กรมพัฒนาที่ดินเตรียมจัดทำแผนเตือนภัยดินถล่มแก่เกษตรกรรับช่วงหน้าฝน ปรับปรุงแผนที่เสี่ยงการเกิดดินถล่ม คาดจะแล้วเสร็จในช่วงปลายเดือนนี้ เน้นแบ่งพื้นที่ตามสภาพลุ่มน้ำ 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ ลงทดสอบในระดับพื้นที่พบมีความถูกต้องแม่นยำไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

นายอรรถ สมร่าง อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมพัฒนาที่ดินได้เตรียมจัดทำแผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มฉบับใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแจ้งเตือนภัยให้แก่เกษตรกรได้มีประสิทธิภาพ ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น และทันกับฤดูฝนปีนี้ที่มาเร็วกว่าปกติและยังมีแนวโน้มว่าปริมาณน้ำฝนจะมากกว่าทุกปี ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการไหลของหน้าดินและเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มได้ง่าย
ด้านนายไพฑูรย์ คดีธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพัฒนาเพื่อป้องกันการเป็นทะเลทรายและการเตือนภัย กล่าวว่า แผนที่ฉบับดังกล่าวจะปรับปรุงโดยจัดแบ่งพื้นที่ตามสภาพลุ่มน้ำทั้ง 25 ลุ่มน้ำทั่วทั้งประเทศ จากเดิมที่มีการแบ่งตามลักษณะของพื้นที่ เนื่องจากเห็นว่าพื้นที่ในแต่ละลุ่มน้ำจะมีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน ประกอบกับความละเอียดของแผนที่เดิมมีน้อย ขาดข้อมูลเส้นชั้นความสูงซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญ
โดยแผนที่ที่จัดทำขึ้นใหม่นี้ หากในพื้นที่ใดเกิดฝนตกหนัก จะสามารถบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินในด้านการอุ้มน้ำ และการไหลของหน้าดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้การแจ้งภัยมีความแม่นยำ ถูกต้องมากขึ้น
เบื้องต้นทางสถาบันฯ ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบประสิทธิภาพของแผนที่ดังกล่าวในระดับพื้นที่แล้ว ได้แก่ ในพื้นที่กลุ่มน้ำก้อ น้ำชุน จ.เพชรบูรณ์ บ้านกะทูน อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช ต.แม่สะลอย อ.วังชิ้น จ.แพร่ และ อ.แม่ระมาด จ.ตาก ซึ่งจากผลการทดสอบพบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยมีระดับความถูกต้องแม่นยำไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
นายไพฑูรย์ กล่าวอีกว่า การจัดทำแผนที่เตือนภัยฉบับใหม่น่าจะแล้วเสร็จประมาณปลายเดือนนี้ แล้วจึงจะสามารถประกาศรายชื่อหมู่บ้านที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มได้ ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ กรมฯ จะประกาศลงในเว็บไซต์ของกรมฯ http://www.ldd.go.th โดยจะมีประกาศแจ้งเตือนและปรับปรุงข้อมูลทุก ๆ สัปดาห์
ส่วนในระดับพื้นที่หลังจากมีการวิเคราะห์ข้อมูลและพบว่าพื้นที่หรือหมู่บ้านใดเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดดินถล่ม จะจัดทำแผ่นป้ายสีติดในแต่ละหมู่บ้าน โดยแบ่งเป็นแผ่นป้ายสีแดง สำหรับพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มสูง สีเหลืองเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มปานกลาง เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนในแต่ละหมู่บ้านได้เพิ่มความระมัดระวัง และเตรียมพร้อมอยู่เสมอหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง
นายอรรถ สมร่าง อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมพัฒนาที่ดินได้เตรียมจัดทำแผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มฉบับใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแจ้งเตือนภัยให้แก่เกษตรกรได้มีประสิทธิภาพ ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น และทันกับฤดูฝนปีนี้ที่มาเร็วกว่าปกติและยังมีแนวโน้มว่าปริมาณน้ำฝนจะมากกว่าทุกปี ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการไหลของหน้าดินและเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มได้ง่าย
ด้านนายไพฑูรย์ คดีธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพัฒนาเพื่อป้องกันการเป็นทะเลทรายและการเตือนภัย กล่าวว่า แผนที่ฉบับดังกล่าวจะปรับปรุงโดยจัดแบ่งพื้นที่ตามสภาพลุ่มน้ำทั้ง 25 ลุ่มน้ำทั่วทั้งประเทศ จากเดิมที่มีการแบ่งตามลักษณะของพื้นที่ เนื่องจากเห็นว่าพื้นที่ในแต่ละลุ่มน้ำจะมีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน ประกอบกับความละเอียดของแผนที่เดิมมีน้อย ขาดข้อมูลเส้นชั้นความสูงซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญ
โดยแผนที่ที่จัดทำขึ้นใหม่นี้ หากในพื้นที่ใดเกิดฝนตกหนัก จะสามารถบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินในด้านการอุ้มน้ำ และการไหลของหน้าดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้การแจ้งภัยมีความแม่นยำ ถูกต้องมากขึ้น
เบื้องต้นทางสถาบันฯ ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบประสิทธิภาพของแผนที่ดังกล่าวในระดับพื้นที่แล้ว ได้แก่ ในพื้นที่กลุ่มน้ำก้อ น้ำชุน จ.เพชรบูรณ์ บ้านกะทูน อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช ต.แม่สะลอย อ.วังชิ้น จ.แพร่ และ อ.แม่ระมาด จ.ตาก ซึ่งจากผลการทดสอบพบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยมีระดับความถูกต้องแม่นยำไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
นายไพฑูรย์ กล่าวอีกว่า การจัดทำแผนที่เตือนภัยฉบับใหม่น่าจะแล้วเสร็จประมาณปลายเดือนนี้ แล้วจึงจะสามารถประกาศรายชื่อหมู่บ้านที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มได้ ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ กรมฯ จะประกาศลงในเว็บไซต์ของกรมฯ http://www.ldd.go.th โดยจะมีประกาศแจ้งเตือนและปรับปรุงข้อมูลทุก ๆ สัปดาห์
ส่วนในระดับพื้นที่หลังจากมีการวิเคราะห์ข้อมูลและพบว่าพื้นที่หรือหมู่บ้านใดเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดดินถล่ม จะจัดทำแผ่นป้ายสีติดในแต่ละหมู่บ้าน โดยแบ่งเป็นแผ่นป้ายสีแดง สำหรับพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มสูง สีเหลืองเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มปานกลาง เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนในแต่ละหมู่บ้านได้เพิ่มความระมัดระวัง และเตรียมพร้อมอยู่เสมอหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง