“ถนนราชดำเนิน” ถนนขนาดใหญ่ที่คลาคล่ำไปด้วยการจราจรถึงสิบสองเลน ถนนที่เป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้ทางประชาธิปไตยมาหลายสิบปี ถนนที่คนหลายเผ่าพันธุ์หลากเชื้อชาติร่วมกันถักทอรากวัฒนธรรม ถนนสายนี้จึงไม่ใช่แค่ถนนสำหรับสัญจรธรรมดา และใช่เพียงถนนที่ "ราช" ทรง "ดำเนิน" แต่ "ราษฎร์" เองก็ยังได้ใช้เป็นที่สานต่อชีวิตไม่รู้กี่ชั่วคน แต่ใครจะคิดเล่าว่าอีกไม่นาน ถนนสายนี้จะถูกเปลี่ยนให้เป็น “ฌอง เอลิเซแห่งปารีส!!”
พื้นที่ที่อยู่อาศัยที่เคยมีชีวิตชีวา เต็มไปด้วยย่านการค้า ที่อยู่อาศัยและสถาปัตยกรรมที่สวยงาม กำลังถูกทำให้เหลือเพียง วัด วัง สวน และคลองน้อยใหญ่ ทว่าคำว่า “คน” และ “ชุมชน” กลับถูกลบหายไปทีละเล็กละน้อย
ที่มาของการปรับถนนราชดำเนินให้เป็นถนน “ฌอง เอลิเซ่” นั้นมาจาก “โครงการจัดทำแผนแม่บทและพัฒนาพื้นที่ถนนราชดำเนิน และพื้นที่บริเวณต่อเนื่อง” ซึ่งผ่านมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.44 ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ดำเนินการดังกล่าวนั้น มีจุดประสงค์เพื่อให้เป็น “พื้นที่เป้าหมายหนึ่งของแหล่งท่องเที่ยวในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ ที่เป็นเอกลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองมาช่วงหนึ่งในอดีต... เป็นเครื่องหมายแสดงถึงความศิวิไลซ์ของเมืองสยาม ดังเช่น ถนน ฌอง เอลิเซ่ แห่งปารีส..” (สศช. 2546: 2/1)
พูดอย่างง่ายๆ คือ เปลี่ยนถนนราชดำเนินและพื้นที่ 1.5 กิโลเมตร จากสองฝั่งถนนเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว และ 21 ชุมชนจะถูกจัดระเบียบ โดยระบุอาณาบริเวณ 8 แห่ง ได้แก่ 1. พื้นที่ถนนราชดำเนินและถนนต่อเนื่องในเขตรัตนโกสินทร์ 2. แนวคูคลองเมืองเดิม 3. ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งรัตนโกสินทร์ 4. ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี สถานีรถไฟบางกอกน้อย วัดดาวดึงษาราม วัดระฆังโฆษิตาราม ชุมชนวังหลัง ปากคลองบางกอกใหญ่ คลองสาน ตลาดน้ำตลิ่งชัน วัดไทร ริมคลองฝั่งธนบุรี 5. ถนนสายสำคัญที่ต่อเนื่องกับราชดำเนินกลาง ได้แก่ ข้าวสาร สิบสามห้าง อาคารเก่าริมถนนตะนาว ถนนดินสอ 6. แนวคลองรอบกรุง 7.แนวคลองหลอดใต้ 8. แนวคลองผดุงเกษม หัวลำโพง
และชื่อ 21 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนโบสถ์พราหมณ์, ชุมชนตรอกศิลป์-ตรอกตึกดิน, ชุมชนหลังวัดราชนัดดา, ชุมชนวัดเทพธิดาราม, ชุมชนวังกรมพระสมมตอมรพันธ์, ชุมชนราชบพิธพัฒนา, ชุมชนเฟื่องทอง-ตรอกวิสูตร, ชุมชนท่าเตียน, ชุมชนตรอกบวรรังษี, ชุมชนตรอกบ้านพานถม, ชุมชนมัสยิดบ้านตึกดิน, ชุมชนท่าวัง, ชุมชนเขียนนิวาสน์-ตรอกไก่แจ้, ชุมชนวัดสังเวชวิศยาราม, วัดสามพระยา, ชุมชนมัสยิดจักพงษ์, ชุมชนวัดนรนาถ, ชุมชนวัดอินทรวิหาร, ชุมชนวัดใหม่อมตรส, ชุมชนแพร่งภูธร, ชุมชนสามยอด
จากโครงการนี้... อาจเป็นไปได้ว่า วันหนึ่งเมื่อเราเดินสัญจรไปมาในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์และถนนราชดำเนิน จะมองเห็นเพียงร้านค้าแบรนด์แนมสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ แต่มองไม่เห็นคนและชุมชนในตรอกเล็กๆ อีกเลยก็เป็นได้...
