อย. เผยสาเหตุที่ทำให้นมพร้อมดื่มเสียก่อนกำหนด มักมาจากขั้นตอนการขนส่ง การวางทับซ้อน กันมากเกินไป หรือเก็บรักษาในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม หากพบนมเสียก่อนกำหนดควรนำไปคืนร้านนั้น ส่วนผู้ขายเองควรเก็บรักษาสินค้าในอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่วางซ้อนกันมากเกินไปเพื่อลดการบูดเสียก่อนกำหนด
ศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีมีผู้ร้องเรียนแจ้งว่าพบนมพร้อมดื่มเสียก่อนหมดอายุบ่อยครั้ง ขอให้ช่วยตรวจสอบด้วยนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอเรียนว่า ถึงแม้ อย. จะนำหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice : GMP) มาบังคับใช้เป็นกฎหมาย และผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มก็เป็นหนึ่งในประเภทอาหารที่ต้องปฏิบัติตาม GMP (จีเอ็มพี) แต่ก็ยังพบว่า นมพร้อมดื่มอาจเสียก่อนกำหนดได้ โดยมีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น จากขั้นตอนการขนส่ง การวางทับซ้อนกันมากเกินไป อาทิ ผู้จำหน่ายนำนม ยู เอช ที ที่บรรจุในกล่องขนาด 200 ซีซี วางซ้อนกันเกิน 10 ชั้น ขนาด 250 ซีซี วางซ้อนกันเกิน 8 ชั้น และขนาด 1,000 ซีซี วางซ้อนกันเกิน 5 ชั้น ส่งผลให้กล่องนมที่วางด้านล่างรับน้ำหนักไม่ไหว กล่องนมจึงมีรอยหัก รั่วซึมให้ เชื้อโรคเข้าไปได้ หรือเก็บรักษาในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม เช่น จัดวางนม ยู เอช ที บริเวณที่แสงแดดส่องถึง ทำให้นมพร้อมดื่มเสียก่อนหมดอายุได้
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า นมพร้อมดื่มแต่ละประเภทมีวิธีการเก็บรักษาไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นนมพาสเจอร์ไรส์ สามารถเก็บได้นานประมาณ 10 วัน C°ที่อุณหภูมิไม่เกิน 8 นมสเตอริไลส์ (กระป๋อง) เก็บได้นานประมาณ 12 เดือน โดยไม่ต้องแช่เย็น นม ยู เอช ที เก็บได้นานประมาณ 6 เดือน โดยไม่ต้อง แช่เย็นเช่นกัน ส่วนนมเปรี้ยวนั้นเก็บได้นานกว่านมประเภทอื่นเพราะมีรสเปรี้ยวจากกรดแลกติกช่วยในการถนอมอาหาร ดังนั้นนมเปรี้ยวพร้อมดื่ม จะเก็บได้นานถึง 21 วัน° c พาสเจอร์ไรส์ ถ้าเก็บในอุณหภูมิ 10-12 นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม ยู เอช ที เก็บได้ประมาณ 8 เดือน โดยไม่ต้องแช่เย็น ดังนั้นผู้ผลิตและร้านจำหน่ายควรหลีกเลี่ยงจากสาเหตุที่ทำให้นมเสียก่อนวันหมดอายุดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการขนส่ง การจัดวาง และ การเก็บรักษานม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
เลขาธิการฯ กล่าวด้วยว่า ในส่วนของผู้บริโภคควรดูข้อมูลบนฉลาก โดยเฉพาะวัน เดือนปี ที่หมดอายุ และทุกครั้งที่ซื้อนม ควรสังเกตการเก็บรักษานมของร้านค้าก่อนซื้อ ควรหลีกเลี่ยงการซื้อจาก ร้านค้าที่มีการเก็บรักษาอย่างไม่เหมาะสม รวมถึงการวางทับซ้อนกันหลายชั้น อาจทำให้ภาชนะบรรจุเสียหาย บุบ บี้ ทำให้เชื้อโรคจากภายนอกเข้าไปปนเปื้อนในนม ส่งผลให้นมเสียได้ หากผู้บริโภคซื้อนมพร้อมดื่มมาบริโภคแล้วพบว่าเสียก่อนวันหมดอายุที่ฉลากระบุ ก็ควรปกป้องสิทธิ์ของตัวเองด้วยการนำไปขอคืนกับ ร้านค้าที่จำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าที่มีคุณภาพดีแทน
ศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีมีผู้ร้องเรียนแจ้งว่าพบนมพร้อมดื่มเสียก่อนหมดอายุบ่อยครั้ง ขอให้ช่วยตรวจสอบด้วยนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอเรียนว่า ถึงแม้ อย. จะนำหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice : GMP) มาบังคับใช้เป็นกฎหมาย และผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มก็เป็นหนึ่งในประเภทอาหารที่ต้องปฏิบัติตาม GMP (จีเอ็มพี) แต่ก็ยังพบว่า นมพร้อมดื่มอาจเสียก่อนกำหนดได้ โดยมีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น จากขั้นตอนการขนส่ง การวางทับซ้อนกันมากเกินไป อาทิ ผู้จำหน่ายนำนม ยู เอช ที ที่บรรจุในกล่องขนาด 200 ซีซี วางซ้อนกันเกิน 10 ชั้น ขนาด 250 ซีซี วางซ้อนกันเกิน 8 ชั้น และขนาด 1,000 ซีซี วางซ้อนกันเกิน 5 ชั้น ส่งผลให้กล่องนมที่วางด้านล่างรับน้ำหนักไม่ไหว กล่องนมจึงมีรอยหัก รั่วซึมให้ เชื้อโรคเข้าไปได้ หรือเก็บรักษาในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม เช่น จัดวางนม ยู เอช ที บริเวณที่แสงแดดส่องถึง ทำให้นมพร้อมดื่มเสียก่อนหมดอายุได้
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า นมพร้อมดื่มแต่ละประเภทมีวิธีการเก็บรักษาไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นนมพาสเจอร์ไรส์ สามารถเก็บได้นานประมาณ 10 วัน C°ที่อุณหภูมิไม่เกิน 8 นมสเตอริไลส์ (กระป๋อง) เก็บได้นานประมาณ 12 เดือน โดยไม่ต้องแช่เย็น นม ยู เอช ที เก็บได้นานประมาณ 6 เดือน โดยไม่ต้อง แช่เย็นเช่นกัน ส่วนนมเปรี้ยวนั้นเก็บได้นานกว่านมประเภทอื่นเพราะมีรสเปรี้ยวจากกรดแลกติกช่วยในการถนอมอาหาร ดังนั้นนมเปรี้ยวพร้อมดื่ม จะเก็บได้นานถึง 21 วัน° c พาสเจอร์ไรส์ ถ้าเก็บในอุณหภูมิ 10-12 นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม ยู เอช ที เก็บได้ประมาณ 8 เดือน โดยไม่ต้องแช่เย็น ดังนั้นผู้ผลิตและร้านจำหน่ายควรหลีกเลี่ยงจากสาเหตุที่ทำให้นมเสียก่อนวันหมดอายุดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการขนส่ง การจัดวาง และ การเก็บรักษานม เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
เลขาธิการฯ กล่าวด้วยว่า ในส่วนของผู้บริโภคควรดูข้อมูลบนฉลาก โดยเฉพาะวัน เดือนปี ที่หมดอายุ และทุกครั้งที่ซื้อนม ควรสังเกตการเก็บรักษานมของร้านค้าก่อนซื้อ ควรหลีกเลี่ยงการซื้อจาก ร้านค้าที่มีการเก็บรักษาอย่างไม่เหมาะสม รวมถึงการวางทับซ้อนกันหลายชั้น อาจทำให้ภาชนะบรรจุเสียหาย บุบ บี้ ทำให้เชื้อโรคจากภายนอกเข้าไปปนเปื้อนในนม ส่งผลให้นมเสียได้ หากผู้บริโภคซื้อนมพร้อมดื่มมาบริโภคแล้วพบว่าเสียก่อนวันหมดอายุที่ฉลากระบุ ก็ควรปกป้องสิทธิ์ของตัวเองด้วยการนำไปขอคืนกับ ร้านค้าที่จำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าที่มีคุณภาพดีแทน