“ครูยุ่น” ค้านแนวคิดกรมพินิจฯที่จะใช้วิชาลูกเสือแก้ปัญหาเด็กนักเรียนตีกัน ชี้จะทำให้เด็กลอกเลียนการใช้อำนาจ แนะแก้ปัญหาเด็กยกพวกตีกันต้องใช้ความจริงใจไม่ใช่การบำบัดในฐานะผู้ป่วย ด้านรองอธิบดีกรมพินิจฯ เชื่อวิชาลูกเสือจะส่งเสริมให้เด็กเป็นคนดีได้
นายธวัชชัย ไทยเขียว รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พร้อมด้วย นายมนตรี สินทวิชัย หรือครูยุ่น สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จ.สมุทรสงคราม และเลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองเด็ก ร่วมเสวนาเรื่อง “เยาวชนกับปัญหาเด็กตีกัน” โดยนายมนตรีกล่าวว่า เหตุที่มีการทะเลาะวิวาทกันในงานคอนเสิร์ต ชี้ให้เห็นว่าเด็กต้องการแสดงออกว่ามีความกล้า ที่เป็นเช่นนี้เพราะสังคมไปกดดันเด็กตั้งแต่ต้น เช่น เป็นคนเรียนไม่เก่ง เรียนในสถาบันไม่ดัง สอบแข่งขันอะไรไม่ได้ เด็กก็จะรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า จึงหันมาตีกันเพื่อแสดงให้เห็นว่าเขายังมีความกล้า
ขณะที่ในส่วนของผู้จัดคอนเสิร์ตเอง บางครั้งก็เห็นแก่ตัว รู้ทั้งรู้ว่ามีเด็ก 2 กลุ่ม มารอก่อเหตุวิวาทกันก็ยังจัดคอนเสิร์ตขึ้นอีก เพราะผู้จัดไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ไม่เคยหามาตรการป้องกัน ทำได้แต่แจ้งตำรวจมารอล่วงหน้า แต่ไม่มีการตรวจอาวุธอย่างละเอียดและไม่มีการป้องกันช่องทางหลบหนีของเด็กที่ก่อเหตุวิวาท
“สังคมต้องให้ความเข้าใจเด็ก อย่าปิดกั้นทัศนคติของเด็ก ผมไม่อยากให้สังคมมองเด็กเป็นอย่างอื่น เพราะเด็กไม่ใช่คนป่วย อย่าใช้คำว่าบำบัด บางครั้งเจ้าหน้าที่ผู้บำบัดเองที่เป็นผู้ป่วย เด็กควรได้รับสิ่งดี ๆ และความเมตตาจากสังคม ควรได้รับการทดแทนถ้าเขาเสียสิทธิ การพัฒนาเด็กไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอะไรมาก เด็กไม่ต้องการงานวิจัยหรืองานวิชาการ แต่ต้องการความจริงใจจากใครก็ตามที่ลงไปช่วยเหลือจริง ๆ ไม่ใช่ดีแต่ปาก” นายมนตรีกล่าว
ด้านนายธวัชชัย กล่าวว่า ปัญหาของเด็กที่น่าเป็นห่วง คือ เด็กไทยมีสภาวะไร้ราก ไม่มีวัฒนธรรม มีค่านิยมที่ผิด คิดแต่เรื่องของตัวเองเป็นใหญ่ ต้องแก้ไขด้วยการสร้างครอบครัวและชุมชนที่เข้มแข็งเพื่อให้เด็กมีที่ยึดเหนี่ยวสำหรับปัญหาเด็กยกพวกตีกัน โดยส่วนตัวอยากเสนอให้ใช้ระบบลูกเสือในการแก้ปัญหาวัยรุ่น เพราะลูกเสือมีระบบการจัดการที่ดี ส่งเสริมให้คนทำดี เมื่อเด็กทำดีได้รับการยกย่องก็จะมีกำลังใจ และอยากทำความดีต่อไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ จะนำหนังสือสมบัติผู้ดีไปสอนเด็กในสถานพินิจฯ ด้วย เพราะหนังสือดังกล่าวบอกเรื่องการทำดีไว้อย่างครบถ้วน ซึ่งผมเชื่อว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาวัยรุ่นได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายมนตรี ได้โต้แย้งความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำระบบลูกเสือมาแก้ปัญหาเยาวชนว่า ผู้ใหญ่ชอบแสดงออกถึงอำนาจ ดังนั้น การนำระบบลูกเสือมาใช้ในการแก้ปัญหาวัยรุ่น ก็เหมือนกับการใช้อำนาจและออกคำสั่งกับเด็ก ผู้ใหญ่บางคนเหมือนเป็นโรคจิต เมื่อมีอำนาจก็จะบ้าอำนาจและชอบที่จะเห็นใครทำตามคำสั่งตัวเอง ทำให้เด็กลอกเลียนแบบการใช้อำนาจที่รุนแรง ถ้าเป็นเช่นนี้ก็จะยิ่งสร้างปัญหาให้กับเด็ก
