สธ.เตือนสาวที่นิยมใช้เครื่องสำอางให้หน้าขาวใส เปลี่ยนสีหัวนมเป็นสีชมพู ระวังสารอันตรายต้องห้ามทั้ง “สารปรอท สารไฮโดรควิโนน กรดเรติโนอิก เชื้อโรคปนเปื้อน” ชี้ทำให้หน้าพัง ด่างขาวถาวร ระบบปัสสาวะอักเสบ หลังตรวจพบเครื่องสำอางทั่วไปและสมุนไพรตกมาตรฐานเกือบ 1 ใน 4 เตรียมปรับแก้กฎหมายให้ผู้ผลิตในประเทศ ผู้นำเข้าทุกรายต้องจดแจ้ง อย. ระบุปีหน้าเพิ่มการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในสปา เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลัง เปิดงานแสดงสินค้าเครื่องดื่มและเครื่องสำอางจากนมแพะว่า ปัจจุบันนี้พบปัญหาการลักลอบผสมสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางค่อนข้างมาก ประชาชนโดยเฉพาะสาว ๆ ที่นิยมใช้ทาให้ใบหน้าขาวใส ต้องระมัดระวัง เนื่องจากอาจมีผลเสียต่อสุขภาพ อาจรักษาไม่หาย และหากสารเหล่านี้สะสมในร่างกาย ก็จะเป็นอันตรายได้ เช่น ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
นายอนุทิน กล่าวต่อว่า สธ. มีนโยบายเฝ้าระวังควบคุมอันตรายของเครื่องสำอางอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้มีเครื่องสำอางที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขึ้นทะเบียนและรับแจ้งนำเข้าทั้งหมด 70,581 ตำรับ ในจำนวนนี้เป็นเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ 5,658 ตำรับ เครื่องสำอางควบคุม 12,371 ตำรับ และเครื่องสำอางทั่วไปที่นำเข้าจำนวน 52,552 ตำรับ
อย. ได้สุ่มเก็บตัวอย่างมาตรวจสอบเดือนละประมาณ 50-100 ตัวอย่าง พบว่าแนวโน้มการใช้สารอันตรายต้องห้ามมีมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2547 เก็บตัวอย่างเครื่องสำอางทั่วไปจากร้านค้าและสถานที่ผลิตที่สงสัยว่าจะกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายจำนวน 789 ตัวอย่าง ผลการตรวจพบว่าไม่ได้มาตรฐาน 180 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 23 โดยพบสารห้ามใช้ 38 ตัวอย่างจากการตรวจ 140 ตัวอย่าง ตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์ 39 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 310 ตัวอย่าง
ส่วนในรอบ 7 เดือนในปี พ.ศ.2548 ได้สุ่มเก็บตัวอย่าง 778 ตัวอย่าง พบไม่ได้มาตรฐาน 203 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 26 โดยมีการผสมสารห้ามใช้ 64 ตัวอย่าง จากที่ตรวจ 168 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 38 พบเชื้อจุลินทรีย์ 43 ตัวอย่าง จากที่สุมตรวจ 280 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 15 ส่วนใหญ่พบในผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสมุนไพร โดยเครื่องสำอางที่ตกมาตรฐานส่วนใหญ่จะลักลอบผลิตในประเทศ ซึ่งมักจะไม่แสดงฉลากหรือสถานที่ผลิต หรือใช้สถานที่ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง โดย สธ. กำลังมีการปรับแก้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องสำอางให้ผู้ผลิตเครื่องสำอางทั้งในประเทศและผู้นำเข้าจากต่างประเทศต้องมาจดแจ้งกับ อย.ทุกรายการ
นายอนุทิน กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ที่ตกมาตรฐาน มักพบในผลิตภัณฑ์ประเภททาสิว-ฝ้า ครีมหน้าขาวกันแดด และผลิตภัณฑ์ทาหัวนมให้เป็นสีชมพู สารอันตรายที่พบมากเป็นอันดับ 1 ได้แก่ ปรอท แอมโมเนีย (Ammoniated Mercury) ทำให้เกิดอาการแพ้ ผื่นคัน ผิวหน้าดำ ผิวบางลง พิษสะสมของปรอทจะทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ รองลงมา ได้แก่ สารไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) ทำให้เกิดอาการแพ้ระคายเคือง ผิวหน้าด่าง-ดำ เป็นฝ้าถาวร และกรดเรติโนอิก (Retinoic acid) ซึ่งสารเคมีตัวนี้เป็นอันตรายมาก ทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง เกิดอักเสบที่ผิวหน้า ทำให้หน้าลอกได้ สำหรับเครื่องสำอางที่ผ่านการตรวจสอบจาก อย. ผลการตรวจในปี 2548 จำนวน 234 ตำรับ พบว่าไม่ได้มาตรฐาน 12 ตำรับ คิดเป็นร้อยละ 5
