเก่งภาษาอังกฤษได้ง่ายๆ หรือวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาด้วย
-1-
ถึงเวลายกเครื่อง
จาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เล่าให้ฟังว่า นี่เป็นการจุดกระแสการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสไตล์ใหม่ ที่กระทรวงได้เตรียมยกเครื่องหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษใหม่ โดยเน้นการสื่อสารจะไม่เน้นท่องจำเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
“วันนี้เราร่วมมือกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษทั้งภาครัฐและเอกชน อย่าง
A.U.A., British Council มาร่วมกันร่างหลักสูตร รวมถึงวิธีการเรียนการสอนใหม่ โดยเน้นให้เด็กได้มีการสนทนาโต้ตอบกันมากขึ้น และไม่เน้นท่องจำคำศัพท์ อาจใช้เพลง สิ่งที่อยู่รอบตัวหรือภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา”
ด้านกมลา บันทัดตัณฑ์ เลขานุการ ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ หรือ ERIC CLINIC”บอกว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้มีการอบรมครูที่สอนภาษาอังกฤษ เพื่อให้ครูมีพัฒนาการด้านภาษาที่ถูกต้องแล้วนำความรู้ไปถ่ายทอดให้ลูกศิษย์อีกต่อหนึ่ง
“เป็นที่รู้ๆ กันดีว่าระบบการเรียนการสอนภาษาของเราเดินทางผิดทิศทาง ประกอบกับครูที่สอนหลายท่านไม่ได้จบเอกภาษาอังกฤษโดยตรง โดยเฉพาะครูระดับประถม พอให้มาสอนซึ่งไม่มีความเชี่ยวชาญอาจมีการถ่ายทอดผิดๆ ถูกๆ เด็กก็รับความรู้มาแบบผิดๆ ทางออกในขณะนี้ทำได้แค่จัดอบรมให้ครูที่สอนภาษาอังกฤษ และให้ครูที่เข้าร่วมอบรมทำสื่อการเรียนการสอนคนละหนึ่งชุดไว้เป็นส่วนกลางแล้วให้ครูก๊อบปี้นำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน”
กมลาบอกด้วยว่า ครูรุ่นเก่าเราไม่ได้หวังผลเต็มร้อย จะเห็นชัดน่าจะเป็นรุ่นต่อไปที่จะก้าวเข้ามาเป็นครูในอีก 5 ปี 10 ปีจะมีทักษะด้านภาษาดีขึ้น
“เด็กหากได้รับการถ่ายทอดความรู้ที่ถูกต้องและเข้าถึงสื่อสมัยใหม่มากขึ้น รวมทั้งกล้าแสดงออกแล้วล่ะก็ เด็กจะมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว”
-2-
มโนราห์ภาษาอังกฤษอีกหนึ่งความพยายาม
อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแค่สื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่เท่นั้นที่ถูกนำมาใช้ ภูมิปัญญาไทยพื้นบ้านอย่าง “มโนราห์” ก็เป็นหนึ่งในความพยายามที่น่าสนใจเช่นกัน
รจนา ขวัญคีรี อาจารย์โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา จ.ชุมพร ในฐานะผู้เขียนบทมโนราห์ภาษาอังกฤษ ให้นักเรียนของโรงเรียนมาแสดงโชว์ในงาน เล่าให้ฟังว่า การเปลี่ยนภาษาไทยที่เป็นภาษาพื้นเมืองมาเป็นภาษาอังกฤษให้นักเรียนแสดง “ยากมาก” เนื่องจากบางวรรคบางตอนไม่ตรงเท่าไหร่ แต่ก็พยายามหาคำให้สอดคล้องมากที่สุด
