อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยผลการตรวจยืนยันเชื้อผู้ป่วยที่จังหวัดพิจิตร พบเป็นเพียงเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลทั่วไป ไม่ใช่เชื้อไข้หวัดนก ขณะนี้อาการหายเป็นปกติแล้ว ด้านโรงพยาบาลพิจิตรได้จัดบริการผู้ป่วยที่สงสัยติดเชื้อไข้หวัดนกแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียวเป็นการเฉพาะ ให้การตรวจรักษา-เอกซเรย์ปอดอย่างรวดเร็ว
จากการที่มีกระแสข่าวว่ามีหญิงอายุ 20 ปี อยู่ที่ตำบลดงกลาง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร มีอาการไอ หายใจลำบาก และปวดศีรษะอย่างรุนแรง หลังจากที่นำเป็ดที่เลี้ยงไว้ซึ่งตายโดยไม่ทราบสาเหตุมาย่างและแกงกิน และสงสัยจะติดเชื้อไข้หวัดนกนั้น
ความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว นายแพทย์ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์ว่า จากการตรวจสอบประวัติผู้ป่วยรายดังกล่าวมีอาชีพรับจ้างเลี้ยงเป็ด และเป็ดตายประมาณ 100 ตัว โดยทยอยตายตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2548 วันละ 10-20 ตัว ผู้ป่วยได้ใช้มือเปล่าหยิบซากเป็ดโยนทิ้งในคลอง ไม่ได้นำมาย่างกินแต่อย่างใด ต่อมาวันที่ 24 ตุลาคม 2548 ผู้ป่วยเริ่มมีไข้ ไอ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพิจิตร เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2548 แพทย์ได้เอกซเรย์ปอด พบว่าปกติ ผลการตรวจเชื้อด้วยชุดตรวจภาคสนามให้ผลบวก จึงได้รับตัวไว้ดูแลในโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2548 และกินยาต้านไวรัสทามิฟลูทันที โดยผลการตรวจสอบยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ปรากฏว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ เอช 3 เอ็น 2 ซึ่งเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่พบในคน ไม่ใช่เชื้อไข้หวัดนก จึงได้ตัดออกจากรายการผู้ป่วยในข่ายสงสัย และวันนี้อาการดีขึ้นเป็นปกติ แพทย์ได้อนุญาตให้กลับบ้าน และกินยาต้านไวรัสต่อจนครบ 5 วัน
นายแพทย์ธวัช กล่าวต่อว่า สถานการณ์การป่วยจากโรคไข้หวัดนกในคน ขณะนี้ยืนยันยังคงมีผู้ป่วย เพียง 2 ราย เสียชีวิต 1 รายเท่าเดิม ยังไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ และทุกพื้นที่ไม่มีผู้ป่วยเข้าข่ายสงสัยโรคไข้หวัดนก รวมทั้งจังหวัดพิจิตรด้วย อย่างไรก็ตามขอให้ประชาชนอย่าชะล่าใจ ห้ามใช้มือเปล่าหยิบจับซากสัตว์ปีกที่ตายผิดปกติ หรือนำสัตว์ปีกที่ตายมาชำแหละเป็นอาหารอย่างเด็ดขาด
ด้านแพทย์หญิงสุนีย์ ธีรการุณวงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิจิตร กล่าวว่า ขณะนี้โรงพยาบาลพิจิตรได้วางมาตรการดูแลผู้ป่วย เฉพาะในรายที่มีอาการเข้าข่ายติดเชื้อไข้หวัดนก เช่น มีประวัติสัตว์ปีกที่เลี้ยงไว้ที่บ้านตายผิดปกติหรือมีประวัติสัมผัสไก่ รวมทั้งอยู่ในพื้นที่ที่พบสัตว์ปีกติดเชื้อไข้หวัดนกเป็นการเฉพาะ ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียวหรือวันสต็อป เซอร์วิส (one stop service) มีแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ทีมสอบสวนควบคุมโรคเคลื่อนที่รวมทั้งหมดประมาณ 13 คน พร้อมด้วยเครื่องเอกซเรย์ และยาต้านไวรัสทามิฟลูอย่างเพียงพอ มีห้องดูแลผู้ป่วยเป็นการเฉพาะ 3 ห้อง ผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายสงสัยทุกรายจะได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เอกซเรย์ปอด หากผลการตรวจเชื้อด้วยชุดตรวจภาคสนามให้ผลเป็นบวก จะให้กินยาต้านไวรัสทามิฟลูทันที และส่งตรวจยืนยันเชื้อที่ห้องปฏิบัติการใหญ่ทุกราย
“ในวันจันทร์นี้ โรงพยาบาลพิจิตรจะทำการเฝ้าระวังเชิงรุกเป็นกรณีพิเศษในกลุ่มเสี่ยงไข้หวัดนก ได้แก่ ผู้ที่ทำหน้าที่ชำแหละไก่ แม่ค้าขายไก่ในตลาดสดในจังหวัดพิจิตร ซึ่งมีประมาณ 20 คน โดยจะสำรวจขึ้นทะเบียนไว้ที่ประชาสัมพันธ์และที่แผนกเวชระเบียน พร้อมทั้งให้สุขศึกษาคำแนะนำความรู้การป้องกันตัวในวันจันทร์นี้ หากบุคคลเหล่านี้มีอาการป่วยก็สามารถมาใช้บริการที่โรงพยาบาลพิจิตรได้ทันที และจะได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์อย่างรวดเร็ว” แพทย์หญิงสุนีย์ กล่าว
.......
