เลขาธิการ อย.เตรียมเสนอคณะกรรมการห้ามใช้ Amfepramone, Phentermine เป็นยาลดความอ้วน เพราะส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพมากกว่าประโยชน์ เตรียมเสนอควบคุมยาไซบิวทามีน สั่งใช้ได้เฉพาะแพทย์เท่านั้น หลังพบการนำไปใช้ลดน้ำหนัก ทำให้หัวใจวายในคนเป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เตือนยาลดน้ำหนักไม่ใช่คำตอบการลดอ้วน แนะคุมอาหารและออกกำลังกาย
ศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีว่าที่เจ้าบ่าว หัวหน้าสถานีอนามัยตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี กินยาลดความอ้วนลดน้ำหนักเตรียมเข้าพิธีวิวาห์แต่หัวใจวายเสียชีวิต ว่า สำนักงาน อย.ควบคุมการใช้ยาลดความอ้วนที่จัดเป็นยาออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท โดยให้โควตาคลินิกละ 2,000 เม็ดต่อเดือน ให้ส่งรายงานการใช้ยาต่อ อย.ทุกเดือนด้วย
โดยที่ผ่านมาพบว่า มีปัญหาในการใช้ยากลุ่มนี้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการใช้ยาไม่เหมาะสม บางคลินิกไม่มีการตรวจร่างกายก่อนสั่งจ่ายยา ซึ่งคนที่มีความดันโลหิตสูง เป็นโรคหัวใจมีความเสี่ยงสูงต่อการรับประทานยากลุ่มนี้ถึงขั้นหัวใจวาย เสียชีวิตได้ โดยยาลดความอ้วนกลุ่มที่ควบคุมโดยพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ได้แก่ Amfepramone, Phentermine, Mazindol,Cathine
และยาลดความอ้วนกลุ่มที่ควบคุมโดยพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ได้แก่ fenfluramine และ Dexfenfluramine
“ยากลุ่มลดความอ้วนใช้เฉพาะช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ส่วนใหญ่ได้ผลใน 6 สัปดาห์ หลังจากนั้นร่างกายจะดื้อยา ต้องเพิ่มปริมาณยามากขึ้น ทำให้ติดยาได้ ยาลดความอ้วนไม่ใช่คำตอบสำหรับการลดความอ้วน การคุมอาหารและออกกำลังกาย คือ คำตอบ สำนักงาน อย.เตรียมนำเสนอคณะกรรมการวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ห้ามใช้ Amfepramone, Phentermine ว่า สมควรใช้ต่อไปหรือไม่ เพราะดูแล้ว คนที่จำเป็นต้องใช้มีน้อยมาก แต่พบการใช้ไม่เหมาะสมมากกว่า ในหลายคลินิกที่เราออกตรวจ มีปัญหามาก ได้จับปรับไปหลายแห่ง อย.วางระบบมอนิเตอร์ไว้ ถ้าใช้มากกว่าปกติ ก็ต้องตรวจสอบ” ศ.ดร.ภักดี กล่าว
ศ.ดร.ภักดี กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันมียา “ลี ดรัก ทริล” หรือชื่อสามัญไซบิวทามีน ซึ่งวางจำหน่ายในร้านขายยาแผนปัจจุบัน แต่ไม่ได้จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท มีกลไกออกฤทธิ์แตกต่างจากเฟนเตอมีน ยากลุ่มนี้มีข้อห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หากรับประทานยาโดยที่ไม่รู้ว่าตนเองเป็นโรคเหล่านี้ ถึงขั้นหัวใจวายตายได้ ยากลุ่มนี้ ทาง อย.เตรียมเสนอให้คณะกรรมการยาทบทวน จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ สั่งใช้โดยแพทย์เท่านั้น
“ยากลุ่มที่ใช้คุมน้ำหนักทั้งหมด มีปัญหามากกว่าประโยชน์ เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ ยาเหล่านี้ไม่น่าเป็นคำตอบของคนที่มีปัญหาโรคอ้วน พวกชาลดความอ้วน พบการอวดอ้างสรรพคุณเป็นเท็จ ชาลดความอ้วน มีฤทธิ์ขับปัสสาวะมากกว่ามีอันตรายต่อไต ยาบางกลุ่มมีลักษณะระบายท้อง ผู้ขายอวดอ้างสรรพคุณลดความอ้วน เพราะเมื่อถ่ายท้อง ทำให้รู้สึกว่า ดี เบาตัว แต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ” ศ.ดร.ภักดี กล่าว
ศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีว่าที่เจ้าบ่าว หัวหน้าสถานีอนามัยตำบลบ้านสิงห์ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี กินยาลดความอ้วนลดน้ำหนักเตรียมเข้าพิธีวิวาห์แต่หัวใจวายเสียชีวิต ว่า สำนักงาน อย.ควบคุมการใช้ยาลดความอ้วนที่จัดเป็นยาออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท โดยให้โควตาคลินิกละ 2,000 เม็ดต่อเดือน ให้ส่งรายงานการใช้ยาต่อ อย.ทุกเดือนด้วย
โดยที่ผ่านมาพบว่า มีปัญหาในการใช้ยากลุ่มนี้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการใช้ยาไม่เหมาะสม บางคลินิกไม่มีการตรวจร่างกายก่อนสั่งจ่ายยา ซึ่งคนที่มีความดันโลหิตสูง เป็นโรคหัวใจมีความเสี่ยงสูงต่อการรับประทานยากลุ่มนี้ถึงขั้นหัวใจวาย เสียชีวิตได้ โดยยาลดความอ้วนกลุ่มที่ควบคุมโดยพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ได้แก่ Amfepramone, Phentermine, Mazindol,Cathine
และยาลดความอ้วนกลุ่มที่ควบคุมโดยพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ได้แก่ fenfluramine และ Dexfenfluramine
“ยากลุ่มลดความอ้วนใช้เฉพาะช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ส่วนใหญ่ได้ผลใน 6 สัปดาห์ หลังจากนั้นร่างกายจะดื้อยา ต้องเพิ่มปริมาณยามากขึ้น ทำให้ติดยาได้ ยาลดความอ้วนไม่ใช่คำตอบสำหรับการลดความอ้วน การคุมอาหารและออกกำลังกาย คือ คำตอบ สำนักงาน อย.เตรียมนำเสนอคณะกรรมการวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ห้ามใช้ Amfepramone, Phentermine ว่า สมควรใช้ต่อไปหรือไม่ เพราะดูแล้ว คนที่จำเป็นต้องใช้มีน้อยมาก แต่พบการใช้ไม่เหมาะสมมากกว่า ในหลายคลินิกที่เราออกตรวจ มีปัญหามาก ได้จับปรับไปหลายแห่ง อย.วางระบบมอนิเตอร์ไว้ ถ้าใช้มากกว่าปกติ ก็ต้องตรวจสอบ” ศ.ดร.ภักดี กล่าว
ศ.ดร.ภักดี กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันมียา “ลี ดรัก ทริล” หรือชื่อสามัญไซบิวทามีน ซึ่งวางจำหน่ายในร้านขายยาแผนปัจจุบัน แต่ไม่ได้จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท มีกลไกออกฤทธิ์แตกต่างจากเฟนเตอมีน ยากลุ่มนี้มีข้อห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หากรับประทานยาโดยที่ไม่รู้ว่าตนเองเป็นโรคเหล่านี้ ถึงขั้นหัวใจวายตายได้ ยากลุ่มนี้ ทาง อย.เตรียมเสนอให้คณะกรรมการยาทบทวน จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ สั่งใช้โดยแพทย์เท่านั้น
“ยากลุ่มที่ใช้คุมน้ำหนักทั้งหมด มีปัญหามากกว่าประโยชน์ เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ ยาเหล่านี้ไม่น่าเป็นคำตอบของคนที่มีปัญหาโรคอ้วน พวกชาลดความอ้วน พบการอวดอ้างสรรพคุณเป็นเท็จ ชาลดความอ้วน มีฤทธิ์ขับปัสสาวะมากกว่ามีอันตรายต่อไต ยาบางกลุ่มมีลักษณะระบายท้อง ผู้ขายอวดอ้างสรรพคุณลดความอ้วน เพราะเมื่อถ่ายท้อง ทำให้รู้สึกว่า ดี เบาตัว แต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ” ศ.ดร.ภักดี กล่าว