โดย อมรรัตน์ ล้อถิรธร
กรณี น.ส.จิตรลดา หรือเป็ด ตันติวาณิชยสุข มือมีดที่ไล่แทงเด็กเซนต์โยเซฟ คอนแวนต์เจ็บถึง 4 ราย สร้างความอกสั่นขวัญแขวนแก่ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์อย่างมาก โดยเฉพาะเด็กๆ และผู้ปกครอง ขณะเดียวกันกรมสุขภาพจิต ก็ออกมายืนยันแล้วว่า น.ส.จิตรลดา ป่วยเป็นโรคจิตจริง โดยอยู่ในกลุ่มโรคจิตเภท ชนิดหวาดระแวง สำหรับประชาชนทั่วไป อาจไม่ทราบว่า โรคจิตมีหลายประเภทหลายกลุ่ม และแต่ละกลุ่มก็จะปรากฏอาการต่างกัน บางกลุ่มก็รุนแรงน้อย แต่บางกลุ่มก็หนักหน่อย และบางกลุ่ม ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัวก็ได้ว่า ตัวเองเป็นโรคนี้อยู่...
คลิกที่นี่ เพื่อฟังเสียงรายงานพิเศษ

เมื่อพูดถึงโรคจิต หลายคนจะรู้สึกขยาดและหวาดกลัว เพราะภาพของคนเป็นโรคจิตดูจะไม่น่าพิสมัยเท่าไหร่ แถมยังถูกมองว่า อาจไปทำร้ายใครเข้า เพราะความที่สติไม่สมประกอบ พูดจาไม่รู้เรื่อง หรือซ้ำร้าย อาจถึงขั้นเดินถอดเสื้อผ้าเลยก็มี สรรพนามที่บุคคลเหล่านี้ถูกเรียกขานจากบุคคลรอบข้างหรือผู้พบเห็นจึงมีมากมาย ตั้งแต่คนโรคจิต วิกลจริต บ้า และประสาท เป็นต้น
แต่จริงๆ แล้ว โรคจิต หรือจิตเภท ซึ่งหมายถึง จิตที่แบ่งแยก หรือจิตที่แตก ถือว่าเป็นคนละโรคกับโรคประสาท รศ.น.พ.มาโนช หล่อตระกูล แห่งภาควิชาจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี บอกว่า โรคจิตกับคำว่า บ้า หรือวิกลจริต ถือว่าเป็นโรคเดียวกัน คือจะมีความผิดปกติในเรื่องของความคิด ขณะที่โรคประสาทจะผิดปกติในเรื่องของอารมณ์ โรคจิต แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ 1.กลุ่มโรคจิตเภท 2.กลุ่มโรคอารมณ์แปรปรวน และ 3.กลุ่มโรควิตกกังวล
สำหรับกลุ่มโรคจิตเภทถือว่าพบมากที่สุด โดยอาการหลักๆ ของผู้ป่วยกลุ่มนี้ ก็คือ มักจะหูแว่ว หวาดระแวง และคิดผิดๆ เชื่อผิดๆ เช่น เชื่อว่าตัวเองกลับชาติมาเกิด เชื่อว่า ชาติที่แล้วตัวเองเกิดเป็นพระพุทธเจ้า หรือการหูแว่ว โดยได้ยินเสียงคนมาต่อว่าหรือข่มขู่หรือมาสั่งให้ทำนั่นทำนี่ ซึ่งถือว่า อาการค่อนข้างรุนแรงและมีผลกระทบต่อเจ้าตัวค่อนข้างมาก
“โรคจิตรุนแรงคือว่า ส่วนใหญ่คนที่เป็นเขาจะทำงานไม่ค่อยได้ รุนแรงคือ มีผลกับเจ้าตัวมากกว่า คือ บางทีหวาดระแวงจนไม่กล้าออกไปทำงาน หรืออยู่แต่ในบ้าน อาหารก็ต้องตรวจดูทุกอย่างว่า มีใครเอายาพิษมาปนหรือเปล่า มันก็มีผลกระทบกับเขามาก แต่โรคประสาทก็เป็นแบบอารมณ์อ่อนไหวง่าย วิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำ แต่อันหนึ่งที่สำคัญคือ เจ้าตัวเขารู้ว่า อย่างนี้มันมากเกินปกตินะ พยายามคุมไว้ ก็พอควบคุมได้ แต่คนเป็นโรคจิตเขาจะไม่รู้ว่า สิ่งที่เขาคิดหรือกลัว มันผิดปกติ เขาเชื่อว่ามันเป็นจริงตามนั้น ...ถ้าเป็นโรคจิตยังพอดูแลตัวเองได้ กินข้าวได้ อาบน้ำได้ ทำอะได้ แต่ก็จะมีพฤติกรรมที่แปลกๆ ซึ่งเป็นไปตามความหลงผิดของเขา เช่น ถ้าระแวงว่าจะมีคนมาฆ่า เขาจะเก็บตัวอยู่กับบ้าน จะไม่ค่อยเปิดหน้าต่าง เพราะกลัวคนจะแอบมองว่าเขาทำอะไร หรือจะออกนอกบ้านก็ต้องคอยมองตลอดว่า มีใครตามหรือเปล่า ซึ่งคนใกล้ชิดก็จะเห็นว่า เขาเปลี่ยนไปจากเดิมนะ พูดน้อยลงบ้าง เพราะมีเสียงมาบอกว่า ห้ามพูดกับใคร บางทีก็หัวเราะคนเดียว ยิ้มคนเดียว เพราะมีเสียงมาพูดด้วยกับเขาเพราะฉะนั้นญาติหรือคนใกล้ชิดจะเห็นว่าเปลี่ยนแปลงไปชัดเจนจากเดิม”
แต่ไหนแต่ไรมา หลายคนก็เชื่อกันว่า การคิดมากเครียดมากทำให้คนเราเป็นบ้าหรือเป็นโรคจิตในที่สุด ซึ่งคุณหมอมาโนช ยืนยันว่า ไม่จริง ความเครียดเป็นแค่ตัวกระตุ้นเท่านั้น แต่สาเหตุที่แท้จริงเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง
“ทุกวันนี้วิทยาศาสตร์ด้านสมองเราก้าวหน้าไปมาก ทุกวันนี้เรารู้แล้วว่า มันเป็นมาจากเรื่องสารเคมีในสมองของเขาผิดปกติไป เพราะฉะนั้นโรคนี้ไม่ได้เกิดจากคิดมาก ไม่ได้เกิดจากพ่อแม่เลี้ยงดูไม่ดี เป็นโรคที่เป็นขึ้นมาเอง จากสารเคมีในสมองบางตัวมันทำงานผิดปกติไป เหมือนกับเบาหวาน ความดัน คือคนเราเครียด คิดมาก ก็ไม่ได้กลายเป็นเบาหวาน ใช่มั้ย เบาหวาน พ่อแม่ไม่ได้เป็น ลูกก็เป็นขึ้นมาเองได้เหมือนกัน โรคจิตก็เหมือนกัน บางคน ปัญหาโรคจิตส่วนใหญ่พอจุดเริ่มต้นที่ทำให้อาการเขามี ก็จะเริ่มต้นจากความเครียดก่อน เช่น ตกงาน สอบตก อกหัก หรือถูกพ่อแม่ตำหนิอย่างรุนแรง และตัวความเครียดนี้ จะเป็นตัวกระตุ้นให้อาการให้โรคความเสี่ยงต่อโรคซึ่งมีอยู่ในตัวเขาอยู่แล้ว กำเริบขึ้นมา คนทั่วไปมักจะเข้าใจว่า ตัวกระตุ้นนี่คือสาเหตุ เพราะฉะนั้นคนซึ่งเป็นพ่อแม่เขาจะรู้สึกผิดกับตรงนี้มาก เช่น ถ้าตามใจลูก ยอมให้เขาไปเรียนเชียงใหม่ เขาคงไม่กลายเป็นโรคจิตอย่างนี้หรอก ตอนหลังถ้าคนไข้มาเจอผม ผมก็จะบอกพ่อแม่อยู่ตลอดว่า ไม่ใช่ อันนี้เขาเป็นของเขาเอง”
สรุปว่า ถ้าใครไม่มีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ต่อให้คิดมากหรือเครียดแค่ไหน ก็ไม่เป็นโรคจิตขึ้นมาอย่างแน่นอน สำหรับตัวกระตุ้นให้โรคจิตกำเริบ นอกจากความเครียดแล้ว ยังรวมถึงการใช้สารกระตุ้นทั้งหลาย เช่น ยาบ้า การนอนไม่หลับหรือนอนไม่พอหลายๆ อาทิตย์ติดต่อกัน เป็นต้น
สำหรับโรคจิตมักจะปรากฏอาการตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ปัญหาของโรคนี้ก็คือ ผู้ป่วยจะไม่รู้ว่า ความคิดความเชื่อของตนนั้นผิดปกติ นั่นเป็นเพราะระบบหลักการคิดและเหตุผลสูญเสียไปด้วยนั่นเอง เมื่อคนรอบข้างบอกว่า สิ่งที่ผู้ป่วยคิดหรือได้ยิน เป็นสิ่งที่ไม่จริง ผู้ป่วยก็จะไม่เชื่อ แถมมองว่า คนรอบข้างพากันหลอกตนเอง
ส่วนการรักษาผู้ป่วยโรคจิตนั้น คุณหมอมาโนช บอกว่า เมื่อโรคจิตเกิดจากการที่ร่างกายมีสาร "โดปามีน" ในสมองมากเกินไป ก็ต้องให้ยาเพื่อยับยั้งการทำงานของสารตัวนี้ให้อยู่ในภาวะที่สมดุล
“สารตัวนี้มีหน้าที่เยอะ ช่วยเกี่ยวกับเรื่องของสมาธิ ช่วยเรื่องของความจำ ช่วยเรื่องของความรู้สึกสบายใจ มีหน้าที่เยอะมาก แต่หลักสำคัญอันหนึ่งคือ ถ้ามากเกินไปในสมองบางแห่ง เฉพาะสมองบางส่วน ก็ทำให้เกิดอาการโรคจิตตรงนี้ขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นยาก็ไปยับยั้งการทำงานของสารเคมีตัวนี้ ที่บริเวณสมองแห่งหนึ่งที่มากเกินไปให้กลับสู่สมดุล ..โดยทั่วไปถ้าเป็นครั้งแรก เราจะให้ยาทานไปสักประมาณ 2 ปี แต่ไม่ได้หมายความว่า 2 ปีถึงจะหายนะ โดยทั่วไปกินยาไปสัก 1-2 เดือนก็ดีขึ้น เดือนที่ 3-4 ถ้าดีจริงๆ ก็ปกติเลย แต่ก็ต้องกินยาต่อ ที่เจอบ่อยๆ คือคนไข้ทานยาไปได้สัก 4-5 เดือน แล้วก็หยุดยาเอง พอหยุดยาโรคก็กลับกำเริบขึ้นมาอีก ก็คล้ายๆ ว่าตัวโรคมันจะอยู่ในตัวเขาประมาณสักปีหรือ 2 ปี เพราะฉะนั้นยาที่เราให้ เหมือนกับยาไปข่มเอาไว้ ถ้าเราหยุดยาก่อน 2 ปี จะมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นใหม่อีก ..โรคนี้ถ้าเป็นครั้งเดียว เราให้กินยาประมาณ 2 ปี แต่ถ้า 2 ปี แล้วหยุดยาไป ถ้าเขากลับมาเป็นครั้งที่ 2 ต้องกินยาไป 5 ปี ถ้า 2 ปีแล้วรักษาร่างกายยังไม่ค่อยดีขึ้น อาจจะต้องกินยาตลอดชีวิต เพราะส่วนใหญ่ลักษณะของโรคพวกนี้จะค่อนข้างเรื้อรัง พูดง่ายๆ ว่า 70% เป็นเรื้อรัง มีแค่ 20-30% ค่อนข้างดี พอเป็นรักษาแล้วก็หาย”
เมื่อรักษาด้วยการรับประทานยาแล้ว อาการที่ผิดปกติต่างๆ จะหายเป็นปกติเลยหรือไม่ คุณหมอมาโนช บอกว่า ก็มีได้หลายแบบ บางคนอาจจะหายเลย แต่บางคนก็อาจจะยังเหลืออาการคิดแปลกๆ อยู่บ้างนิดหน่อย หรือที่เรียกว่า “เพี้ยน” แต่ไม่ถึงขั้นบ้า เช่น บางคนใส่เสื้อสีฟ้าไปทำงานทุกวัน แต่จะไม่มีอาการหูแว่วแล้ว เพราะยาที่รับประทานจะช่วยควบคุมอาการ ทำให้โรคทุเลาลงมาก
ส่วนโรคกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มโรคอารมณ์แปรปรวน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 โรค คือ โรคซึมเศร้า และโรคอารมณ์ 2 ขั้ว คุณหมอมาโนช พูดถึงอาการของโรคซึมเศร้าให้ฟัง
“ถ้าโรคซึมเศร้าก็จะเป็นลักษณะรู้สึกเบื่อๆ ไม่แจ่มใส หดหู่ ร้องไห้บ่อยๆ นอนหลับไม่ดี เบื่ออาหาร วันๆ ก็ไม่อยากทำอะไร เอาแต่นอน ขี้เกียจ รู้สึกผิด คิดไม่อยากอยู่ ก็เป็นภาพของคนไข้ที่เป็นโรคซึมเศร้า และเป็นทีก็เป็นนาน เป็นหลายๆ อาทิตย์ 2-3 อาทิตย์ บางคนก็เป็นเดือนๆ ..ส่วนใหญ่จะมีเหตุนำมาก่อน เช่นที่เจอบ่อย สามีมีภรรยาน้อย โรคซึมเศร้าผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชายสัก 2 เท่า 2-3 เท่า ส่วนใหญ่ที่ผมเจออายุประมาณสัก 40 เรื่องที่เจอก็สามีมีภรรยาน้อย เรื่องลูก ลูกเกเร ทำให้เขาไม่สบายใจ ไม่สบายใจก็เครียด โรคนี้ก็เหมือนกัน ต้องเป็นคนที่มีแนวโน้มอยู่ระดับหนึ่งแล้วที่จะเป็น ..ถ้าโรคซึมเศร้ามีความเสี่ยงสูง อย่างที่เขาสำรวจคนที่เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ถามญาติ พบว่า เกือบ 70% มีเรื่องของซึมเศร้าร่วมด้วยทั้งนั้น พอซึมเศร้าก็รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า ไม่รู้จะอยู่ไปทำไม เป็นภาระกับคนอื่น เขาคงไม่สนใจเราแล้ว แล้วก็อยู่กับตัวเอง ใครชวนไปไหนก็ไม่ยอมไป ก็ยิ่งคิดวกวน ก็รู้สึกตัวเองไม่มีค่า ก็ทำร้ายตัวเองในที่สุด”

สำหรับสาเหตุของโรคซึมเศร้านั้น คุณหมอมาโนช บอกว่า ค่อนข้างคาบเกี่ยวระหว่างความผิดปกติของสารเคมีในสมอง กับปัญหาทางด้านจิตใจ
“โรคนี้คาบเกี่ยวกันมาก ไม่ได้เป็นความผิดปกติของสมอง 100% เหมือนกับโรคจิตเภท พูดง่ายๆ ว่า ครึ่งหนึ่งก็เป็นเรื่องทางด้านจิตใจ อีกครึ่งหนึ่งก็เป็นเรื่องสารเคมีในสมอง ซึ่งจริงๆ แล้วก็ดูค่อนข้างยาก ว่าอันไหนเป็นจากสารเคมีในสมอง หลักการง่ายๆ คือ ถ้ามีนอนไม่หลับมากๆ หลับไปแล้ว ตื่นกลางดึก ตี 2 ตื่นแล้วนอนต่อไม่ได้ บางคนเดือนเดียวลดลงไปตั้ง 10 กก.มีอยู่คนหนึ่งจาก 60 กก.เหลือ 50 กก. เขาบอกดีใจมาก อันหนึ่งโรคซึมเศร้าดีสำหรับเขา คือทำให้เขาผอมลงได้ ..ถ้าผอมลงมาก และนอนหลับไม่ได้ และเพลียมาก ตื่นมาก็รู้สึกแย่เลย ถ้ามีลักษณะอย่างนี้ แสดงว่าน่าจะเป็นเรื่องของสารเคมีในสมองซะส่วนใหญ่”
คุณหมอมาโนช บอกว่า ปัญหาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ก็คือ ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า สุดท้ายจึงไม่อยากมีชีวิตอยู่ และมีความเสี่ยงสูงที่จะจบชีวิตตัวเองด้วยการฆ่าตัวตาย ดังนั้นผู้ปกครองหรือญาติพยายามอย่าปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียว จะช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตลงได้มาก
นอกจากโรคซึมเศร้าแล้ว ยังมีอีกโรคหนึ่งก็คือ โรคอารมณ์ 2 ขั้ว ซึ่งโรคอารมณ์ 2 ขั้วก็มีทั้งความเหมือนและความต่างจากโรคซึมเศร้า
“โรคซึมเศร้า พูดง่ายๆ ว่าเป็น ก็อาจจะเป็นหลายครั้งก็ได้ แต่เป็นแล้วก็หาย หรือเป็นครั้งหนึ่งเป็น 3-4 เดือน รักษาหาย บางคนก็ 2-3 ปีก็กลับมาเป็นใหม่ บางคนก็หายไปเลย คือถ้าหายก็หายปกติ ถ้าเป็นโรคอารมณ์ 2 ขั้วคือ บางช่วงเขาเป็นแบบโรคซึมเศร้า แต่มีบางช่วงถ้ารักษาหายไปแล้ว บางช่วงหายไปเป็นหลายๆ เดือน และอยู่ๆ ก็กลับมาเป็นใหม่ เวลากลับมาเป็นใหม่ อาการจะเป็นอีกด้านหนึ่ง ถ้าโรคซึมเศร้าเมื่อกี้เป็นแบบขั้วลบ อันใหม่จะเป็นขั้วบวก คือตรงข้ามกับโรคซึมเศร้าเลย คือเขาจะเชื่อมั่นตัวเองมาก พูดคุยเก่ง มีพลังมาก ไม่อยากจะนอน รู้สึกคึกคัก ใช้เงินเปลือง ใช้เงินเก่ง อันนี้จะตรงข้ามกับโรคซึมเศร้าเลย ...ถ้าเป็นน้อยๆ จะไม่รู้นะ คนจะมองว่า เขาเก่งจัง มีพลังสร้างสรรค์เยอะ ไม่หลับไม่นอนเลย วันๆ เอาแต่ทำงาน นอนดึกตี 1 ตี 2 ตื่นเช้ามาตี 5 เอ้า! ทำโน่นทำนี่อีกแล้ว แอคทีฟมาก มีพลังสร้างสรรค์เยอะ แต่ถ้าเป็นระดับนี้ หลักการที่เราดูคือ ถ้าเป็นมากจนขนาดที่ทำให้การทำงานหรือการตัดสินใจสูญเสียไป ก็ถือว่าผิดปกติ แต่ถ้ายังแอคทีฟไฮเปอร์แอคทีฟ แต่ยังไม่สูญเสีย ไม่มีปัญหาในการทำงาน ไม่มีผลกระทบอะไรตามมา ก็ยังอยู่ในขั้นที่พอรับได้”
คุณหมอมาโนช บอกว่า โรคอารมณ์ 2 ขั้วนั้นค่อนข้างดูยาก นอกจากเจ้าตัวจะไม่ค่อยรู้แล้ว บางครั้งญาติหรือคนรอบข้างก็ไม่ทราบเช่นกัน กว่าจะทราบก็ต่อเมื่อผู้ป่วยสร้างความเสียหายมากแล้ว หรือทำอะไรเกินตัว อย่างไม่เคยทำมาก่อนหรือทำอะไรที่คนอื่นไม่ทำกัน
“ตัวอย่างเช่น เป็นแม่บ้าน เกิดเป็นอย่างนี้ปุ๊บ อยากทำโน่นทำนี่ อ่านไอซีที เอ๊! ข้างบ้านเรายังไม่มีร้านอินเตอร์เน็ตเลย เปิดร้านอินเตอร์เน็ตถ้าจะดีนะ ไอเดียกระฉุดปุ๊บ แกโทรไปสั่งคอมมาทีเดียว 10 เครื่อง และมีเครดิตมีอะไร เปิดร้าน ไปหาร้านเช่า เฉพาะวันหนึ่งแกใช้เงินไปประมาณ 7 หมื่น ซึ่งจากเดิมใช้เงินแค่พันหนึ่ง พูดง่ายๆ คือไม่ใช่คนเดิมของเขา”
สำหรับโรคกลุ่มที่ 3 ที่อยู่ในข่ายโรคจิต ก็คือ กลุ่มโรควิตกกังวล ซึ่งแบ่งแยกย่อยได้เป็นหลายโรค
คุณหมอมาโนช บอกว่า มีอยู่ 2 โรคที่น่าจะพูดถึง เพราะพบบ่อย อันแรกคือ โรคกังวลไปทั่วหรือโรควิตกจริต ส่วนอีกโรคหนึ่ง ก็คือ โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกังวลไปทั่วเป็นอย่างไร ไปฟังคุณหมอมาโนชกัน
“โรคกังวลไปทั่ว ถ้าพูดง่ายๆ คือ โรควิตกจริต ส่วนใหญ่ก็เป็นผู้หญิงอีกนั่นแหละ กังวลโน่นกังวลนี่ มีเรื่องอะไรที่เข้ามา เขาจะมองคาดการณ์ในแง่ร้ายไว้ก่อน เช่น พอมีข่าวเด็กตกรถเมล์ ลูกไปโรงเรียน เขาจะกังวลว่า เอ๊! ลูกจะเป็นอะไรหรือเปล่า ลูกเราจะมีปัญหามั้ย ลูกกลับมาช้าไปนิดหนึ่งก็กังวล โทรไปถามลูก ลูกอยู่ที่ไหน แม่ต้องไปรับมั้ย พอเรื่องนี้ผ่านไป มีเรื่องใหม่เข้ามาอีก ก็กังวลกับเรื่องนั้นเรื่องนี้ไปอีก เพราะฉะนั้นเขาจะวิตกกังวลกับทุกๆ เรื่อง และนอกจากวิตกกังวลแล้ว ยังมีนอนหลับไม่ค่อยดี และบางทีก็หายใจไม่อิ่ม แน่นหน้าอก ใจสั่น เหงื่อออก รู้สึกปวดหัว ปวดเมื่อยเนื้อตัว โรคนี้เป็นค่อนข้างเรื้อรัง เป็นปีปี ก็เป็นอันที่ ถ้าจะบอกว่ามีผลกระทบในแง่การทำงานอะไรมั้ย ก็ผลกระทบอาจจะไม่มากเท่ากับโรคซึมเศร้า คือเจ้าตัวยังพอทำงานได้ แต่เจ้าตัวเองรู้สึกเครียดง่าย พูดง่ายๆ คือเป็นทุกข์ใจอยู่บ่อยๆ …เขาก็รู้ว่าเขาเป็นคนคิดมาก ส่วนใหญ่เจ้าตัวที่มาหาผม เขาก็บอกเป็นคนคิดมาก เป็นคนวิตกกังวล ฉันก็รู้ แต่เขาจะไปหาแพทย์ก็ตอนที่มันมีเรื่องใหญ่ๆ ที่เข้ามา เขาคุมตัวเองไม่ได้เลย กังวลคิดตลอด หยุดคิดไม่ได้ รู้ว่าไม่ควรคิด ถ้าเป็นอย่างนี้มาหา เราก็ให้ยาคลายกังวลไปกิน”
โรคกังวลไปทั่ว หรือโรควิตกจริต ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย เช่นเดียวกับโรคซึมเศร้า ส่วนโรคย้ำคิดย้ำทำนั้น แค่ชื่อก็ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าเป็นอย่างไร
“โรคย้ำคิดย้ำทำ ตรงนี้วินิจฉัยง่าย คือทำอะไรซ้ำๆ เช่น กลัวความสกปรก ก็จะล้างมือซ้ำๆ วันหนึ่งล้างมือเป็น 10 ครั้ง ล้างจนมือแห้ง หรือบางทีก็เช็ค เวลาก่อนออกจากบ้านก็ดูว่าลงกลอนหรือยัง ปิดประตูหรือยัง กลางคือก็เช็คแก๊ส เช็คไฟว่าปิดไฟหมดหรือเปล่า ตรวจโน่นตรวจนี่ซ้ำๆ บางทีก็ต้องจัดตรงนี้ให้ได้ระเบียบ จัดตรงนั้นให้ได้ระเบียบ เช่น ตู้เย็นก็ต้องตั้งตรงนี้ ห้ามเอียง โต๊ะ-หนังสือต้องวางตรงนี้ ก็ย้ำๆ กับเรื่องความสมดุลของสิ่งต่างๆ ...โรคนี้ก็จากสารเคมีในสมองผิดปกติ ก็ต้องให้ยาเหมือนกัน บางทีก็คิดซ้ำๆ กังวลว่า บางทีลงจากรถแล้ว ต้องไปดูเรื่อยๆ เมื่อกี้ล็อกประตูหรือยัง อย่างเราถ้าล็อก แค่ครั้งเดียวใช่มั้ย แต่เขาดูแล้วดูอีก 3-4 ครั้ง บางที 5-6 ครั้ง และเจ้าตัวก็รู้ว่าผิดปกติ แต่คุมไม่ได้”