ความเดือดร้อนของคนในตรอก
หนึ่งในวัตถุประสงค์ของโครงการฉบับดังกล่าวคือ “การพัฒนาพื้นที่ราชดำเนินและพื้นที่ต่อเนื่องให้เป็นเมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน” ไม่ว่า “ชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน” ของโครงการนี้จะหมายความว่าเช่นไรก็ตาม
ทว่า... ชุมชนบางชุมชนกำลังถูกไล่รื้อ บ้านบางหลังถูกยกเลิกสัญญาเช่าทั้งๆ ที่ได้ขอต่อสัญญาและอาศัยมาหลายชั่วอายุคน และชุมชนอีกหลายชุมชนยังไม่รับรู้ว่า...อะไรกำลังจะเกิดขึ้นที่ “บ้าน” ของพวกเขา...
ชุมชนป้อมมหากาฬ คือ ชุมชนแออัดเล็กๆ ด้านหลังกำแพงป้อมมหากาฬ ในพื้นที่เพียงสี่ไร่กว่า กลับมีผู้คนกว่า 70 ครัวเรือนอาศัยอยู่ พื้นแห่งนี้ถูกเวนคืนจากหลายๆ แผนปรับปรุงพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อปรับภูมิทัศน์เป็นสวนสาธารณะ ให้คนบนถนนฝั่งป้อมมหากาฬสามารถเห็นเจดีย์ภูเขาทองที่ตั้งอีกฝั่งของคลองโอ่งอ่างได้สบายตา
ชุมชนแห่งนี้ถูกไล่รื้อเวนคืนตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบัน ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่า ชาวชุมชนป้อมฯ ต้องต่อสู้อย่างอดทนเพื่อบ้านของพวกเขาเอง
พี่แต หรือ นายพราเทพ บูรณบุรีเดช หนึ่งในคณะทำงานชุมชนป้อมมหากาฬ บอกถึงการต่อสู้ที่ผ่านมาว่า หลายครั้งที่ถูกข่มขู่ จนบางช่วงชาวบ้านถึงต้องปิดบ้านปิดช่อง ไม่ไปทำงานเพื่อเฝ้าไม่ให้บ้านถูกรื้อถอนไป จากที่เคยอยู่ร่วมกันมา 70 กว่าครอบครัว ปัจจุบันเหลือเพียง 45 ครอบครัว หรือประมาณ 200 คนที่ยังต่อสู้เพื่อที่ซุกหัวนอนของตัวเอง
“ทั้งๆ ที่เรามีทะเบียนบ้านกันทุกหลัง เอกสารมีพร้อม แต่ก็โดนไล่ ไม่ใช่ว่าเราดื้อไม่ยอมรับที่ใหม่ที่จัดให้ แต่ที่ตรงนั้นไปอยู่ไม่ได้ เหมือนป่า ไม่รู้จะทำมาหากินอะไร เราจึงไม่ไป ยืนยันจะอยู่ที่นี่และตายที่นี่”
พี่เตพูดถึงสถานการณ์ปัจจุบันว่า ตอนนี้เป็นช่วงแห่งการรอคอย ชุมชนป้อมมหากาฬรอคอยให้พวกเขาได้เป็นชุมชนที่ถูกต้องอีกครั้ง แล้วเขาจะดำรงอยู่อย่างชุมชนที่สวยงามและมีระเบียบ “ตอนนี้มีกลุ่มออมทรัพย์และแบบแปลนบ้านในอนาคต ซึ่งเราพร้อมทุกเมื่อที่จะปรับทำให้ที่ตรงนี้ดูดี รอแค่เขาอนุญาต คนจะเข้ามาเดินท่องเที่ยวก็ได้ ไม่เป็นปัญหา”