ประมวลข่าว - หวัดนกระบาด 2548
จากการที่มีกระแสข่าวว่ามีหญิงอายุ 20 ปี อยู่ที่ตำบลดงกลาง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร มีอาการไอ หายใจลำบาก และปวดศีรษะอย่างรุนแรง หลังจากที่นำเป็ดที่เลี้ยงไว้ซึ่งตายโดยไม่ทราบสาเหตุมาย่างและแกงกิน และสงสัยจะติดเชื้อไข้หวัดนกนั้น
ความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว นายแพทย์ธวัช สุนทราจารย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์ว่า จากการตรวจสอบประวัติผู้ป่วยรายดังกล่าวมีอาชีพรับจ้างเลี้ยงเป็ด และเป็ดตายประมาณ 100 ตัว โดยทยอยตายตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2548 วันละ 10-20 ตัว ผู้ป่วยได้ใช้มือเปล่าหยิบซากเป็ดโยนทิ้งในคลอง ไม่ได้นำมาย่างกินแต่อย่างใด ต่อมาวันที่ 24 ตุลาคม 2548 ผู้ป่วยเริ่มมีไข้ ไอ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพิจิตร เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2548 แพทย์ได้เอกซเรย์ปอด พบว่าปกติ ผลการตรวจเชื้อด้วยชุดตรวจภาคสนามให้ผลบวก จึงได้รับตัวไว้ดูแลในโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2548 และกินยาต้านไวรัสทามิฟลูทันที โดยผลการตรวจสอบยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ปรากฏว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ เอช 3 เอ็น 2 ซึ่งเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่พบในคน ไม่ใช่เชื้อไข้หวัดนก จึงได้ตัดออกจากรายการผู้ป่วยในข่ายสงสัย และวันนี้อาการดีขึ้นเป็นปกติ แพทย์ได้อนุญาตให้กลับบ้าน และกินยาต้านไวรัสต่อจนครบ 5 วัน
นายแพทย์ธวัช กล่าวต่อว่า สถานการณ์การป่วยจากโรคไข้หวัดนกในคน ขณะนี้ยืนยันยังคงมีผู้ป่วย เพียง 2 ราย เสียชีวิต 1 รายเท่าเดิม ยังไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ และทุกพื้นที่ไม่มีผู้ป่วยเข้าข่ายสงสัยโรคไข้หวัดนก รวมทั้งจังหวัดพิจิตรด้วย อย่างไรก็ตามขอให้ประชาชนอย่าชะล่าใจ ห้ามใช้มือเปล่าหยิบจับซากสัตว์ปีกที่ตายผิดปกติ หรือนำสัตว์ปีกที่ตายมาชำแหละเป็นอาหารอย่างเด็ดขาด
ด้านแพทย์หญิงสุนีย์ ธีรการุณวงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิจิตร กล่าวว่า ขณะนี้โรงพยาบาลพิจิตรได้วางมาตรการดูแลผู้ป่วย เฉพาะในรายที่มีอาการเข้าข่ายติดเชื้อไข้หวัดนก เช่น มีประวัติสัตว์ปีกที่เลี้ยงไว้ที่บ้านตายผิดปกติหรือมีประวัติสัมผัสไก่ รวมทั้งอยู่ในพื้นที่ที่พบสัตว์ปีกติดเชื้อไข้หวัดนกเป็นการเฉพาะ ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียวหรือวันสต็อป เซอร์วิส (one stop service) มีแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ทีมสอบสวนควบคุมโรคเคลื่อนที่รวมทั้งหมดประมาณ 13 คน พร้อมด้วยเครื่องเอกซเรย์ และยาต้านไวรัสทามิฟลูอย่างเพียงพอ มีห้องดูแลผู้ป่วยเป็นการเฉพาะ 3 ห้อง ผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายสงสัยทุกรายจะได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เอกซเรย์ปอด หากผลการตรวจเชื้อด้วยชุดตรวจภาคสนามให้ผลเป็นบวก จะให้กินยาต้านไวรัสทามิฟลูทันที และส่งตรวจยืนยันเชื้อที่ห้องปฏิบัติการใหญ่ทุกราย
“ในวันจันทร์นี้ โรงพยาบาลพิจิตรจะทำการเฝ้าระวังเชิงรุกเป็นกรณีพิเศษในกลุ่มเสี่ยงไข้หวัดนก ได้แก่ ผู้ที่ทำหน้าที่ชำแหละไก่ แม่ค้าขายไก่ในตลาดสดในจังหวัดพิจิตร ซึ่งมีประมาณ 20 คน โดยจะสำรวจขึ้นทะเบียนไว้ที่ประชาสัมพันธ์และที่แผนกเวชระเบียน พร้อมทั้งให้สุขศึกษาคำแนะนำความรู้การป้องกันตัวในวันจันทร์นี้ หากบุคคลเหล่านี้มีอาการป่วยก็สามารถมาใช้บริการที่โรงพยาบาลพิจิตรได้ทันที และจะได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์อย่างรวดเร็ว” แพทย์หญิงสุนีย์ กล่าว
.......
ประมวลข่าว - หวัดนกระบาด 2548