หนูเกิดมาจากไหน อะครับ?...คำถามยอดฮิตของหนูๆ วัยอนุบาลขี้สงสัย ที่ผู้ใหญ่พากันอึ้งกิมกี่
ครั้นเริ่มแตกเนื้อสาว มีประจำเดือน สรีระร่างกายเปลี่ยนแปลง เมื่อเกิดความสงสัยก็ไม่รู้จะถามใครดี จะถามแม่ก็อาย จะถามครูก็ไม่กล้า

ย่างเข้าวัยมัธยม...เป็นหนุ่มสาวเต็มที่ก็อยากมีแฟน แต่ก็ไม่มีใครเป็นที่ปรึกษา หันซ้ายหันขวาก็เจอแต่เพื่อนที่แนะถูกแนะผิดแล้วในที่สุดก็ย่ำแย่ไปตามๆ กัน
ยาคุมใช้อย่างไรคะ? แล้วนี้หนูจะท้องไหม? ถ้าท้องแล้วจะทำยังไงดี? หรือแม้แต่ผู้ใหญ่ก็ยังสงสัย ...น้ำยาล้างน้องหนูจำเป็นหรือเปล่าคะ?
สารพันปัญหาเกี่ยวเพศมีมากมาย แม้ว่าสังคมไทยยามนี้จะเปิดกว้างเรื่องเพศมากขึ้น แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอ เพราะเด็กเยาวชนยังไม่ได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศที่ถูกต้อง ชัดเจน ส่งผลให้เกิดเป็นปัญหาสังคมตามมา ไม่ว่าจะเป็นไข่แล้วทิ้ง คลอดแล้วทำแท้ง แลกคู่นอน มีเซ็กซ์ในช่วงอายุที่ต่ำลงเรื่อยๆ รวมทั้งสถิติผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในกลุ่มเยาวชนเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกที ดังนั้นคงหมดเวลาที่จะมานั่งถกเถียงกันแล้วว่าควรจะสอนเพศศึกษาดีหรือไม่...
ช่วงระยะเวลาของการปรับเปลี่ยนการสอน “เพศศึกษา” ในโรงเรียนยุคใหม่ จากเดิมที่สอนแค่ให้รู้จักอวัยวะสืบพันธ์ชาย-หญิง หรือโรคทางเพศสัมพันธ์โดยที่นำความรู้เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ มาเป็นสอนให้รู้จักการป้องกันตัวเองและรู้จักยับยั้งชั่งใจ โดยให้ข้อมูลกับเด็กมากที่สุด
ผ่านไปเกือบ 2 ปี ภาวนา เหวียนระวี ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการองค์การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการสาธารณสุข (PATH) สะท้อนให้ฟังว่า หลักสูตรเพศศึกษาซึ่งได้นำมาใช้ในโรงเรียนนำร่องของโครงการ “ก้าวย่างอย่างเข้าใจ” ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา เพื่อลดการติดเอดส์ในกลุ่มเยาวชน ซึ่งองค์การแพธร่วมดำเนินการกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และองค์กรภาคี โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนโลกเพื่อแก้ไขปัญหาเอดส์ วัณโรค และมาลาเรียนั้น ได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก ทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครอง ต้องการให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและขยายผลไปยังสถานศึกษาอื่นๆ
ทั้งนี้ เป้าหมายก็คือการพัฒนากระบวนการทำงานเพศศึกษา จัดชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และเครือข่ายผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งได้แก่ครู-อาจารย์ซึ่งสอนวิชาสุขอนามัยอยู่แล้ว เพื่อเชื่อมโยงกับการเรียนเพศศึกษาในระบบและนอกระบบโรงเรียน โดยการผลักดันหลักสูตรการเรียนการสอนเพศศึกษาบรรจุเป็นรายวิชาเรียน เน้นให้เด็กได้รู้จริง รู้โดยรอบด้าน ครอบคลุม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการป้องกันยามเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปลอดภัย
“เดิมทีวิชาสุขศึกษาเรียนเรื่องการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย อวัยวะต่างๆ ครูก็ไม่อยากสอนลึกเพราะกลัวจะเป็นการชี้โพรง เราจึงพยายามทำให้ครูเกิดความมั่นใจ ชี้ให้สอนเนื้อหารอบด้านไม่ใช่การสอนแบบเดิมๆ ที่เคยทำกันมา แต่เป็นการสอนเรื่องเพศซึ่งเกี่ยวพันกับชีวิตคนเราตั้งแต่เกิดจนถึงตาย เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องเพศตามวัยของเขา”
ภาวนา บอกอีกว่า สิ่งสำคัญในการสอนเรื่องเพศศึกษาให้แก่เด็ก คือ การเปลี่ยนทัศนคติของครู สร้างทัศนคติที่เชื่อมั่นในตัวเด็ก ร่วมทั้งผู้บริหารโรงเรียนก็จะต้องมีนโยบายที่สนับสนุนการเรียนการสอนแบบใหม่โดยไม่เข้าไปปิดกั้น เช่น สอนเรื่องถุงยางก็ให้ดูแต่รูป เพราะโรงเรียนห้ามไม่ให้เอาถุงยางจริงๆ เข้าไป เป็นต้น และนี่ก็เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง ดังนั้นในภาพรวมใหญ่ กระทรวงศึกษาฯ ควรมีนโยบายที่มีความชัดเจนครูก็จะมีความมั่นใจในการทำงานมากขึ้น
ส่วนหลักสูตรการสอนเพศศึกษาฉบับนี้ มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมอยู่เรื่อยๆ โดยบทเรียนที่นำมาใช้สอนการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษามีประมาณ 60 – 80 บท และจัดให้เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัยซึ่งใช้สอนเด็กตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-6 ประกอบด้วย 6 มิติ คือ 1.การเรียนรู้เรื่องการพัฒนาทางเพศ ได้แก่ สรีระร่างกายทั่วไป 2.สัมพันธภาพระหว่างบุคคล เช่น จะเลือกเพื่อนอย่างไร เพื่อนคนไหนดีและเพื่อนคนไหนไม่ดีบ้าง หรือแม้แต่การมีแฟน 3. ทักษะส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ สังคม สติปัญญา 4. พฤติกรรมทางเพศ เช่น 108 วิธีบอกรัก 5.สุขภาพทางเพศ เช่น การใช้ผ้าอนามัย การฝันเปียก อุปกรณ์การทำความสะอาดอวัยวะเพศและ 6. สังคมวัฒนธรรม ที่เกี่ยวกับเรื่องทางเพศ เพราะความแตกต่างเรื่องมุมมองและวัฒนธรรมเป็นสิ่งจำเป็นในบทเรียนนี้ เช่น เส้นแบ่งแห่งเพศ หรือ ไม่มีไม่เท่ เป็นต้น
ภาวนา ยกตัวอย่างการเรียนการสอนว่า ในบทเรียนเด็กจะได้หัดซื้อยาคุม ถุงยาง แล้วสังเกตพฤติกรรมบุคคลรอบข้าง มีการสัมภาษณ์คุณแม่เกี่ยวกับการคุมกำเนิดเป็นยังไง เพื่อให้เด็กได้กลับมาเล่า ซึ่งเป็นอีกจุดที่สำคัญเนื่องจากโครงการในระยะที่ 2 จะเป็นการที่เราสื่อสารไปยังพ่อแม่ ผู้ปกครองให้เข้าใจเด็กด้วย
“เราเชื่อว่าเด็กมีสิทธิ์จะรับรู้ให้รอบด้าน ซึ่งน่าจะเป็นผลดีกว่า เราไม่มีสูตรสำเร็จไม่ได้ชี้ถูกชี้ผิดหรือสอนให้เด็กปฏิเสธอย่างเดียว แต่เราสอนให้เด็กให้รู้จักคิดพิจารณารอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจ เข้าใจตัวเองดีพอหรือยัง รู้ผลที่จะตามหรือไม่ เพราะเด็กต้องรู้จักบอกรักและรู้จักปฏิเสธ เพราะจริงๆ ผู้หญิงก็ไม่ได้อยากปฏิเสธเสมอไป หรือผู้ชายก็ตีความหมายที่ผู้หญิงบอกว่าไม่ ว่าพูดไปอย่างนั้นเอง ที่สุดแล้วก็จบที่การมีเซ็กซ์โดยไม่มีการป้องกันเลย”ภาวนาสรุปทิ้งท้าย
ครั้นเริ่มแตกเนื้อสาว มีประจำเดือน สรีระร่างกายเปลี่ยนแปลง เมื่อเกิดความสงสัยก็ไม่รู้จะถามใครดี จะถามแม่ก็อาย จะถามครูก็ไม่กล้า
ย่างเข้าวัยมัธยม...เป็นหนุ่มสาวเต็มที่ก็อยากมีแฟน แต่ก็ไม่มีใครเป็นที่ปรึกษา หันซ้ายหันขวาก็เจอแต่เพื่อนที่แนะถูกแนะผิดแล้วในที่สุดก็ย่ำแย่ไปตามๆ กัน
ยาคุมใช้อย่างไรคะ? แล้วนี้หนูจะท้องไหม? ถ้าท้องแล้วจะทำยังไงดี? หรือแม้แต่ผู้ใหญ่ก็ยังสงสัย ...น้ำยาล้างน้องหนูจำเป็นหรือเปล่าคะ?