ถัดมาคือย่านบางลำพู ย่านที่เต็มไปด้วยร้านรวงมากมาย บริเวณซอยรามบุตรี ที่ซึ่งเป็นย่านที่ชาวต่างชาติมักเดินมาจับจ่ายใช้สอย มีร้านค้าตึกแถว 5 คูหาและอีกหนึ่งปั้มน้ำมันที่ถูกยกเลิกสัญญาเช่าที่เคยทำกันมาหลายชั่วอายุคน
คุณลุงเลิศ หรือนายเลิศศักดิ์ สายุวิบูลย์ เจ้าของร้านเสื้อที่ถูกยกเลิกสัญญาเช่าพูดว่า “เราอยู่ที่นี่มานานตั้งแต่ผมเกิด 60 กว่าปีได้ เมื่อกรกฎาคมปีที่แล้วผมยังไปต่อสัญญาเช่า 3 ปีกับสำนักทรัพย์สินฯ จ่ายเงินเรียบร้อย แต่พอเดือนตุลาก็ได้มีจดหมายแจ้งบอกเลิกสัญญาเช่า พอไปถามว่าทำไม ทางสำนักทรัพย์สินฯ ก็ไม่เคยสนใจจะชี้แจง เขาไม่สนใจแม้จะคุยกับเรา”
เมื่อเสียงของคนเล็กๆ อย่างคุณลุงเลิศดังไม่พอ เมื่อมีนาคม พ.ศ.2548 คุณลุงเลิศได้ตัดสินใจทำการฟ้องสำนักทรัพย์สินฯ เรื่องการทำสัญญาที่ดิน แต่เพียงผู้เดียวจากผู้เช่าทั้งหมด 5 คน คุณลุงเลิศคาดว่าจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องประมาณ 80,000 บาท ซึ่งจะนำเงินเก็บที่ตนค้าขายมาหลายสิบปีมาใช้จ่าย เพื่อที่จะยื้อ “บ้าน” ของลุงเอาไว้ แม้ความเป็นไปได้จะดูเลือนรางก็ตามที
“การเปลี่ยนแปลงจริงอยู่ว่ามันต้องมี แต่ถ้าจะเปลี่ยนเขาต้องบอกเราก่อน บอกแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้หาช่องทางปรับเปลี่ยน ที่ตรงนี้ผมอยู่มานาน เป็นที่ค้าขาย ถ้าย้ายผมจะไปค้าขายได้ที่ไหน ใครจะซื้อ ถ้าต้องเริ่มใหม่หมดมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ประชาชนมีกฎหมายเป็นเหมือนอาวุธ เรามีสิทธิ มีอาวุธอยู่ในมือ ทำไมถึงไม่ใช้มันเมื่อมีคนมารังแก” คุณลุงเลิศตั้งคำถามทิ้งท้าย
ขณะที่ชุมชนแพร่งภูธร หนึ่งในชุมชนสามแพร่ง ย่านเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยอาหารและขนมที่ขึ้นชื่อ เป็นอีกชุมชนที่จะถูกยกเลิกสัญญาเช่า แต่หลายเสียงในชุมชนไม่เชื่อว่ามันจะเกิดขึ้นจริงและไม่เคยได้ยินเรื่องดังกล่าวมาก่อน...
