ผู้จัดการกองทุน กยศ.เตือนมหาวิทยาลัยห้ามนำเงินกองทุนกู้ยืมเรียนไปเฉลี่ยให้นักศึกษากู้ทุกคน จี้ สสอท.ตรวจสอบกันเองหลังยังพบบางแห่งใช้ล่อนักศึกษาเข้าเรียน เตือนสถาบันอุดมศึกษาที่มีเงินเหลือคืนให้กองทุน กยศ.ไม่เช่นนั้นจะแจ้งความข้อหายักยอกทรัพย์
นายเปรมประชา ศุภสมุทร ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ.เปิดเผยว่า การยื่นกู้เงินกองทุน กยศ.ในปีการศึกษา 2548 ของผู้กู้ใหม่ไม่มีปัญหา แต่มีสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งแจ้งว่าวงเงินที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอ และต้องการวงเงินเพิ่ม ทาง กยศ.จึงจัดวงเงินเพิ่มให้เพราะไม่ต้องการให้เด็กเดือดร้อน หรือบางแห่งได้รับเงินกู้ครบทุกคนแต่วงเงินน้อยและต้องการขอเพิ่ม กยศ.จะจัดสรรให้หากพบว่าวงเงินที่จัดสรรให้น้อยจริง ไม่ใช่เพราะสถาบันนั้นๆ นำเงินไปเฉลี่ยเพื่อให้นักศึกษาได้กู้ทุกคน ซึ่ง กยศ.เคยเตือนแล้ว แต่ขณะนี้ยังมีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนบางแห่งนำกองทุน กยศ.ไปอ้างว่าหากสมัครเข้าเรียนแล้วจะได้เงินกู้ทุกคน จึงขอให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย หรือ สสอท.ช่วยตรวจสอบกันเอง นอกจากนี้ กยศ.ทำหนังสือแจ้งเตือนไปยังสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ว่าขณะนี้ได้จ้างสำนักงานตรวจสอบของเอกชนเข้าไปตรวจสอบว่าสถาบันต่างๆ ทำถูกระเบียบของการกู้เงินกองทุนหรือไม่ ใช้เงินกองทุนไปทำการตลาดหรือไม่ และคืนเงินที่เหลือให้กับ กยศ.หรือไม่
ผู้จัดการกองทุน กยศ.กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้เกิดปัญหาเกี่ยวกับวงเงินที่ยื่นขอกู้กับเงินที่กู้จริง เนื่องจากนักศึกษาอาจจ่ายค่าลงทะเบียนเรียนจริงน้อยกว่าวงเงินที่ขอกู้ แต่สถาบันอุดมศึกษานั้นๆ ไม่ได้คืนเงินส่วนนี้ไปยัง กยศ.ทำให้ผู้กู้ต้องรับภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้พบบางสถาบันมีเงินในส่วนนี้ค้างอยู่ 10-20 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยรัฐจะนำเงินส่วนนี้ไปใช้ไม่ได้ แต่หากเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจะนำไปใช้จ่ายได้ หาก กยศ.ตรวจพบจะแจ้งความดำเนินคดีเพราะเป็นคดีอาญา ฐานฉ้อโกง ยักยอกทรัพย์ ทั้งนี้จากการสุ่มไปยังสถาบันต่างๆ พบว่ามีเงินที่ค้างในลักษณะนี้และไม่คืน กยศ.กว่า 100 ล้านบาท ซึ่งยังไม่ได้รวมสถาบันอื่นๆ ที่ยังไม่ได้ตรวจสอบ รวมทั้งมีบางแห่งคืนเงินส่วนนี้แต่ไม่แจ้งว่าเป็นของผู้กู้คนใด ทำให้ กยศ.ไม่สามารถลดหนี้ให้ผู้กู้ได้ จึงอยากเรียกร้องให้ผู้กู้รักษาผลประโยชน์ของตนเอง โดยขอให้ติดต่อได้ที่สายด่วน 1597
นายเปรมประชา ศุภสมุทร ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ.เปิดเผยว่า การยื่นกู้เงินกองทุน กยศ.ในปีการศึกษา 2548 ของผู้กู้ใหม่ไม่มีปัญหา แต่มีสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งแจ้งว่าวงเงินที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอ และต้องการวงเงินเพิ่ม ทาง กยศ.จึงจัดวงเงินเพิ่มให้เพราะไม่ต้องการให้เด็กเดือดร้อน หรือบางแห่งได้รับเงินกู้ครบทุกคนแต่วงเงินน้อยและต้องการขอเพิ่ม กยศ.จะจัดสรรให้หากพบว่าวงเงินที่จัดสรรให้น้อยจริง ไม่ใช่เพราะสถาบันนั้นๆ นำเงินไปเฉลี่ยเพื่อให้นักศึกษาได้กู้ทุกคน ซึ่ง กยศ.เคยเตือนแล้ว แต่ขณะนี้ยังมีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนบางแห่งนำกองทุน กยศ.ไปอ้างว่าหากสมัครเข้าเรียนแล้วจะได้เงินกู้ทุกคน จึงขอให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย หรือ สสอท.ช่วยตรวจสอบกันเอง นอกจากนี้ กยศ.ทำหนังสือแจ้งเตือนไปยังสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ว่าขณะนี้ได้จ้างสำนักงานตรวจสอบของเอกชนเข้าไปตรวจสอบว่าสถาบันต่างๆ ทำถูกระเบียบของการกู้เงินกองทุนหรือไม่ ใช้เงินกองทุนไปทำการตลาดหรือไม่ และคืนเงินที่เหลือให้กับ กยศ.หรือไม่
ผู้จัดการกองทุน กยศ.กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้เกิดปัญหาเกี่ยวกับวงเงินที่ยื่นขอกู้กับเงินที่กู้จริง เนื่องจากนักศึกษาอาจจ่ายค่าลงทะเบียนเรียนจริงน้อยกว่าวงเงินที่ขอกู้ แต่สถาบันอุดมศึกษานั้นๆ ไม่ได้คืนเงินส่วนนี้ไปยัง กยศ.ทำให้ผู้กู้ต้องรับภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้พบบางสถาบันมีเงินในส่วนนี้ค้างอยู่ 10-20 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยรัฐจะนำเงินส่วนนี้ไปใช้ไม่ได้ แต่หากเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจะนำไปใช้จ่ายได้ หาก กยศ.ตรวจพบจะแจ้งความดำเนินคดีเพราะเป็นคดีอาญา ฐานฉ้อโกง ยักยอกทรัพย์ ทั้งนี้จากการสุ่มไปยังสถาบันต่างๆ พบว่ามีเงินที่ค้างในลักษณะนี้และไม่คืน กยศ.กว่า 100 ล้านบาท ซึ่งยังไม่ได้รวมสถาบันอื่นๆ ที่ยังไม่ได้ตรวจสอบ รวมทั้งมีบางแห่งคืนเงินส่วนนี้แต่ไม่แจ้งว่าเป็นของผู้กู้คนใด ทำให้ กยศ.ไม่สามารถลดหนี้ให้ผู้กู้ได้ จึงอยากเรียกร้องให้ผู้กู้รักษาผลประโยชน์ของตนเอง โดยขอให้ติดต่อได้ที่สายด่วน 1597