เอแบคโพลล์เผยผลสำรวจพบเยาวชนไทยในกรุงเทพฯ และปริมณฑลสามารถเข้าถึงแหล่งอบายมุข ซื้อเหล้า บุหรี่ สื่อลามกได้ง่ายในบริเวณใกล้กับสถานศึกษา โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 78 มีประสบการณ์เกี่ยวข้องอบายมุขมาแล้ว สาเหตุจากการอยากลอง ถูกเพื่อนชักชวน และค่านิยมที่คิดว่าทำแล้วจะดูดี ดูเท่ และพบว่าในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมามีวัยรุ่นผ่านการเล่นพนันเฉลี่ยถึงคนละ 7 ครั้ง ใช้ยาเสพติด 11 ครั้ง เที่ยวสถานบันเทิง 6 ครั้ง สูบบุหรี่ 35 ครั้ง ดื่มเหล้า 9 ครั้ง และมีเพศสัมพันธ์ 9 ครั้ง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เผยผลสำรวจเรื่อง “โครงการวิจัยเพื่อเฝ้าระวังรักษาคุณภาพเยาวชนไทยกับปัจจัยเสี่ยงต่ออบายมุขและสิ่งเสพติดรอบสถาบันการศึกษา : กรณีศึกษาตัวอย่างนักเรียนนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า-ปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” จากนักเรียน/นักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี จำนวน 2,743 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 10-23 กรกฎาคม 2548
โดยพบว่ากิจกรรมที่นักเรียนนักศึกษาทำบ่อยครั้งในรอบ 3 เดือน 3 อันดับแรก คือ การติดตามข่าวประจำวันผ่านสื่อมวลชน การเรียนอย่างมีสมาธิ และการเที่ยวห้างสรรพสินค้า ส่วนกิจกรรมที่ทำไม่บ่อย 3 อันดับแรก คือ กิจกรรมเพื่อสังคมสาธารณประโยชน์ กิจกรรมทางศาสนา และการเข้าหาความรู้ในห้องสมุด ส่วนกิจกรรมที่ไม่เคยทำเลยในรอบ 3 เดือน 3 อันดับแรก คือ การเรียนพิเศษ การทำงานหารายได้พิเศษ และการทำกิจกรรมเพื่อสังคม
สำหรับการสอบถามถึงแหล่งอบายมุข สิ่งเสพติด และแหล่งจำหน่ายเหล้าบุหรี่ในบริเวณสถาบันการศึกษาระยะไม่เกิน 500 เมตร พบว่ามี 5 อันดับแรก คือ สถานที่จำหน่ายบุหรี่ สุรา หรือสิ่งมึนเมา สถานที่รับเล่นพนัน/สนุกเกอร์/จำหน่ายสลาก สถานบันเทิง เช่น ผับ/เธค/คาราโอเกะ และสถานที่จำหน่ายสิ่งเสพติด ไม่รวมเหล้า บุหรี่ ไวน์ โดยนักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 78.8 ตอบว่าเคยมีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับอบายมุขต่าง ๆ ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 21.2 ระบุไม่เคย
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับอบายมุข 5 อันดับแรก คือ อยากรู้ อยากลอง การชักชวนของเพื่อน ค่านิยมที่ผิด เช่น คิดว่าเมื่อทำแล้วจะดูดี โก้ เท่ เพื่อความบันเทิง และถูกชักจูง
ขณะที่ความยากง่ายในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับสถาบันการศึกษาห่างกันไม่เกิน 500 เมตรนั้น นักเรียนนักศึกษาที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 58.1 สามารถซื้อเหล้าดื่มได้ง่าย และร้อยละ 56.3 สามารถซื้อบุหรี่สูบได้ง่าย ยิ่งไปกว่านั้นร้อยละ 53.9 และร้อยละ 50.2 ระบุสามารถเข้าถึงแหล่งพนันและแหล่งจำหน่ายสื่อลามกได้ง่าย ร้อยละ 66.3 เคยพบเห็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ซื้อบุหรี่/เหล้า ขณะที่ร้อยละ 33.7 ไม่เคยพบเห็น
นอกจากนี้ เอแบคโพลล์ยังได้สำรวจความคิดเห็นต่อแนวโน้มของแหล่งอบายมุขใกล้กับสถาบันการศึกษาในระยะไม่เกิน 500 เมตร พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 54.5 ระบุว่ายังมีแหล่งอบายมุขอยู่และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีเพียงร้อยละ 10.5 ระบุว่าลดลง และร้อยละ 35 ไม่มีความเห็น
สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อการทำลายคุณภาพเยาวชนไทยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่ามีเยาวชนที่เล่นการพนัน เช่น ไพ่ ทายผลพนันบอล สลากหรือหวย จำนวน 156,302 คน เฉลี่ยจำนวนที่เล่น 7 ครั้งต่อ 3 เดือน ใช้ยาเสพติดประเภทต่างๆ (ไม่รวมเหล้า เบียร์ ไวน์ และบุหรี่) มีจำนวน 73,348 คน โดยเฉลี่ยจำนวนที่ใช้รวม 11 ครั้ง เที่ยวสถานบันเทิง เช่น ผับ เธค คาราโอเกะ มีจำนวน 255,846 คน โดยเฉลี่ยจำนวนที่เที่ยวรวม 6 ครั้ง สูบบุหรี่ มีจำนวน 80,333 คน โดยเฉลี่ยจำนวนที่สูบบุหรี่ 35 ครั้ง ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ มีจำนวน 227,904 คน โดยเฉลี่ยจำนวนที่ดื่ม 9 ครั้ง มีเพศสัมพันธ์ มีจำนวน 100,417 คน เฉลี่ยจำนวนที่มีเพศสัมพันธ์ 9 ครั้ง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เผยผลสำรวจเรื่อง “โครงการวิจัยเพื่อเฝ้าระวังรักษาคุณภาพเยาวชนไทยกับปัจจัยเสี่ยงต่ออบายมุขและสิ่งเสพติดรอบสถาบันการศึกษา : กรณีศึกษาตัวอย่างนักเรียนนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า-ปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” จากนักเรียน/นักศึกษาที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี จำนวน 2,743 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 10-23 กรกฎาคม 2548
โดยพบว่ากิจกรรมที่นักเรียนนักศึกษาทำบ่อยครั้งในรอบ 3 เดือน 3 อันดับแรก คือ การติดตามข่าวประจำวันผ่านสื่อมวลชน การเรียนอย่างมีสมาธิ และการเที่ยวห้างสรรพสินค้า ส่วนกิจกรรมที่ทำไม่บ่อย 3 อันดับแรก คือ กิจกรรมเพื่อสังคมสาธารณประโยชน์ กิจกรรมทางศาสนา และการเข้าหาความรู้ในห้องสมุด ส่วนกิจกรรมที่ไม่เคยทำเลยในรอบ 3 เดือน 3 อันดับแรก คือ การเรียนพิเศษ การทำงานหารายได้พิเศษ และการทำกิจกรรมเพื่อสังคม
สำหรับการสอบถามถึงแหล่งอบายมุข สิ่งเสพติด และแหล่งจำหน่ายเหล้าบุหรี่ในบริเวณสถาบันการศึกษาระยะไม่เกิน 500 เมตร พบว่ามี 5 อันดับแรก คือ สถานที่จำหน่ายบุหรี่ สุรา หรือสิ่งมึนเมา สถานที่รับเล่นพนัน/สนุกเกอร์/จำหน่ายสลาก สถานบันเทิง เช่น ผับ/เธค/คาราโอเกะ และสถานที่จำหน่ายสิ่งเสพติด ไม่รวมเหล้า บุหรี่ ไวน์ โดยนักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 78.8 ตอบว่าเคยมีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับอบายมุขต่าง ๆ ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 21.2 ระบุไม่เคย
ส่วนสาเหตุที่ทำให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับอบายมุข 5 อันดับแรก คือ อยากรู้ อยากลอง การชักชวนของเพื่อน ค่านิยมที่ผิด เช่น คิดว่าเมื่อทำแล้วจะดูดี โก้ เท่ เพื่อความบันเทิง และถูกชักจูง
ขณะที่ความยากง่ายในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับสถาบันการศึกษาห่างกันไม่เกิน 500 เมตรนั้น นักเรียนนักศึกษาที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 58.1 สามารถซื้อเหล้าดื่มได้ง่าย และร้อยละ 56.3 สามารถซื้อบุหรี่สูบได้ง่าย ยิ่งไปกว่านั้นร้อยละ 53.9 และร้อยละ 50.2 ระบุสามารถเข้าถึงแหล่งพนันและแหล่งจำหน่ายสื่อลามกได้ง่าย ร้อยละ 66.3 เคยพบเห็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ซื้อบุหรี่/เหล้า ขณะที่ร้อยละ 33.7 ไม่เคยพบเห็น
นอกจากนี้ เอแบคโพลล์ยังได้สำรวจความคิดเห็นต่อแนวโน้มของแหล่งอบายมุขใกล้กับสถาบันการศึกษาในระยะไม่เกิน 500 เมตร พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 54.5 ระบุว่ายังมีแหล่งอบายมุขอยู่และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีเพียงร้อยละ 10.5 ระบุว่าลดลง และร้อยละ 35 ไม่มีความเห็น
สำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อการทำลายคุณภาพเยาวชนไทยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่ามีเยาวชนที่เล่นการพนัน เช่น ไพ่ ทายผลพนันบอล สลากหรือหวย จำนวน 156,302 คน เฉลี่ยจำนวนที่เล่น 7 ครั้งต่อ 3 เดือน ใช้ยาเสพติดประเภทต่างๆ (ไม่รวมเหล้า เบียร์ ไวน์ และบุหรี่) มีจำนวน 73,348 คน โดยเฉลี่ยจำนวนที่ใช้รวม 11 ครั้ง เที่ยวสถานบันเทิง เช่น ผับ เธค คาราโอเกะ มีจำนวน 255,846 คน โดยเฉลี่ยจำนวนที่เที่ยวรวม 6 ครั้ง สูบบุหรี่ มีจำนวน 80,333 คน โดยเฉลี่ยจำนวนที่สูบบุหรี่ 35 ครั้ง ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ มีจำนวน 227,904 คน โดยเฉลี่ยจำนวนที่ดื่ม 9 ครั้ง มีเพศสัมพันธ์ มีจำนวน 100,417 คน เฉลี่ยจำนวนที่มีเพศสัมพันธ์ 9 ครั้ง