ชัลญา มาตราจำรูญกุล เจ้าของร้านครัวส้มหอม กล่าวว่า ไม่เคยได้ยินข่าวเรื่องดังกล่าวมาก่อนเลย หากต้องย้ายจริงๆ เธอก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรเช่นกัน “ถ้าต้องย้ายจริงๆ พี่จะทำยังไงล่ะ?” เธอตั้งคำถาม
ด้านเจ้าของร้านจักรยานยนต์ย่านสามแพร่ง ยืนยันว่า “ที่ตรงนี้ผมอยู่มาหลายชั่วคน รัชกาลที่ 5 ท่านให้ประชาชนพักอาศัย ไอ้เรื่องแบบนี้ไม่มีทางเป็นไปได้หรอก”
สำหรับคุณลุงประเสริฐ เลิศธนพงศ์ ประธานชุมชนแพร่งภูธร พูดด้วยความหนักใจว่า คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้เรื่องโครงการนี้เท่าไหร่นัก หรือถ้ารู้ก็ทำเหมือนไม่รู้ ไม่เชื่อ ไม่เดือดร้อน หากโดนยกเลิกสัญญาจริงก็ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร
และหากโครงการฌอง เอลิเซ่เป็นจริง คุณลุงให้ความเห็นว่า “เมืองที่น่าอยู่ไม่ใช่เมืองที่น่าค้าขาย ถ้ากลายเป็นย่านธุรกิจมันก็ไม่ใช่ย่านพักอาศัย เพราะมันจะไม่มีใครรักใครดูแล เจ้าของจะคิดแต่กอบโกยอย่างเดียว อย่างในข้าวสารจะเห็นได้ว่ามันมีปัญหาเยอะ ราชการเองก็รู้ว่ามี แต่ไม่มีคนจะจัดการ คนที่ซวยก็คือประชาชนนั่นเอง”
เสียงสะท้อนของการท่องเที่ยว
ด้านหนึ่งของซอยรามบุตรี ย่านที่พลุ่กพล่านไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เหล่าเจ้าของร้านค้าต่างกำลังตั้งหน้าตั้งตานั่งคอยลูกค้าอย่างใจจดจ่อ ผู้ประกอบการหลายรายบอกกับเราว่าช่วงนี้การค้าขายค่อนข้างเงียบ อาจเป็นเพราะอยู่ในช่วงโลว์ซีซั่น
“ตั้งแต่สึนามิมันก็เงียบ คนที่เคยมาเขาก็ตาย ไม่ตายก็คงกลัว ระเบิดก็มี แล้วฝรั่งที่เข้ามาก็ใช่ว่าจะใช้เงินกันง่ายๆ เขาก็งกน่าดู ต่อจาก 150 ขอเหลือ 50 แบบนี้เราก็แย่ ถ้าถามว่ารวยไหม ก็ไม่มาก ถ้านับในบ้านเขาก็คงไม่รวย แต่มาบ้านเราเขาก็มีเงิน แต่ถ้าเลือกแพงมากๆ เขาก็คงไม่เอาเหมือนกัน” นางมลจญา พรมเทศ ผู้เช่าร้านสำรับทอง ร้านเสื้อผ้าและเครื่องไม้กล่าว
“มันก็เงียบนะ อาจจะเป็นช่วงโลว์ซีซั่น ก็นั่งเรื่อยๆ กับลูกน้องอีกสามสี่คน” เจ้าของร้านทำผมแห่งหนึ่งในซอยรามบุตรีกล่าว
สำหรับโครงการดังกล่าว อาจารย์ปฐมฤกษ์ เกตุทัต อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งคำถามกับโครงการการท่องเที่ยวได้อย่างน่าสนใจว่า “งบตรงนี้ แค่โครงการถนนราชดำเนินฯ ก็หกพันกว่าล้านบาท ไม่นับรวมแผนอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ฯ ที่ใช้ภาษีอากรไปหมื่นห้าพันล้านบาท คำถามคือ จะคืนเมื่อไหร่? แล้วนักท่องเที่ยวของเราคือใคร? แบกแพกเกอร์ นักเรียนที่เก็บเงินเที่ยวจากญี่ปุ่น แล้วคนพวกนี้จ่ายเท่าไหร่ต่อทริป แล้วเราลงทุนกับการท่องเที่ยวเท่าไหร่ต่อปี ผมไม่รู้ว่าเราพึ่งการท่องเที่ยวได้แค่ไหน? ปัจจุบันการทำมาหากินไม่ต้องพูดกันแล้ว หลอกเงินฝรั่งกินดีกว่า เด็กรุ่นต่อไปถ้าหลอกฝรั่งไม่เป็นคงอยู่ไม่ได้”
อ.ปฐมฤกษ์พูดถึงในอนาคตว่าอันใกล้ว่าโครงการอนุรักษ์เมืองเก่าแบบนี้จะมีทั่วประเทศไทย โดยตอนนี้คณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่าได้ลงพื้นที่ 10 จังหวัดนำร่องเที่ยวประเทศ
...ฉะนั้นเรื่องดังกล่าวจึงไม่ใช่แค่เรื่องของคนเกาะรัตนโกสินทร์ ไม่ใช่แค่เรื่องของคนกรุงเทพฯ หากว่าเป็นเรื่องของคนทั้งประเทศ...