สารพันปัญหาเกี่ยวเพศมีมากมาย แม้ว่าสังคมไทยยามนี้จะเปิดกว้างเรื่องเพศมากขึ้น แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอ เพราะเด็กเยาวชนยังไม่ได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศที่ถูกต้อง ชัดเจน ส่งผลให้เกิดเป็นปัญหาสังคมตามมา ไม่ว่าจะเป็นไข่แล้วทิ้ง คลอดแล้วทำแท้ง แลกคู่นอน มีเซ็กซ์ในช่วงอายุที่ต่ำลงเรื่อยๆ รวมทั้งสถิติผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในกลุ่มเยาวชนเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกที ดังนั้นคงหมดเวลาที่จะมานั่งถกเถียงกันแล้วว่าควรจะสอนเพศศึกษาดีหรือไม่...
ช่วงระยะเวลาของการปรับเปลี่ยนการสอน “เพศศึกษา” ในโรงเรียนยุคใหม่ จากเดิมที่สอนแค่ให้รู้จักอวัยวะสืบพันธ์ชาย-หญิง หรือโรคทางเพศสัมพันธ์โดยที่นำความรู้เหล่านั้นมาใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ มาเป็นสอนให้รู้จักการป้องกันตัวเองและรู้จักยับยั้งชั่งใจ โดยให้ข้อมูลกับเด็กมากที่สุด
ผ่านไปเกือบ 2 ปี ภาวนา เหวียนระวี ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการองค์การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการสาธารณสุข (PATH) สะท้อนให้ฟังว่า หลักสูตรเพศศึกษาซึ่งได้นำมาใช้ในโรงเรียนนำร่องของโครงการ “ก้าวย่างอย่างเข้าใจ” ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา เพื่อลดการติดเอดส์ในกลุ่มเยาวชน ซึ่งองค์การแพธร่วมดำเนินการกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และองค์กรภาคี โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนโลกเพื่อแก้ไขปัญหาเอดส์ วัณโรค และมาลาเรียนั้น ได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก ทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครอง ต้องการให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและขยายผลไปยังสถานศึกษาอื่นๆ
ทั้งนี้ เป้าหมายก็คือการพัฒนากระบวนการทำงานเพศศึกษา จัดชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และเครือข่ายผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งได้แก่ครู-อาจารย์ซึ่งสอนวิชาสุขอนามัยอยู่แล้ว เพื่อเชื่อมโยงกับการเรียนเพศศึกษาในระบบและนอกระบบโรงเรียน โดยการผลักดันหลักสูตรการเรียนการสอนเพศศึกษาบรรจุเป็นรายวิชาเรียน เน้นให้เด็กได้รู้จริง รู้โดยรอบด้าน ครอบคลุม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการป้องกันยามเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปลอดภัย
“เดิมทีวิชาสุขศึกษาเรียนเรื่องการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย อวัยวะต่างๆ ครูก็ไม่อยากสอนลึกเพราะกลัวจะเป็นการชี้โพรง เราจึงพยายามทำให้ครูเกิดความมั่นใจ ชี้ให้สอนเนื้อหารอบด้านไม่ใช่การสอนแบบเดิมๆ ที่เคยทำกันมา แต่เป็นการสอนเรื่องเพศซึ่งเกี่ยวพันกับชีวิตคนเราตั้งแต่เกิดจนถึงตาย เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องเพศตามวัยของเขา”
ภาวนา บอกอีกว่า สิ่งสำคัญในการสอนเรื่องเพศศึกษาให้แก่เด็ก คือ การเปลี่ยนทัศนคติของครู สร้างทัศนคติที่เชื่อมั่นในตัวเด็ก ร่วมทั้งผู้บริหารโรงเรียนก็จะต้องมีนโยบายที่สนับสนุนการเรียนการสอนแบบใหม่โดยไม่เข้าไปปิดกั้น เช่น สอนเรื่องถุงยางก็ให้ดูแต่รูป เพราะโรงเรียนห้ามไม่ให้เอาถุงยางจริงๆ เข้าไป เป็นต้น และนี่ก็เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง ดังนั้นในภาพรวมใหญ่ กระทรวงศึกษาฯ ควรมีนโยบายที่มีความชัดเจนครูก็จะมีความมั่นใจในการทำงานมากขึ้น
ส่วนหลักสูตรการสอนเพศศึกษาฉบับนี้ มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะสมอยู่เรื่อยๆ โดยบทเรียนที่นำมาใช้สอนการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษามีประมาณ 60 – 80 บท และจัดให้เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัยซึ่งใช้สอนเด็กตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-6 ประกอบด้วย 6 มิติ คือ 1.การเรียนรู้เรื่องการพัฒนาทางเพศ ได้แก่ สรีระร่างกายทั่วไป 2.สัมพันธภาพระหว่างบุคคล เช่น จะเลือกเพื่อนอย่างไร เพื่อนคนไหนดีและเพื่อนคนไหนไม่ดีบ้าง หรือแม้แต่การมีแฟน 3. ทักษะส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ สังคม สติปัญญา 4. พฤติกรรมทางเพศ เช่น 108 วิธีบอกรัก 5.สุขภาพทางเพศ เช่น การใช้ผ้าอนามัย การฝันเปียก อุปกรณ์การทำความสะอาดอวัยวะเพศและ 6. สังคมวัฒนธรรม ที่เกี่ยวกับเรื่องทางเพศ เพราะความแตกต่างเรื่องมุมมองและวัฒนธรรมเป็นสิ่งจำเป็นในบทเรียนนี้ เช่น เส้นแบ่งแห่งเพศ หรือ ไม่มีไม่เท่ เป็นต้น
ภาวนา ยกตัวอย่างการเรียนการสอนว่า ในบทเรียนเด็กจะได้หัดซื้อยาคุม ถุงยาง แล้วสังเกตพฤติกรรมบุคคลรอบข้าง มีการสัมภาษณ์คุณแม่เกี่ยวกับการคุมกำเนิดเป็นยังไง เพื่อให้เด็กได้กลับมาเล่า ซึ่งเป็นอีกจุดที่สำคัญเนื่องจากโครงการในระยะที่ 2 จะเป็นการที่เราสื่อสารไปยังพ่อแม่ ผู้ปกครองให้เข้าใจเด็กด้วย
“เราเชื่อว่าเด็กมีสิทธิ์จะรับรู้ให้รอบด้าน ซึ่งน่าจะเป็นผลดีกว่า เราไม่มีสูตรสำเร็จไม่ได้ชี้ถูกชี้ผิดหรือสอนให้เด็กปฏิเสธอย่างเดียว แต่เราสอนให้เด็กให้รู้จักคิดพิจารณารอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจ เข้าใจตัวเองดีพอหรือยัง รู้ผลที่จะตามหรือไม่ เพราะเด็กต้องรู้จักบอกรักและรู้จักปฏิเสธ เพราะจริงๆ ผู้หญิงก็ไม่ได้อยากปฏิเสธเสมอไป หรือผู้ชายก็ตีความหมายที่ผู้หญิงบอกว่าไม่ ว่าพูดไปอย่างนั้นเอง ที่สุดแล้วก็จบที่การมีเซ็กซ์โดยไม่มีการป้องกันเลย”ภาวนาสรุปทิ้งท้าย