ปัจจุบันการรณรงค์ลด ละ เลิกบุหรี่ มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องในสังคมไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ และไม่สร้างนักสูบหน้าใหม่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเยาวชนเพิ่มขึ้นในสังคมไทย การรณรงค์ดำเนินการทั้งในด้านการออกเป็นกฎหมายสารพัดรูปแบ และการรณรงค์เชิงสังคม แต่หลักสูตรเพื่อการเลิกบุหรี่ยังมีน้อย และหากจะพูดถึงหลักสูตรเพื่อการเลิกบุหรี่อย่างยั่งยืนยิ่งแทบไม่มี

ในทัศนะการแพทย์ตะวันออกให้ความสำคัญต่อจิตใจและจิตวิญญาณมากกว่า โดยมีผู้ค้นพบว่า การจะเลิกบุหรี่ได้อย่างถาวร จิตใจและจิตวิญญาณสำคัญที่สุด การวิจัยการเลิกบุหรี่โดยใช้หลักการของแพทย์ตะวันออกจึงเริ่มขึ้น และวันนี้เมื่อผ่านการทดสอบในระดับผลที่ได้น่าพอใจ ยิ่งกว่านั้นมีผลทำให้ร่างกายแข็งแรงทั้งทางกายและจิตใจตามไปด้วย
รศ.ดร.สุรพจน์ วงศ์ใหญ่ คณบดีคณะการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีการรณรงค์ให้มีการลด ละ เลิก บุหรี่อยู่มากมาย ทั้งการต่อต้านการสูบบุหรี่ การปลูกฝังเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด แต่ไม่มีวิธีการที่แนะนำให้ฝึกปฏิบัติทางด้านจิตใจ และจิตวิญญาณ ซึ่งนับได้ว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนติดบุหรี่ ไม่มีการแนะนำว่าควรจะต้องปฏิบัติอย่างไรเพื่อเลิกบุหรี่ ตลอดจนสารเสพติดอื่นๆให้ได้
“ยาเสพติดทุกชนิดเป็นปัญหาสังคม คนที่ติดเพราะใจติด เมื่อใจติดอะไรก็เลิกยาก บุหรี่ก็เช่นกัน ส่วนหนึ่งที่สูบบุหรี่เพราะค่านิยม วัยรุ่นสูบตามเพื่อนเพราะความโก้เก๋ อยากลอง ส่วนหนึ่งสูบเพราะอ้างว่าเครียด มีปัญหาทางจิตใจ ถ้าสูบแล้วหายเครียด เรื่องพวกนี้ทัศนะการแพทย์ตะวันออกมองว่าเป็นเรื่องของ จิตวิญญาณ คือ การขาดความเชื่อมั่น และศรัทธา เพื่อนสูบ ก็สูบตามเพื่อน อยากเท่ห์ต้องสูบบุหรี่ ซึ่งผิด เครียดก็สูบบุหรี่ แต่จริงๆไม่ใช่ เครียดก็มีทางออกที่ไม่ต้องสูบบุหรี่ได้ แต่จิตวิญญาณของเขาติดบุหรี่ไปแล้ว”
ดร.สุรพจน์ อธิบายว่า การรณรงค์เลิกบุหรี่ เป็นเรื่องที่ดี แต่แก้ปัญหาไม่ยั่งยืน ถ้าจะแก้อย่างยั่งยืนต้องแก้ที่จิตใจ ในหลักการของการแพทย์ตะวันออกระบุว่า ต้องทำให้ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณสัมพันธ์กัน จึงจะเลิกบุหรี่ได้อย่างถาวร
“ต้องแก้ที่จิตใจ ไม่ใช่ร่างกาย และเมื่อจิตใจแก้ได้ ก็เปลี่ยนจิตวิญญาณ คือทำให้เกิดความเชื่อมั่นและความศรัทธาที่จะไม่กลับไปสูบบุหรี่อีกเด็ดขาด คือ ทำให้มีจิตใจที่เข้มแข็งนั่นเอง”
หลักสูตรการลด ละ เลิก บุหรี่ด้วยการแพทย์ตะวันออก จึงถูกคิดค้นขึ้นมาในลักษณะของงานวิจัย โดยใช้เวลาการวิจัยประมาณ 18 เดือน และขั้นตอนขณะนี้อยู่ในระยะสุดท้าย คือการทดลองในระดับชุมชน โรงงาน และโรงเรียนต่างๆ