นายอนุทิน กล่าวต่อไปว่า ในปีหน้านี้ สธ. จะเพิ่มการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้ในกิจการสปา เนื่องจากขณะนี้สปากำลังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยผู้ใช้บริการให้ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย เนื่องจากผู้ประกอบการสปามักซื้อผลิตภัณฑ์ขนาดบรรจุปริมาณมาก แล้วแบ่งผลิตภัณฑ์ออกมาใช้ ซึ่งหากใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาดมาตักหรือแบ่งใส่ในภาชนะที่ไม่สะอาด อาจเกิดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ได้
อย่างไรก็ตาม ในการควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยเครื่องสำอาง พบว่า มีผู้ประกอบการเครื่องสำอางบางราย หลังตรวจพบว่าไม่ได้เกณฑ์มาตรฐานและถูกดำเนินการตามกฎหมาย ก็ใช้วิธีเปลี่ยนชื่อผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือใช้ชื่อเดิมแต่เปลี่ยนรายละเอียดสถานที่ตั้งในฉลากใหม่ เมื่อเก็บตัวอย่างมาตรวจวิเคราะห์ซ้ำก็ยังคงพบสารห้ามใช้อีก
“เพื่อความปลอดภัย ในการซื้อเครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่าง ๆ โดยเฉพาะครีมหน้าขาว หน้าใสทุกครั้ง ขอให้ผู้ซื้อตรวจสอบฉลากภาษาไทยว่ามีข้อความบังคับอย่างครบถ้วนหรือไม่ ได้แก่ ชื่อ ชนิด ส่วนประกอบสำคัญ ชื่อและที่ตั้งผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต และปริมาณสุทธิ ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานมักไม่มีฉลาก หรือมีข้อความในฉลากภาษาไทยไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะชื่อและที่ตั้งผู้ผลิต”
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลัง เปิดงานแสดงสินค้าเครื่องดื่มและเครื่องสำอางจากนมแพะว่า ปัจจุบันนี้พบปัญหาการลักลอบผสมสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางค่อนข้างมาก ประชาชนโดยเฉพาะสาว ๆ ที่นิยมใช้ทาให้ใบหน้าขาวใส ต้องระมัดระวัง เนื่องจากอาจมีผลเสียต่อสุขภาพ อาจรักษาไม่หาย และหากสารเหล่านี้สะสมในร่างกาย ก็จะเป็นอันตรายได้ เช่น ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
นายอนุทิน กล่าวต่อว่า สธ. มีนโยบายเฝ้าระวังควบคุมอันตรายของเครื่องสำอางอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้มีเครื่องสำอางที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขึ้นทะเบียนและรับแจ้งนำเข้าทั้งหมด 70,581 ตำรับ ในจำนวนนี้เป็นเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ 5,658 ตำรับ เครื่องสำอางควบคุม 12,371 ตำรับ และเครื่องสำอางทั่วไปที่นำเข้าจำนวน 52,552 ตำรับ
อย. ได้สุ่มเก็บตัวอย่างมาตรวจสอบเดือนละประมาณ 50-100 ตัวอย่าง พบว่าแนวโน้มการใช้สารอันตรายต้องห้ามมีมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2547 เก็บตัวอย่างเครื่องสำอางทั่วไปจากร้านค้าและสถานที่ผลิตที่สงสัยว่าจะกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายจำนวน 789 ตัวอย่าง ผลการตรวจพบว่าไม่ได้มาตรฐาน 180 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 23 โดยพบสารห้ามใช้ 38 ตัวอย่างจากการตรวจ 140 ตัวอย่าง ตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์ 39 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 310 ตัวอย่าง
