แพทยศาสตร์จุฬาฯ ร่วมกับวิศวกรรมศาสตร์ ผลิตไม้เท้าเลเซอร์ช่วยในการเดินของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ให้เคลื่อนไหวได้ปลอดภัย สะดวกขึ้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาอุปกรณ์และศึกษาประสิทธิภาพไม้เท้าเลเซอร์โดยเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่ใช้ไม้เท้าและไม่ใช้ไม้เท้า
ผศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ ได้ศึกษาวิจัยร่วมกับอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาฯ ในการผลิตไม้เท้าเลเซอร์ช่วยในการเดินของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ซึ่งได้รับรางวัลทุนวิจัยเซเรบอส อวอร์ด ประจำปีนี้ ผศ.นพ.รุ่งโรจน์ เปิดเผยว่า ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จะมีปัญหาหลักในเรื่องการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินที่ติดขัด ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยในขณะเดินได้
"ปัญหาการเดินติดขัดนับเป็นอาการของโรคพาร์กินสัน ที่ยังไม่มีวิธีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงปัจจุบัน นอกจากการรักษาด้วยวิธีรับประทานยาในกลุ่มลีโวโดปา ซึ่งพบว่าอาการเดินติดขัดนั้นตอบสนองต่อยาไม่สม่ำเสมอแล้ว อีกวิธีหนึ่งในการรักษาคือ การผ่าตัด โดยการฝังสายกระตุ้นไฟฟ้าเข้าไปในสมองส่วนลึกของผู้ป่วยที่ถูกระทบกระเทือน การกระตุ้นไฟฟ้าอย่างอ่อนที่ไม่เป็นอันตรายในสมองส่วนนี้ จะทำให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น อาการสั่น ตัวแข็งเกร็งลดลง ในขณะที่อาการเดินที่ติดขัดนั้น การตอบสนองต่อการผ่าตัดยังได้ผลไม่แน่นอนจึงเป็นที่มาของการพัฒนาไม้เท้าที่สามารถยิงแสงเลเซอร์ลงไปที่พื้น เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวสามารถก้าวเดินต่อไปได้"
ผศ.นพ.รุ่งโรจน์ ได้ทำการศึกษาถึงประสิทธิภาพของไม้เท้าเลเซอร์ในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โดยการเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่ใช้ไม้เท้าและไม่ใช้ไม้เท้า รวมถึงผลการรักษาด้วย ไม้เท้าเปรียบเทียบกับการรับประทานยาในกลุ่มลีโวโดปา ทั้งนี้ได้แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับประทานยาและไม่ใช้ไม้เท้า ผู้ป่วยที่ใช้ไม้เท้าในการเดินโดยการทดสอบให้เดินในระยะ 60 ฟุต และกลุ่มผู้ป่วยที่รับประทานยาและใช้ไม้เท้าช่วยในการเดิน จากนั้นจึงนำผลมาศึกษาทางสถิติ อย่างไรก็ตามการผลิตไม้เท้าเลเซอร์นี้ประสบผลสำเร็จได้ด้วยความร่วมมืออย่างดียิ่ง จาก รศ.ดร.มานะ ศรียุทธศักดิ์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาฯ ซึ่งให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอุปกรณ์ชนิดนี้ ตั้งแต่แรกเริ่มก่อนที่จะได้รับทุนวิจัย ปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาอุปกรณ์ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยมากที่สุด เช่น การทำให้น้ำหนักตัวผู้ป่วยเอนลงมาที่ไม้เท้า ทำให้เลเซอร์ถูกยิงลงมาที่พื้น โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องเอื้อมมือไปกดปุ่มเลเซอร์
ผศ.นพ.รุ่งโรจน์ ได้ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันว่า ขอให้มีกำลังใจ แม้ว่าโรคนี้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาด หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะทำให้การรักษาได้ผลดี ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีใกล้เคียงกับคนปกติ ดังนั้น ผู้ที่สงสัยว่ามีอาการโรคนี้สามารถเข้ารับการตรวจรักษา โดยเฉพาะกับแพทย์ทางอายุรกรรมระบบประสาทผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคนี้ การเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ว่าจะด้วยตัวยาหรือวิธีการผ่าตัดจะส่งผลดีต่อผู้ป่วยในระยะยาว รวมทั้งควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ครอบครัวและผู้อยู่รอบข้างควรมีความเข้าใจและให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยทำให้การรักษาสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
ผศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ ได้ศึกษาวิจัยร่วมกับอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาฯ ในการผลิตไม้เท้าเลเซอร์ช่วยในการเดินของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ซึ่งได้รับรางวัลทุนวิจัยเซเรบอส อวอร์ด ประจำปีนี้ ผศ.นพ.รุ่งโรจน์ เปิดเผยว่า ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จะมีปัญหาหลักในเรื่องการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินที่ติดขัด ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยในขณะเดินได้
"ปัญหาการเดินติดขัดนับเป็นอาการของโรคพาร์กินสัน ที่ยังไม่มีวิธีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงปัจจุบัน นอกจากการรักษาด้วยวิธีรับประทานยาในกลุ่มลีโวโดปา ซึ่งพบว่าอาการเดินติดขัดนั้นตอบสนองต่อยาไม่สม่ำเสมอแล้ว อีกวิธีหนึ่งในการรักษาคือ การผ่าตัด โดยการฝังสายกระตุ้นไฟฟ้าเข้าไปในสมองส่วนลึกของผู้ป่วยที่ถูกระทบกระเทือน การกระตุ้นไฟฟ้าอย่างอ่อนที่ไม่เป็นอันตรายในสมองส่วนนี้ จะทำให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น อาการสั่น ตัวแข็งเกร็งลดลง ในขณะที่อาการเดินที่ติดขัดนั้น การตอบสนองต่อการผ่าตัดยังได้ผลไม่แน่นอนจึงเป็นที่มาของการพัฒนาไม้เท้าที่สามารถยิงแสงเลเซอร์ลงไปที่พื้น เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวสามารถก้าวเดินต่อไปได้"
ผศ.นพ.รุ่งโรจน์ ได้ทำการศึกษาถึงประสิทธิภาพของไม้เท้าเลเซอร์ในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โดยการเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยที่ใช้ไม้เท้าและไม่ใช้ไม้เท้า รวมถึงผลการรักษาด้วย ไม้เท้าเปรียบเทียบกับการรับประทานยาในกลุ่มลีโวโดปา ทั้งนี้ได้แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับประทานยาและไม่ใช้ไม้เท้า ผู้ป่วยที่ใช้ไม้เท้าในการเดินโดยการทดสอบให้เดินในระยะ 60 ฟุต และกลุ่มผู้ป่วยที่รับประทานยาและใช้ไม้เท้าช่วยในการเดิน จากนั้นจึงนำผลมาศึกษาทางสถิติ อย่างไรก็ตามการผลิตไม้เท้าเลเซอร์นี้ประสบผลสำเร็จได้ด้วยความร่วมมืออย่างดียิ่ง จาก รศ.ดร.มานะ ศรียุทธศักดิ์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาฯ ซึ่งให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอุปกรณ์ชนิดนี้ ตั้งแต่แรกเริ่มก่อนที่จะได้รับทุนวิจัย ปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาอุปกรณ์ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยมากที่สุด เช่น การทำให้น้ำหนักตัวผู้ป่วยเอนลงมาที่ไม้เท้า ทำให้เลเซอร์ถูกยิงลงมาที่พื้น โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องเอื้อมมือไปกดปุ่มเลเซอร์
ผศ.นพ.รุ่งโรจน์ ได้ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันว่า ขอให้มีกำลังใจ แม้ว่าโรคนี้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาด หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะทำให้การรักษาได้ผลดี ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีใกล้เคียงกับคนปกติ ดังนั้น ผู้ที่สงสัยว่ามีอาการโรคนี้สามารถเข้ารับการตรวจรักษา โดยเฉพาะกับแพทย์ทางอายุรกรรมระบบประสาทผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคนี้ การเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ว่าจะด้วยตัวยาหรือวิธีการผ่าตัดจะส่งผลดีต่อผู้ป่วยในระยะยาว รวมทั้งควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ครอบครัวและผู้อยู่รอบข้างควรมีความเข้าใจและให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยทำให้การรักษาสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น