“หมอสุชัย” ชี้เชื้อไข้เลือดออกคร่าชีวิต “น้องภูมิ” ไม่ใช่สายพันธุ์ใหม่ ประชาชนอย่าตื่นตกใจ สั่ง “มิสเตอร์ไข้เลือดออก” ทุกจังหวัดควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเต็มที่
น.พ.สุชัย เจริญรัตน์กุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการเสียชีวิตของ ด.ช.ภูมิภัทร ผลสมบูรณ์โชค ด้วยโรคไข้เลือดออกว่า เมื่อคืน (11 พ.ค.) ตนได้รับรายงานจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดีว่า ได้ทำหน้าที่อย่างสุดความสามารถแล้ว ซึ่งเชื่อว่าสาเหตุการเสียชีวิตเนื่องจากเชื้อไวรัสกระจายเข้าไปยังอวัยวะต่างๆ เช่น มีเลือดออกที่ปอด
อย่างไรก็ตาม จะมีการศึกษาหาสาเหตุเพิ่มเติมต่อไป และกระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการในการควบคุมเรื่องนี้อย่างเต็มที่ โดยให้สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ยังได้แนะนำประชาชน หากพบว่ามีอาการผิดปกติก็ให้เดินทางมาพบแพทย์โดยเร็ว
“โรคไข้เลือดออกไม่ใช่โรคใหม่ แต่ต้องมีมาตรการในการควบคุมเรื่องยุงลาย ซึ่งมาตรการที่สำคัญมีอยู่ 3 เรื่อง คือ 1.ต้องมีการขจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง 2.ต้องให้ความรู้กับประชาชน 3. ต้องศึกษาวิจัยในเรื่องวัคซีน ซึ่งขณะนี้ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรและจะเร่งดำเนินการให้เป็นรูปธรรม”
น.พ.สุชัย กล่าวว่า นอกจากรายของน้องภูมิแล้วยังไม่พบผู้ติดเชื้อที่น่าเป็นห่วง แต่อุบัติการณ์เรื่องไข้เลือดออกในแต่ละปีก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นสลับกันไป และปีนี้ก็มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกมากกว่าปีที่แล้ว ส่วนพื้นที่ที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือ จังหวัดระยอง สระแก้ว ศรีสะเกษ แต่ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก มั่นใจว่าจะสามารถควบคุมได้ในระยะเวลาอันสั้น และเราได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ลงไปดูแล มอบหมายให้แพทย์และสาธารณสุขจังหวัดรับผิดชอบวางแผนในเรื่องการป้องกันรักษาเรียบร้อยแล้ว โดยมีผู้รับผิดชอบโดยตรง หรือที่เรียกว่า “มิสเตอร์ไข้เลือดออก” ซึ่งเคยทำกับโรคไข้หวัดนกได้ผลมาแล้ว ในขณะนี้ยังไม่พบว่ามีไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่ และสาเหตุที่มีการระบาดของโรคไข้เลือกออก ส่วนหนึ่งเกิดจากแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในเมืองไทยที่ยังมีอยู่จำนวนมาก
ครั้นถามว่าในช่วงใกล้ฤดูฝน โอกาสของเชื้อจะมีการพัฒนารุนแรงขึ้นมีมากน้อยแค่ไหน น.พ.สุชัย กล่าวว่า เราไม่ได้นิ่งนอนใจ กำลังเฝ้าระวังอยู่ และได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทำการตรวจสอบสายพันธุ์ว่ามีเพิ่มขึ้นมาใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงอะไรหรือไม่ สำหรับวิธีการในการวินิจฉัยเชื้อไข้เลือดออกต้องอาศัยกระบวนการทางคลินิก คืออาการที่แสดงและผลเลือด ซึ่งแพทย์จบใหม่หรือแพทย์ที่มีประสบการณ์ก็รู้จักโรคนี้ดี ไม่ต้องห่วง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