เมื่อพูดถึงโรคจิตทั้ง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มจิตเภท กลุ่มอารมณ์แปรปรวน และกลุ่มวิตกกังวลนั้น คุณหมอมาโนช บอกว่า กลุ่มโรคจิตเภทส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตมากที่สุด เพราะผู้ป่วยจะสูญเสียการรับรู้ความเป็นจริงไป ไม่รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองนั้น เป็นสิ่งผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยอยู่ในโลกแห่งความหลงผิด แม้โรคจิตเภทจะกระทบต่อการดำเนินชีวิตที่สุด แต่ถ้าถามว่า โรคไหนน่าห่วงที่สุด คุณหมอมาโนช บอกว่า โรคซึมเศร้าน่าห่วงที่สุด เพราะทำให้ตายได้ และเป็นโรคที่พบบ่อย นอกจากนี้ประชาชนยังไม่ค่อยทราบว่า โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติที่มียาช่วยได้ ส่วนใหญ่จะคิดแค่ว่า พอคนรอบข้างเครียด เดี๋ยวก็ดีขึ้น เดี๋ยวก็หายเอง ทำให้เกิดเรื่องน่าเสียใจตามมา ซึ่งจากสถิติในต่างประเทศ พบว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะจบลงด้วยการฆ่าตัวตายประมาณ 10-20%
พูดถึงโรคจิตแล้ว หลายครั้งที่เราอาจจะเคยเห็นคนสติไม่สมประกอบเดินถอดเสื้อผ้าไปตามถนน ซึ่งกรณีแบบนี้ คุณหมอมาโนช ก็บอกว่า จัดว่าเป็นโรคจิตเภทเช่นกัน โดยถือว่า ผู้ป่วยหลุดจากความจริงไปแล้ว พูดจาไม่ค่อยรู้เรื่อง มีพฤติกรรมที่เรียกว่า ไม่อยู่กับร่องกับรอย
ส่วนพวกที่ชอบโชว์อวัยวะเพศ ชอบถ้ำมอง หรือโทรศัพท์ลามกทั้งหลาย ซึ่งหลายคนมองว่า เป็นพฤติกรรมของคนโรคจิตนั้น คุณหมอมาโนช ยืนยันว่า คนเหล่านี้ไม่ได้เป็นโรคจิต แต่เป็นพวกวิปริตทางเพศ หรือความต้องการทางเพศผิดปกติไปนั่นเอง
“พวกนี้เขาเรียก พวกวิปริตทางเพศ พวกนี้ไม่ใช่โรคจิต แต่เป็นคล้ายๆ ว่า มีความต้องการทางเพศซึ่งเบี่ยงเบนไปจากปกติ วัตถุที่เขาใช้เพื่อบรรเทาความต้องการทางเพศ มันไม่ใช่สิ่งที่คนทั่วๆ ไปเขาทำกัน เช่น พวกที่ชอบขโมยกางเกงใน พวกที่ชอบถ้ำมอง พวกที่ชอบทำอะไรบนรถเมล์ คือเขาเป็นโรคทางจิตเวช มีความผิดปกติทางด้านจิตใจ แต่ไม่ได้เป็นโรคจิต คือไม่หูแว่ว ไม่ประสาทหลอน ...พวกวิปริตทางเพศ เขาเองก็รู้นะว่า ที่เขาทำมันไม่ดี แต่เขาห้ามใจตัวเองไม่ได้ เหมือนกับพวกที่ชอบขโมยของในห้าง มีส่วนหนึ่งก็เป็นโรค เขาเรียก โรคชอบขโมยของ เมื่อปีที่แล้ว ที่มีดาราเมืองนอกขโมยของในห้าง มันเหมือนกับมันติด รู้ว่าไม่ดี รู้ว่าไม่ควรทำ แต่ถึงเวลา มองไปไม่มีคน รู้สึกอยากทำ มันตื่นเต้น มันสะใจ เขาติดตรงนี้ มันติดแล้วมันเลิกยาก”
คุณหมอมาโนช ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า แม้ปัจจุบันคนไทยจะมีความรู้ความเข้าใจเรื่องของสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชมากขึ้น สังเกตได้จากพอใครรู้สึกนอนไม่หลับหรือเครียด หรือมีปัญหาเรื่องสัมพันธภาพ ก็จะไปปรึกษาจิตแพทย์ แต่ถึงกระนั้นก็ยังคนอีกจำนวนไม่น้อย ที่มีปัญหาแบบนี้แล้วไม่อยากไปหาหมอ เพราะกลัวถูกคนรอบข้างมองว่า ตัวเองเป็นโรคจิต ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ควรคิดเช่นนั้น
“ยังมีส่วนหนึ่งเหมือนกันที่ไม่อยากจะมาพบ เพราะกลัวว่าคนจะมองว่า เป็นโรคจิต คนจะมองว่า เป็นแค่นี้ทำไมต้องไปหาหมอ อย่างนี้ก็ยังเจออยู่บ้าง แต่ผมอยากจะขอย้ำว่า การมาพบจิตแพทย์ไม่ได้หมายความว่า ปัญหาของเรามากหรือรุนแรง การมาพบคือ เพื่อมาดูซิว่า มันอยู่ตรงไหน เราจะช่วยเหลือกันได้ยังไงบ้าง ไม่ได้หมายความว่า ปัญหามาก หรือเป็นเรื่องที่น่าอายอะไร อย่างเมืองนอกเป็นเรื่องธรรมดามาก กับการคุยกับจิตแพทย์ สำหรับญาติๆ ผมว่าก็มีส่วนช่วยเหมือนกัน วิธีสังเกตง่ายๆ ว่า คนรอบข้างหรือคนใกล้ชิดจะมีปัญหาด้านสุขภาพจิตหรือเปล่า ก็คือดูง่ายๆ ว่า เขาเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนมั้ย เปลี่ยนไปจากปีที่แล้วหรือเปล่า ดูเป็นภาพรวมอย่างนี้เลยละกัน เช่น เดือนนี้ดูเขาซึมๆ ลง เขาเก็บตัว ไม่ค่อยพูด ถอนหายใจบ่อยๆ ดูไม่แฮปปี้ เริ่มแรกก็อย่างที่ว่า คุย..มีปัญหาอะไรมั้ย มีเรื่องอะไรหรือเปล่า ไม่สบายใจ เปิดโอกาสให้เขาคุย คุยแล้ว ดูแล้วปัญหาอันไหนเราช่วยเขาได้ ก็ช่วยเขาไป แต่ถ้าคุยกับเขาแล้ว ช่วยเขาแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น ผมคิดว่าควรแนะนำให้เขามาพบจิตแพทย์ เพื่อมาดูซิว่า จะช่วยเขาได้ยังไงบ้าง”
คุณหมอมาโนช หล่อตระกูล ยังแนะวิธีบริหารสุขภาพจิตแก่ทุกคนด้วยว่า อันแรกที่ทำได้ง่ายที่สุด ก็คือ จัดระเบียบให้ชีวิต เช่น เข้านอน-ตื่นนอนให้ตรงเวลา ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พยายามอย่าเครียด และลองสังเกตตัวเองหรือประเมินตัวเองบ้าง เช่น ทุกวันนี้เราเป็นอย่างไร เทียบกับปีที่แล้ว เราไปถึงไหนแล้ว เราเครียดมากกว่าเมี่อก่อนมั้ย เมื่อได้ประเมินตัวเอง ก็จะทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น
คุณหมอมาโนช ย้ำด้วยว่า ทุกคนจะมีสุขภาพจิตที่ดี ถ้ามี 3 คลายต่อไปนี้ 1.คลายอารมณ์ เช่น ฟังเพลงหรืออ่านหนังสือที่ชอบเพื่อให้จิตใจได้ผ่อนคลายบ้าง 2.คลายความคิด อย่าจริงจังกับทุกสิ่งทุกอย่างมากเกินไป พยายามเดินสายกลางเข้าไว้ และ 3.คลายพฤติกรรม คือ การจัดระเบียบในชีวิตให้ดีนั่นเอง!!