พื้นที่ที่อยู่อาศัยที่เคยมีชีวิตชีวา เต็มไปด้วยย่านการค้า ที่อยู่อาศัยและสถาปัตยกรรมที่สวยงาม กำลังถูกทำให้เหลือเพียง วัด วัง สวน และคลองน้อยใหญ่ ทว่าคำว่า “คน” และ “ชุมชน” กลับถูกลบหายไปทีละเล็กละน้อย
ที่มาของการปรับถนนราชดำเนินให้เป็นถนน “ฌอง เอลิเซ่” นั้นมาจาก “โครงการจัดทำแผนแม่บทและพัฒนาพื้นที่ถนนราชดำเนิน และพื้นที่บริเวณต่อเนื่อง” ซึ่งผ่านมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.44 ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ดำเนินการดังกล่าวนั้น มีจุดประสงค์เพื่อให้เป็น “พื้นที่เป้าหมายหนึ่งของแหล่งท่องเที่ยวในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ ที่เป็นเอกลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองมาช่วงหนึ่งในอดีต... เป็นเครื่องหมายแสดงถึงความศิวิไลซ์ของเมืองสยาม ดังเช่น ถนน ฌอง เอลิเซ่ แห่งปารีส..” (สศช. 2546: 2/1)
พูดอย่างง่ายๆ คือ เปลี่ยนถนนราชดำเนินและพื้นที่ 1.5 กิโลเมตร จากสองฝั่งถนนเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว และ 21 ชุมชนจะถูกจัดระเบียบ โดยระบุอาณาบริเวณ 8 แห่ง ได้แก่ 1. พื้นที่ถนนราชดำเนินและถนนต่อเนื่องในเขตรัตนโกสินทร์ 2. แนวคูคลองเมืองเดิม 3. ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งรัตนโกสินทร์ 4. ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี สถานีรถไฟบางกอกน้อย วัดดาวดึงษาราม วัดระฆังโฆษิตาราม ชุมชนวังหลัง ปากคลองบางกอกใหญ่ คลองสาน ตลาดน้ำตลิ่งชัน วัดไทร ริมคลองฝั่งธนบุรี 5. ถนนสายสำคัญที่ต่อเนื่องกับราชดำเนินกลาง ได้แก่ ข้าวสาร สิบสามห้าง อาคารเก่าริมถนนตะนาว ถนนดินสอ 6. แนวคลองรอบกรุง 7.แนวคลองหลอดใต้ 8. แนวคลองผดุงเกษม หัวลำโพง
และชื่อ 21 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนโบสถ์พราหมณ์, ชุมชนตรอกศิลป์-ตรอกตึกดิน, ชุมชนหลังวัดราชนัดดา, ชุมชนวัดเทพธิดาราม, ชุมชนวังกรมพระสมมตอมรพันธ์, ชุมชนราชบพิธพัฒนา, ชุมชนเฟื่องทอง-ตรอกวิสูตร, ชุมชนท่าเตียน, ชุมชนตรอกบวรรังษี, ชุมชนตรอกบ้านพานถม, ชุมชนมัสยิดบ้านตึกดิน, ชุมชนท่าวัง, ชุมชนเขียนนิวาสน์-ตรอกไก่แจ้, ชุมชนวัดสังเวชวิศยาราม, วัดสามพระยา, ชุมชนมัสยิดจักพงษ์, ชุมชนวัดนรนาถ, ชุมชนวัดอินทรวิหาร, ชุมชนวัดใหม่อมตรส, ชุมชนแพร่งภูธร, ชุมชนสามยอด
จากโครงการนี้... อาจเป็นไปได้ว่า วันหนึ่งเมื่อเราเดินสัญจรไปมาในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์และถนนราชดำเนิน จะมองเห็นเพียงร้านค้าแบรนด์แนมสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ แต่มองไม่เห็นคนและชุมชนในตรอกเล็กๆ อีกเลยก็เป็นได้...