***สธ.เปิดสายด่วน "ไข้เลือดออก" 24 ชม.ประชาชนวิตกกระหน่ำโทรจนสายไม่ว่าง
***"น้องภูมิ"เหยื่อไข้เลือดออกเสียชีวิตแล้ว
***ไข้เลือดออก ภัยร้ายที่กำลังรุนแรง
***จับตา 10 จังหวัด หวั่นโรคไข้เลือดออกระบาดรุนแรง
น.พ.สุชัย เจริญรัตน์กุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการเสียชีวิตของ ด.ช.ภูมิภัทร ผลสมบูรณ์โชค ด้วยโรคไข้เลือดออกว่า เมื่อคืน (11 พ.ค.) ตนได้รับรายงานจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดีว่า ได้ทำหน้าที่อย่างสุดความสามารถแล้ว ซึ่งเชื่อว่าสาเหตุการเสียชีวิตเนื่องจากเชื้อไวรัสกระจายเข้าไปยังอวัยวะต่างๆ เช่น มีเลือดออกที่ปอด
อย่างไรก็ตาม จะมีการศึกษาหาสาเหตุเพิ่มเติมต่อไป และกระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการในการควบคุมเรื่องนี้อย่างเต็มที่ โดยให้สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ยังได้แนะนำประชาชน หากพบว่ามีอาการผิดปกติก็ให้เดินทางมาพบแพทย์โดยเร็ว
“โรคไข้เลือดออกไม่ใช่โรคใหม่ แต่ต้องมีมาตรการในการควบคุมเรื่องยุงลาย ซึ่งมาตรการที่สำคัญมีอยู่ 3 เรื่อง คือ 1.ต้องมีการขจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง 2.ต้องให้ความรู้กับประชาชน 3. ต้องศึกษาวิจัยในเรื่องวัคซีน ซึ่งขณะนี้ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรและจะเร่งดำเนินการให้เป็นรูปธรรม”
น.พ.สุชัย กล่าวว่า นอกจากรายของน้องภูมิแล้วยังไม่พบผู้ติดเชื้อที่น่าเป็นห่วง แต่อุบัติการณ์เรื่องไข้เลือดออกในแต่ละปีก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นสลับกันไป และปีนี้ก็มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกมากกว่าปีที่แล้ว ส่วนพื้นที่ที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือ จังหวัดระยอง สระแก้ว ศรีสะเกษ แต่ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก มั่นใจว่าจะสามารถควบคุมได้ในระยะเวลาอันสั้น และเราได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ลงไปดูแล มอบหมายให้แพทย์และสาธารณสุขจังหวัดรับผิดชอบวางแผนในเรื่องการป้องกันรักษาเรียบร้อยแล้ว โดยมีผู้รับผิดชอบโดยตรง หรือที่เรียกว่า “มิสเตอร์ไข้เลือดออก” ซึ่งเคยทำกับโรคไข้หวัดนกได้ผลมาแล้ว ในขณะนี้ยังไม่พบว่ามีไข้เลือดออกสายพันธุ์ใหม่ และสาเหตุที่มีการระบาดของโรคไข้เลือกออก ส่วนหนึ่งเกิดจากแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในเมืองไทยที่ยังมีอยู่จำนวนมาก
ครั้นถามว่าในช่วงใกล้ฤดูฝน โอกาสของเชื้อจะมีการพัฒนารุนแรงขึ้นมีมากน้อยแค่ไหน น.พ.สุชัย กล่าวว่า เราไม่ได้นิ่งนอนใจ กำลังเฝ้าระวังอยู่ และได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทำการตรวจสอบสายพันธุ์ว่ามีเพิ่มขึ้นมาใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงอะไรหรือไม่ สำหรับวิธีการในการวินิจฉัยเชื้อไข้เลือดออกต้องอาศัยกระบวนการทางคลินิก คืออาการที่แสดงและผลเลือด ซึ่งแพทย์จบใหม่หรือแพทย์ที่มีประสบการณ์ก็รู้จักโรคนี้ดี ไม่ต้องห่วง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
***สธ.เปิดสายด่วน "ไข้เลือดออก" 24 ชม.ประชาชนวิตกกระหน่ำโทรจนสายไม่ว่าง
***"น้องภูมิ"เหยื่อไข้เลือดออกเสียชีวิตแล้ว
***ไข้เลือดออก ภัยร้ายที่กำลังรุนแรง
***จับตา 10 จังหวัด หวั่นโรคไข้เลือดออกระบาดรุนแรง