รศ.สุชาตา ชินะจิตร
ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
การศึกษาคือการยกระดับสติปัญญาของประชาชน ในการศึกษาขั้นพื้นฐานจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาโครงสร้างทางภาษาและพัฒนาการทางความคิด เพื่อให้ผู้เรียนคิดได้อย่างลุ่มลึกและเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ การพัฒนาคนจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอยู่บนฐานของความสามารถด้านภาษา วรรณคดี และประวัติศาสตร์ให้เพียงพอที่จะส่งผลต่อการพัฒนาทักษะทางความคิดวิเคราะห์ ขณะเดียวกันก็สร้างจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในความเป็นไทยควบคู่ไปด้วย
จากโครงการชวนเพื่อนอ่านหนังสือ ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้เชิญชวนให้เยาวชนเขียนแนะนำหนังสือ “เล่มนี้สิน่าอ่าน” ให้เพื่อนเยาวชนด้วยกันอ่านโดยมี รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกูล เป็นหัวหน้าโครงการ
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาทักษะการวิเคราะห์วิจารณ์หนังสือของเยาวชน และพัฒนาทักษะในการอ่านอย่างวิเคราะห์เจาะลึก (สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ) ผลการดำเนินงานปรากฏว่ามีผลงานส่งเข้ามาถึง 2,261 ผลงาน เป็นผลงานระดับทั่วไป คือ แนะนำหนังสือที่ตนเองชอบมีส่งเข้ามา 1,808 ผลงาน และอีก 236 ผลงาน เป็นงานชนิดวิเคราะห์เจาะลึกจากหนังสือที่กำหนดให้เลือก
จากผลงานที่ส่งเข้ามานั้นได้สะท้อนความรู้ความสามารถของเยาวชนด้านภาษาที่น่าสนใจ ส่วนน้อยที่ผิดกติกาเพราะไม่เข้าใจหรือไม่ได้ให้ความสำคัญต่อเงื่อนไขที่กำหนด เช่น ไปแนะนำหนังสือแปลและนิตยสารซึ่งไม่อยู่ในกติกา โรงเรียนที่มีนักเรียนส่งผลงานเข้าประกวดมากที่สุดระดับทั่วไป คือ โรงเรียนเบ็ญจมะมหาราช อุบลราชธานี (250 ผลงาน) ระดับเข้มข้นคือ โรงเรียนสตรีวัดระฆัง กรุงเทพมหานคร (44 ผลงาน) แสดงถึงความเอาใจใส่ของครูและผู้บริหารที่สนับสนุนนักเรียนให้เข้าร่วมกิจกรรม
หนังสือที่ถูกเลือกอ่านมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ เรื่องน้ำพุ ของสุวรรณี สุคนธา , พระมหาชนก พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเรื่องอยู่กับก๋งของหยกบูรพา ส่วนหนังสือที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อที่โครงการแนะนำ ซึ่งแสดงถึงความสนใจของเยาวชนด้วยตนเองได้แก่ เรื่อง “เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก” เรื่อง “พลายมลิวัลย์” เรื่อง “สร้อยทอง” และเรื่อง “สาวิตรี” สิ่งที่น่ายินดีที่ได้เห็นคือยังมีเยาวชนบางคนสนใจเลือกอ่านกวีนิพนธ์และแนะนำเข้ามา เช่น “ใบไม้ที่หายไป” ของจีระนันท์ พิตปรีชา และ “เพียงความเคลื่อนไหว” ของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ความสามารถเชิงวรรณศิลป์ของนักเรียนที่ส่งผลงานการเขียนเข้าประกวด ยังอ่อนอยู่มาก ที่ค่อนข้างเด่นพอมีอยู่ แต่ไม่มาก สมควรจะได้รับการพัฒนาต่อไป