ส่วนในรอบ 7 เดือนในปี พ.ศ.2548 ได้สุ่มเก็บตัวอย่าง 778 ตัวอย่าง พบไม่ได้มาตรฐาน 203 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 26 โดยมีการผสมสารห้ามใช้ 64 ตัวอย่าง จากที่ตรวจ 168 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 38 พบเชื้อจุลินทรีย์ 43 ตัวอย่าง จากที่สุมตรวจ 280 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 15 ส่วนใหญ่พบในผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสมุนไพร โดยเครื่องสำอางที่ตกมาตรฐานส่วนใหญ่จะลักลอบผลิตในประเทศ ซึ่งมักจะไม่แสดงฉลากหรือสถานที่ผลิต หรือใช้สถานที่ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง โดย สธ. กำลังมีการปรับแก้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องสำอางให้ผู้ผลิตเครื่องสำอางทั้งในประเทศและผู้นำเข้าจากต่างประเทศต้องมาจดแจ้งกับ อย.ทุกรายการ
นายอนุทิน กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ที่ตกมาตรฐาน มักพบในผลิตภัณฑ์ประเภททาสิว-ฝ้า ครีมหน้าขาวกันแดด และผลิตภัณฑ์ทาหัวนมให้เป็นสีชมพู สารอันตรายที่พบมากเป็นอันดับ 1 ได้แก่ ปรอท แอมโมเนีย (Ammoniated Mercury) ทำให้เกิดอาการแพ้ ผื่นคัน ผิวหน้าดำ ผิวบางลง พิษสะสมของปรอทจะทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ รองลงมา ได้แก่ สารไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) ทำให้เกิดอาการแพ้ระคายเคือง ผิวหน้าด่าง-ดำ เป็นฝ้าถาวร และกรดเรติโนอิก (Retinoic acid) ซึ่งสารเคมีตัวนี้เป็นอันตรายมาก ทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง เกิดอักเสบที่ผิวหน้า ทำให้หน้าลอกได้ สำหรับเครื่องสำอางที่ผ่านการตรวจสอบจาก อย. ผลการตรวจในปี 2548 จำนวน 234 ตำรับ พบว่าไม่ได้มาตรฐาน 12 ตำรับ คิดเป็นร้อยละ 5
นายอนุทิน กล่าวต่อไปว่า ในปีหน้านี้ สธ. จะเพิ่มการตรวจสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้ในกิจการสปา เนื่องจากขณะนี้สปากำลังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยผู้ใช้บริการให้ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย เนื่องจากผู้ประกอบการสปามักซื้อผลิตภัณฑ์ขนาดบรรจุปริมาณมาก แล้วแบ่งผลิตภัณฑ์ออกมาใช้ ซึ่งหากใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาดมาตักหรือแบ่งใส่ในภาชนะที่ไม่สะอาด อาจเกิดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ได้
อย่างไรก็ตาม ในการควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยเครื่องสำอาง พบว่า มีผู้ประกอบการเครื่องสำอางบางราย หลังตรวจพบว่าไม่ได้เกณฑ์มาตรฐานและถูกดำเนินการตามกฎหมาย ก็ใช้วิธีเปลี่ยนชื่อผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือใช้ชื่อเดิมแต่เปลี่ยนรายละเอียดสถานที่ตั้งในฉลากใหม่ เมื่อเก็บตัวอย่างมาตรวจวิเคราะห์ซ้ำก็ยังคงพบสารห้ามใช้อีก
“เพื่อความปลอดภัย ในการซื้อเครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่าง ๆ โดยเฉพาะครีมหน้าขาว หน้าใสทุกครั้ง ขอให้ผู้ซื้อตรวจสอบฉลากภาษาไทยว่ามีข้อความบังคับอย่างครบถ้วนหรือไม่ ได้แก่ ชื่อ ชนิด ส่วนประกอบสำคัญ ชื่อและที่ตั้งผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต และปริมาณสุทธิ ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานมักไม่มีฉลาก หรือมีข้อความในฉลากภาษาไทยไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะชื่อและที่ตั้งผู้ผลิต”