นักวิจัยจาก วช.สุดเจ๋ง เตรียมใช้ “สเต็มเซลล์” กระดูกแข็งรักษากระดูกหักและข้อเข่าเสื่อม คาดจะสามารถใช้งานได้ไม่เกินปลายปี 2549 นี้ แต่ยอมรับการทำวิจัยในไทยยังทำได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากปัจจุบันไม่มีกฎหมายรองรับ จนถือได้ว่าเป็นช่วงสูญญากาศ
วันที่ 1 กันยายน ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี มีการประชุมวิชาการกลุ่มภารกิจด้านสนับสนุนงานบริการสุขภาพ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2548 มีการอภิปรายเรื่อง “สเต็มเซลล์ ความคาดหวังของมนุษยชาติ” โดยมี ศ.ดร.อานนท์ บุญยะรัตเวช เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) น.พ.สุรเดช หงส์อิง ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี น.พ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมอภิปราย
ศ.ดร.อานนท์ กล่าวว่า การใช้สเต็มเซลล์เพื่อการรักษาโรคนั้น เป็นปัญหาทางจริยธรรม เพราะเป็นการท้าทายธรรมชาติด้วยการสร้างเนื้อเยื่อในห้องปฎิบัติการ ดังนั้นการจะสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาได้จึงต้องทราบกระบวนการพัฒนาของเซลล์เพื่อเป็นเนื้อเยื่อทุกขั้นตอน เพื่อให้สามารถพัฒนาเซลล์ในระดับเนื้อเยื่อขึ้นมาได้ เป็นการท้าทายธรรมชาติขั้นสูงมาก เพราะเป็นการเอาธรรมชาติมาประกอบกับการกระทำของมุนษย์ อย่างไรก็ตาม สเต็มเซลล์นั้นมีที่มาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ มาจากเอ็มบริโอ หรือตัวอ่อนของมุนษย์ (Embyonic Stem Cell) ซึ่งตามระเบียบการวิจัยของนานาชาติจะใช้ตัวอ่อนที่อายุไม่เกิน 14-21 วันหลังปฏิสนธิ และจากเซลล์ต้นกำเนิดของผู้ใหญ่ (Adult Stem Cell)
ศ.ดร.อานนท์ กล่าวว่า ประโยชน์ของสเต็มเซลล์กับการรักษาพยาบาล มี 3 ประเด็นหลัก คือการรักษาด้วยวิธีเซลล์บำบัด การสร้างเนื้อเยื่อเพื่อการเปลี่ยนเนื้อเยื่อ และการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ แต่อย่างไรก็ตามการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะนั้นอาจจะต้องใช้เวลานานพอสมควร เพราะกระบวนการพัฒนาค่อนข้างยาก
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาวช.ได้ประสบความสำเร็จในการวิจัยเพื่อให้สเต็มเซลล์พัฒนาไปเป็นกระดูกอ่อน และขณะนี้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาสเต็มเซลล์ให้เป็นกระดูแข็ง(Osteoblast) ซึ่งจะช่วยรักษาผู้ป่วยกระดูกหักจากอุบัติเหตุ และข้อเข่าเสื่อม โดยคาดว่าจะสามารถนำมาใช้รักษาได้ไม่เกินปลายปี 2549
ทั้งนี้ การรักษากระดูกหักจากอุบัติเหตุในปัจจุบันเป็นการรักษาโดยการใช้เหล็กดามกระดูก แต่ในการรักษาด้วยวิธิการใช้สเต็มเซลล์จะใช้พลาสติกพิเศษดามไว้ จากนั้นใช้สเต็มเซลล์ใส่ไปในจุดที่จะเชื่อมกระดูกที่หัก ซึ่งสเต็มเซลล์จะพัฒนาไปเป็นกระดูก โดยไม่ต้องใส่เหล็กดาม ซึ่งวิธีการนี้มีการทำที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) ได้ให้การรับรองแล้ว