ตัวอย่างผลงานข้อเขียนชนะการประกวดที่แสดงออกถึงศักยภาพของความสามารถเชิงวรรณศิลป์ ในระดับค่อนข้างดี เช่น ข้อความสรุปปิดเรื่องของผู้เขียน ชื่อ ธนาคม ดังก้อง กับ เรื่อง “นฤมิตรพินิจถ้อยอักษรา”
“ดังนั้น ผู้แสวงหาและกระหายอยากความงดงามแห่งสุนทรีย์ด้วยการเสพสุขถ้อยอักษรา จึงมิควรผินหน้าผ่านเลยหนังสือรวมกวีนิพนธ์ ผลงานของปราชญ์ทางภาษานามเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ...แม้แต่เล่มเดียว”
โดยทั่วไปนักเรียนส่วนใหญ่ที่ส่งผลงานเข้าประกวด แสดงออกถึงความสามารถและทักษะเชิงวรรณศิลป์ค่อนข้างอ่อน ภาษาที่ใช้เป็นจำนวนมากที่ไม่ถูกต้องตามหลักภาษาไทยที่ดี การใช้ศัพท์เฉพาะ เช่น ศัพท์วิชาการ ราชาศัพท์ยังคลาดเคลื่อนอยู่มาก ภาษาที่ใช้ในการนำเสนอเป็นภาษาพูดที่ไม่เหมาะสมกับภาษาเขียนที่ควรใช้ การนำเสนอข้อเขียนอย่างมีพลังชวนอ่านมีอยู่บ้าง แต่ไม่มากขาดความสละสลวย ความชัดเจน และทักษะการเชื่อมโยงความคิดและประเด็นของเรื่อง
ในภาพรวม ประเด็นเรื่องความคิดและสำนึกของจริยธรรมและคุณธรรม ไม่ได้รับความเอาใจใส่จากผู้เขียนมากเป็นพิเศษ ในการแนะนำหนังสือให้เพื่อนอ่าน ซึ่งนับเป็นปรากฏการณ์ที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วงว่า เยาวชนไทยวันนี้ อาจจะมองข้ามความสำคัญของจริยธรรมและคุณธรรมที่เป็นปัจจัยของสังคมที่พึงประสงค์ และจึงเป็นประเด็นหนึ่งที่เยาวชนไทยวันนี้ ควรจะได้รับการเอาใจใส่ให้เกิดความตระหนักในความสำคัญและความจำเป็นของการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคมในประเด็นเรื่อง จริยธรรมและคุณธรรม
ตัวอย่างผลงานการเขียนชนะการประกวด ที่แสดงออกถึงความพยายามของผู้เขียน ในการชี้ชวนให้เพื่อนได้อ่านหนังสือมีสาระ เสริมสร้างจริยธรรมและคุณธรรม ของการดำเนินชีวิตอย่างค่อนข้างดี เช่น ผลงานเรื่อง “หนังสือ...ภาพชีวิต...ภาพสังคม” และ “อยู่กับก๋ง” โดยเขียนบทสรุปท้ายสุดของเรื่อง กล่าวถึง “อยู่กับก๋ง” ดังนี้
ภาพชีวิต ที่สะท้อนจากหนังสือทั้งสองเล่ม ทำให้มองเห็นภาพสังคมไทยอย่างชัดเจน สังคมไทยมีความสงบสุขมาเนิ่นนาน ชนทุกชั้นอยู่อย่างร่มเย็น เป็นเพราะการดำรงชีวิตอยู่อย่างร่มเย็น เป็นเพราะการดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเหมาะพอควร มีคำสอนจากบรรพชนเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจให้มีค่านิยม และพฤติกรรมที่อยู่ในกรอบแห่งจารีตประเพณีอันงดงาม ประวัติศาสตร์อาจถูกบิดเบือน หรือข้อมูลอาจผิดพลาดตามกาลเวลาที่ผันแปร แต่นวนิยาย คือบันทึกชีวิตคนในสังคมที่แฝงความนัยให้ขบคิด ประดุจนิยายทั้งสองเล่มที่ข้าพเจ้ายกมาวิเคราะห์รอเยาวชนทุกคนได้อ่าน และพิสูจน์คุณค่า คุณจะรู้สึกสนุกสนานจนวางไม่ลง “ข้างหลังภาพ” “อยู่กับก๋ง” ภาพชีวิต...ภาพสังคม