ดร.สุรพจน์ กล่าวถึงผลการทดลองว่า “ได้ผลดีมาก 2 เดือนเห็นผลทันที โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ที่อยู่ในชุมชนและในโรงงาน แต่ในระดับวัยรุ่นต้องมีการปรับปรุงทำให้หลักสูตรการฝึกทันสมัย มีความสมาร์ทขึ้นมา ให้ตรงใจวัยรุ่น จะทำให้อยากฝึก ซึ่งตอนนี้หลายโรงเรียนได้เอาหลักสูตรนี้ไปฝึกใช้กับวัยรุ่น เพราะใช้ได้ดีกับการปรับสมดุลร่างกาย ทำให้มีสุขภาพ ใจที่มีสติและสมาธิ”

สำหรับขั้นตอนการฝึกปฏิบัติหลักการคือปรับสมดุลชีวิต 3 ประการให้สอดคล้องกัน นั่นคือ ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ
“การแพทย์ตะวันตกจะเน้นแต่เรื่องของร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรงอย่างเดียว แต่ละเลยเรื่องของจิตใจ ซึ่งใจสำคัญที่สุด เหนือร่างกาย ดังนั้นการแพทย์ตะวันตกจึงบอกว่า ต้องเล่นกีฬาเพื่อห่างไกลยาเสพติด เน้นแต่การออกกำลังกาย แต่ละเลยเรื่องของจิตใจ ที่ลืมคิดไปว่าถ้าใจไม่อะไรก็ไม่ทั้งนั้น”
ดร.สุรพจน์ อธิบายการฝึกตามโปรแกรมที่ผ่านการคิดค้นวิจัยว่า จะทำใน 3 เรื่อง ดังนี้ “1.การฝึกชี่กง ซึ่งก็คือการฝึกลมปราณ ฝึกพลังชีวิต ท่าทางการฝึกชี่กงจะอ่อนโยน ให้มีการเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสม ไม่หักโหม ต่างจากหลักการออกกำลังกายของตะวันตกที่จะออกกำลังกายแบบหักโหม ซึ่งจะมีผลทำให้ข้อต่างๆเสื่อม ชี่กงจะฝึกกาย ฝึกจิตใจ เมื่อฝึกแล้วได้ผล จิตวิญญาณก็จะเกิด ก็จะฝึกพลังชีวิตให้สูงขึ้น”
จากนั้นขั้นตอนที่ 2 ใช้หลักการอโรมา เธอราปี ใช้น้ำมันหอมระเหยปรับสมดุลของร่างกายและจิตใจ ทั้งยังช่วยในการบำบัดโรค การฆ่าเชื้อ กลิ่นหอมจะออกฤทธิ์ไปที่ศูนย์บัญชาการของสมองทำให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ความเครียดจะลดลง และขั้นตอนสุดท้าย คือการใช้ดนตรีบำบัด พลังของดนตรีมีผลทางด้านจิตใจสูง ทำให้จิตใจผ่อนคลาย สดชื่น
“ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ รวมเป็นแพ็คเกจเดียวในหลักสูตรการฝึก ที่ผ่านมานักศึกษาในคณะได้ฝึกและมีผลทำให้กายใจดีขึ้น ร่างกายมีความสมดุลกับจิตใจและจิตวิญญาณ ชี่กงคือการเคลื่อนไหวร่างกาย น้ำมันหอมระเหยช่วยผ่อนคลาย ทำให้สดชื่น ดนตรีทำให้ความเครียดหายไป เมื่อใจร่างกายสมบูรณ์บุหรี่จะหยุดไปเองโดยอัตโนมัติ”
ในการฝึกนั้น ดร.สุรพจน์ กล่าวว่า ต้องฝึกอย่างสม่ำเสมอ ทุกวัน วันละประมาณ 20 นาที ประมาณ 2 เดือนจะเห็นผล ละเลิกบุหรี่ได้เอง เพราะจิตใจที่สดชื่น จิตวิญญาณที่ผ่อนคลายจะทำให้ไม่มีความอยาก ที่จะรับเอาสิ่งไม่ดีเข้าสู่ร่างกาย ไม่ต้องใช้วิธีการเคี้ยวหมากฝรั่ง หรือหาสิ่งทดแทนที่รสชาติคล้ายบุหรี่แต่ไม่มีนิโคตินเข้าไปในร่างกาย เพราะใจเลิกได้เอง สิ่งทดแทนก็ไม่จำเป็น