“ตามปกติการร้องมโนราห์พื้นเมืองและประกอบท่าทางก็ว่ายากแล้วนะ ต้องมาใช้ภาษาอังกฤษแทนยิ่งเพิ่มความยากเข้าไปอีก ซึ่งอาจารย์ทุกท่านต่างช่วยกันเพื่อให้ดีที่สุด และต้องการเผยแพร่วัฒนธรรมของภาคใต้ด้วย
“พอเห็นนักเรียนแสดงอย่างเต็มรูปแบบ ก็เกิดไอเดียขึ้นทันที โดยจะกลับไปปรึกษากับผู้บริหารโรงเรียน ขอให้นักเรียนของเราไปแสดงมโนราห์ให้นักท่องเที่ยวชม วิธีการนี้น่าจะช่วยเผยแพร่ขนบธรรมเนียบประเพณีวัฒนธรรมของภาคใต้ให้ชาวต่างชาติเข้าใจได้มากขึ้น เพราะที่ผ่านมาเราไม่มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษชาวต่างชาติมาดูก็จะชื่นชมความสวยงามโดยที่ไม่เข้าใจว่าท่ารำนั้นหมายถึงอะไร”
ขณะที่ ปานศิริ พุทธรักษา หรือ น้องนอร์ท และ ชณิกา ไทยนุกูล หรือน้องปอย ในฐานะผู้แสดงมโนราห์ เล่าว่า เธอเรียนหลักสูตร Engliish Program จึงไม่ใช่เรื่องยากนักที่จะถ่ายทอดเป็นภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ยังรู้สึกภูมิใจมากๆ ที่มีชาวต่างชาติที่เข้าชมงาน มาบอกว่าเขาเคยไปดูมโนราห์หลายครั้งแต่ไม่รู้ว่าเนื้อร้องและท่าทางมีความหมายมากถึงขนาดนี้ ตอนแรกเขาเข้าใจว่าเป็นการรำเพื่อความสวยงามเท่านั้น นอกจากนี้ เขายังได้แนะนำด้วยว่าอยากให้แหล่งท่องเที่ยวจัดโชว์เป็นภาษาอังกฤษให้ต่างชาติบ้าง
“จากคำแนะนำก็มาปรึกษากันว่าถ้าหากมีโอกาสแสดงจริงๆ พวกเธอจะให้อาจารย์แปลหลายๆ ตอน แล้วจะฝึกท่ายากๆ มาโชว์ เพื่อให้คนที่ชมกลับไปเล่าให้ญาติ เพื่อนสนิทฟัง ถ้าเขาสนใจจะได้เดินทางมาเที่ยวเมืองไทย”
นอกจากโรงเรียนสอาดเผดิมวิทยาแล้ว โรงเรียนวัดใหม่ ซึ่งเป็นสถานศึกษาในสังกัด ศธ. ที่เดินทางมาไกลจาก อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช ก็ใช้การสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการโดยใช้มโนราห์มาช่วยด้วยเช่นกัน
อ.มัลลิกา จันทพราหมณ์ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนวัดใหม่ได้นำเอา “มโนราห์” ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นของภาคใต้ เข้ามาผสมผสานกับภาษาอังกฤษ โดยแต่งคำร้องมโนราห์ขึ้นใหม่เป็นภาษาอังกฤษ
“เนื้อภาษาอังกฤษที่เราแต่งขึ้นใหม่ จะพูดถึงแหล่งท่องเที่ยว และลักษณะวัฒนธรรมของไทย ใช้ประกอบการแสดงมโนราห์ ซึ่งจะทำให้ชาวต่างชาติฟังเข้าใจด้วย เป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยไปในตัว ขณะที่เด็กนักเรียนก็จะได้ฝึกทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษ และได้อนุรักษ์การแสดงพื้นเมืองของไทย”
อ.มัลลิกา บอกด้วยว่า เมื่อเอาศิลปะการแสดงมาบูรณาการร่วมกับการสอนภาษาอังกฤษก็ทำให้เด็กนักเรียนให้ความสนใจเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น เพราะรู้สึกสนุกกับการเรียนรู้ และได้แสดงออกถึงความสามารถของตนเอง