แง่คิดที่สุญญาตา เมี้ยนละม้าย หนึ่งในผู้ได้รับรางวัลได้เลือกแนะนำเรื่อง “คู่มือมนุษย์” ของท่านพุทธทาสภิกขุ ซึ่งคุณแม่แนะนำให้อ่านด้วยความเป็นห่วงที่ลูกสาวจะจากบ้านเดิมมาอยู่กรุงเทพฯ บอกว่าเป้าหมายในการอ่านหนังสือมีอยู่ 2 อย่าง คือ อ่านเพื่อรู้เท่าทันสังคมให้รู้จักคิดตามและปรับตัวอยู่ในสังคมโดยไม่โดยเอาเปรียบ และอ่านเพื่อพัฒนาตัวเองให้มีความรู้มากกว่าที่เรียนรู้จากห้องเรียน จากตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นได้ว่าทั้งโรงเรียน ครู และ พ่อแม่ มีบทบาทสำคัญในการติดอาวุธทางปัญญาให้แก่เยาวชนได้ด้วยการส่งเสริมการอ่าน
ข้อมูลจากโครงการนี้มีมากและสำคัญเพียงพอที่สมควรจะมีการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และกิจกรรม เพื่อการพัฒนาเยาวชนไทยวันนี้ ให้เป็นผู้ใหญ่มีคุณภาพที่ดีในอนาคตต่อไป ภาพสะท้อนจากผลงานที่ส่งมาร่วมในโครงการนี้ ชี้ถึงจุดอ่อนของความสามารถในการอ่านและเขียนของเยาวชน การเขียนเรียงความและย่อความที่ลดน้อยหายไปจากการฝึกหัดเขียน จะไม่ช่วยพัฒนาความสามารถในการสื่อสารความคิด และไม่อาจพัฒนาจินตนาการต่อไปด้วย จึงควรที่เราน่าจะให้ความสำคัญกับ ภาษาไทย ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาความคิดที่ลุ่มลึก และความสามารถในการสื่อสาร
การให้ความสำคัญกับภาษาไทย คงไม่ใช่เพียงการให้ความสำคัญกับการกำหนดให้วันใดวันหนึ่งให้เป็น “วันภาษาไทยของชาติ” เท่านั้น
..............................................
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โทร.0-2279-9584 ,0-2619-6188 pr@pr-trf.net
ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
การศึกษาคือการยกระดับสติปัญญาของประชาชน ในการศึกษาขั้นพื้นฐานจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาโครงสร้างทางภาษาและพัฒนาการทางความคิด เพื่อให้ผู้เรียนคิดได้อย่างลุ่มลึกและเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ การพัฒนาคนจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอยู่บนฐานของความสามารถด้านภาษา วรรณคดี และประวัติศาสตร์ให้เพียงพอที่จะส่งผลต่อการพัฒนาทักษะทางความคิดวิเคราะห์ ขณะเดียวกันก็สร้างจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในความเป็นไทยควบคู่ไปด้วย
จากโครงการชวนเพื่อนอ่านหนังสือ ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้เชิญชวนให้เยาวชนเขียนแนะนำหนังสือ “เล่มนี้สิน่าอ่าน” ให้เพื่อนเยาวชนด้วยกันอ่านโดยมี รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกูล เป็นหัวหน้าโครงการ
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาทักษะการวิเคราะห์วิจารณ์หนังสือของเยาวชน และพัฒนาทักษะในการอ่านอย่างวิเคราะห์เจาะลึก (สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ) ผลการดำเนินงานปรากฏว่ามีผลงานส่งเข้ามาถึง 2,261 ผลงาน เป็นผลงานระดับทั่วไป คือ แนะนำหนังสือที่ตนเองชอบมีส่งเข้ามา 1,808 ผลงาน และอีก 236 ผลงาน เป็นงานชนิดวิเคราะห์เจาะลึกจากหนังสือที่กำหนดให้เลือก
