เนื่องในวโรกาสอันปีติของพสกนิกรชาวไทยที่จะได้ร่วมงานเฉลิมฉลอง “พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกร รัศมีโชติ” พระโอรสในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ซึ่งกรุงเทพมหานคร(กทม.) กำหนดจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายนและวันเสาร์ที่ 25 มิถุนายนนี้นั้น

นอกเหนือจากกิจกรรมและการแสดงต่างๆ อันตระการตาในทั้ง 8 เวทีคือ 1.สนามหลวง 2.ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ 3.สวนสันติชัยปราการ 4. สวนสาธารณะใต้สะพานพระราม 8 (ฝั่งธนบุรี) 5.บริเวณซุ้มประตูไทย-จีนเยาวราช 6.ลานคนเมืองหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า 7.อุทยานเบญจสิริ และ 8.โรงละครภัทราวดีเธียเตอร์แล้ว กรุงเทพมหานครยังได้มอบหมายให้ “วงสุนทราภรณ์” ประพันธ์เพลงถวายพระพรเพื่อใช้ในการเฉลิมฉลองครั้งนี้อีกด้วย
แน่นอนว่า ผู้คนทั้งประเทศคงจะใจจดใจจ่อและให้ความสนใจกับบทเพลงดังกล่าวว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และมีเนื้อหาและทำนองแบบไหน ซึ่งคนที่ติดตามข่าวสารก็คงจะรับทราบเนื้อหาไปบ้างแล้วจากการเปิดเผยของ อติพร สุนทรสนาน เสนะวงศ์ บุตรสาวของ “ครูเอื้อ สุนทรสนาน” แห่งวงสุนทราภรณ์
เพลงนี้ผู้ประพันธ์เพลง คือ น.ส.พรศุรี วิชเวช และนายรัตนพล จินตกานนท์ เรียบเรียงโดยครูดำ-พูนสุข สุริยะพงษ์รังษี หัวหน้าวงฯ โดยมีความยาว 3 นาทีและทำนองเป็นเพลงเก่าที่ครูเอื้อประพันธ์เอาไว้ แต่ยังไม่ได้นำไปใช้ ส่วนผู้ร้องนำก็คือ พรศุรี วิชเวช และประสานหมู่โดยนักร้องวงสุนทราภรณ์
“กทม.แจ้งให้ทราบว่า จะเชิญวงสุนทราภรณ์ไปเล่นในงานเฉลิมฉลองที่ลานคนเมืองเมื่อวันที่ 17 มิ.ย.ที่ผ่านมา พอเราทราบ ก็กลับมาคิดทันทีว่าจะต้องมีการแต่งเพลงถวายพระพรเนื่องในโอกาสนี้ ก็นำเรื่องมาปรึกษาครูดำเพื่อไปค้นหาทำนองเพลงที่ครูเอื้อแต่งเอาไว้ และยังไม่ได้มีการนำมาใช้งาน จากนั้นก็แต่งเนื้อร้อง ช่วยกันเกลาความถูกต้อง และวันอาทิตย์ที่ 19 มิ.ย.ทุกอย่างก็เสร็จ เรียกว่าใช้เวลาสั้นมาก”อติพรเล่าให้ฟัง

อย่างไรก็ตาม หากย้อนหลังกลับไปพิจารณาประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ก็จะเห็นได้ว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่วงสุนทราภรณ์ประพันธ์เพลงขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ วงสุนทราภรณ์ยังได้ประพันธ์เพลงถวายพระพรเพื่อใช้ในวโรกาสที่สำคัญมาแล้วหลายต่อหลายเพลงด้วยกัน
ทั้งนี้ เพลงแรกที่วงสุนทราภรณ์ประพันธ์มีชื่อว่า ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น ครูเอื้อประพันธ์ทำนองขึ้นในปี 2489 และครูแก้ว อัจฉริยะกุลเป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้อง เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัติกลับพระนครเป็นครั้งแรก โดยวงสุนทราภรณ์ยกวงไปเล่นรับเสด็จกลางแจ้งที่สนามบินดอนเมืองเลยทีเดียว
นอกจากนั้น วงสุนทราภรณ์ยังได้ประพันธ์เพลงถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีก 3 เพลงคือ เพลงทีฆายุโกโหตุมหาราชาที่แต่งขึ้นเนื่องในพระราชพิธีฉัตรมงคล เพลงร่มเกล้าและเพลงเหนือเกล้า
ขณะเดียวกัน วงสุนทราภรณ์ก็ได้ประพันธ์เพลงถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 4 เพลงด้วยคือ สดุดีมหาราชินี ฉัตรแก้ว ศรีนภาฟ้าไทยและเฉลิมพระชนม์ 12 สิงหา
