“กฎบัตรกรุงเทพเพื่อการส่งเสริมสุขภาพโลก” คัมภีร์ใหม่สร้างสุขภาพดีชาวโลกในยุคโลกไร้พรมแดนคลอดแล้ว กำหนด 5 ยุทธศาสตร์หลักให้ทั่วโลกขานรับสู่การปฏิบัติ โดยผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกเชื่อมั่นกฎบัตรกรุงเทพ จะเพิ่มความมั่งคั่งทางสุขภาพชาวโลกและประเทศทั่วโลกในอนาคตได้
วันนี้ (11 ส.ค.) ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กทม. ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผลจากการระดมสมองนักสร้างเสริมสุขภาพกว่า 700 คน จาก 120 ประเทศทั่วโลก เพื่อร่วมกันกำหนดกฎบัตรกรุงเทพ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพโลก (Bangkok Charter for Health Promotion in a Globalized World) ในการประชุมส่งเสริมสุขภาพโลก ระหว่างวันที่ 7-11 สิงหาคม 2548 ที่กรุงเทพมหานคร ประสบผลสำเร็จอย่างดี และได้ร่วมลงนามรับรองกฎบัตรดังกล่าวแล้ว เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 11 สิงหาคม 2548 ซึ่งจะใช้เป็นแนวทางให้ทุกประเทศดำเนินมาตรการส่งเสริมสุขภาพทุกวิถีทาง เพื่อลดการเจ็บป่วย ประชาชนมีสุขภาพดี มีอายุยืนยาวขึ้น
“กฎบัตรกรุงเทพนี้ จะเน้นยุทธศาสตร์ของการส่งเสริมสุขภาพในโลกไร้พรมแดน ใน 5 ประการ ได้แก่ 1.การชี้แนะให้การส่งเสริมสุขภาพอยู่บนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน 2.ให้กำหนดนโยบาย แนวทางการปฏิบัติ และการวางโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องอย่างยั่งยืน ในการจัดการปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ 3.ให้สร้างศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนานโยบาย ภาวะผู้นำ การดำเนินงานเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ องค์ความรู้ทางสุขภาพและการวิจัย รวมทั้งความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ 4.สร้างพันธมิตรด้านสุขภาพทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ ที่จะร่วมมือกันส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน และ 5.การใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยและส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนมีโอกาสเข้าถึงการมีสุขภาพที่ดี”
ศ.นพ.สุชัย กล่าวต่อว่า ทุกภาคส่วนของโลก ทั้งภาครัฐ ธุรกิจเอกชน องค์กรสาธารณประโยชน์ ชุมชนและประชาสังคม จะร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง ที่จะดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ ตามยุทธศาสตร์ที่ตกลงร่วมกันกำหนด เพื่อให้ประชากรโลกทุกคนมีสุขภาพดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ทั่วถึงกัน ตลอดจนจะติดตามผลการดำเนินงานของแต่ละภาคส่วนและทุกประเทศ ในการประชุมส่งเสริมสุขภาพโลกครั้งที่ 7 ที่ทวีปแอฟริกา ในพ.ศ. 2552
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับกฎบัตรออตตาวาที่ใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 จะแตกต่างจากกฎบัตรกรุงเทพในด้านความทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ โดยในกฎบัตรออตตาวาจะไม่มีเรื่องการสร้างพันธมิตร และการใช้มาตรการทางกฎหมายจัดการปัญหาที่มีผลกระทบกับสุขภาพ น.พ. ลี จอง วุค ผู้อำนวยการใหญ่่องค์การอนามัยโลกได้กล่าวว่า การดำเนินงานตามกฎบัตรกรุงเทพ จะสร้างความมั่งคั่งทางสุขภาพในทุกชุมชน ทุกประเทศทั่วโลกได้
น.พ.โรเบิร์ต บีเกิลโฮล ผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคไม่ติดต่อ องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า ในรอบ 20 ปีมานี้ พบว่ามีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเกิดขึ้นอย่างมากมาย อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก ได้แก่ ความไม่เสมอภาคของประชาชนทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ การสื่อสารและการบริโภคแบบตะวันตก อิทธิพลจากการค้าข้ามชาติ สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม การใช้ชีวิตแบบคนเมือง การเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยาของเชื้อโรคติดต่อ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงทางประชากร เช่น กลุ่มผู้สูงอายุซึ่งจะมีเพิ่มมากขึ้นทั่วโลกร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด รวมทั้งกลุ่มผู้หญิงและเด็ก ชนกลุ่มน้อย ชุมชนชายขอบ ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลต่อวิถีการทำงาน วิถีครอบครัว สังคมและวัฒนธรรมชุมชน
