สุขภาพน่ารู้สู่ประชาชน
โดย...รศ.นพ.วิเชียร มงคลศรีตระกูล
โรคพิษสุราเรื้อรัง : โรคของครอบครัว
หากมีคนในครอบครัวของคุณ เพื่อน หรือแม้แต่คนที่ทำงานร่วมกันในสถานที่ทำงาน ซึ่งติดเหล้า คุณคงจะพอทราบได้ว่ามันเป็นโรคที่มีอยู่รอบ ๆ ตัวคุณอย่างไม่น่าเชื่อ เหล้าไม่เพียงแต่บรรจุคนที่ติดลงในขวดเท่านั้น มันยังมีผลกระทบต่อคนในครอบครัว ในสถานที่ทำงาน และในสังคมด้วย เนื่องจากทำให้คนที่ติดมีอารมณ์อยากอย่างรุนแรง คนในครอบครัวจึงได้รับผลกระทบมากที่สุด จนประหนึ่งว่าถูกบรรจุอยู่ในขวดเหล้าเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามยังมีทางออกสำหรับคนที่ติดเหล้า บุคคลที่อยู่ในครอบครัว และคนอื่น ๆที่สามารถมีส่วนร่วมแก้ไขได้

โรคพิษสุราเรื้อรัง เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ในทุกอายุ ทุกเชื้อชาติ และทุกเพศไม่ว่าชายหญิง มันจะทำให้คนที่ติดเหล้าโดนโดดเดี่ยวออกจากคนในครอบครัวและคนอื่น ๆในสังคม อย่างไรก็ตามเนื่องจากความรู้สึก ความคิดอ่าน และปฏิกิริยาต่าง ๆ ของคนในครอบครัว จะโดนครอบงำและเปลี่ยนแปลงโดยคนที่ติดเหล้า ดังนั้น โรคพิษสุราเรื้อรังไม่ใช่เป็นโรคเฉพาะตัว แต่เป็นโรคของครอบครัว
เพื่อที่จะเอาชนะโรคพิษสุราเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคของครอบครัว ทุก ๆ คนในครอบครัวจะต้องตระหนักถึงการที่ไม่ควรดื่มสุรา ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือช่วยเหลือจากคนภายนอกครอบครัว เมื่อคนในครอบครัวสามารถช่วยทำให้เลิกสุราได้ เขาก็จะอยู่ในสถานะที่จะช่วยคนติดเหล้าคนอื่น ๆ ได้อีกด้วย
ระยะฟื้นตัว : ครอบครัวบำบัด
สมาชิกในครอบครัวไม่สามารถจะควบคุมการดื่มเหล้าของพวกติดเหล้าได้เท่ากับตัวเขาเอง สิ่งที่พอควบคุมได้คือ ผลกระทบต่อตัวเองเท่านั้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการฟื้นตัวจากโรคพิษสุราเรื้อรังไม่ควรจะเริ่มต้นด้วยความพยายามให้เขาหยุดเหล้า ควรเริ่มต้นโดยให้สมาชิกในครอบครัวเลิกควบคุมเขา มีอยู่ 3 ขั้นตอนสำหรับครอบครัวเพื่อให้กระบวนการฟื้นตัวเริ่มต้นได้คือ
1.เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องพิษสุราเรื้อรัง
2.เข้าใจถึงบทบาทของสถาบันครอบครัว
และ 3.การขอความช่วยเหลือจากภายนอกครอบครัว
เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องพิษสุราเรื้อรัง
พิษสุราเรื้อรังเป็นภาวะอันตรายที่ร่างกายต้องพึ่งพิงหรือเสพแอลกอฮอล์ ซึ่งจะมีผลต่อภาวะร่างกาย, จิตใจ, ความรู้สึกนึกคิดของคนไข้ และสมาชิกในครอบครัวเช่นเดียวกัน เพื่อเป็นการแก้ปัญหาและเรียนรู้เกี่ยวกับโรคนี้ สมาชิกในครอบครัวควรมีความเข้าใจวิธีการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ

เข้าใจในบทบาทของครอบครัว
สมาชิกในครอบครัวมักมีส่วนในการทำให้เกิดภาวะพิษสุราเรื้อรัง บ่อยครั้งเกิดจากการขาดความรักความเอาใจใส่ดูแล หรืออาจจากการใช้ชีวิตแบบง่าย ๆ ซึ่งสมาชิกในครอบครัวมักทำอะไรบางอย่างที่เป็นส่วนเสริมทำให้เกิดปัญหามากขึ้น การที่เราเข้าใจว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร จะเป็นเครื่องช่วยให้ครอบครัวรู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไรเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาเพิ่มเติมขึ้นมา