อติพรเล่าต่อว่า สำหรับเพลงที่วงสุนทราภรณ์แต่งขึ้นเนื่องในวันพระราชสมภพ นอกเหนือจาก เพลงพระโอรสทีปังกร รัศมีโชติแล้ว ก็ยังมีอีก 4 เพลงด้วยกันคือ 1.เพลงอุบลรัตน์ แต่งขึ้นเนื่องในวันพระราชสมภพของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ 2.เพลงสดุดีวชิราลงกรณ์ แต่งขึ้นเนื่องในวันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร 3.เพลงสิรินธร แต่งขึ้นเนื่องวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ 4.เพลงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ แต่งขึ้นเนื่องในวันพระราชสมภพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ

“ทุกเพลงจะประพันธ์ในปีประสูติ โดยเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพระนามแล้ว คุณพ่อ(ครูเอื้อ) ก็จะประพันธ์ขึ้นมาทันที”
อติพรเล่าย้อนหลังให้ฟังด้วยว่า ครูเอื้อนั้น มีความจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์เป็นอย่างมาก เนื่องจากทำงานรับใช้มาตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยเมื่อจากบ้านเกิดที่อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ก็เข้ามาศึกษาต่อที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง และได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น “มหาดเล็กเด็กชา” ตั้งแต่อายุได้ 10 ขวบ
“เรียกว่า กินทั้งเงินหลวงและข้าวหลวงมาโดยตลอดก็ได้”
สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อติพรบอกว่า ครูเอื้อยิ่งมีความผูกพันเป็นพิเศษเนื่องจากได้เข้าถวายงานเรื่องดนตรีตั้งแต่เมื่อครั้งที่ยังดำรงพระอิสริยยศเป็นพระอนุชา และในช่วงสุดท้ายชีวิต ครูเอื้อยังได้มีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศ ซึ่งพระองค์ท่านก็ได้พระราชทานพระหลวงปู่ทวดที่ด้านหลังมีพระปรมาภิไธย ภปร.ให้กับครูเอื้อ พร้อมทั้งสวมให้ที่คอของครูเอื้อและตรัสว่า “เอาไว้รักษาตัว”
“เพลงที่วงสุนทราภรณ์ประพันธ์ถวายพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกร รัศมีโชตินั้น พวกเราถือว่า เป็นการกระทำที่สืบทอดเจตนารมณ์ของคุณพ่อ ซึ่งเคยสั่งเอาไว้เสมอว่า ความจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์เป็นสิ่งสูงสุดที่ต้องระลึกเอาไว้เสมอ”อติพรเล่าทิ้งท้าย
นอกเหนือจากกิจกรรมและการแสดงต่างๆ อันตระการตาในทั้ง 8 เวทีคือ 1.สนามหลวง 2.ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ 3.สวนสันติชัยปราการ 4. สวนสาธารณะใต้สะพานพระราม 8 (ฝั่งธนบุรี) 5.บริเวณซุ้มประตูไทย-จีนเยาวราช 6.ลานคนเมืองหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า 7.อุทยานเบญจสิริ และ 8.โรงละครภัทราวดีเธียเตอร์แล้ว กรุงเทพมหานครยังได้มอบหมายให้ “วงสุนทราภรณ์” ประพันธ์เพลงถวายพระพรเพื่อใช้ในการเฉลิมฉลองครั้งนี้อีกด้วย
แน่นอนว่า ผู้คนทั้งประเทศคงจะใจจดใจจ่อและให้ความสนใจกับบทเพลงดังกล่าวว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และมีเนื้อหาและทำนองแบบไหน ซึ่งคนที่ติดตามข่าวสารก็คงจะรับทราบเนื้อหาไปบ้างแล้วจากการเปิดเผยของ อติพร สุนทรสนาน เสนะวงศ์ บุตรสาวของ “ครูเอื้อ สุนทรสนาน” แห่งวงสุนทราภรณ์
เพลงนี้ผู้ประพันธ์เพลง คือ น.ส.พรศุรี วิชเวช และนายรัตนพล จินตกานนท์ เรียบเรียงโดยครูดำ-พูนสุข สุริยะพงษ์รังษี หัวหน้าวงฯ โดยมีความยาว 3 นาทีและทำนองเป็นเพลงเก่าที่ครูเอื้อประพันธ์เอาไว้ แต่ยังไม่ได้นำไปใช้ ส่วนผู้ร้องนำก็คือ พรศุรี วิชเวช และประสานหมู่โดยนักร้องวงสุนทราภรณ์