นพ.โรเบิร์ต กล่าวต่อว่า ข้อมูลล่าสุด มีแนวโน้มว่าประชากรโลกจะเสียชีวิตเร็วขึ้น เนื่องจากวิถีชีวิตในสังคมโลกาภิวัตน์ เช่น ป่วยจากโรคอ้วน 300 ล้านคน และเสียชีวิตจากโรคอ้วนปีละกว่า 5 แสนคน เสียชีวิตเพราะการไม่ออกกำลังกายปีละเกือบ 2 ล้านคน จากโรคหัวใจ เบาหวาน มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่่ โดยสาเหตุการป่วยด้วยโรคหัวใจของคนที่อายุเกิน 30 ปี เกิดจากความดันโลหิตสูง ร้อยละ 50 คลอเลสเตอรอลสูงร้อยละ 31 และจากการสูบบุหรี่ร้อยละ 14 และผลกระทบจากระบบการค้าเสรี ส่งผลให้ชาวอเมริกันบริโภคน้ำอัดลมมากในอันดับต้นๆ ของโลก ดื่มคนละ 53 แกลลอนต่อปี จึงต้องมีความร่วมมืออย่างจริงจังจากทั่วโลก
น.พ.วิชัย เทียนถาวร ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขั้นตอนจากนี้ไปหลังจากที่กฎบัตรกรุงเทพประกาศแล้ว แต่ละประเทศจะนำแนวคิดและยุทธศาสตร์กฎบัตรกรุงเทพนี้ไปประยุกต์ใช้ โดยประเทศไทยจะนำเสนอกฎบัตรกรุงเทพเข้าที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลก ซึ่งเป็นเวทีการประชุมใหญ่ของผู้นำด้านสาธารณสุขและนักวิชาการทั่วโลก ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2549 ให้รับหลักการและกำหนดนโยบายของโลก สมาชิก 192 ประเทศจะต้องขานรับไปสู่การปฏิบัติ และมีการติดตามประเมินผลทุกปี
“รัฐบาลได้กำหนดการสร้างสุขภาพ เป็นวาระแห่งชาติ กำหนดยุทธศาสตร์เมืองไทยแข็งแรง เป็นแนวทางการดำเนินงานให้ประชาชนมีสุขภาพดี ตามคำกล่าวของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ว่า หากคนไทยมีสุขภาพกายสุขภาพจิตแข็งแรง ประเทศไทยก็จะแข็งแรงไปด้วย ซึ่งนโยบายและการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพของประเทศไทย ได้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อนานาประเทศ ที่ได้เรียนรู้จากความสำเร็จและประสบการณ์ของประเทศไทย อันเป็นการนำหน้าด้านการส่งเสริมสุขภาพ ทำให้ที่ประชุมครั้งนี้เสนอแนะให้การส่งเสริมสุขภาพตามกฎบัตรกรุงเทพ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพโลกเป็นวาะแห่งโลก” ปลัดกระทรวงสธ.กล่าวในที่สุด
วันนี้ (11 ส.ค.) ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กทม. ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผลจากการระดมสมองนักสร้างเสริมสุขภาพกว่า 700 คน จาก 120 ประเทศทั่วโลก เพื่อร่วมกันกำหนดกฎบัตรกรุงเทพ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพโลก (Bangkok Charter for Health Promotion in a Globalized World) ในการประชุมส่งเสริมสุขภาพโลก ระหว่างวันที่ 7-11 สิงหาคม 2548 ที่กรุงเทพมหานคร ประสบผลสำเร็จอย่างดี และได้ร่วมลงนามรับรองกฎบัตรดังกล่าวแล้ว เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 11 สิงหาคม 2548 ซึ่งจะใช้เป็นแนวทางให้ทุกประเทศดำเนินมาตรการส่งเสริมสุขภาพทุกวิถีทาง เพื่อลดการเจ็บป่วย ประชาชนมีสุขภาพดี มีอายุยืนยาวขึ้น
“กฎบัตรกรุงเทพนี้ จะเน้นยุทธศาสตร์ของการส่งเสริมสุขภาพในโลกไร้พรมแดน ใน 5 ประการ ได้แก่ 1.การชี้แนะให้การส่งเสริมสุขภาพอยู่บนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน 2.ให้กำหนดนโยบาย แนวทางการปฏิบัติ และการวางโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องอย่างยั่งยืน ในการจัดการปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ 3.ให้สร้างศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนานโยบาย ภาวะผู้นำ การดำเนินงานเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ องค์ความรู้ทางสุขภาพและการวิจัย รวมทั้งความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ 4.สร้างพันธมิตรด้านสุขภาพทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ ที่จะร่วมมือกันส่งเสริมสุขภาพอย่างยั่งยืน และ 5.การใช้มาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยและส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนมีโอกาสเข้าถึงการมีสุขภาพที่ดี”
