นักเรียนม.6 ผิดหวังเกรดไม่ถึง 3.00 ฆ่าตัวตาย จิตแพทย์ชี้ปฏิกิริยาเรื่องเรียนจากเด็กส่วนใหญ่เกิดจากความกดดันของพ่อแม่ ระบุเกรดเป็นแค่การวัดผลเพื่อให้รู้ว่าจะพัฒนาตนเองอย่างไร ไม่ใช่เครื่องประเมินหรือตีค่าตัวเอง แนะพ่อแม่ให้กำลังใจและพูดคุยด้วยท่าทีเข้าใจเมื่อลูกเกิดอาการเครียด
จากกรณีที่ นายสาธิต รักษาสัตย์ อายุ 17 ปี นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนวิเศษชัยชาญตันติวิทยาภูมิ ใช้อาวุธปืนฆ่าตัวตาย โดยตำรวจพบจดหมายขอโทษผู้เป็นแม่ ที่ไม่สามารถเรียนได้ตามที่แม่หวัง ซึ่งผู้เป็นแม่ เปิดเผยว่าลูกชายเดินทางไปดูผลสอบที่โรงเรียน ก่อนออกจากบ้านสัญญาว่าจะกลับมารับรางวัลรถจักรยานยนต์ที่สัญญาว่าหากสอบได้เกรดเฉลี่ย 3.00 จะซื้อให้ แต่ผลปรากฏว่า ผู้ตายได้เกรดเฉลี่ยเพียง 2.75 จึงฆ่าตัวตายนั้น
น.พ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมศานต์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า เรื่องที่เกิดขึ้นต้องพิจารณาว่าสาเหตุที่แท้จริงเกิดจากอะไร อาจจะไม่ใช่จากผลการเรียนไม่ถึง 3 เด็กอาจจะมีปัญหาที่ซับซ้อนกว่านั้น ซึ่งเป็นปัญหารายบุคคล นอกจากนี้เด็กอาจมีภาวะซึมเศร้ามาก่อน หรือการก่อเหตุอาจเป็นปฏิริยารุนแรงต่อเรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเขา เช่น ถูกพ่อแม่ดุด่า อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ทำร้ายตัวเองมักจะเกิดจากความเครียดสะสมและเรื้อรัง นำไปสู่การฆ่าตัวตาย หรือตัดสินใจอย่างหุนหัน
“ผลการเรียนเป็นเพียงแค่เครื่องวัดและประเมินผล เพื่อให้เด็กได้รู้ว่าจะพัฒนาตัวเองอย่างไร ในด้านใด ซึ่งผลการเรียนในวันนี้ อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ในวันข้างหน้า เกรดเป็นแค่การวัดผลเพื่อพัฒนาตัวเองได้เหมาะสม อย่าเอาเกรดมาตีค่าตัวเอง จะประเมินค่าตัวเองให้ต่ำลงไป พ่อแม่ต้องเป็นที่ปรึกษาให้ลูกด้วยความเข้าใจ เมื่อพบว่าลูกมีอาการเครียดทั้งจากเรื่องการเรียนและเรื่องอื่นๆ ด้วยการให้กำลังใจและอยู่เคียงข้าง เมื่อพ่อแม่มีท่าทีเข้าใจเด็กก็จะผ่อนคลายลง ซึ่งปฏิกิริยาของเด็กในเรื่องเรียนมักจะมีผลมาจากพ่อแม่ที่ทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองเองเรียนไม่เก่งก็ไร้คุณค่า และเกิดการไม่ยอมรับตนเอง พ่อแม่ต้องดูว่าผลการเรียนเขาต่ำลงอย่างไร หากต่ำหมดทุกวิชาก็อาจเกิดปัญหาในเรื่องการปรับตัวเข้ากับสังคมได้ หรือต่ำลงเป็นบางวิชาก็อาจเป็นเพราะเขาไม่ถนัดในด้านนั้น ที่สำคัญคือพ่อแม่ต้องมีท่าทีรับฟังด้วยความเข้าใจ และพร้อมให้การช่วยเหลือ”น.พ.ยงยุทธกล่าว
ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวอีกว่า หากผู้ปกครองพบว่าบุตรหลานมีอารมณ์เครียด ซึมเศร้า เก็บตัว หรือพฤติกรรมมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ควรเข้าไปพูดคุยดูแลด้วยท่าทีเข้าใจ จะสามารถทำให้เด็กดีขึ้นได้ แต่หากเด็กอยู่ในภาวะซึมเศร้ากินไม่ได้ นอนไม่หลับ ตำหนิตัวเอง มองโลกในแง่ร้ายควรนำมาพบจิตแพทย์ทันที นั่นแสดงว่าเขาตกอยู่ในภาวะมีอาการป่วยแล้ว