จากผลงานที่ส่งเข้ามานั้นได้สะท้อนความรู้ความสามารถของเยาวชนด้านภาษาที่น่าสนใจ ส่วนน้อยที่ผิดกติกาเพราะไม่เข้าใจหรือไม่ได้ให้ความสำคัญต่อเงื่อนไขที่กำหนด เช่น ไปแนะนำหนังสือแปลและนิตยสารซึ่งไม่อยู่ในกติกา โรงเรียนที่มีนักเรียนส่งผลงานเข้าประกวดมากที่สุดระดับทั่วไป คือ โรงเรียนเบ็ญจมะมหาราช อุบลราชธานี (250 ผลงาน) ระดับเข้มข้นคือ โรงเรียนสตรีวัดระฆัง กรุงเทพมหานคร (44 ผลงาน) แสดงถึงความเอาใจใส่ของครูและผู้บริหารที่สนับสนุนนักเรียนให้เข้าร่วมกิจกรรม
หนังสือที่ถูกเลือกอ่านมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ เรื่องน้ำพุ ของสุวรรณี สุคนธา , พระมหาชนก พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเรื่องอยู่กับก๋งของหยกบูรพา ส่วนหนังสือที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อที่โครงการแนะนำ ซึ่งแสดงถึงความสนใจของเยาวชนด้วยตนเองได้แก่ เรื่อง “เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก” เรื่อง “พลายมลิวัลย์” เรื่อง “สร้อยทอง” และเรื่อง “สาวิตรี” สิ่งที่น่ายินดีที่ได้เห็นคือยังมีเยาวชนบางคนสนใจเลือกอ่านกวีนิพนธ์และแนะนำเข้ามา เช่น “ใบไม้ที่หายไป” ของจีระนันท์ พิตปรีชา และ “เพียงความเคลื่อนไหว” ของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ความสามารถเชิงวรรณศิลป์ของนักเรียนที่ส่งผลงานการเขียนเข้าประกวด ยังอ่อนอยู่มาก ที่ค่อนข้างเด่นพอมีอยู่ แต่ไม่มาก สมควรจะได้รับการพัฒนาต่อไป
ตัวอย่างผลงานข้อเขียนชนะการประกวดที่แสดงออกถึงศักยภาพของความสามารถเชิงวรรณศิลป์ ในระดับค่อนข้างดี เช่น ข้อความสรุปปิดเรื่องของผู้เขียน ชื่อ ธนาคม ดังก้อง กับ เรื่อง “นฤมิตรพินิจถ้อยอักษรา”
“ดังนั้น ผู้แสวงหาและกระหายอยากความงดงามแห่งสุนทรีย์ด้วยการเสพสุขถ้อยอักษรา จึงมิควรผินหน้าผ่านเลยหนังสือรวมกวีนิพนธ์ ผลงานของปราชญ์ทางภาษานามเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ...แม้แต่เล่มเดียว”
โดยทั่วไปนักเรียนส่วนใหญ่ที่ส่งผลงานเข้าประกวด แสดงออกถึงความสามารถและทักษะเชิงวรรณศิลป์ค่อนข้างอ่อน ภาษาที่ใช้เป็นจำนวนมากที่ไม่ถูกต้องตามหลักภาษาไทยที่ดี การใช้ศัพท์เฉพาะ เช่น ศัพท์วิชาการ ราชาศัพท์ยังคลาดเคลื่อนอยู่มาก ภาษาที่ใช้ในการนำเสนอเป็นภาษาพูดที่ไม่เหมาะสมกับภาษาเขียนที่ควรใช้ การนำเสนอข้อเขียนอย่างมีพลังชวนอ่านมีอยู่บ้าง แต่ไม่มากขาดความสละสลวย ความชัดเจน และทักษะการเชื่อมโยงความคิดและประเด็นของเรื่อง
ในภาพรวม ประเด็นเรื่องความคิดและสำนึกของจริยธรรมและคุณธรรม ไม่ได้รับความเอาใจใส่จากผู้เขียนมากเป็นพิเศษ ในการแนะนำหนังสือให้เพื่อนอ่าน ซึ่งนับเป็นปรากฏการณ์ที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วงว่า เยาวชนไทยวันนี้ อาจจะมองข้ามความสำคัญของจริยธรรมและคุณธรรมที่เป็นปัจจัยของสังคมที่พึงประสงค์ และจึงเป็นประเด็นหนึ่งที่เยาวชนไทยวันนี้ ควรจะได้รับการเอาใจใส่ให้เกิดความตระหนักในความสำคัญและความจำเป็นของการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคมในประเด็นเรื่อง จริยธรรมและคุณธรรม
