องค์การเภสัชกรรม ลงนามร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาวิจัยและพัฒนา การผลิตยารักษาโรคกระเพาะเปลาโนทอลจากสมุนไพรเปล้าน้อย เพื่อผลิตในเชิงพาณิชย์ มั่นใจลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศได้ปีละกว่าพันล้านบาท
ศ.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายวันชัย ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการผลิตยารักษาโรคกระเพาะเปลาโนทอลจากสมุนไพรเปล้าน้อย ทั้งนี้ สถาบันเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ดร.อมร เพชรสม ผู้อำนวยการสถาบัน และทีมนักวิจัย ตกลงจะถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยารักษาโรคกระเพาะเปลาโนทอลจากสมุนไพรเปล้าน้อย ที่สถาบันเป็นผู้ศึกษา ค้นคว้า วิจัยการผลิตยาดังกล่าวอย่างครบวงจร และได้จดสิทธิบัตรกระบวนการผลิตไว้แล้วทั้งในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และประเทศไทย ให้กับองค์การเภสัชกรรม เนื่องจากเห็นว่าองค์การเภสัชกรรมมีศักยภาพและประสบการณ์ในการผลิตยา ตลอดจนวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ทางการแพทย์ มีความพร้อมทั้งด้านเครื่องจักรกล อุปกรณ์ สถานที่ บุคลากร ซึ่งการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ
ศ.คุณหญิงสุชาดา กล่าวว่า งานวิจัยเรื่องการผลิตยารักษาโรคกระเพาะเปลาโนทอลจากสมุนไพรเปล้าน้อย ทีมนักวิจัยของจุฬาฯ เริ่มวิจัยมาตั้งแต่ปี 2536 และสามารถจดสิทธิบัตรได้ทั้งในและต่างประเทศ เมื่อปี 2537 แต่ไม่มีหน่วยงานใดนำงานวิจัยที่ได้ไปต่อยอด จนปัจจุบันเล็งเห็นว่า โรคกระเพาะเริ่มเป็นปัญหาสุขภาพอันดับต้น ๆ ของคนไทย อีกทั้งแต่ละปีต้องสูญเสียเงินเพื่อนำเข้ายารักษาโรคกระเพาะจากต่างประเทศจำนวนนับพันล้านบาท ดังนั้น การมอบงานวิจัยชิ้นนี้ให้องค์การเภสัชกรรมนำไปผลิตในเชิงพาณิชย์ จึงน่าจะเป็นประโยชน์ประเทศชาติ และผู้ที่ป่วยเป็นโรคกระเพาะ
รักษาการผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า จะสามารถผลิตยารักษาโรคกระเพาะเปลาโนทอลจากสมุนไพรเปล้าน้อย เพื่อรักษาผู้ป่วยได้ในอีกไม่เกิน 5 ปี ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตั้งเครื่องจักรเพื่อสกัดตัวยา และวางแผนการปลูกสมุนไพรเปล้าน้อย ในพื้นที่กว่า 1 พันไร่ ที่ อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี ซึ่งเปล้าน้อยที่ดีต้องมีอายุ 3 ปีขึ้นไป จึงจะมีสารเปลาโนทอลมากที่สุด ในอนาคต องค์การเภสัชกรรมมีโครงการจะกระจายพันธุ์สมุนไพรเปล้าน้อยให้เกษตรกรปลูกและรับซื้อในราคาประกัน เพื่อให้ได้ผลผลิตมากพอที่จะสกัดตัวยาได้อย่างต่อเนื่อง