เรื่องโดย อมรรัตน์ ล้อถิรธร
กรณี น.ส.จิตรลดา หรือเป็ด ตันติวาณิชยสุข มือมีดที่ไล่แทงเด็กเซนต์โยเซฟ คอนแวนต์เจ็บถึง 4 ราย สร้างความอกสั่นขวัญแขวนแก่ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์อย่างมาก โดยเฉพาะเด็กๆ และผู้ปกครอง ขณะเดียวกันกรมสุขภาพจิต ก็ออกมายืนยันแล้วว่า น.ส.จิตรลดา ป่วยเป็นโรคจิตจริง โดยอยู่ในกลุ่มโรคจิตเภท ชนิดหวาดระแวง สำหรับประชาชนทั่วไป อาจไม่ทราบว่า โรคจิตมีหลายประเภทหลายกลุ่ม และแต่ละกลุ่มก็จะปรากฏอาการต่างกัน บางกลุ่มก็รุนแรงน้อย แต่บางกลุ่มก็หนักหน่อย และบางกลุ่ม ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัวก็ได้ว่า ตัวเองเป็นโรคนี้อยู่...
คลิกที่นี่ เพื่อฟังเสียงรายงานพิเศษ
เมื่อพูดถึงโรคจิต หลายคนจะรู้สึกขยาดและหวาดกลัว เพราะภาพของคนเป็นโรคจิตดูจะไม่น่าพิสมัยเท่าไหร่ แถมยังถูกมองว่า อาจไปทำร้ายใครเข้า เพราะความที่สติไม่สมประกอบ พูดจาไม่รู้เรื่อง หรือซ้ำร้าย อาจถึงขั้นเดินถอดเสื้อผ้าเลยก็มี สรรพนามที่บุคคลเหล่านี้ถูกเรียกขานจากบุคคลรอบข้างหรือผู้พบเห็นจึงมีมากมาย ตั้งแต่คนโรคจิต วิกลจริต บ้า และประสาท เป็นต้น
แต่จริงๆ แล้ว โรคจิต หรือจิตเภท ซึ่งหมายถึง จิตที่แบ่งแยก หรือจิตที่แตก ถือว่าเป็นคนละโรคกับโรคประสาท รศ.น.พ.มาโนช หล่อตระกูล แห่งภาควิชาจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี บอกว่า โรคจิตกับคำว่า บ้า หรือวิกลจริต ถือว่าเป็นโรคเดียวกัน คือจะมีความผิดปกติในเรื่องของความคิด ขณะที่โรคประสาทจะผิดปกติในเรื่องของอารมณ์ โรคจิต แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ 1.กลุ่มโรคจิตเภท 2.กลุ่มโรคอารมณ์แปรปรวน และ 3.กลุ่มโรควิตกกังวล
สำหรับกลุ่มโรคจิตเภทถือว่าพบมากที่สุด โดยอาการหลักๆ ของผู้ป่วยกลุ่มนี้ ก็คือ มักจะหูแว่ว หวาดระแวง และคิดผิดๆ เชื่อผิดๆ เช่น เชื่อว่าตัวเองกลับชาติมาเกิด เชื่อว่า ชาติที่แล้วตัวเองเกิดเป็นพระพุทธเจ้า หรือการหูแว่ว โดยได้ยินเสียงคนมาต่อว่าหรือข่มขู่หรือมาสั่งให้ทำนั่นทำนี่ ซึ่งถือว่า อาการค่อนข้างรุนแรงและมีผลกระทบต่อเจ้าตัวค่อนข้างมาก
“โรคจิตรุนแรงคือว่า ส่วนใหญ่คนที่เป็นเขาจะทำงานไม่ค่อยได้ รุนแรงคือ มีผลกับเจ้าตัวมากกว่า คือ บางทีหวาดระแวงจนไม่กล้าออกไปทำงาน หรืออยู่แต่ในบ้าน อาหารก็ต้องตรวจดูทุกอย่างว่า มีใครเอายาพิษมาปนหรือเปล่า มันก็มีผลกระทบกับเขามาก แต่โรคประสาทก็เป็นแบบอารมณ์อ่อนไหวง่าย วิตกกังวล ย้ำคิดย้ำทำ แต่อันหนึ่งที่สำคัญคือ เจ้าตัวเขารู้ว่า อย่างนี้มันมากเกินปกตินะ พยายามคุมไว้ ก็พอควบคุมได้ แต่คนเป็นโรคจิตเขาจะไม่รู้ว่า สิ่งที่เขาคิดหรือกลัว มันผิดปกติ เขาเชื่อว่ามันเป็นจริงตามนั้น ...ถ้าเป็นโรคจิตยังพอดูแลตัวเองได้ กินข้าวได้ อาบน้ำได้ ทำอะได้ แต่ก็จะมีพฤติกรรมที่แปลกๆ ซึ่งเป็นไปตามความหลงผิดของเขา เช่น ถ้าระแวงว่าจะมีคนมาฆ่า เขาจะเก็บตัวอยู่กับบ้าน จะไม่ค่อยเปิดหน้าต่าง เพราะกลัวคนจะแอบมองว่าเขาทำอะไร หรือจะออกนอกบ้านก็ต้องคอยมองตลอดว่า มีใครตามหรือเปล่า ซึ่งคนใกล้ชิดก็จะเห็นว่า เขาเปลี่ยนไปจากเดิมนะ พูดน้อยลงบ้าง เพราะมีเสียงมาบอกว่า ห้ามพูดกับใคร บางทีก็หัวเราะคนเดียว ยิ้มคนเดียว เพราะมีเสียงมาพูดด้วยกับเขาเพราะฉะนั้นญาติหรือคนใกล้ชิดจะเห็นว่าเปลี่ยนแปลงไปชัดเจนจากเดิม”
แต่ไหนแต่ไรมา หลายคนก็เชื่อกันว่า การคิดมากเครียดมากทำให้คนเราเป็นบ้าหรือเป็นโรคจิตในที่สุด ซึ่งคุณหมอมาโนช ยืนยันว่า ไม่จริง ความเครียดเป็นแค่ตัวกระตุ้นเท่านั้น แต่สาเหตุที่แท้จริงเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง
“ทุกวันนี้วิทยาศาสตร์ด้านสมองเราก้าวหน้าไปมาก ทุกวันนี้เรารู้แล้วว่า มันเป็นมาจากเรื่องสารเคมีในสมองของเขาผิดปกติไป เพราะฉะนั้นโรคนี้ไม่ได้เกิดจากคิดมาก ไม่ได้เกิดจากพ่อแม่เลี้ยงดูไม่ดี เป็นโรคที่เป็นขึ้นมาเอง จากสารเคมีในสมองบางตัวมันทำงานผิดปกติไป เหมือนกับเบาหวาน ความดัน คือคนเราเครียด คิดมาก ก็ไม่ได้กลายเป็นเบาหวาน ใช่มั้ย เบาหวาน พ่อแม่ไม่ได้เป็น ลูกก็เป็นขึ้นมาเองได้เหมือนกัน โรคจิตก็เหมือนกัน บางคน ปัญหาโรคจิตส่วนใหญ่พอจุดเริ่มต้นที่ทำให้อาการเขามี ก็จะเริ่มต้นจากความเครียดก่อน เช่น ตกงาน สอบตก อกหัก หรือถูกพ่อแม่ตำหนิอย่างรุนแรง และตัวความเครียดนี้ จะเป็นตัวกระตุ้นให้อาการให้โรคความเสี่ยงต่อโรคซึ่งมีอยู่ในตัวเขาอยู่แล้ว กำเริบขึ้นมา คนทั่วไปมักจะเข้าใจว่า ตัวกระตุ้นนี่คือสาเหตุ เพราะฉะนั้นคนซึ่งเป็นพ่อแม่เขาจะรู้สึกผิดกับตรงนี้มาก เช่น ถ้าตามใจลูก ยอมให้เขาไปเรียนเชียงใหม่ เขาคงไม่กลายเป็นโรคจิตอย่างนี้หรอก ตอนหลังถ้าคนไข้มาเจอผม ผมก็จะบอกพ่อแม่อยู่ตลอดว่า ไม่ใช่ อันนี้เขาเป็นของเขาเอง”
สรุปว่า ถ้าใครไม่มีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ต่อให้คิดมากหรือเครียดแค่ไหน ก็ไม่เป็นโรคจิตขึ้นมาอย่างแน่นอน สำหรับตัวกระตุ้นให้โรคจิตกำเริบ นอกจากความเครียดแล้ว ยังรวมถึงการใช้สารกระตุ้นทั้งหลาย เช่น ยาบ้า การนอนไม่หลับหรือนอนไม่พอหลายๆ อาทิตย์ติดต่อกัน เป็นต้น