ตัวอย่างผลงานการเขียนชนะการประกวด ที่แสดงออกถึงความพยายามของผู้เขียน ในการชี้ชวนให้เพื่อนได้อ่านหนังสือมีสาระ เสริมสร้างจริยธรรมและคุณธรรม ของการดำเนินชีวิตอย่างค่อนข้างดี เช่น ผลงานเรื่อง “หนังสือ...ภาพชีวิต...ภาพสังคม” และ “อยู่กับก๋ง” โดยเขียนบทสรุปท้ายสุดของเรื่อง กล่าวถึง “อยู่กับก๋ง” ดังนี้
ภาพชีวิต ที่สะท้อนจากหนังสือทั้งสองเล่ม ทำให้มองเห็นภาพสังคมไทยอย่างชัดเจน สังคมไทยมีความสงบสุขมาเนิ่นนาน ชนทุกชั้นอยู่อย่างร่มเย็น เป็นเพราะการดำรงชีวิตอยู่อย่างร่มเย็น เป็นเพราะการดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเหมาะพอควร มีคำสอนจากบรรพชนเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจให้มีค่านิยม และพฤติกรรมที่อยู่ในกรอบแห่งจารีตประเพณีอันงดงาม ประวัติศาสตร์อาจถูกบิดเบือน หรือข้อมูลอาจผิดพลาดตามกาลเวลาที่ผันแปร แต่นวนิยาย คือบันทึกชีวิตคนในสังคมที่แฝงความนัยให้ขบคิด ประดุจนิยายทั้งสองเล่มที่ข้าพเจ้ายกมาวิเคราะห์รอเยาวชนทุกคนได้อ่าน และพิสูจน์คุณค่า คุณจะรู้สึกสนุกสนานจนวางไม่ลง “ข้างหลังภาพ” “อยู่กับก๋ง” ภาพชีวิต...ภาพสังคม
แง่คิดที่สุญญาตา เมี้ยนละม้าย หนึ่งในผู้ได้รับรางวัลได้เลือกแนะนำเรื่อง “คู่มือมนุษย์” ของท่านพุทธทาสภิกขุ ซึ่งคุณแม่แนะนำให้อ่านด้วยความเป็นห่วงที่ลูกสาวจะจากบ้านเดิมมาอยู่กรุงเทพฯ บอกว่าเป้าหมายในการอ่านหนังสือมีอยู่ 2 อย่าง คือ อ่านเพื่อรู้เท่าทันสังคมให้รู้จักคิดตามและปรับตัวอยู่ในสังคมโดยไม่โดยเอาเปรียบ และอ่านเพื่อพัฒนาตัวเองให้มีความรู้มากกว่าที่เรียนรู้จากห้องเรียน จากตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นได้ว่าทั้งโรงเรียน ครู และ พ่อแม่ มีบทบาทสำคัญในการติดอาวุธทางปัญญาให้แก่เยาวชนได้ด้วยการส่งเสริมการอ่าน
ข้อมูลจากโครงการนี้มีมากและสำคัญเพียงพอที่สมควรจะมีการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และกิจกรรม เพื่อการพัฒนาเยาวชนไทยวันนี้ ให้เป็นผู้ใหญ่มีคุณภาพที่ดีในอนาคตต่อไป ภาพสะท้อนจากผลงานที่ส่งมาร่วมในโครงการนี้ ชี้ถึงจุดอ่อนของความสามารถในการอ่านและเขียนของเยาวชน การเขียนเรียงความและย่อความที่ลดน้อยหายไปจากการฝึกหัดเขียน จะไม่ช่วยพัฒนาความสามารถในการสื่อสารความคิด และไม่อาจพัฒนาจินตนาการต่อไปด้วย จึงควรที่เราน่าจะให้ความสำคัญกับ ภาษาไทย ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาความคิดที่ลุ่มลึก และความสามารถในการสื่อสาร
การให้ความสำคัญกับภาษาไทย คงไม่ใช่เพียงการให้ความสำคัญกับการกำหนดให้วันใดวันหนึ่งให้เป็น “วันภาษาไทยของชาติ” เท่านั้น
..............................................
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โทร.0-2279-9584 ,0-2619-6188 pr@pr-trf.net