ด้าน น.พ.พงศ์พันธ์ กล่าวว่า การวิจัยและพัฒนาการใช้สเต็มเซลล์ก้าวหน้าไปมากในหลายประเทศ โดยเฉพาะที่จีน และเกาหลีใต้ มีการลงทุนในเรื่องการวิจัยจำนวนมาก แต่ในประเทศไทยการวิจัยยังมีไม่มากนัก ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะร่วมมือกับ สกว.ในการพัฒนาสเต็มเซลล์ในห้องปฎิบัติการ เพื่อให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศได้นำไปใช้ โดยสเต็มเซลล์ที่จะพัฒนานั้นจะใช้จากเซลล์ต้นกำเนิดของผู้ใหญ่ เนื่องจากการใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนของมุนษย์นั้นยังมีเป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงกันอีกมากในเรื่องจริยธรรม และความเหมาะสม โดยคาดว่าภายในปลายปี 2549 จะร่วมกันพัฒนาสเต็มเซลล์ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจขาดเลือดได้เป็นรายแรกของไทย ด้วยวิธีการที่นักวิจัยประเทศไทยเป็นผู้คิดค้นขึ้น
“โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจาก ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นการนำผลงานการวิจัยของ สกว.มาบูรณาการกับงานในห้องปฎิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งจะทำให้งานก้าวหน้ามากขึ้น โดยไม่ต้องไปเริ่มต้นใหม่ ซึ่งขณะนี้ได้งบประมาณมาแล้ว ดังนั้นคาดว่าในปี 2549 จะสามารถทำการทดลองระดับคลินิกในมนุษย์ได้ ซึ่งหากประสบความสำเร็จในการใช้สเต็มเซลล์เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดแล้ว จะวิจัยเพื่อใช้ในโรคอื่นๆต่อไป” น.พ.พงศ์พันธ์กล่าว
ส่วน น.พ.สุรเดช กล่าวว่า การวิจัยสเต็มเซลล์ในประเทศไทยนั้นยังทำได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากปัจจุบันไม่มีกฎหมายรองรับ จนถือได้ว่าเป็นช่วงสุญญากาศ มีเพียงระเบียบการวิจัยของหน่วยงานที่ทำขึ้นมาซึ่งก็เป็นเพียงแนวทางในการปฎิบัติเท่านั้น จึงทำให้นักวิจัยไทยเสียโอกาสในการรับทุนในการวิจัยไปส่วนหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยยังไม่มีการทำวิจัยสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนของมุนษย์ มีเพียงการทำสเต็มเซลล์จากผู้ใหญ่ ซึ่งจากวารสารทางการแพทย์ระบุไว้ว่าสเต็มเซลล์อาจจะพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งได้ จึงไม่ปลอดภัยกับการใช้เท่าใดนัก
วันที่ 1 กันยายน ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี มีการประชุมวิชาการกลุ่มภารกิจด้านสนับสนุนงานบริการสุขภาพ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2548 มีการอภิปรายเรื่อง “สเต็มเซลล์ ความคาดหวังของมนุษยชาติ” โดยมี ศ.ดร.อานนท์ บุญยะรัตเวช เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) น.พ.สุรเดช หงส์อิง ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี น.พ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมอภิปราย
ศ.ดร.อานนท์ กล่าวว่า การใช้สเต็มเซลล์เพื่อการรักษาโรคนั้น เป็นปัญหาทางจริยธรรม เพราะเป็นการท้าทายธรรมชาติด้วยการสร้างเนื้อเยื่อในห้องปฎิบัติการ ดังนั้นการจะสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาได้จึงต้องทราบกระบวนการพัฒนาของเซลล์เพื่อเป็นเนื้อเยื่อทุกขั้นตอน เพื่อให้สามารถพัฒนาเซลล์ในระดับเนื้อเยื่อขึ้นมาได้ เป็นการท้าทายธรรมชาติขั้นสูงมาก เพราะเป็นการเอาธรรมชาติมาประกอบกับการกระทำของมุนษย์ อย่างไรก็ตาม สเต็มเซลล์นั้นมีที่มาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ มาจากเอ็มบริโอ หรือตัวอ่อนของมุนษย์ (Embyonic Stem Cell) ซึ่งตามระเบียบการวิจัยของนานาชาติจะใช้ตัวอ่อนที่อายุไม่เกิน 14-21 วันหลังปฏิสนธิ และจากเซลล์ต้นกำเนิดของผู้ใหญ่ (Adult Stem Cell)