สำหรับโรคจิตมักจะปรากฏอาการตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ปัญหาของโรคนี้ก็คือ ผู้ป่วยจะไม่รู้ว่า ความคิดความเชื่อของตนนั้นผิดปกติ นั่นเป็นเพราะระบบหลักการคิดและเหตุผลสูญเสียไปด้วยนั่นเอง เมื่อคนรอบข้างบอกว่า สิ่งที่ผู้ป่วยคิดหรือได้ยิน เป็นสิ่งที่ไม่จริง ผู้ป่วยก็จะไม่เชื่อ แถมมองว่า คนรอบข้างพากันหลอกตนเอง
ส่วนการรักษาผู้ป่วยโรคจิตนั้น คุณหมอมาโนช บอกว่า เมื่อโรคจิตเกิดจากการที่ร่างกายมีสาร "โดปามีน" ในสมองมากเกินไป ก็ต้องให้ยาเพื่อยับยั้งการทำงานของสารตัวนี้ให้อยู่ในภาวะที่สมดุล
“สารตัวนี้มีหน้าที่เยอะ ช่วยเกี่ยวกับเรื่องของสมาธิ ช่วยเรื่องของความจำ ช่วยเรื่องของความรู้สึกสบายใจ มีหน้าที่เยอะมาก แต่หลักสำคัญอันหนึ่งคือ ถ้ามากเกินไปในสมองบางแห่ง เฉพาะสมองบางส่วน ก็ทำให้เกิดอาการโรคจิตตรงนี้ขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นยาก็ไปยับยั้งการทำงานของสารเคมีตัวนี้ ที่บริเวณสมองแห่งหนึ่งที่มากเกินไปให้กลับสู่สมดุล ..โดยทั่วไปถ้าเป็นครั้งแรก เราจะให้ยาทานไปสักประมาณ 2 ปี แต่ไม่ได้หมายความว่า 2 ปีถึงจะหายนะ โดยทั่วไปกินยาไปสัก 1-2 เดือนก็ดีขึ้น เดือนที่ 3-4 ถ้าดีจริงๆ ก็ปกติเลย แต่ก็ต้องกินยาต่อ ที่เจอบ่อยๆ คือคนไข้ทานยาไปได้สัก 4-5 เดือน แล้วก็หยุดยาเอง พอหยุดยาโรคก็กลับกำเริบขึ้นมาอีก ก็คล้ายๆ ว่าตัวโรคมันจะอยู่ในตัวเขาประมาณสักปีหรือ 2 ปี เพราะฉะนั้นยาที่เราให้ เหมือนกับยาไปข่มเอาไว้ ถ้าเราหยุดยาก่อน 2 ปี จะมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นใหม่อีก ..โรคนี้ถ้าเป็นครั้งเดียว เราให้กินยาประมาณ 2 ปี แต่ถ้า 2 ปี แล้วหยุดยาไป ถ้าเขากลับมาเป็นครั้งที่ 2 ต้องกินยาไป 5 ปี ถ้า 2 ปีแล้วรักษาร่างกายยังไม่ค่อยดีขึ้น อาจจะต้องกินยาตลอดชีวิต เพราะส่วนใหญ่ลักษณะของโรคพวกนี้จะค่อนข้างเรื้อรัง พูดง่ายๆ ว่า 70% เป็นเรื้อรัง มีแค่ 20-30% ค่อนข้างดี พอเป็นรักษาแล้วก็หาย”
เมื่อรักษาด้วยการรับประทานยาแล้ว อาการที่ผิดปกติต่างๆ จะหายเป็นปกติเลยหรือไม่ คุณหมอมาโนช บอกว่า ก็มีได้หลายแบบ บางคนอาจจะหายเลย แต่บางคนก็อาจจะยังเหลืออาการคิดแปลกๆ อยู่บ้างนิดหน่อย หรือที่เรียกว่า “เพี้ยน” แต่ไม่ถึงขั้นบ้า เช่น บางคนใส่เสื้อสีฟ้าไปทำงานทุกวัน แต่จะไม่มีอาการหูแว่วแล้ว เพราะยาที่รับประทานจะช่วยควบคุมอาการ ทำให้โรคทุเลาลงมาก
ส่วนโรคกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มโรคอารมณ์แปรปรวน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 โรค คือ โรคซึมเศร้า และโรคอารมณ์ 2 ขั้ว คุณหมอมาโนช พูดถึงอาการของโรคซึมเศร้าให้ฟัง
“ถ้าโรคซึมเศร้าก็จะเป็นลักษณะรู้สึกเบื่อๆ ไม่แจ่มใส หดหู่ ร้องไห้บ่อยๆ นอนหลับไม่ดี เบื่ออาหาร วันๆ ก็ไม่อยากทำอะไร เอาแต่นอน ขี้เกียจ รู้สึกผิด คิดไม่อยากอยู่ ก็เป็นภาพของคนไข้ที่เป็นโรคซึมเศร้า และเป็นทีก็เป็นนาน เป็นหลายๆ อาทิตย์ 2-3 อาทิตย์ บางคนก็เป็นเดือนๆ ..ส่วนใหญ่จะมีเหตุนำมาก่อน เช่นที่เจอบ่อย สามีมีภรรยาน้อย โรคซึมเศร้าผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชายสัก 2 เท่า 2-3 เท่า ส่วนใหญ่ที่ผมเจออายุประมาณสัก 40 เรื่องที่เจอก็สามีมีภรรยาน้อย เรื่องลูก ลูกเกเร ทำให้เขาไม่สบายใจ ไม่สบายใจก็เครียด โรคนี้ก็เหมือนกัน ต้องเป็นคนที่มีแนวโน้มอยู่ระดับหนึ่งแล้วที่จะเป็น ..ถ้าโรคซึมเศร้ามีความเสี่ยงสูง อย่างที่เขาสำรวจคนที่เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ถามญาติ พบว่า เกือบ 70% มีเรื่องของซึมเศร้าร่วมด้วยทั้งนั้น พอซึมเศร้าก็รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า ไม่รู้จะอยู่ไปทำไม เป็นภาระกับคนอื่น เขาคงไม่สนใจเราแล้ว แล้วก็อยู่กับตัวเอง ใครชวนไปไหนก็ไม่ยอมไป ก็ยิ่งคิดวกวน ก็รู้สึกตัวเองไม่มีค่า ก็ทำร้ายตัวเองในที่สุด”
สำหรับสาเหตุของโรคซึมเศร้านั้น คุณหมอมาโนช บอกว่า ค่อนข้างคาบเกี่ยวระหว่างความผิดปกติของสารเคมีในสมอง กับปัญหาทางด้านจิตใจ
“โรคนี้คาบเกี่ยวกันมาก ไม่ได้เป็นความผิดปกติของสมอง 100% เหมือนกับโรคจิตเภท พูดง่ายๆ ว่า ครึ่งหนึ่งก็เป็นเรื่องทางด้านจิตใจ อีกครึ่งหนึ่งก็เป็นเรื่องสารเคมีในสมอง ซึ่งจริงๆ แล้วก็ดูค่อนข้างยาก ว่าอันไหนเป็นจากสารเคมีในสมอง หลักการง่ายๆ คือ ถ้ามีนอนไม่หลับมากๆ หลับไปแล้ว ตื่นกลางดึก ตี 2 ตื่นแล้วนอนต่อไม่ได้ บางคนเดือนเดียวลดลงไปตั้ง 10 กก.มีอยู่คนหนึ่งจาก 60 กก.เหลือ 50 กก. เขาบอกดีใจมาก อันหนึ่งโรคซึมเศร้าดีสำหรับเขา คือทำให้เขาผอมลงได้ ..ถ้าผอมลงมาก และนอนหลับไม่ได้ และเพลียมาก ตื่นมาก็รู้สึกแย่เลย ถ้ามีลักษณะอย่างนี้ แสดงว่าน่าจะเป็นเรื่องของสารเคมีในสมองซะส่วนใหญ่”
คุณหมอมาโนช บอกว่า ปัญหาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ก็คือ ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า สุดท้ายจึงไม่อยากมีชีวิตอยู่ และมีความเสี่ยงสูงที่จะจบชีวิตตัวเองด้วยการฆ่าตัวตาย ดังนั้นผู้ปกครองหรือญาติพยายามอย่าปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียว จะช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตลงได้มาก