ศ.นพ.สุชัย กล่าวต่อว่า ทุกภาคส่วนของโลก ทั้งภาครัฐ ธุรกิจเอกชน องค์กรสาธารณประโยชน์ ชุมชนและประชาสังคม จะร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง ที่จะดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ ตามยุทธศาสตร์ที่ตกลงร่วมกันกำหนด เพื่อให้ประชากรโลกทุกคนมีสุขภาพดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ทั่วถึงกัน ตลอดจนจะติดตามผลการดำเนินงานของแต่ละภาคส่วนและทุกประเทศ ในการประชุมส่งเสริมสุขภาพโลกครั้งที่ 7 ที่ทวีปแอฟริกา ในพ.ศ. 2552
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับกฎบัตรออตตาวาที่ใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 จะแตกต่างจากกฎบัตรกรุงเทพในด้านความทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ โดยในกฎบัตรออตตาวาจะไม่มีเรื่องการสร้างพันธมิตร และการใช้มาตรการทางกฎหมายจัดการปัญหาที่มีผลกระทบกับสุขภาพ น.พ. ลี จอง วุค ผู้อำนวยการใหญ่่องค์การอนามัยโลกได้กล่าวว่า การดำเนินงานตามกฎบัตรกรุงเทพ จะสร้างความมั่งคั่งทางสุขภาพในทุกชุมชน ทุกประเทศทั่วโลกได้
น.พ.โรเบิร์ต บีเกิลโฮล ผู้อำนวยการกรมควบคุมโรคไม่ติดต่อ องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า ในรอบ 20 ปีมานี้ พบว่ามีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเกิดขึ้นอย่างมากมาย อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก ได้แก่ ความไม่เสมอภาคของประชาชนทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ การสื่อสารและการบริโภคแบบตะวันตก อิทธิพลจากการค้าข้ามชาติ สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม การใช้ชีวิตแบบคนเมือง การเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยาของเชื้อโรคติดต่อ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงทางประชากร เช่น กลุ่มผู้สูงอายุซึ่งจะมีเพิ่มมากขึ้นทั่วโลกร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด รวมทั้งกลุ่มผู้หญิงและเด็ก ชนกลุ่มน้อย ชุมชนชายขอบ ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลต่อวิถีการทำงาน วิถีครอบครัว สังคมและวัฒนธรรมชุมชน
นพ.โรเบิร์ต กล่าวต่อว่า ข้อมูลล่าสุด มีแนวโน้มว่าประชากรโลกจะเสียชีวิตเร็วขึ้น เนื่องจากวิถีชีวิตในสังคมโลกาภิวัตน์ เช่น ป่วยจากโรคอ้วน 300 ล้านคน และเสียชีวิตจากโรคอ้วนปีละกว่า 5 แสนคน เสียชีวิตเพราะการไม่ออกกำลังกายปีละเกือบ 2 ล้านคน จากโรคหัวใจ เบาหวาน มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่่ โดยสาเหตุการป่วยด้วยโรคหัวใจของคนที่อายุเกิน 30 ปี เกิดจากความดันโลหิตสูง ร้อยละ 50 คลอเลสเตอรอลสูงร้อยละ 31 และจากการสูบบุหรี่ร้อยละ 14 และผลกระทบจากระบบการค้าเสรี ส่งผลให้ชาวอเมริกันบริโภคน้ำอัดลมมากในอันดับต้นๆ ของโลก ดื่มคนละ 53 แกลลอนต่อปี จึงต้องมีความร่วมมืออย่างจริงจังจากทั่วโลก
น.พ.วิชัย เทียนถาวร ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขั้นตอนจากนี้ไปหลังจากที่กฎบัตรกรุงเทพประกาศแล้ว แต่ละประเทศจะนำแนวคิดและยุทธศาสตร์กฎบัตรกรุงเทพนี้ไปประยุกต์ใช้ โดยประเทศไทยจะนำเสนอกฎบัตรกรุงเทพเข้าที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลก ซึ่งเป็นเวทีการประชุมใหญ่ของผู้นำด้านสาธารณสุขและนักวิชาการทั่วโลก ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2549 ให้รับหลักการและกำหนดนโยบายของโลก สมาชิก 192 ประเทศจะต้องขานรับไปสู่การปฏิบัติ และมีการติดตามประเมินผลทุกปี
“รัฐบาลได้กำหนดการสร้างสุขภาพ เป็นวาระแห่งชาติ กำหนดยุทธศาสตร์เมืองไทยแข็งแรง เป็นแนวทางการดำเนินงานให้ประชาชนมีสุขภาพดี ตามคำกล่าวของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ว่า หากคนไทยมีสุขภาพกายสุขภาพจิตแข็งแรง ประเทศไทยก็จะแข็งแรงไปด้วย ซึ่งนโยบายและการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพของประเทศไทย ได้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อนานาประเทศ ที่ได้เรียนรู้จากความสำเร็จและประสบการณ์ของประเทศไทย อันเป็นการนำหน้าด้านการส่งเสริมสุขภาพ ทำให้ที่ประชุมครั้งนี้เสนอแนะให้การส่งเสริมสุขภาพตามกฎบัตรกรุงเทพ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพโลกเป็นวาะแห่งโลก” ปลัดกระทรวงสธ.กล่าวในที่สุด