สุรศักดิ์ เทพบรรทม หรือน้องหมู อายุ 12 ปี ซึ่งโชว์ลีลาร่ายรำมโนราห์ด้วยท่วงท่าอ่อนช้อยประทับใจผู้ชม พร้อมกับการขับร้องมโนราห์ภาคภาษาอังกฤษอย่างชัดเจน เล่าว่า ทางครอบครัวเป็นผู้ฝึกสอนมโนราห์ให้ โดยอาจารย์ที่โรงเรียนแต่งคำร้องเป็นภาษาอังกฤษ และฝึกให้ร้อง ซึ่งส่วนตัวชอบเรียนภาษาอังกฤษและพยายามฝึกฝนจากทีวี รวมถึงเมื่อมีโอกาสได้พูดกับฝรั่งก็จะหัดพูดด้วย เพราะภาษาอังกฤษต้องฝึกใช้และออกเสียงบ่อยๆ จึงจะสื่อสารได้
“การเรียนภาษาอังกฤษไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อ บางครั้งมีการนำเอาเกม หรือเพลงมาใช้ร่วมในการสอนนักเรียน ทำให้พวกเราสนุกสนาน และจำคำศัพท์ต่างๆ ได้เร็วขึ้น ซึ่งหากเราสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ ก็จะทำให้เราได้เปรียบคนอื่นๆ เพราะปัจจุบันภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้สื่อสารไปทั่วโลก”
ไม่เพียงประโยชน์ในการเรียนรู้เท่านั้นที่น้องหมูได้รับ เพราะ อ.มัลลิกากระซิบว่า ปัจจุบันน้องหมูมีรายได้จากการแสดงมโนราห์ให้กับชาวต่างชาติชมด้วย
ยิ่งล่าสุด เมื่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)ได้เปิดเผยว่า ภาษาอังกฤษของนักเรียนทุกระดับต่ำมาก ตั้งแต่ระดับประถม 6 ผลสอบลดลงเหลือร้อยละ 37.34 ระดับมัธยมต้น ลดลงเหลือร้อยละ 32.28 และระดับมัธยมปลาย ลดลงเหลือ ร้อยละ 32.45 รวมทั้งยังพบค่าเฉลี่ยคะแนนภาษาอังกฤษ จากการสอบเอนทรานซ์ ตั้งแต่ปี 45-48 พบว่า ไม่มีปีใดที่ผู้สอบทำคะแนนเฉลี่ยได้เกินร้อยละ 50 ก็ยิ่งสะท้อนถึงความล้มเหลวของระบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของชาติได้เป็นอย่างดี
ดังนั้น เพื่อลบล้างข้อกล่าวหานี้ เมื่อวันที่ 17-18 ธันวาคม ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้จัดงานมหกรรมวิชาการภาษาอังกฤษ (Expo for Communicative English Language Learning) ที่เมืองทองธานี ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความพยายามในการแก้ไขปัญหาภาษาอังกฤษไม่กระดิกของเด็กไทย เพื่อให้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษได้มาแลกเปลี่ยนเทคนิค และกลยุทธ์การเรียนการสอนระหว่างกัน รวมถึงให้เด็กนักเรียนได้เก็บเคล็ดลับที่จะเก่งภาษาอังกฤษได้ง่ายๆ หรือวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาด้วย
-1-
ถึงเวลายกเครื่อง
จาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เล่าให้ฟังว่า นี่เป็นการจุดกระแสการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสไตล์ใหม่ ที่กระทรวงได้เตรียมยกเครื่องหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษใหม่ โดยเน้นการสื่อสารจะไม่เน้นท่องจำเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
“วันนี้เราร่วมมือกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษทั้งภาครัฐและเอกชน อย่าง
A.U.A., British Council มาร่วมกันร่างหลักสูตร รวมถึงวิธีการเรียนการสอนใหม่ โดยเน้นให้เด็กได้มีการสนทนาโต้ตอบกันมากขึ้น และไม่เน้นท่องจำคำศัพท์ อาจใช้เพลง สิ่งที่อยู่รอบตัวหรือภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา”