นอกจากโรคซึมเศร้าแล้ว ยังมีอีกโรคหนึ่งก็คือ โรคอารมณ์ 2 ขั้ว ซึ่งโรคอารมณ์ 2 ขั้วก็มีทั้งความเหมือนและความต่างจากโรคซึมเศร้า
“โรคซึมเศร้า พูดง่ายๆ ว่าเป็น ก็อาจจะเป็นหลายครั้งก็ได้ แต่เป็นแล้วก็หาย หรือเป็นครั้งหนึ่งเป็น 3-4 เดือน รักษาหาย บางคนก็ 2-3 ปีก็กลับมาเป็นใหม่ บางคนก็หายไปเลย คือถ้าหายก็หายปกติ ถ้าเป็นโรคอารมณ์ 2 ขั้วคือ บางช่วงเขาเป็นแบบโรคซึมเศร้า แต่มีบางช่วงถ้ารักษาหายไปแล้ว บางช่วงหายไปเป็นหลายๆ เดือน และอยู่ๆ ก็กลับมาเป็นใหม่ เวลากลับมาเป็นใหม่ อาการจะเป็นอีกด้านหนึ่ง ถ้าโรคซึมเศร้าเมื่อกี้เป็นแบบขั้วลบ อันใหม่จะเป็นขั้วบวก คือตรงข้ามกับโรคซึมเศร้าเลย คือเขาจะเชื่อมั่นตัวเองมาก พูดคุยเก่ง มีพลังมาก ไม่อยากจะนอน รู้สึกคึกคัก ใช้เงินเปลือง ใช้เงินเก่ง อันนี้จะตรงข้ามกับโรคซึมเศร้าเลย ...ถ้าเป็นน้อยๆ จะไม่รู้นะ คนจะมองว่า เขาเก่งจัง มีพลังสร้างสรรค์เยอะ ไม่หลับไม่นอนเลย วันๆ เอาแต่ทำงาน นอนดึกตี 1 ตี 2 ตื่นเช้ามาตี 5 เอ้า! ทำโน่นทำนี่อีกแล้ว แอคทีฟมาก มีพลังสร้างสรรค์เยอะ แต่ถ้าเป็นระดับนี้ หลักการที่เราดูคือ ถ้าเป็นมากจนขนาดที่ทำให้การทำงานหรือการตัดสินใจสูญเสียไป ก็ถือว่าผิดปกติ แต่ถ้ายังแอคทีฟไฮเปอร์แอคทีฟ แต่ยังไม่สูญเสีย ไม่มีปัญหาในการทำงาน ไม่มีผลกระทบอะไรตามมา ก็ยังอยู่ในขั้นที่พอรับได้”
คุณหมอมาโนช บอกว่า โรคอารมณ์ 2 ขั้วนั้นค่อนข้างดูยาก นอกจากเจ้าตัวจะไม่ค่อยรู้แล้ว บางครั้งญาติหรือคนรอบข้างก็ไม่ทราบเช่นกัน กว่าจะทราบก็ต่อเมื่อผู้ป่วยสร้างความเสียหายมากแล้ว หรือทำอะไรเกินตัว อย่างไม่เคยทำมาก่อนหรือทำอะไรที่คนอื่นไม่ทำกัน
“ตัวอย่างเช่น เป็นแม่บ้าน เกิดเป็นอย่างนี้ปุ๊บ อยากทำโน่นทำนี่ อ่านไอซีที เอ๊! ข้างบ้านเรายังไม่มีร้านอินเตอร์เน็ตเลย เปิดร้านอินเตอร์เน็ตถ้าจะดีนะ ไอเดียกระฉุดปุ๊บ แกโทรไปสั่งคอมมาทีเดียว 10 เครื่อง และมีเครดิตมีอะไร เปิดร้าน ไปหาร้านเช่า เฉพาะวันหนึ่งแกใช้เงินไปประมาณ 7 หมื่น ซึ่งจากเดิมใช้เงินแค่พันหนึ่ง พูดง่ายๆ คือไม่ใช่คนเดิมของเขา”
สำหรับโรคกลุ่มที่ 3 ที่อยู่ในข่ายโรคจิต ก็คือ กลุ่มโรควิตกกังวล ซึ่งแบ่งแยกย่อยได้เป็นหลายโรค
คุณหมอมาโนช บอกว่า มีอยู่ 2 โรคที่น่าจะพูดถึง เพราะพบบ่อย อันแรกคือ โรคกังวลไปทั่วหรือโรควิตกจริต ส่วนอีกโรคหนึ่ง ก็คือ โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคกังวลไปทั่วเป็นอย่างไร ไปฟังคุณหมอมาโนชกัน
“โรคกังวลไปทั่ว ถ้าพูดง่ายๆ คือ โรควิตกจริต ส่วนใหญ่ก็เป็นผู้หญิงอีกนั่นแหละ กังวลโน่นกังวลนี่ มีเรื่องอะไรที่เข้ามา เขาจะมองคาดการณ์ในแง่ร้ายไว้ก่อน เช่น พอมีข่าวเด็กตกรถเมล์ ลูกไปโรงเรียน เขาจะกังวลว่า เอ๊! ลูกจะเป็นอะไรหรือเปล่า ลูกเราจะมีปัญหามั้ย ลูกกลับมาช้าไปนิดหนึ่งก็กังวล โทรไปถามลูก ลูกอยู่ที่ไหน แม่ต้องไปรับมั้ย พอเรื่องนี้ผ่านไป มีเรื่องใหม่เข้ามาอีก ก็กังวลกับเรื่องนั้นเรื่องนี้ไปอีก เพราะฉะนั้นเขาจะวิตกกังวลกับทุกๆ เรื่อง และนอกจากวิตกกังวลแล้ว ยังมีนอนหลับไม่ค่อยดี และบางทีก็หายใจไม่อิ่ม แน่นหน้าอก ใจสั่น เหงื่อออก รู้สึกปวดหัว ปวดเมื่อยเนื้อตัว โรคนี้เป็นค่อนข้างเรื้อรัง เป็นปีปี ก็เป็นอันที่ ถ้าจะบอกว่ามีผลกระทบในแง่การทำงานอะไรมั้ย ก็ผลกระทบอาจจะไม่มากเท่ากับโรคซึมเศร้า คือเจ้าตัวยังพอทำงานได้ แต่เจ้าตัวเองรู้สึกเครียดง่าย พูดง่ายๆ คือเป็นทุกข์ใจอยู่บ่อยๆ …เขาก็รู้ว่าเขาเป็นคนคิดมาก ส่วนใหญ่เจ้าตัวที่มาหาผม เขาก็บอกเป็นคนคิดมาก เป็นคนวิตกกังวล ฉันก็รู้ แต่เขาจะไปหาแพทย์ก็ตอนที่มันมีเรื่องใหญ่ๆ ที่เข้ามา เขาคุมตัวเองไม่ได้เลย กังวลคิดตลอด หยุดคิดไม่ได้ รู้ว่าไม่ควรคิด ถ้าเป็นอย่างนี้มาหา เราก็ให้ยาคลายกังวลไปกิน”
โรคกังวลไปทั่ว หรือโรควิตกจริต ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย เช่นเดียวกับโรคซึมเศร้า ส่วนโรคย้ำคิดย้ำทำนั้น แค่ชื่อก็ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าเป็นอย่างไร
“โรคย้ำคิดย้ำทำ ตรงนี้วินิจฉัยง่าย คือทำอะไรซ้ำๆ เช่น กลัวความสกปรก ก็จะล้างมือซ้ำๆ วันหนึ่งล้างมือเป็น 10 ครั้ง ล้างจนมือแห้ง หรือบางทีก็เช็ค เวลาก่อนออกจากบ้านก็ดูว่าลงกลอนหรือยัง ปิดประตูหรือยัง กลางคือก็เช็คแก๊ส เช็คไฟว่าปิดไฟหมดหรือเปล่า ตรวจโน่นตรวจนี่ซ้ำๆ บางทีก็ต้องจัดตรงนี้ให้ได้ระเบียบ จัดตรงนั้นให้ได้ระเบียบ เช่น ตู้เย็นก็ต้องตั้งตรงนี้ ห้ามเอียง โต๊ะ-หนังสือต้องวางตรงนี้ ก็ย้ำๆ กับเรื่องความสมดุลของสิ่งต่างๆ ...โรคนี้ก็จากสารเคมีในสมองผิดปกติ ก็ต้องให้ยาเหมือนกัน บางทีก็คิดซ้ำๆ กังวลว่า บางทีลงจากรถแล้ว ต้องไปดูเรื่อยๆ เมื่อกี้ล็อกประตูหรือยัง อย่างเราถ้าล็อก แค่ครั้งเดียวใช่มั้ย แต่เขาดูแล้วดูอีก 3-4 ครั้ง บางที 5-6 ครั้ง และเจ้าตัวก็รู้ว่าผิดปกติ แต่คุมไม่ได้”