ด้าน ดร.อมร หัวหน้าคณะนักวิจัย กล่าวว่า เปล้าน้อยเป็นพืชสมุนไพรของไทยที่ถูกญี่ปุ่นนำไปจดสิทธิบัตรและผลิตเป็นยารักษาโรคกระเพาะ ตั้งแต่ปี 2527 โดยมีโรงงานสกัดตัวยาอยู่ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างนั้นทีมนักวิจัยไทยก็ได้ทุ่มเทคิดค้นเทคนิคการสกัดสารเปลาโนทอล เพื่อผลิตยารักษาโรคกระเพาะด้วยเช่นกัน และเป็นที่น่ายินดีว่า ยารักษาโรคกระเพาะที่ทีมนักวิจัยไทยผลิตได้นั้น ต่างจากยารักษาโรคกระเพาะของญี่ปุ่น หรือยาแผนปัจจุบันที่นำเข้าจากต่างประเทศ เพราะยารักษาโรคกระเพาะปัจจุบันเกือบ 100% เป็นยาเคลือบกระเพาะและยาควบคุมการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร แต่ยาที่ทีมนักวิจัยไทยผลิตได้เป็นยารักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนบน กระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ และมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่จะก่อให้เกิดโรคกระเพาะเรื้อรัง ซึ่งสรรพคุณทั้งหมดยังไม่เคยพบในยารักษาโรคกระเพาะอื่น งานวิจัยชิ้นนี้จึงนับเป็นนวัตกรรมใหม่ในการผลิตยารักษาโรคกระเพาะที่เป็นความสำเร็จของคนไทย และใช้วัตถุดิบสมุนไพรไทยร้อยเปอร์เซนต์ โดยยาเปลาโนทอล จะถูกสกัดออกมาเป็นน้ำมันสีเหลืองและบรรจุในแคปซูล ลักษณะคล้ายกับน้ำมันตับปลา
“ในระหว่างการวิจัย เราได้นำยาเปลาโนทอลที่สกัดได้จากสมุนไพรเปล้าน้อย ไปทดลองรักษาผู้ป่วยโรคกระเพาะเรื้อรัง 8 คน ที่มีแผลในกระเพาะอาหารขนาด 1 ซม. โดยได้รับความร่วมมือจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผลปรากฏว่า ผู้ป่วย 6 คน รักษาแผลในกระเพาะอาหารได้หายสนิทภายใน 8 สัปดาห์ ขณะที่อีก 2 คน ต้องใช้ยาเคลือบกระเพาะเข้ารักษาร่วมด้วยจึงจะหายสนิท” ดร.อมร กล่าว
ศ.คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายวันชัย ศุภจัตุรัส รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการผลิตยารักษาโรคกระเพาะเปลาโนทอลจากสมุนไพรเปล้าน้อย ทั้งนี้ สถาบันเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ดร.อมร เพชรสม ผู้อำนวยการสถาบัน และทีมนักวิจัย ตกลงจะถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยารักษาโรคกระเพาะเปลาโนทอลจากสมุนไพรเปล้าน้อย ที่สถาบันเป็นผู้ศึกษา ค้นคว้า วิจัยการผลิตยาดังกล่าวอย่างครบวงจร และได้จดสิทธิบัตรกระบวนการผลิตไว้แล้วทั้งในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และประเทศไทย ให้กับองค์การเภสัชกรรม เนื่องจากเห็นว่าองค์การเภสัชกรรมมีศักยภาพและประสบการณ์ในการผลิตยา ตลอดจนวัตถุดิบเคมีภัณฑ์ทางการแพทย์ มีความพร้อมทั้งด้านเครื่องจักรกล อุปกรณ์ สถานที่ บุคลากร ซึ่งการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่คิดค่าตอบแทนใด ๆ