...ท่านใดที่สนใจหลักสูตรการฝึกปฏิบัติแบบการแพทย์ตะวันออก สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพ เพื่อการเลิกบุหรี่แบบยั่งยืนกับคณะการแพทย์แผนตะวันออก โทรศัพท์ 0-2997-2200-30 ต่อ 3279, 3279
ในทัศนะการแพทย์ตะวันออกให้ความสำคัญต่อจิตใจและจิตวิญญาณมากกว่า โดยมีผู้ค้นพบว่า การจะเลิกบุหรี่ได้อย่างถาวร จิตใจและจิตวิญญาณสำคัญที่สุด การวิจัยการเลิกบุหรี่โดยใช้หลักการของแพทย์ตะวันออกจึงเริ่มขึ้น และวันนี้เมื่อผ่านการทดสอบในระดับผลที่ได้น่าพอใจ ยิ่งกว่านั้นมีผลทำให้ร่างกายแข็งแรงทั้งทางกายและจิตใจตามไปด้วย
รศ.ดร.สุรพจน์ วงศ์ใหญ่ คณบดีคณะการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีการรณรงค์ให้มีการลด ละ เลิก บุหรี่อยู่มากมาย ทั้งการต่อต้านการสูบบุหรี่ การปลูกฝังเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด แต่ไม่มีวิธีการที่แนะนำให้ฝึกปฏิบัติทางด้านจิตใจ และจิตวิญญาณ ซึ่งนับได้ว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนติดบุหรี่ ไม่มีการแนะนำว่าควรจะต้องปฏิบัติอย่างไรเพื่อเลิกบุหรี่ ตลอดจนสารเสพติดอื่นๆให้ได้
“ยาเสพติดทุกชนิดเป็นปัญหาสังคม คนที่ติดเพราะใจติด เมื่อใจติดอะไรก็เลิกยาก บุหรี่ก็เช่นกัน ส่วนหนึ่งที่สูบบุหรี่เพราะค่านิยม วัยรุ่นสูบตามเพื่อนเพราะความโก้เก๋ อยากลอง ส่วนหนึ่งสูบเพราะอ้างว่าเครียด มีปัญหาทางจิตใจ ถ้าสูบแล้วหายเครียด เรื่องพวกนี้ทัศนะการแพทย์ตะวันออกมองว่าเป็นเรื่องของ จิตวิญญาณ คือ การขาดความเชื่อมั่น และศรัทธา เพื่อนสูบ ก็สูบตามเพื่อน อยากเท่ห์ต้องสูบบุหรี่ ซึ่งผิด เครียดก็สูบบุหรี่ แต่จริงๆไม่ใช่ เครียดก็มีทางออกที่ไม่ต้องสูบบุหรี่ได้ แต่จิตวิญญาณของเขาติดบุหรี่ไปแล้ว”
ดร.สุรพจน์ อธิบายว่า การรณรงค์เลิกบุหรี่ เป็นเรื่องที่ดี แต่แก้ปัญหาไม่ยั่งยืน ถ้าจะแก้อย่างยั่งยืนต้องแก้ที่จิตใจ ในหลักการของการแพทย์ตะวันออกระบุว่า ต้องทำให้ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณสัมพันธ์กัน จึงจะเลิกบุหรี่ได้อย่างถาวร
“ต้องแก้ที่จิตใจ ไม่ใช่ร่างกาย และเมื่อจิตใจแก้ได้ ก็เปลี่ยนจิตวิญญาณ คือทำให้เกิดความเชื่อมั่นและความศรัทธาที่จะไม่กลับไปสูบบุหรี่อีกเด็ดขาด คือ ทำให้มีจิตใจที่เข้มแข็งนั่นเอง”
หลักสูตรการลด ละ เลิก บุหรี่ด้วยการแพทย์ตะวันออก จึงถูกคิดค้นขึ้นมาในลักษณะของงานวิจัย โดยใช้เวลาการวิจัยประมาณ 18 เดือน และขั้นตอนขณะนี้อยู่ในระยะสุดท้าย คือการทดลองในระดับชุมชน โรงงาน และโรงเรียนต่างๆ