เมื่อพูดถึงโรคจิตทั้ง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มจิตเภท กลุ่มอารมณ์แปรปรวน และกลุ่มวิตกกังวลนั้น คุณหมอมาโนช บอกว่า กลุ่มโรคจิตเภทส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตมากที่สุด เพราะผู้ป่วยจะสูญเสียการรับรู้ความเป็นจริงไป ไม่รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองนั้น เป็นสิ่งผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยอยู่ในโลกแห่งความหลงผิด แม้โรคจิตเภทจะกระทบต่อการดำเนินชีวิตที่สุด แต่ถ้าถามว่า โรคไหนน่าห่วงที่สุด คุณหมอมาโนช บอกว่า โรคซึมเศร้าน่าห่วงที่สุด เพราะทำให้ตายได้ และเป็นโรคที่พบบ่อย นอกจากนี้ประชาชนยังไม่ค่อยทราบว่า โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติที่มียาช่วยได้ ส่วนใหญ่จะคิดแค่ว่า พอคนรอบข้างเครียด เดี๋ยวก็ดีขึ้น เดี๋ยวก็หายเอง ทำให้เกิดเรื่องน่าเสียใจตามมา ซึ่งจากสถิติในต่างประเทศ พบว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะจบลงด้วยการฆ่าตัวตายประมาณ 10-20%
พูดถึงโรคจิตแล้ว หลายครั้งที่เราอาจจะเคยเห็นคนสติไม่สมประกอบเดินถอดเสื้อผ้าไปตามถนน ซึ่งกรณีแบบนี้ คุณหมอมาโนช ก็บอกว่า จัดว่าเป็นโรคจิตเภทเช่นกัน โดยถือว่า ผู้ป่วยหลุดจากความจริงไปแล้ว พูดจาไม่ค่อยรู้เรื่อง มีพฤติกรรมที่เรียกว่า ไม่อยู่กับร่องกับรอย
ส่วนพวกที่ชอบโชว์อวัยวะเพศ ชอบถ้ำมอง หรือโทรศัพท์ลามกทั้งหลาย ซึ่งหลายคนมองว่า เป็นพฤติกรรมของคนโรคจิตนั้น คุณหมอมาโนช ยืนยันว่า คนเหล่านี้ไม่ได้เป็นโรคจิต แต่เป็นพวกวิปริตทางเพศ หรือความต้องการทางเพศผิดปกติไปนั่นเอง
“พวกนี้เขาเรียก พวกวิปริตทางเพศ พวกนี้ไม่ใช่โรคจิต แต่เป็นคล้ายๆ ว่า มีความต้องการทางเพศซึ่งเบี่ยงเบนไปจากปกติ วัตถุที่เขาใช้เพื่อบรรเทาความต้องการทางเพศ มันไม่ใช่สิ่งที่คนทั่วๆ ไปเขาทำกัน เช่น พวกที่ชอบขโมยกางเกงใน พวกที่ชอบถ้ำมอง พวกที่ชอบทำอะไรบนรถเมล์ คือเขาเป็นโรคทางจิตเวช มีความผิดปกติทางด้านจิตใจ แต่ไม่ได้เป็นโรคจิต คือไม่หูแว่ว ไม่ประสาทหลอน ...พวกวิปริตทางเพศ เขาเองก็รู้นะว่า ที่เขาทำมันไม่ดี แต่เขาห้ามใจตัวเองไม่ได้ เหมือนกับพวกที่ชอบขโมยของในห้าง มีส่วนหนึ่งก็เป็นโรค เขาเรียก โรคชอบขโมยของ เมื่อปีที่แล้ว ที่มีดาราเมืองนอกขโมยของในห้าง มันเหมือนกับมันติด รู้ว่าไม่ดี รู้ว่าไม่ควรทำ แต่ถึงเวลา มองไปไม่มีคน รู้สึกอยากทำ มันตื่นเต้น มันสะใจ เขาติดตรงนี้ มันติดแล้วมันเลิกยาก”
คุณหมอมาโนช ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า แม้ปัจจุบันคนไทยจะมีความรู้ความเข้าใจเรื่องของสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชมากขึ้น สังเกตได้จากพอใครรู้สึกนอนไม่หลับหรือเครียด หรือมีปัญหาเรื่องสัมพันธภาพ ก็จะไปปรึกษาจิตแพทย์ แต่ถึงกระนั้นก็ยังคนอีกจำนวนไม่น้อย ที่มีปัญหาแบบนี้แล้วไม่อยากไปหาหมอ เพราะกลัวถูกคนรอบข้างมองว่า ตัวเองเป็นโรคจิต ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ควรคิดเช่นนั้น
“ยังมีส่วนหนึ่งเหมือนกันที่ไม่อยากจะมาพบ เพราะกลัวว่าคนจะมองว่า เป็นโรคจิต คนจะมองว่า เป็นแค่นี้ทำไมต้องไปหาหมอ อย่างนี้ก็ยังเจออยู่บ้าง แต่ผมอยากจะขอย้ำว่า การมาพบจิตแพทย์ไม่ได้หมายความว่า ปัญหาของเรามากหรือรุนแรง การมาพบคือ เพื่อมาดูซิว่า มันอยู่ตรงไหน เราจะช่วยเหลือกันได้ยังไงบ้าง ไม่ได้หมายความว่า ปัญหามาก หรือเป็นเรื่องที่น่าอายอะไร อย่างเมืองนอกเป็นเรื่องธรรมดามาก กับการคุยกับจิตแพทย์ สำหรับญาติๆ ผมว่าก็มีส่วนช่วยเหมือนกัน วิธีสังเกตง่ายๆ ว่า คนรอบข้างหรือคนใกล้ชิดจะมีปัญหาด้านสุขภาพจิตหรือเปล่า ก็คือดูง่ายๆ ว่า เขาเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนมั้ย เปลี่ยนไปจากปีที่แล้วหรือเปล่า ดูเป็นภาพรวมอย่างนี้เลยละกัน เช่น เดือนนี้ดูเขาซึมๆ ลง เขาเก็บตัว ไม่ค่อยพูด ถอนหายใจบ่อยๆ ดูไม่แฮปปี้ เริ่มแรกก็อย่างที่ว่า คุย..มีปัญหาอะไรมั้ย มีเรื่องอะไรหรือเปล่า ไม่สบายใจ เปิดโอกาสให้เขาคุย คุยแล้ว ดูแล้วปัญหาอันไหนเราช่วยเขาได้ ก็ช่วยเขาไป แต่ถ้าคุยกับเขาแล้ว ช่วยเขาแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น ผมคิดว่าควรแนะนำให้เขามาพบจิตแพทย์ เพื่อมาดูซิว่า จะช่วยเขาได้ยังไงบ้าง”
คุณหมอมาโนช หล่อตระกูล ยังแนะวิธีบริหารสุขภาพจิตแก่ทุกคนด้วยว่า อันแรกที่ทำได้ง่ายที่สุด ก็คือ จัดระเบียบให้ชีวิต เช่น เข้านอน-ตื่นนอนให้ตรงเวลา ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พยายามอย่าเครียด และลองสังเกตตัวเองหรือประเมินตัวเองบ้าง เช่น ทุกวันนี้เราเป็นอย่างไร เทียบกับปีที่แล้ว เราไปถึงไหนแล้ว เราเครียดมากกว่าเมี่อก่อนมั้ย เมื่อได้ประเมินตัวเอง ก็จะทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น
คุณหมอมาโนช ย้ำด้วยว่า ทุกคนจะมีสุขภาพจิตที่ดี ถ้ามี 3 คลายต่อไปนี้ 1.คลายอารมณ์ เช่น ฟังเพลงหรืออ่านหนังสือที่ชอบเพื่อให้จิตใจได้ผ่อนคลายบ้าง 2.คลายความคิด อย่าจริงจังกับทุกสิ่งทุกอย่างมากเกินไป พยายามเดินสายกลางเข้าไว้ และ 3.คลายพฤติกรรม คือ การจัดระเบียบในชีวิตให้ดีนั่นเอง!!
เรื่องโดย อมรรัตน์ ล้อถิรธร