จากกรณีที่ นายสาธิต รักษาสัตย์ อายุ 17 ปี นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนวิเศษชัยชาญตันติวิทยาภูมิ ใช้อาวุธปืนฆ่าตัวตาย โดยตำรวจพบจดหมายขอโทษผู้เป็นแม่ ที่ไม่สามารถเรียนได้ตามที่แม่หวัง ซึ่งผู้เป็นแม่ เปิดเผยว่าลูกชายเดินทางไปดูผลสอบที่โรงเรียน ก่อนออกจากบ้านสัญญาว่าจะกลับมารับรางวัลรถจักรยานยนต์ที่สัญญาว่าหากสอบได้เกรดเฉลี่ย 3.00 จะซื้อให้ แต่ผลปรากฏว่า ผู้ตายได้เกรดเฉลี่ยเพียง 2.75 จึงฆ่าตัวตายนั้น
น.พ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมศานต์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า เรื่องที่เกิดขึ้นต้องพิจารณาว่าสาเหตุที่แท้จริงเกิดจากอะไร อาจจะไม่ใช่จากผลการเรียนไม่ถึง 3 เด็กอาจจะมีปัญหาที่ซับซ้อนกว่านั้น ซึ่งเป็นปัญหารายบุคคล นอกจากนี้เด็กอาจมีภาวะซึมเศร้ามาก่อน หรือการก่อเหตุอาจเป็นปฏิริยารุนแรงต่อเรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเขา เช่น ถูกพ่อแม่ดุด่า อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ทำร้ายตัวเองมักจะเกิดจากความเครียดสะสมและเรื้อรัง นำไปสู่การฆ่าตัวตาย หรือตัดสินใจอย่างหุนหัน
“ผลการเรียนเป็นเพียงแค่เครื่องวัดและประเมินผล เพื่อให้เด็กได้รู้ว่าจะพัฒนาตัวเองอย่างไร ในด้านใด ซึ่งผลการเรียนในวันนี้ อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ในวันข้างหน้า เกรดเป็นแค่การวัดผลเพื่อพัฒนาตัวเองได้เหมาะสม อย่าเอาเกรดมาตีค่าตัวเอง จะประเมินค่าตัวเองให้ต่ำลงไป พ่อแม่ต้องเป็นที่ปรึกษาให้ลูกด้วยความเข้าใจ เมื่อพบว่าลูกมีอาการเครียดทั้งจากเรื่องการเรียนและเรื่องอื่นๆ ด้วยการให้กำลังใจและอยู่เคียงข้าง เมื่อพ่อแม่มีท่าทีเข้าใจเด็กก็จะผ่อนคลายลง ซึ่งปฏิกิริยาของเด็กในเรื่องเรียนมักจะมีผลมาจากพ่อแม่ที่ทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองเองเรียนไม่เก่งก็ไร้คุณค่า และเกิดการไม่ยอมรับตนเอง พ่อแม่ต้องดูว่าผลการเรียนเขาต่ำลงอย่างไร หากต่ำหมดทุกวิชาก็อาจเกิดปัญหาในเรื่องการปรับตัวเข้ากับสังคมได้ หรือต่ำลงเป็นบางวิชาก็อาจเป็นเพราะเขาไม่ถนัดในด้านนั้น ที่สำคัญคือพ่อแม่ต้องมีท่าทีรับฟังด้วยความเข้าใจ และพร้อมให้การช่วยเหลือ”น.พ.ยงยุทธกล่าว
ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวอีกว่า หากผู้ปกครองพบว่าบุตรหลานมีอารมณ์เครียด ซึมเศร้า เก็บตัว หรือพฤติกรรมมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ควรเข้าไปพูดคุยดูแลด้วยท่าทีเข้าใจ จะสามารถทำให้เด็กดีขึ้นได้ แต่หากเด็กอยู่ในภาวะซึมเศร้ากินไม่ได้ นอนไม่หลับ ตำหนิตัวเอง มองโลกในแง่ร้ายควรนำมาพบจิตแพทย์ทันที นั่นแสดงว่าเขาตกอยู่ในภาวะมีอาการป่วยแล้ว