เลขาธิการ อย. ระบุกรณีเด็ก 2 ขวบ เสียชีวิตภายหลังแม่ป้อนเยลลีติดคอ ถือเป็นเหตุสุดวิสัย เด็กเล็กสำลักอาหาร ข้าว เยลลี มีสิทธิเสียชีวิตได้ ย้ำตัวผลิตภัณฑ์ไม่มีปัญหา ขออนุญาตถูกต้อง เตรียมเสนอคณะกรรมการอาหารเพิ่มคำเตือนให้ผู้บริโภคระวังการรับประทานเยลลี โดยเฉพาะเด็กเล็ก 2-3 ขวบ
ศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีเด็ก 2 ขวบ เสียชีวิตจากเยลลีติดคอว่า จากการสอบถามไปยังแพทย์ผู้รักษาที่โรงพยาบาลจังหวัดสุรินทร์ พบว่าเด็กเสียชีวิตจากชิ้นเยลลีติดคอ เกิดการอุดตันทางเดินหายใจเฉียบพลัน เด็กเสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาล อีกทั้งเด็กรายนี้มารดาเป็นคนใช้ช้อนตักเยลลีให้รับประทาน ซึ่งเป็นวิธีรับประทานที่เหมาะสม กรณีนี้ผลิตภัณฑ์ไม่ได้มีปัญหา แต่เป็นปัญหาที่รูปแบบและวิธีการกิน โดยขนมเยลลีเป็นอาหารที่อยู่ในความควบคุมของ อย. จัดอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตและต้องเป็นไปตามมาตรฐานการผลิต เหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นกับเด็กอายุ 6 ปี ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อกว่า2 ปีที่ผ่านมา เด็กดูดเยลลีเข้าปากจนติดคอเสียชีวิต
"เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่รู้จะโทษใคร เพราะแม่ก็ตักป้อนลูก แต่เด็กอายุแค่ 2 ขวบ มีโอกาสสำลักอาหารได้มาก การป้อนข้าวหรืออาหารอื่น ๆ ก็ทำให้สำลักได้ นอกจากนี้ ที่เคยพบการรับประทานด้วยวิธีการดูดหรือสูบเข้าคอเพื่อให้ตื่นเต้นก็อาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้น อย.จะเสนอเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะกรรมการให้พิจารณาเพิ่มคำเตือนระวังอันตรายจากวิธีรับประทานเยลลี" ศ.ดร.ภักดี กล่าว และว่า อย.กำหนดว่าห้ามใส่บุกในเยลลีที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 4.5 เซนติเมตร เนื่องจากบุกย่อยยาก หากเด็กรับประทานอาจเกิดการอุดตันในระบบทางเดินอาหาร หากพบการฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี
ศ.ดร.ภักดี กล่าวต่อว่า โดยปกติเด็กอายุ 2-3 ขวบ ไม่ควรรับประทานเยลลี ควรรับประทานอาหารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า ส่วนมาตรการที่ อย. จะเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการอาหารนั้นมีตั้งแต่การเพิ่มคำเตือนวิธีการกินเยลลี จากเดิมเตือนว่าไม่ควรบริโภคมากเกินไป ต่อไปนี้อาจพิจารณากำหนดอายุ โดยอาจระบุว่าเด็กอายุต่ำกว่า 2-3 ขวบ ไม่ควรบริโภค
ศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีเด็ก 2 ขวบ เสียชีวิตจากเยลลีติดคอว่า จากการสอบถามไปยังแพทย์ผู้รักษาที่โรงพยาบาลจังหวัดสุรินทร์ พบว่าเด็กเสียชีวิตจากชิ้นเยลลีติดคอ เกิดการอุดตันทางเดินหายใจเฉียบพลัน เด็กเสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาล อีกทั้งเด็กรายนี้มารดาเป็นคนใช้ช้อนตักเยลลีให้รับประทาน ซึ่งเป็นวิธีรับประทานที่เหมาะสม กรณีนี้ผลิตภัณฑ์ไม่ได้มีปัญหา แต่เป็นปัญหาที่รูปแบบและวิธีการกิน โดยขนมเยลลีเป็นอาหารที่อยู่ในความควบคุมของ อย. จัดอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตและต้องเป็นไปตามมาตรฐานการผลิต เหตุการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นกับเด็กอายุ 6 ปี ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อกว่า2 ปีที่ผ่านมา เด็กดูดเยลลีเข้าปากจนติดคอเสียชีวิต
"เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่รู้จะโทษใคร เพราะแม่ก็ตักป้อนลูก แต่เด็กอายุแค่ 2 ขวบ มีโอกาสสำลักอาหารได้มาก การป้อนข้าวหรืออาหารอื่น ๆ ก็ทำให้สำลักได้ นอกจากนี้ ที่เคยพบการรับประทานด้วยวิธีการดูดหรือสูบเข้าคอเพื่อให้ตื่นเต้นก็อาจเป็นอันตรายได้ ดังนั้น อย.จะเสนอเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะกรรมการให้พิจารณาเพิ่มคำเตือนระวังอันตรายจากวิธีรับประทานเยลลี" ศ.ดร.ภักดี กล่าว และว่า อย.กำหนดว่าห้ามใส่บุกในเยลลีที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 4.5 เซนติเมตร เนื่องจากบุกย่อยยาก หากเด็กรับประทานอาจเกิดการอุดตันในระบบทางเดินอาหาร หากพบการฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี
ศ.ดร.ภักดี กล่าวต่อว่า โดยปกติเด็กอายุ 2-3 ขวบ ไม่ควรรับประทานเยลลี ควรรับประทานอาหารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า ส่วนมาตรการที่ อย. จะเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการอาหารนั้นมีตั้งแต่การเพิ่มคำเตือนวิธีการกินเยลลี จากเดิมเตือนว่าไม่ควรบริโภคมากเกินไป ต่อไปนี้อาจพิจารณากำหนดอายุ โดยอาจระบุว่าเด็กอายุต่ำกว่า 2-3 ขวบ ไม่ควรบริโภค