ขอความช่วยเหลือ
การให้หน่วยงานอื่น ๆภายนอกครอบครัวได้มีส่วนช่วยเป็นสิ่งที่สำคัญในการแก้ปัญหา สมาชิกครอบครัวต้องการได้รับกำลังใจและคำแนะนำจากคนอื่น ๆที่เข้าใจในปัญหา เป็นที่น่ายินดีว่ามีหน่วยงานที่ช่วยให้คำแนะนำทั้งคนป่วยพิษสุราเรื้อรังและสมาชิกในครอบครัว
เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคพิษสุราเรื้อรัง
โรคพิษสุราเรื้อรังเป็นภาวะที่ร่างกายต้องพึ่งพิงแอลกอฮอล์อย่างรุนแรงถึงขั้นอันตราย ก่อนอื่นต้องรู้ว่าโรคพิษสุราเรื้อรังมิใช่เป็นเพราะบุคลิกภาพอ่อนแอหรือความเสื่อมทรามทางศีลธรรม แต่เป็นโรคเสพติด ที่ผู้ป่วยจะต้องพึ่งพิงทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อสารแอลกอฮอล์ สุรากลายเป็นสารเคมีที่เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายคนไข้ ทั้งยังควบคุมพฤติกรรมและความนึกคิดของคนไข้ด้วย
ภาวะการติดสุรา
ระยะแรก เริ่มแรกแอลกอฮอล์จะทำหน้าที่เหมือนเพื่อน จะทำให้ผู้เสพลืมความทุกข์ได้ และเมื่อดื่มมากขึ้น ๆ การดื้อต่อฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะมากขึ้นทุกที ทำให้ต้องดื่มในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อจะได้ฤทธิ์ในระดับเดียวกับในครั้งแรก ๆ

ระยะกลาง การติดสุราเริ่มมีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ ผู้เสพเริ่มเป็นบุคคลที่ไม่น่าเชื่อถือและเริ่มถอนตัวออกจากสังคมและความสนใจอื่น ๆที่เคยมี บางครั้งจะดื่มทุกวันอย่างเงียบ ๆคนเดียวและยากที่จะควบคุมการดื่มของตนเอง คนติดสุราในระยะนี้ยังไม่มีอาการผิดปกติทางร่างกายเวลาขาดสุรา เขาอาจจะมีเพียงแค่ความรู้สึกอยากเสพตลอดเวลา
ระยะพิษสุราเรื้อรัง ภาวะการติดสุราเริ่มมีผลต่อชีวิตประจำวัน เขาจะขาดความรู้สึกกระตือรือร้น ขาดความรับผิดชอบ และมีการใช้ความคิดที่เสื่อมทรามลง จะมีความรู้กลัว ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจและหลีกเลี่ยงผู้คน เขาจะต้องดื่มสุราเพื่อป้องกันอาการอยากสุรา
ผลกระทบทางร่างกาย
สำหรับร่างกายมนุษย์แล้ว แอลกอฮอล์เป็นสารพิษที่สามารถทำลายเซลล์ได้ ทำให้ผู้ที่ดื่มในปริมาณมาก ๆเป็นระยะเวลานาน ๆจะทำลายอวัยวะที่สำคัญต่าง ๆของร่างกาย แต่โชคร้ายที่ภาวะพิษสุราเรื้อรังมักจะปรากฏขึ้นมาอย่างช้า ๆและเงียบ ๆ กว่าจะเห็นชัดเจนก็มักจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากแล้ว แม้ว่าจะหยุดดื่ม โรคก็ยังจะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ สมองจะถูกทำลายและถึงแก่ชีวิตในที่สุด อย่างไรก็ตามการหยุดดื่มอาจจะสามารถหยุดโรคได้ และป้องกันความเสียหายบางส่วนได้ ดังนั้นยิ่งหยุดเร็วเท่าไหร่ จะเกิดผลดีมากเท่านั้น
ผลระยะแรก ผลเริ่มแรกจะเกิดกับสมอง ทำให้กระบวนการการคิด ความรับรู้ การประสานงานในส่วนต่าง ๆของสมองและการเคลื่อนไหว ช้าลง บางรายอาจสูญเสียความทรงจำได้ ระยะต่อมาการดื่มแอลกอฮอล์ในระยะยาวจะทำลายเนื้อสมอง หัวใจ ตับ ตับอ่อน เมื่อร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆที่อาจมีได้ เช่น การสูบบุหรี่ การขาดอาหาร จะทำให้ผู้ป่วยเพิ่มปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง และทำให้ภูมิต้านทานลดลง ทำให้ร่างกายเกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆได้ง่ายขึ้น ระยะสุดท้ายในที่สุดแล้วจะถึงแก่ชีวิต จากการที่อวัยวะต่างๆ ล้มเหลว จากอุบัติเหตุ จากการทำอัตวินิบาตกรรม จากมะเร็ง หรือจากโรคติดเชื้อ เหล่านี้สามารถหยุดได้โดยการหยุดดื่มสุรา
เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคพิษสุราเรื้อรัง
ผลต่อภาวะจิตใจ ผู้ติดสุราจะหาเหตุผลในการดื่มเพื่ออธิบายหลีกเลี่ยงปัญหาที่ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องผูกโยงกับความเป็นจริงทำให้ความคิดบิดเบือนในลักษณะที่เรียกกันว่า “ความคิดของผู้ติดสุรา” (alcoholic-think) ลักษณะหนึ่งที่มักจะพบบ่อยคือ การ “ปฏิเสธ” ปฏิเสธว่าการดื่มของตนเองเป็นปัญหา หรือมีปัญหาอย่างหนึ่งอย่างใดในการดำเนินชีวิตที่มีสาเหตุมาจากการดื่มสุรา
ความคิดของผู้ติดสุรา (alcoholic-think) ทำให้คนอื่นคิดว่าคนที่พูดออกมาคือ เหล้า ไม่ใช่คนดื่ม ดังที่อาจจะมีคำพูดว่า “หากไม่คิดว่าการดื่มของฉันมีปัญหาอะไรมากมาย ฉันคงไม่ดื่มมากมายขนาดนี้” หรือ “ฉันไม่ได้ดื่มมากมาย ดื่มเพียงเล็กน้อยเท่านั้น” ข้อใหญ่ของ “ความคิดของผู้ติดสุรา” คือ ความสับสน
ดังนั้น การแก้ไขปัญหาเรื่องโรคสุราเรื้อรัง อาจไม่ใช่เป็นปัญหาของคนป่วยเพียงคนเดียว คนรอบข้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในครอบครัวและเพื่อนฝูงจะต้องช่วยกัน ให้กำลังใจและสนับสนุนให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ไปให้ได้ หากทำได้ประโยชน์ก็จะเกิดขึ้นกับทุกๆ คนครับ
โดย...รศ.นพ.วิเชียร มงคลศรีตระกูล
โรคพิษสุราเรื้อรัง : โรคของครอบครัว
หากมีคนในครอบครัวของคุณ เพื่อน หรือแม้แต่คนที่ทำงานร่วมกันในสถานที่ทำงาน ซึ่งติดเหล้า คุณคงจะพอทราบได้ว่ามันเป็นโรคที่มีอยู่รอบ ๆ ตัวคุณอย่างไม่น่าเชื่อ เหล้าไม่เพียงแต่บรรจุคนที่ติดลงในขวดเท่านั้น มันยังมีผลกระทบต่อคนในครอบครัว ในสถานที่ทำงาน และในสังคมด้วย เนื่องจากทำให้คนที่ติดมีอารมณ์อยากอย่างรุนแรง คนในครอบครัวจึงได้รับผลกระทบมากที่สุด จนประหนึ่งว่าถูกบรรจุอยู่ในขวดเหล้าเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามยังมีทางออกสำหรับคนที่ติดเหล้า บุคคลที่อยู่ในครอบครัว และคนอื่น ๆที่สามารถมีส่วนร่วมแก้ไขได้
โรคพิษสุราเรื้อรัง เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ในทุกอายุ ทุกเชื้อชาติ และทุกเพศไม่ว่าชายหญิง มันจะทำให้คนที่ติดเหล้าโดนโดดเดี่ยวออกจากคนในครอบครัวและคนอื่น ๆในสังคม อย่างไรก็ตามเนื่องจากความรู้สึก ความคิดอ่าน และปฏิกิริยาต่าง ๆ ของคนในครอบครัว จะโดนครอบงำและเปลี่ยนแปลงโดยคนที่ติดเหล้า ดังนั้น โรคพิษสุราเรื้อรังไม่ใช่เป็นโรคเฉพาะตัว แต่เป็นโรคของครอบครัว
เพื่อที่จะเอาชนะโรคพิษสุราเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคของครอบครัว ทุก ๆ คนในครอบครัวจะต้องตระหนักถึงการที่ไม่ควรดื่มสุรา ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือช่วยเหลือจากคนภายนอกครอบครัว เมื่อคนในครอบครัวสามารถช่วยทำให้เลิกสุราได้ เขาก็จะอยู่ในสถานะที่จะช่วยคนติดเหล้าคนอื่น ๆ ได้อีกด้วย