ด้านกมลา บันทัดตัณฑ์ เลขานุการ ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ หรือ ERIC CLINIC”บอกว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้มีการอบรมครูที่สอนภาษาอังกฤษ เพื่อให้ครูมีพัฒนาการด้านภาษาที่ถูกต้องแล้วนำความรู้ไปถ่ายทอดให้ลูกศิษย์อีกต่อหนึ่ง
“เป็นที่รู้ๆ กันดีว่าระบบการเรียนการสอนภาษาของเราเดินทางผิดทิศทาง ประกอบกับครูที่สอนหลายท่านไม่ได้จบเอกภาษาอังกฤษโดยตรง โดยเฉพาะครูระดับประถม พอให้มาสอนซึ่งไม่มีความเชี่ยวชาญอาจมีการถ่ายทอดผิดๆ ถูกๆ เด็กก็รับความรู้มาแบบผิดๆ ทางออกในขณะนี้ทำได้แค่จัดอบรมให้ครูที่สอนภาษาอังกฤษ และให้ครูที่เข้าร่วมอบรมทำสื่อการเรียนการสอนคนละหนึ่งชุดไว้เป็นส่วนกลางแล้วให้ครูก๊อบปี้นำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน”
กมลาบอกด้วยว่า ครูรุ่นเก่าเราไม่ได้หวังผลเต็มร้อย จะเห็นชัดน่าจะเป็นรุ่นต่อไปที่จะก้าวเข้ามาเป็นครูในอีก 5 ปี 10 ปีจะมีทักษะด้านภาษาดีขึ้น
“เด็กหากได้รับการถ่ายทอดความรู้ที่ถูกต้องและเข้าถึงสื่อสมัยใหม่มากขึ้น รวมทั้งกล้าแสดงออกแล้วล่ะก็ เด็กจะมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว”
-2-
มโนราห์ภาษาอังกฤษอีกหนึ่งความพยายาม
อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแค่สื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่เท่นั้นที่ถูกนำมาใช้ ภูมิปัญญาไทยพื้นบ้านอย่าง “มโนราห์” ก็เป็นหนึ่งในความพยายามที่น่าสนใจเช่นกัน
รจนา ขวัญคีรี อาจารย์โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา จ.ชุมพร ในฐานะผู้เขียนบทมโนราห์ภาษาอังกฤษ ให้นักเรียนของโรงเรียนมาแสดงโชว์ในงาน เล่าให้ฟังว่า การเปลี่ยนภาษาไทยที่เป็นภาษาพื้นเมืองมาเป็นภาษาอังกฤษให้นักเรียนแสดง “ยากมาก” เนื่องจากบางวรรคบางตอนไม่ตรงเท่าไหร่ แต่ก็พยายามหาคำให้สอดคล้องมากที่สุด
“ตามปกติการร้องมโนราห์พื้นเมืองและประกอบท่าทางก็ว่ายากแล้วนะ ต้องมาใช้ภาษาอังกฤษแทนยิ่งเพิ่มความยากเข้าไปอีก ซึ่งอาจารย์ทุกท่านต่างช่วยกันเพื่อให้ดีที่สุด และต้องการเผยแพร่วัฒนธรรมของภาคใต้ด้วย
“พอเห็นนักเรียนแสดงอย่างเต็มรูปแบบ ก็เกิดไอเดียขึ้นทันที โดยจะกลับไปปรึกษากับผู้บริหารโรงเรียน ขอให้นักเรียนของเราไปแสดงมโนราห์ให้นักท่องเที่ยวชม วิธีการนี้น่าจะช่วยเผยแพร่ขนบธรรมเนียบประเพณีวัฒนธรรมของภาคใต้ให้ชาวต่างชาติเข้าใจได้มากขึ้น เพราะที่ผ่านมาเราไม่มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษชาวต่างชาติมาดูก็จะชื่นชมความสวยงามโดยที่ไม่เข้าใจว่าท่ารำนั้นหมายถึงอะไร”