นายธวัชชัย ไทยเขียว รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พร้อมด้วย นายมนตรี สินทวิชัย หรือครูยุ่น สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จ.สมุทรสงคราม และเลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองเด็ก ร่วมเสวนาเรื่อง “เยาวชนกับปัญหาเด็กตีกัน” โดยนายมนตรีกล่าวว่า เหตุที่มีการทะเลาะวิวาทกันในงานคอนเสิร์ต ชี้ให้เห็นว่าเด็กต้องการแสดงออกว่ามีความกล้า ที่เป็นเช่นนี้เพราะสังคมไปกดดันเด็กตั้งแต่ต้น เช่น เป็นคนเรียนไม่เก่ง เรียนในสถาบันไม่ดัง สอบแข่งขันอะไรไม่ได้ เด็กก็จะรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า จึงหันมาตีกันเพื่อแสดงให้เห็นว่าเขายังมีความกล้า
ขณะที่ในส่วนของผู้จัดคอนเสิร์ตเอง บางครั้งก็เห็นแก่ตัว รู้ทั้งรู้ว่ามีเด็ก 2 กลุ่ม มารอก่อเหตุวิวาทกันก็ยังจัดคอนเสิร์ตขึ้นอีก เพราะผู้จัดไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ไม่เคยหามาตรการป้องกัน ทำได้แต่แจ้งตำรวจมารอล่วงหน้า แต่ไม่มีการตรวจอาวุธอย่างละเอียดและไม่มีการป้องกันช่องทางหลบหนีของเด็กที่ก่อเหตุวิวาท
“สังคมต้องให้ความเข้าใจเด็ก อย่าปิดกั้นทัศนคติของเด็ก ผมไม่อยากให้สังคมมองเด็กเป็นอย่างอื่น เพราะเด็กไม่ใช่คนป่วย อย่าใช้คำว่าบำบัด บางครั้งเจ้าหน้าที่ผู้บำบัดเองที่เป็นผู้ป่วย เด็กควรได้รับสิ่งดี ๆ และความเมตตาจากสังคม ควรได้รับการทดแทนถ้าเขาเสียสิทธิ การพัฒนาเด็กไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอะไรมาก เด็กไม่ต้องการงานวิจัยหรืองานวิชาการ แต่ต้องการความจริงใจจากใครก็ตามที่ลงไปช่วยเหลือจริง ๆ ไม่ใช่ดีแต่ปาก” นายมนตรีกล่าว
ด้านนายธวัชชัย กล่าวว่า ปัญหาของเด็กที่น่าเป็นห่วง คือ เด็กไทยมีสภาวะไร้ราก ไม่มีวัฒนธรรม มีค่านิยมที่ผิด คิดแต่เรื่องของตัวเองเป็นใหญ่ ต้องแก้ไขด้วยการสร้างครอบครัวและชุมชนที่เข้มแข็งเพื่อให้เด็กมีที่ยึดเหนี่ยวสำหรับปัญหาเด็กยกพวกตีกัน โดยส่วนตัวอยากเสนอให้ใช้ระบบลูกเสือในการแก้ปัญหาวัยรุ่น เพราะลูกเสือมีระบบการจัดการที่ดี ส่งเสริมให้คนทำดี เมื่อเด็กทำดีได้รับการยกย่องก็จะมีกำลังใจ และอยากทำความดีต่อไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ จะนำหนังสือสมบัติผู้ดีไปสอนเด็กในสถานพินิจฯ ด้วย เพราะหนังสือดังกล่าวบอกเรื่องการทำดีไว้อย่างครบถ้วน ซึ่งผมเชื่อว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาวัยรุ่นได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายมนตรี ได้โต้แย้งความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำระบบลูกเสือมาแก้ปัญหาเยาวชนว่า ผู้ใหญ่ชอบแสดงออกถึงอำนาจ ดังนั้น การนำระบบลูกเสือมาใช้ในการแก้ปัญหาวัยรุ่น ก็เหมือนกับการใช้อำนาจและออกคำสั่งกับเด็ก ผู้ใหญ่บางคนเหมือนเป็นโรคจิต เมื่อมีอำนาจก็จะบ้าอำนาจและชอบที่จะเห็นใครทำตามคำสั่งตัวเอง ทำให้เด็กลอกเลียนแบบการใช้อำนาจที่รุนแรง ถ้าเป็นเช่นนี้ก็จะยิ่งสร้างปัญหาให้กับเด็ก