ระยะฟื้นตัว : ครอบครัวบำบัด
สมาชิกในครอบครัวไม่สามารถจะควบคุมการดื่มเหล้าของพวกติดเหล้าได้เท่ากับตัวเขาเอง สิ่งที่พอควบคุมได้คือ ผลกระทบต่อตัวเองเท่านั้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการฟื้นตัวจากโรคพิษสุราเรื้อรังไม่ควรจะเริ่มต้นด้วยความพยายามให้เขาหยุดเหล้า ควรเริ่มต้นโดยให้สมาชิกในครอบครัวเลิกควบคุมเขา มีอยู่ 3 ขั้นตอนสำหรับครอบครัวเพื่อให้กระบวนการฟื้นตัวเริ่มต้นได้คือ
1.เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องพิษสุราเรื้อรัง
2.เข้าใจถึงบทบาทของสถาบันครอบครัว
และ 3.การขอความช่วยเหลือจากภายนอกครอบครัว
เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องพิษสุราเรื้อรัง
พิษสุราเรื้อรังเป็นภาวะอันตรายที่ร่างกายต้องพึ่งพิงหรือเสพแอลกอฮอล์ ซึ่งจะมีผลต่อภาวะร่างกาย, จิตใจ, ความรู้สึกนึกคิดของคนไข้ และสมาชิกในครอบครัวเช่นเดียวกัน เพื่อเป็นการแก้ปัญหาและเรียนรู้เกี่ยวกับโรคนี้ สมาชิกในครอบครัวควรมีความเข้าใจวิธีการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ
เข้าใจในบทบาทของครอบครัว
สมาชิกในครอบครัวมักมีส่วนในการทำให้เกิดภาวะพิษสุราเรื้อรัง บ่อยครั้งเกิดจากการขาดความรักความเอาใจใส่ดูแล หรืออาจจากการใช้ชีวิตแบบง่าย ๆ ซึ่งสมาชิกในครอบครัวมักทำอะไรบางอย่างที่เป็นส่วนเสริมทำให้เกิดปัญหามากขึ้น การที่เราเข้าใจว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร จะเป็นเครื่องช่วยให้ครอบครัวรู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไรเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาเพิ่มเติมขึ้นมา
ขอความช่วยเหลือ
การให้หน่วยงานอื่น ๆภายนอกครอบครัวได้มีส่วนช่วยเป็นสิ่งที่สำคัญในการแก้ปัญหา สมาชิกครอบครัวต้องการได้รับกำลังใจและคำแนะนำจากคนอื่น ๆที่เข้าใจในปัญหา เป็นที่น่ายินดีว่ามีหน่วยงานที่ช่วยให้คำแนะนำทั้งคนป่วยพิษสุราเรื้อรังและสมาชิกในครอบครัว
เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคพิษสุราเรื้อรัง
โรคพิษสุราเรื้อรังเป็นภาวะที่ร่างกายต้องพึ่งพิงแอลกอฮอล์อย่างรุนแรงถึงขั้นอันตราย ก่อนอื่นต้องรู้ว่าโรคพิษสุราเรื้อรังมิใช่เป็นเพราะบุคลิกภาพอ่อนแอหรือความเสื่อมทรามทางศีลธรรม แต่เป็นโรคเสพติด ที่ผู้ป่วยจะต้องพึ่งพิงทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อสารแอลกอฮอล์ สุรากลายเป็นสารเคมีที่เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายคนไข้ ทั้งยังควบคุมพฤติกรรมและความนึกคิดของคนไข้ด้วย
ภาวะการติดสุรา
ระยะแรก เริ่มแรกแอลกอฮอล์จะทำหน้าที่เหมือนเพื่อน จะทำให้ผู้เสพลืมความทุกข์ได้ และเมื่อดื่มมากขึ้น ๆ การดื้อต่อฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะมากขึ้นทุกที ทำให้ต้องดื่มในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อจะได้ฤทธิ์ในระดับเดียวกับในครั้งแรก ๆ
ระยะกลาง การติดสุราเริ่มมีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ ผู้เสพเริ่มเป็นบุคคลที่ไม่น่าเชื่อถือและเริ่มถอนตัวออกจากสังคมและความสนใจอื่น ๆที่เคยมี บางครั้งจะดื่มทุกวันอย่างเงียบ ๆคนเดียวและยากที่จะควบคุมการดื่มของตนเอง คนติดสุราในระยะนี้ยังไม่มีอาการผิดปกติทางร่างกายเวลาขาดสุรา เขาอาจจะมีเพียงแค่ความรู้สึกอยากเสพตลอดเวลา