ความเดือดร้อนของคนในตรอก
หนึ่งในวัตถุประสงค์ของโครงการฉบับดังกล่าวคือ “การพัฒนาพื้นที่ราชดำเนินและพื้นที่ต่อเนื่องให้เป็นเมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน” ไม่ว่า “ชุมชนน่าอยู่อย่างยั่งยืน” ของโครงการนี้จะหมายความว่าเช่นไรก็ตาม
ทว่า... ชุมชนบางชุมชนกำลังถูกไล่รื้อ บ้านบางหลังถูกยกเลิกสัญญาเช่าทั้งๆ ที่ได้ขอต่อสัญญาและอาศัยมาหลายชั่วอายุคน และชุมชนอีกหลายชุมชนยังไม่รับรู้ว่า...อะไรกำลังจะเกิดขึ้นที่ “บ้าน” ของพวกเขา...
ชุมชนป้อมมหากาฬ คือ ชุมชนแออัดเล็กๆ ด้านหลังกำแพงป้อมมหากาฬ ในพื้นที่เพียงสี่ไร่กว่า กลับมีผู้คนกว่า 70 ครัวเรือนอาศัยอยู่ พื้นแห่งนี้ถูกเวนคืนจากหลายๆ แผนปรับปรุงพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อปรับภูมิทัศน์เป็นสวนสาธารณะ ให้คนบนถนนฝั่งป้อมมหากาฬสามารถเห็นเจดีย์ภูเขาทองที่ตั้งอีกฝั่งของคลองโอ่งอ่างได้สบายตา
ชุมชนแห่งนี้ถูกไล่รื้อเวนคืนตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบัน ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่า ชาวชุมชนป้อมฯ ต้องต่อสู้อย่างอดทนเพื่อบ้านของพวกเขาเอง
พี่แต หรือ นายพราเทพ บูรณบุรีเดช หนึ่งในคณะทำงานชุมชนป้อมมหากาฬ บอกถึงการต่อสู้ที่ผ่านมาว่า หลายครั้งที่ถูกข่มขู่ จนบางช่วงชาวบ้านถึงต้องปิดบ้านปิดช่อง ไม่ไปทำงานเพื่อเฝ้าไม่ให้บ้านถูกรื้อถอนไป จากที่เคยอยู่ร่วมกันมา 70 กว่าครอบครัว ปัจจุบันเหลือเพียง 45 ครอบครัว หรือประมาณ 200 คนที่ยังต่อสู้เพื่อที่ซุกหัวนอนของตัวเอง
“ทั้งๆ ที่เรามีทะเบียนบ้านกันทุกหลัง เอกสารมีพร้อม แต่ก็โดนไล่ ไม่ใช่ว่าเราดื้อไม่ยอมรับที่ใหม่ที่จัดให้ แต่ที่ตรงนั้นไปอยู่ไม่ได้ เหมือนป่า ไม่รู้จะทำมาหากินอะไร เราจึงไม่ไป ยืนยันจะอยู่ที่นี่และตายที่นี่”
พี่เตพูดถึงสถานการณ์ปัจจุบันว่า ตอนนี้เป็นช่วงแห่งการรอคอย ชุมชนป้อมมหากาฬรอคอยให้พวกเขาได้เป็นชุมชนที่ถูกต้องอีกครั้ง แล้วเขาจะดำรงอยู่อย่างชุมชนที่สวยงามและมีระเบียบ “ตอนนี้มีกลุ่มออมทรัพย์และแบบแปลนบ้านในอนาคต ซึ่งเราพร้อมทุกเมื่อที่จะปรับทำให้ที่ตรงนี้ดูดี รอแค่เขาอนุญาต คนจะเข้ามาเดินท่องเที่ยวก็ได้ ไม่เป็นปัญหา”