“กทม.แจ้งให้ทราบว่า จะเชิญวงสุนทราภรณ์ไปเล่นในงานเฉลิมฉลองที่ลานคนเมืองเมื่อวันที่ 17 มิ.ย.ที่ผ่านมา พอเราทราบ ก็กลับมาคิดทันทีว่าจะต้องมีการแต่งเพลงถวายพระพรเนื่องในโอกาสนี้ ก็นำเรื่องมาปรึกษาครูดำเพื่อไปค้นหาทำนองเพลงที่ครูเอื้อแต่งเอาไว้ และยังไม่ได้มีการนำมาใช้งาน จากนั้นก็แต่งเนื้อร้อง ช่วยกันเกลาความถูกต้อง และวันอาทิตย์ที่ 19 มิ.ย.ทุกอย่างก็เสร็จ เรียกว่าใช้เวลาสั้นมาก”อติพรเล่าให้ฟัง
อย่างไรก็ตาม หากย้อนหลังกลับไปพิจารณาประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ก็จะเห็นได้ว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่วงสุนทราภรณ์ประพันธ์เพลงขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ วงสุนทราภรณ์ยังได้ประพันธ์เพลงถวายพระพรเพื่อใช้ในวโรกาสที่สำคัญมาแล้วหลายต่อหลายเพลงด้วยกัน
ทั้งนี้ เพลงแรกที่วงสุนทราภรณ์ประพันธ์มีชื่อว่า ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น ครูเอื้อประพันธ์ทำนองขึ้นในปี 2489 และครูแก้ว อัจฉริยะกุลเป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้อง เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัติกลับพระนครเป็นครั้งแรก โดยวงสุนทราภรณ์ยกวงไปเล่นรับเสด็จกลางแจ้งที่สนามบินดอนเมืองเลยทีเดียว
นอกจากนั้น วงสุนทราภรณ์ยังได้ประพันธ์เพลงถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีก 3 เพลงคือ เพลงทีฆายุโกโหตุมหาราชาที่แต่งขึ้นเนื่องในพระราชพิธีฉัตรมงคล เพลงร่มเกล้าและเพลงเหนือเกล้า
ขณะเดียวกัน วงสุนทราภรณ์ก็ได้ประพันธ์เพลงถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 4 เพลงด้วยคือ สดุดีมหาราชินี ฉัตรแก้ว ศรีนภาฟ้าไทยและเฉลิมพระชนม์ 12 สิงหา
อติพรเล่าต่อว่า สำหรับเพลงที่วงสุนทราภรณ์แต่งขึ้นเนื่องในวันพระราชสมภพ นอกเหนือจาก เพลงพระโอรสทีปังกร รัศมีโชติแล้ว ก็ยังมีอีก 4 เพลงด้วยกันคือ 1.เพลงอุบลรัตน์ แต่งขึ้นเนื่องในวันพระราชสมภพของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ 2.เพลงสดุดีวชิราลงกรณ์ แต่งขึ้นเนื่องในวันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร 3.เพลงสิรินธร แต่งขึ้นเนื่องวันพระราชสมภพสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ 4.เพลงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ แต่งขึ้นเนื่องในวันพระราชสมภพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ
“ทุกเพลงจะประพันธ์ในปีประสูติ โดยเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพระนามแล้ว คุณพ่อ(ครูเอื้อ) ก็จะประพันธ์ขึ้นมาทันที”
อติพรเล่าย้อนหลังให้ฟังด้วยว่า ครูเอื้อนั้น มีความจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์เป็นอย่างมาก เนื่องจากทำงานรับใช้มาตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยเมื่อจากบ้านเกิดที่อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ก็เข้ามาศึกษาต่อที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง และได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น “มหาดเล็กเด็กชา” ตั้งแต่อายุได้ 10 ขวบ
“เรียกว่า กินทั้งเงินหลวงและข้าวหลวงมาโดยตลอดก็ได้”
สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อติพรบอกว่า ครูเอื้อยิ่งมีความผูกพันเป็นพิเศษเนื่องจากได้เข้าถวายงานเรื่องดนตรีตั้งแต่เมื่อครั้งที่ยังดำรงพระอิสริยยศเป็นพระอนุชา และในช่วงสุดท้ายชีวิต ครูเอื้อยังได้มีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศ ซึ่งพระองค์ท่านก็ได้พระราชทานพระหลวงปู่ทวดที่ด้านหลังมีพระปรมาภิไธย ภปร.ให้กับครูเอื้อ พร้อมทั้งสวมให้ที่คอของครูเอื้อและตรัสว่า “เอาไว้รักษาตัว”
“เพลงที่วงสุนทราภรณ์ประพันธ์ถวายพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกร รัศมีโชตินั้น พวกเราถือว่า เป็นการกระทำที่สืบทอดเจตนารมณ์ของคุณพ่อ ซึ่งเคยสั่งเอาไว้เสมอว่า ความจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์เป็นสิ่งสูงสุดที่ต้องระลึกเอาไว้เสมอ”อติพรเล่าทิ้งท้าย
เพลง “พระโอรส ทีปังกร รัศมีโชติ” ไทยได้มีเทพองค์หนึ่งจุติมา ด้วยทรงมีพระบุญญาบารมี ประสูติในบรมราชวงศ์จักรี พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติโรจน์เรืองไทยเทอญ ปวงข้าไพร่ฟ้าประชาราษฎร ขออภิวาทบังคมก้มเกศี ถวายพระพรพระกุมาร(พระมิ่งขวัญ) สดุดี ทั่วธานีแซ่ร้องสาธุการ ขอปวงเทพเทวาทั่วสารทิศ พระไตรรัตน์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วสถาน เฉลิมชัยในองค์ราชกุมาร ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานชั่วกาลเทอญ คำร้อง-ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ทำนอง-สิริ ยงยุทธ บัวทิพย์สล้าง บัวหลวงสอางค์สุภางค์แย้มเยือน บัวผันบัวเผื่อน ติดเตือนเกลื่อนตาหนักหนา พิศยลอุบลเหนือหัว สูงเกินกว่าบัวทั้งหล้า เป็นมิ่งประชา สูงเกินดอกฟ้า อ่าอุบล โกสุมวิเศษ โกมุทโกเมศไม่งามวิมล บัวทุกๆ ต้น อุบลย่อมดลศักดิ์ศรี สมที่สักการะของชน วิมลอุบลรัตน์นารี ทั่วทั้งธาตรี นอบนบเป็นที่เทิดทูน คำร้อง-ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ทำนอง-ครูเอื้อ สุนทรสนาน ข้าสดุดีราชกุมาร น้อมศิระกรานต์ก้ม ถวายบังคมแด่องค์ทรงสันติ์ขวัญไชย พระองค์ทรงเป็นบุญญา คุ้มเกล้าประชาชาวไทย พระเป็นขวัญใจปกป้องไทยประชา เอกองค์จงยืนยงพระทรงหวังใด จุ่งได้ดังฤทัยพระปรารถนา ข้าถวายพรชัยขวัญใจประชา สมเด็จเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ คำร้อง-ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ทำนอง-ครูเอื้อ สุนทรสนาน สิรินธร สิริสมรของปวงประชา มีสง่าโสภณสุดาผองข้าชื่นชม ทรงมิ่งขวัญ โสภาคย์เฉิดฉัน เหมือนดังแจ่มจันทร์อันรื่นรมย์ เอกอนงค์ทรงสม สิริอุดม บรมมงคลนารี กิติจักรินทร์ พระนามสิรินธร สิริวิวรณ์นิกรต่างภักดี เอกอุอดุลย์ เสริมวงศ์ส่งบุญศรี ขัตติยะนารี ศรีทรงปวงชน สิรินธรศรีทรง สิริองค์รัตนา ล้ำค่า สิริฟ้าประดล ยิ่งภิญโญนุกูล สืบศักดิ์พูลขวัญชน มงคลสถิตอยู่คู่ไทย ไทยอาทร เหมือนพรหมเสกพรวัฒนา สุดาเหนือหล้าพิไล สิรินธรทุกกาล สุขุมาลย์ละไม ชาติไทยชื่นฤทัย ไชโย คำร้อง-ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ทำนอง-ครูเอื้อ สุนทรสนาน จุฬาภรณวลัยลักษณ์วรสุภา ราชธิดาจอมจุฑธิปไตย มิ่งขวัญของอาณาประชาไทย ดวงใจของชนกชนนี ไผทไทยในหล้าอาทร จุฬาภรณ์อดิศรบวรศรี เสริมขวัญราชันย์บรมจักรี ขัตติยะนารีนามาจุฬาภรณ์ จุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ สิริศักดิ์สโมสร อัญขยมประนมกร ถวายพระพรสดุดี ขอทรงดำรงสุข นิรทุกข์รมณีย์ กอปรคุณพระบารมี พิสิษฐ์ศรีนิกรไทย ไชโย |