ศ.ดร.อานนท์ กล่าวว่า ประโยชน์ของสเต็มเซลล์กับการรักษาพยาบาล มี 3 ประเด็นหลัก คือการรักษาด้วยวิธีเซลล์บำบัด การสร้างเนื้อเยื่อเพื่อการเปลี่ยนเนื้อเยื่อ และการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ แต่อย่างไรก็ตามการวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะนั้นอาจจะต้องใช้เวลานานพอสมควร เพราะกระบวนการพัฒนาค่อนข้างยาก
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาวช.ได้ประสบความสำเร็จในการวิจัยเพื่อให้สเต็มเซลล์พัฒนาไปเป็นกระดูกอ่อน และขณะนี้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาสเต็มเซลล์ให้เป็นกระดูแข็ง(Osteoblast) ซึ่งจะช่วยรักษาผู้ป่วยกระดูกหักจากอุบัติเหตุ และข้อเข่าเสื่อม โดยคาดว่าจะสามารถนำมาใช้รักษาได้ไม่เกินปลายปี 2549
ทั้งนี้ การรักษากระดูกหักจากอุบัติเหตุในปัจจุบันเป็นการรักษาโดยการใช้เหล็กดามกระดูก แต่ในการรักษาด้วยวิธิการใช้สเต็มเซลล์จะใช้พลาสติกพิเศษดามไว้ จากนั้นใช้สเต็มเซลล์ใส่ไปในจุดที่จะเชื่อมกระดูกที่หัก ซึ่งสเต็มเซลล์จะพัฒนาไปเป็นกระดูก โดยไม่ต้องใส่เหล็กดาม ซึ่งวิธีการนี้มีการทำที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA) ได้ให้การรับรองแล้ว
ด้าน น.พ.พงศ์พันธ์ กล่าวว่า การวิจัยและพัฒนาการใช้สเต็มเซลล์ก้าวหน้าไปมากในหลายประเทศ โดยเฉพาะที่จีน และเกาหลีใต้ มีการลงทุนในเรื่องการวิจัยจำนวนมาก แต่ในประเทศไทยการวิจัยยังมีไม่มากนัก ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะร่วมมือกับ สกว.ในการพัฒนาสเต็มเซลล์ในห้องปฎิบัติการ เพื่อให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศได้นำไปใช้ โดยสเต็มเซลล์ที่จะพัฒนานั้นจะใช้จากเซลล์ต้นกำเนิดของผู้ใหญ่ เนื่องจากการใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนของมุนษย์นั้นยังมีเป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงกันอีกมากในเรื่องจริยธรรม และความเหมาะสม โดยคาดว่าภายในปลายปี 2549 จะร่วมกันพัฒนาสเต็มเซลล์ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจขาดเลือดได้เป็นรายแรกของไทย ด้วยวิธีการที่นักวิจัยประเทศไทยเป็นผู้คิดค้นขึ้น
“โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจาก ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นการนำผลงานการวิจัยของ สกว.มาบูรณาการกับงานในห้องปฎิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งจะทำให้งานก้าวหน้ามากขึ้น โดยไม่ต้องไปเริ่มต้นใหม่ ซึ่งขณะนี้ได้งบประมาณมาแล้ว ดังนั้นคาดว่าในปี 2549 จะสามารถทำการทดลองระดับคลินิกในมนุษย์ได้ ซึ่งหากประสบความสำเร็จในการใช้สเต็มเซลล์เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดแล้ว จะวิจัยเพื่อใช้ในโรคอื่นๆต่อไป” น.พ.พงศ์พันธ์กล่าว
ส่วน น.พ.สุรเดช กล่าวว่า การวิจัยสเต็มเซลล์ในประเทศไทยนั้นยังทำได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากปัจจุบันไม่มีกฎหมายรองรับ จนถือได้ว่าเป็นช่วงสุญญากาศ มีเพียงระเบียบการวิจัยของหน่วยงานที่ทำขึ้นมาซึ่งก็เป็นเพียงแนวทางในการปฎิบัติเท่านั้น จึงทำให้นักวิจัยไทยเสียโอกาสในการรับทุนในการวิจัยไปส่วนหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยยังไม่มีการทำวิจัยสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนของมุนษย์ มีเพียงการทำสเต็มเซลล์จากผู้ใหญ่ ซึ่งจากวารสารทางการแพทย์ระบุไว้ว่าสเต็มเซลล์อาจจะพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งได้ จึงไม่ปลอดภัยกับการใช้เท่าใดนัก