ถัดมาคือย่านบางลำพู ย่านที่เต็มไปด้วยร้านรวงมากมาย บริเวณซอยรามบุตรี ที่ซึ่งเป็นย่านที่ชาวต่างชาติมักเดินมาจับจ่ายใช้สอย มีร้านค้าตึกแถว 5 คูหาและอีกหนึ่งปั้มน้ำมันที่ถูกยกเลิกสัญญาเช่าที่เคยทำกันมาหลายชั่วอายุคน
คุณลุงเลิศ หรือนายเลิศศักดิ์ สายุวิบูลย์ เจ้าของร้านเสื้อที่ถูกยกเลิกสัญญาเช่าพูดว่า “เราอยู่ที่นี่มานานตั้งแต่ผมเกิด 60 กว่าปีได้ เมื่อกรกฎาคมปีที่แล้วผมยังไปต่อสัญญาเช่า 3 ปีกับสำนักทรัพย์สินฯ จ่ายเงินเรียบร้อย แต่พอเดือนตุลาก็ได้มีจดหมายแจ้งบอกเลิกสัญญาเช่า พอไปถามว่าทำไม ทางสำนักทรัพย์สินฯ ก็ไม่เคยสนใจจะชี้แจง เขาไม่สนใจแม้จะคุยกับเรา”
เมื่อเสียงของคนเล็กๆ อย่างคุณลุงเลิศดังไม่พอ เมื่อมีนาคม พ.ศ.2548 คุณลุงเลิศได้ตัดสินใจทำการฟ้องสำนักทรัพย์สินฯ เรื่องการทำสัญญาที่ดิน แต่เพียงผู้เดียวจากผู้เช่าทั้งหมด 5 คน คุณลุงเลิศคาดว่าจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องประมาณ 80,000 บาท ซึ่งจะนำเงินเก็บที่ตนค้าขายมาหลายสิบปีมาใช้จ่าย เพื่อที่จะยื้อ “บ้าน” ของลุงเอาไว้ แม้ความเป็นไปได้จะดูเลือนรางก็ตามที
“การเปลี่ยนแปลงจริงอยู่ว่ามันต้องมี แต่ถ้าจะเปลี่ยนเขาต้องบอกเราก่อน บอกแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้หาช่องทางปรับเปลี่ยน ที่ตรงนี้ผมอยู่มานาน เป็นที่ค้าขาย ถ้าย้ายผมจะไปค้าขายได้ที่ไหน ใครจะซื้อ ถ้าต้องเริ่มใหม่หมดมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ประชาชนมีกฎหมายเป็นเหมือนอาวุธ เรามีสิทธิ มีอาวุธอยู่ในมือ ทำไมถึงไม่ใช้มันเมื่อมีคนมารังแก” คุณลุงเลิศตั้งคำถามทิ้งท้าย
ขณะที่ชุมชนแพร่งภูธร หนึ่งในชุมชนสามแพร่ง ย่านเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยอาหารและขนมที่ขึ้นชื่อ เป็นอีกชุมชนที่จะถูกยกเลิกสัญญาเช่า แต่หลายเสียงในชุมชนไม่เชื่อว่ามันจะเกิดขึ้นจริงและไม่เคยได้ยินเรื่องดังกล่าวมาก่อน...