ระยะพิษสุราเรื้อรัง ภาวะการติดสุราเริ่มมีผลต่อชีวิตประจำวัน เขาจะขาดความรู้สึกกระตือรือร้น ขาดความรับผิดชอบ และมีการใช้ความคิดที่เสื่อมทรามลง จะมีความรู้กลัว ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจและหลีกเลี่ยงผู้คน เขาจะต้องดื่มสุราเพื่อป้องกันอาการอยากสุรา
ผลกระทบทางร่างกาย
สำหรับร่างกายมนุษย์แล้ว แอลกอฮอล์เป็นสารพิษที่สามารถทำลายเซลล์ได้ ทำให้ผู้ที่ดื่มในปริมาณมาก ๆเป็นระยะเวลานาน ๆจะทำลายอวัยวะที่สำคัญต่าง ๆของร่างกาย แต่โชคร้ายที่ภาวะพิษสุราเรื้อรังมักจะปรากฏขึ้นมาอย่างช้า ๆและเงียบ ๆ กว่าจะเห็นชัดเจนก็มักจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากแล้ว แม้ว่าจะหยุดดื่ม โรคก็ยังจะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ สมองจะถูกทำลายและถึงแก่ชีวิตในที่สุด อย่างไรก็ตามการหยุดดื่มอาจจะสามารถหยุดโรคได้ และป้องกันความเสียหายบางส่วนได้ ดังนั้นยิ่งหยุดเร็วเท่าไหร่ จะเกิดผลดีมากเท่านั้น
ผลระยะแรก ผลเริ่มแรกจะเกิดกับสมอง ทำให้กระบวนการการคิด ความรับรู้ การประสานงานในส่วนต่าง ๆของสมองและการเคลื่อนไหว ช้าลง บางรายอาจสูญเสียความทรงจำได้ ระยะต่อมาการดื่มแอลกอฮอล์ในระยะยาวจะทำลายเนื้อสมอง หัวใจ ตับ ตับอ่อน เมื่อร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆที่อาจมีได้ เช่น การสูบบุหรี่ การขาดอาหาร จะทำให้ผู้ป่วยเพิ่มปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง และทำให้ภูมิต้านทานลดลง ทำให้ร่างกายเกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆได้ง่ายขึ้น ระยะสุดท้ายในที่สุดแล้วจะถึงแก่ชีวิต จากการที่อวัยวะต่างๆ ล้มเหลว จากอุบัติเหตุ จากการทำอัตวินิบาตกรรม จากมะเร็ง หรือจากโรคติดเชื้อ เหล่านี้สามารถหยุดได้โดยการหยุดดื่มสุรา
เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคพิษสุราเรื้อรัง
ผลต่อภาวะจิตใจ ผู้ติดสุราจะหาเหตุผลในการดื่มเพื่ออธิบายหลีกเลี่ยงปัญหาที่ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องผูกโยงกับความเป็นจริงทำให้ความคิดบิดเบือนในลักษณะที่เรียกกันว่า “ความคิดของผู้ติดสุรา” (alcoholic-think) ลักษณะหนึ่งที่มักจะพบบ่อยคือ การ “ปฏิเสธ” ปฏิเสธว่าการดื่มของตนเองเป็นปัญหา หรือมีปัญหาอย่างหนึ่งอย่างใดในการดำเนินชีวิตที่มีสาเหตุมาจากการดื่มสุรา
ความคิดของผู้ติดสุรา (alcoholic-think) ทำให้คนอื่นคิดว่าคนที่พูดออกมาคือ เหล้า ไม่ใช่คนดื่ม ดังที่อาจจะมีคำพูดว่า “หากไม่คิดว่าการดื่มของฉันมีปัญหาอะไรมากมาย ฉันคงไม่ดื่มมากมายขนาดนี้” หรือ “ฉันไม่ได้ดื่มมากมาย ดื่มเพียงเล็กน้อยเท่านั้น” ข้อใหญ่ของ “ความคิดของผู้ติดสุรา” คือ ความสับสน
ดังนั้น การแก้ไขปัญหาเรื่องโรคสุราเรื้อรัง อาจไม่ใช่เป็นปัญหาของคนป่วยเพียงคนเดียว คนรอบข้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในครอบครัวและเพื่อนฝูงจะต้องช่วยกัน ให้กำลังใจและสนับสนุนให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ไปให้ได้ หากทำได้ประโยชน์ก็จะเกิดขึ้นกับทุกๆ คนครับ