ศ.คุณหญิงสุชาดา กล่าวว่า งานวิจัยเรื่องการผลิตยารักษาโรคกระเพาะเปลาโนทอลจากสมุนไพรเปล้าน้อย ทีมนักวิจัยของจุฬาฯ เริ่มวิจัยมาตั้งแต่ปี 2536 และสามารถจดสิทธิบัตรได้ทั้งในและต่างประเทศ เมื่อปี 2537 แต่ไม่มีหน่วยงานใดนำงานวิจัยที่ได้ไปต่อยอด จนปัจจุบันเล็งเห็นว่า โรคกระเพาะเริ่มเป็นปัญหาสุขภาพอันดับต้น ๆ ของคนไทย อีกทั้งแต่ละปีต้องสูญเสียเงินเพื่อนำเข้ายารักษาโรคกระเพาะจากต่างประเทศจำนวนนับพันล้านบาท ดังนั้น การมอบงานวิจัยชิ้นนี้ให้องค์การเภสัชกรรมนำไปผลิตในเชิงพาณิชย์ จึงน่าจะเป็นประโยชน์ประเทศชาติ และผู้ที่ป่วยเป็นโรคกระเพาะ
รักษาการผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า จะสามารถผลิตยารักษาโรคกระเพาะเปลาโนทอลจากสมุนไพรเปล้าน้อย เพื่อรักษาผู้ป่วยได้ในอีกไม่เกิน 5 ปี ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตั้งเครื่องจักรเพื่อสกัดตัวยา และวางแผนการปลูกสมุนไพรเปล้าน้อย ในพื้นที่กว่า 1 พันไร่ ที่ อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี ซึ่งเปล้าน้อยที่ดีต้องมีอายุ 3 ปีขึ้นไป จึงจะมีสารเปลาโนทอลมากที่สุด ในอนาคต องค์การเภสัชกรรมมีโครงการจะกระจายพันธุ์สมุนไพรเปล้าน้อยให้เกษตรกรปลูกและรับซื้อในราคาประกัน เพื่อให้ได้ผลผลิตมากพอที่จะสกัดตัวยาได้อย่างต่อเนื่อง
ด้าน ดร.อมร หัวหน้าคณะนักวิจัย กล่าวว่า เปล้าน้อยเป็นพืชสมุนไพรของไทยที่ถูกญี่ปุ่นนำไปจดสิทธิบัตรและผลิตเป็นยารักษาโรคกระเพาะ ตั้งแต่ปี 2527 โดยมีโรงงานสกัดตัวยาอยู่ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างนั้นทีมนักวิจัยไทยก็ได้ทุ่มเทคิดค้นเทคนิคการสกัดสารเปลาโนทอล เพื่อผลิตยารักษาโรคกระเพาะด้วยเช่นกัน และเป็นที่น่ายินดีว่า ยารักษาโรคกระเพาะที่ทีมนักวิจัยไทยผลิตได้นั้น ต่างจากยารักษาโรคกระเพาะของญี่ปุ่น หรือยาแผนปัจจุบันที่นำเข้าจากต่างประเทศ เพราะยารักษาโรคกระเพาะปัจจุบันเกือบ 100% เป็นยาเคลือบกระเพาะและยาควบคุมการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร แต่ยาที่ทีมนักวิจัยไทยผลิตได้เป็นยารักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนบน กระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ และมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่จะก่อให้เกิดโรคกระเพาะเรื้อรัง ซึ่งสรรพคุณทั้งหมดยังไม่เคยพบในยารักษาโรคกระเพาะอื่น งานวิจัยชิ้นนี้จึงนับเป็นนวัตกรรมใหม่ในการผลิตยารักษาโรคกระเพาะที่เป็นความสำเร็จของคนไทย และใช้วัตถุดิบสมุนไพรไทยร้อยเปอร์เซนต์ โดยยาเปลาโนทอล จะถูกสกัดออกมาเป็นน้ำมันสีเหลืองและบรรจุในแคปซูล ลักษณะคล้ายกับน้ำมันตับปลา
“ในระหว่างการวิจัย เราได้นำยาเปลาโนทอลที่สกัดได้จากสมุนไพรเปล้าน้อย ไปทดลองรักษาผู้ป่วยโรคกระเพาะเรื้อรัง 8 คน ที่มีแผลในกระเพาะอาหารขนาด 1 ซม. โดยได้รับความร่วมมือจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผลปรากฏว่า ผู้ป่วย 6 คน รักษาแผลในกระเพาะอาหารได้หายสนิทภายใน 8 สัปดาห์ ขณะที่อีก 2 คน ต้องใช้ยาเคลือบกระเพาะเข้ารักษาร่วมด้วยจึงจะหายสนิท” ดร.อมร กล่าว