ชัลญา มาตราจำรูญกุล เจ้าของร้านครัวส้มหอม กล่าวว่า ไม่เคยได้ยินข่าวเรื่องดังกล่าวมาก่อนเลย หากต้องย้ายจริงๆ เธอก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรเช่นกัน “ถ้าต้องย้ายจริงๆ พี่จะทำยังไงล่ะ?” เธอตั้งคำถาม
ด้านเจ้าของร้านจักรยานยนต์ย่านสามแพร่ง ยืนยันว่า “ที่ตรงนี้ผมอยู่มาหลายชั่วคน รัชกาลที่ 5 ท่านให้ประชาชนพักอาศัย ไอ้เรื่องแบบนี้ไม่มีทางเป็นไปได้หรอก”
สำหรับคุณลุงประเสริฐ เลิศธนพงศ์ ประธานชุมชนแพร่งภูธร พูดด้วยความหนักใจว่า คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้เรื่องโครงการนี้เท่าไหร่นัก หรือถ้ารู้ก็ทำเหมือนไม่รู้ ไม่เชื่อ ไม่เดือดร้อน หากโดนยกเลิกสัญญาจริงก็ไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร
และหากโครงการฌอง เอลิเซ่เป็นจริง คุณลุงให้ความเห็นว่า “เมืองที่น่าอยู่ไม่ใช่เมืองที่น่าค้าขาย ถ้ากลายเป็นย่านธุรกิจมันก็ไม่ใช่ย่านพักอาศัย เพราะมันจะไม่มีใครรักใครดูแล เจ้าของจะคิดแต่กอบโกยอย่างเดียว อย่างในข้าวสารจะเห็นได้ว่ามันมีปัญหาเยอะ ราชการเองก็รู้ว่ามี แต่ไม่มีคนจะจัดการ คนที่ซวยก็คือประชาชนนั่นเอง”
เสียงสะท้อนของการท่องเที่ยว
ด้านหนึ่งของซอยรามบุตรี ย่านที่พลุ่กพล่านไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เหล่าเจ้าของร้านค้าต่างกำลังตั้งหน้าตั้งตานั่งคอยลูกค้าอย่างใจจดจ่อ ผู้ประกอบการหลายรายบอกกับเราว่าช่วงนี้การค้าขายค่อนข้างเงียบ อาจเป็นเพราะอยู่ในช่วงโลว์ซีซั่น
“ตั้งแต่สึนามิมันก็เงียบ คนที่เคยมาเขาก็ตาย ไม่ตายก็คงกลัว ระเบิดก็มี แล้วฝรั่งที่เข้ามาก็ใช่ว่าจะใช้เงินกันง่ายๆ เขาก็งกน่าดู ต่อจาก 150 ขอเหลือ 50 แบบนี้เราก็แย่ ถ้าถามว่ารวยไหม ก็ไม่มาก ถ้านับในบ้านเขาก็คงไม่รวย แต่มาบ้านเราเขาก็มีเงิน แต่ถ้าเลือกแพงมากๆ เขาก็คงไม่เอาเหมือนกัน” นางมลจญา พรมเทศ ผู้เช่าร้านสำรับทอง ร้านเสื้อผ้าและเครื่องไม้กล่าว
“มันก็เงียบนะ อาจจะเป็นช่วงโลว์ซีซั่น ก็นั่งเรื่อยๆ กับลูกน้องอีกสามสี่คน” เจ้าของร้านทำผมแห่งหนึ่งในซอยรามบุตรีกล่าว
สำหรับโครงการดังกล่าว อาจารย์ปฐมฤกษ์ เกตุทัต อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งคำถามกับโครงการการท่องเที่ยวได้อย่างน่าสนใจว่า “งบตรงนี้ แค่โครงการถนนราชดำเนินฯ ก็หกพันกว่าล้านบาท ไม่นับรวมแผนอนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ฯ ที่ใช้ภาษีอากรไปหมื่นห้าพันล้านบาท คำถามคือ จะคืนเมื่อไหร่? แล้วนักท่องเที่ยวของเราคือใคร? แบกแพกเกอร์ นักเรียนที่เก็บเงินเที่ยวจากญี่ปุ่น แล้วคนพวกนี้จ่ายเท่าไหร่ต่อทริป แล้วเราลงทุนกับการท่องเที่ยวเท่าไหร่ต่อปี ผมไม่รู้ว่าเราพึ่งการท่องเที่ยวได้แค่ไหน? ปัจจุบันการทำมาหากินไม่ต้องพูดกันแล้ว หลอกเงินฝรั่งกินดีกว่า เด็กรุ่นต่อไปถ้าหลอกฝรั่งไม่เป็นคงอยู่ไม่ได้”
อ.ปฐมฤกษ์พูดถึงในอนาคตว่าอันใกล้ว่าโครงการอนุรักษ์เมืองเก่าแบบนี้จะมีทั่วประเทศไทย โดยตอนนี้คณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่าได้ลงพื้นที่ 10 จังหวัดนำร่องเที่ยวประเทศ
...ฉะนั้นเรื่องดังกล่าวจึงไม่ใช่แค่เรื่องของคนเกาะรัตนโกสินทร์ ไม่ใช่แค่เรื่องของคนกรุงเทพฯ หากว่าเป็นเรื่องของคนทั้งประเทศ...