ดร.สุรพจน์ กล่าวถึงผลการทดลองว่า “ได้ผลดีมาก 2 เดือนเห็นผลทันที โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ที่อยู่ในชุมชนและในโรงงาน แต่ในระดับวัยรุ่นต้องมีการปรับปรุงทำให้หลักสูตรการฝึกทันสมัย มีความสมาร์ทขึ้นมา ให้ตรงใจวัยรุ่น จะทำให้อยากฝึก ซึ่งตอนนี้หลายโรงเรียนได้เอาหลักสูตรนี้ไปฝึกใช้กับวัยรุ่น เพราะใช้ได้ดีกับการปรับสมดุลร่างกาย ทำให้มีสุขภาพ ใจที่มีสติและสมาธิ”
สำหรับขั้นตอนการฝึกปฏิบัติหลักการคือปรับสมดุลชีวิต 3 ประการให้สอดคล้องกัน นั่นคือ ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ
“การแพทย์ตะวันตกจะเน้นแต่เรื่องของร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรงอย่างเดียว แต่ละเลยเรื่องของจิตใจ ซึ่งใจสำคัญที่สุด เหนือร่างกาย ดังนั้นการแพทย์ตะวันตกจึงบอกว่า ต้องเล่นกีฬาเพื่อห่างไกลยาเสพติด เน้นแต่การออกกำลังกาย แต่ละเลยเรื่องของจิตใจ ที่ลืมคิดไปว่าถ้าใจไม่อะไรก็ไม่ทั้งนั้น”
ดร.สุรพจน์ อธิบายการฝึกตามโปรแกรมที่ผ่านการคิดค้นวิจัยว่า จะทำใน 3 เรื่อง ดังนี้ “1.การฝึกชี่กง ซึ่งก็คือการฝึกลมปราณ ฝึกพลังชีวิต ท่าทางการฝึกชี่กงจะอ่อนโยน ให้มีการเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสม ไม่หักโหม ต่างจากหลักการออกกำลังกายของตะวันตกที่จะออกกำลังกายแบบหักโหม ซึ่งจะมีผลทำให้ข้อต่างๆเสื่อม ชี่กงจะฝึกกาย ฝึกจิตใจ เมื่อฝึกแล้วได้ผล จิตวิญญาณก็จะเกิด ก็จะฝึกพลังชีวิตให้สูงขึ้น”
จากนั้นขั้นตอนที่ 2 ใช้หลักการอโรมา เธอราปี ใช้น้ำมันหอมระเหยปรับสมดุลของร่างกายและจิตใจ ทั้งยังช่วยในการบำบัดโรค การฆ่าเชื้อ กลิ่นหอมจะออกฤทธิ์ไปที่ศูนย์บัญชาการของสมองทำให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ความเครียดจะลดลง และขั้นตอนสุดท้าย คือการใช้ดนตรีบำบัด พลังของดนตรีมีผลทางด้านจิตใจสูง ทำให้จิตใจผ่อนคลาย สดชื่น
“ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ รวมเป็นแพ็คเกจเดียวในหลักสูตรการฝึก ที่ผ่านมานักศึกษาในคณะได้ฝึกและมีผลทำให้กายใจดีขึ้น ร่างกายมีความสมดุลกับจิตใจและจิตวิญญาณ ชี่กงคือการเคลื่อนไหวร่างกาย น้ำมันหอมระเหยช่วยผ่อนคลาย ทำให้สดชื่น ดนตรีทำให้ความเครียดหายไป เมื่อใจร่างกายสมบูรณ์บุหรี่จะหยุดไปเองโดยอัตโนมัติ”
ในการฝึกนั้น ดร.สุรพจน์ กล่าวว่า ต้องฝึกอย่างสม่ำเสมอ ทุกวัน วันละประมาณ 20 นาที ประมาณ 2 เดือนจะเห็นผล ละเลิกบุหรี่ได้เอง เพราะจิตใจที่สดชื่น จิตวิญญาณที่ผ่อนคลายจะทำให้ไม่มีความอยาก ที่จะรับเอาสิ่งไม่ดีเข้าสู่ร่างกาย ไม่ต้องใช้วิธีการเคี้ยวหมากฝรั่ง หรือหาสิ่งทดแทนที่รสชาติคล้ายบุหรี่แต่ไม่มีนิโคตินเข้าไปในร่างกาย เพราะใจเลิกได้เอง สิ่งทดแทนก็ไม่จำเป็น
...ท่านใดที่สนใจหลักสูตรการฝึกปฏิบัติแบบการแพทย์ตะวันออก สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพ เพื่อการเลิกบุหรี่แบบยั่งยืนกับคณะการแพทย์แผนตะวันออก โทรศัพท์ 0-2997-2200-30 ต่อ 3279, 3279