ขณะที่ ปานศิริ พุทธรักษา หรือ น้องนอร์ท และ ชณิกา ไทยนุกูล หรือน้องปอย ในฐานะผู้แสดงมโนราห์ เล่าว่า เธอเรียนหลักสูตร Engliish Program จึงไม่ใช่เรื่องยากนักที่จะถ่ายทอดเป็นภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ยังรู้สึกภูมิใจมากๆ ที่มีชาวต่างชาติที่เข้าชมงาน มาบอกว่าเขาเคยไปดูมโนราห์หลายครั้งแต่ไม่รู้ว่าเนื้อร้องและท่าทางมีความหมายมากถึงขนาดนี้ ตอนแรกเขาเข้าใจว่าเป็นการรำเพื่อความสวยงามเท่านั้น นอกจากนี้ เขายังได้แนะนำด้วยว่าอยากให้แหล่งท่องเที่ยวจัดโชว์เป็นภาษาอังกฤษให้ต่างชาติบ้าง
“จากคำแนะนำก็มาปรึกษากันว่าถ้าหากมีโอกาสแสดงจริงๆ พวกเธอจะให้อาจารย์แปลหลายๆ ตอน แล้วจะฝึกท่ายากๆ มาโชว์ เพื่อให้คนที่ชมกลับไปเล่าให้ญาติ เพื่อนสนิทฟัง ถ้าเขาสนใจจะได้เดินทางมาเที่ยวเมืองไทย”
นอกจากโรงเรียนสอาดเผดิมวิทยาแล้ว โรงเรียนวัดใหม่ ซึ่งเป็นสถานศึกษาในสังกัด ศธ. ที่เดินทางมาไกลจาก อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช ก็ใช้การสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการโดยใช้มโนราห์มาช่วยด้วยเช่นกัน
อ.มัลลิกา จันทพราหมณ์ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนวัดใหม่ได้นำเอา “มโนราห์” ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นของภาคใต้ เข้ามาผสมผสานกับภาษาอังกฤษ โดยแต่งคำร้องมโนราห์ขึ้นใหม่เป็นภาษาอังกฤษ
“เนื้อภาษาอังกฤษที่เราแต่งขึ้นใหม่ จะพูดถึงแหล่งท่องเที่ยว และลักษณะวัฒนธรรมของไทย ใช้ประกอบการแสดงมโนราห์ ซึ่งจะทำให้ชาวต่างชาติฟังเข้าใจด้วย เป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยไปในตัว ขณะที่เด็กนักเรียนก็จะได้ฝึกทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษ และได้อนุรักษ์การแสดงพื้นเมืองของไทย”
อ.มัลลิกา บอกด้วยว่า เมื่อเอาศิลปะการแสดงมาบูรณาการร่วมกับการสอนภาษาอังกฤษก็ทำให้เด็กนักเรียนให้ความสนใจเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้น เพราะรู้สึกสนุกกับการเรียนรู้ และได้แสดงออกถึงความสามารถของตนเอง
สุรศักดิ์ เทพบรรทม หรือน้องหมู อายุ 12 ปี ซึ่งโชว์ลีลาร่ายรำมโนราห์ด้วยท่วงท่าอ่อนช้อยประทับใจผู้ชม พร้อมกับการขับร้องมโนราห์ภาคภาษาอังกฤษอย่างชัดเจน เล่าว่า ทางครอบครัวเป็นผู้ฝึกสอนมโนราห์ให้ โดยอาจารย์ที่โรงเรียนแต่งคำร้องเป็นภาษาอังกฤษ และฝึกให้ร้อง ซึ่งส่วนตัวชอบเรียนภาษาอังกฤษและพยายามฝึกฝนจากทีวี รวมถึงเมื่อมีโอกาสได้พูดกับฝรั่งก็จะหัดพูดด้วย เพราะภาษาอังกฤษต้องฝึกใช้และออกเสียงบ่อยๆ จึงจะสื่อสารได้
“การเรียนภาษาอังกฤษไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อ บางครั้งมีการนำเอาเกม หรือเพลงมาใช้ร่วมในการสอนนักเรียน ทำให้พวกเราสนุกสนาน และจำคำศัพท์ต่างๆ ได้เร็วขึ้น ซึ่งหากเราสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ ก็จะทำให้เราได้เปรียบคนอื่นๆ เพราะปัจจุบันภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้สื่อสารไปทั่วโลก”
ไม่เพียงประโยชน์ในการเรียนรู้เท่านั้นที่น้องหมูได้รับ เพราะ อ.มัลลิกากระซิบว่า ปัจจุบันน้องหมูมีรายได้จากการแสดงมโนราห์ให้กับชาวต่างชาติชมด้วย