วานนี้ (9 พ.ค.) เวลา 18.09 น. ที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานจุดเทียนนวหรคุณ และกวนข้าวทิพย์กระทะใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ซึ่ง กทม.ร่วมกับหลายหน่วยงาน จัดขึ้นเป็นกิจกรรมหนึ่งในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาส่วนกลาง เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชาประจำปี 2548 ระหว่างวันที่ 16-22 พฤษภาคมนี้
นอกจากนี้ คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน ปลัด กทม. ได้เป็นประธานพิธีนำสาวพรหมจารีขูดมะพร้าวคั้นกะทิ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการกวนข้าวทิพย์ ซึ่งถือกันว่าเป็นอาหารที่มีรสอร่อย คล้ายอาหารทิพย์ของเทวดา ตามศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กล่าวถึงชาวรามัญ หุงข้าวทิพย์ บูชาเทวดา ผู้มีฤทธิ์ 5 องค์ แต่คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไม่ได้กล่าวถึงการกวนข้าวทิพย์เอาไว้ มีแต่การหุงข้าวมธุปายาส ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเมื่อมาเป็นพิธีของไทย
พิธีกวนข้าวทิพย์ตามประวัติศาสตร์ ประกอบพิธีกวนกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับการปรับเปลี่ยนแก้ไขสิ่งของที่ใช้ในการกวนมาหลายครั้ง จนล่าสุดสมัยรัชกาลที่ 4 ก็มีสิ่งของที่ใช้ในการกวนกว่า 60 ชนิด อาทิ ถั่วงา ลูกเดือย สาคู ข้าวฟ่าง ข้าวเม่า เผือก มัน ผลไม้นานาชนิดและเนยนม เป็นต้น
สำหรับวันนี้ (10 พ.ค.) เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม จะนำข้าวทิพย์ที่กวนแล้วลงสู่ภาชนะ เพื่อนำไปห่อและประกอบพิธีมังคลาภิเษกที่พระวิหารวัดอรุณฯ จากนั้นวันที่ 12-15 พฤษภาคม มีพิธีอธิษฐานจิตเริ่มห่อข้าวทิพย์ตามโบราณพิธี โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จฯ ทรงสุหร่ายข้าวทิพย์ หน้ามณฑปพระบรมสารีริกธาตุ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในวันที่ 16 พ.ค.นี้ จากนั้นคณะกรรมการจัดงานจะทูลเกล้าฯ ถวายข้าวทิพย์ และเปิดจำหน่ายแก่ประชาชนต่อไป
นอกจากนี้ คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน ปลัด กทม. ได้เป็นประธานพิธีนำสาวพรหมจารีขูดมะพร้าวคั้นกะทิ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการกวนข้าวทิพย์ ซึ่งถือกันว่าเป็นอาหารที่มีรสอร่อย คล้ายอาหารทิพย์ของเทวดา ตามศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กล่าวถึงชาวรามัญ หุงข้าวทิพย์ บูชาเทวดา ผู้มีฤทธิ์ 5 องค์ แต่คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไม่ได้กล่าวถึงการกวนข้าวทิพย์เอาไว้ มีแต่การหุงข้าวมธุปายาส ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเมื่อมาเป็นพิธีของไทย
พิธีกวนข้าวทิพย์ตามประวัติศาสตร์ ประกอบพิธีกวนกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับการปรับเปลี่ยนแก้ไขสิ่งของที่ใช้ในการกวนมาหลายครั้ง จนล่าสุดสมัยรัชกาลที่ 4 ก็มีสิ่งของที่ใช้ในการกวนกว่า 60 ชนิด อาทิ ถั่วงา ลูกเดือย สาคู ข้าวฟ่าง ข้าวเม่า เผือก มัน ผลไม้นานาชนิดและเนยนม เป็นต้น
สำหรับวันนี้ (10 พ.ค.) เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม จะนำข้าวทิพย์ที่กวนแล้วลงสู่ภาชนะ เพื่อนำไปห่อและประกอบพิธีมังคลาภิเษกที่พระวิหารวัดอรุณฯ จากนั้นวันที่ 12-15 พฤษภาคม มีพิธีอธิษฐานจิตเริ่มห่อข้าวทิพย์ตามโบราณพิธี โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จฯ ทรงสุหร่ายข้าวทิพย์ หน้ามณฑปพระบรมสารีริกธาตุ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในวันที่ 16 พ.ค.นี้ จากนั้นคณะกรรมการจัดงานจะทูลเกล้าฯ ถวายข้าวทิพย์ และเปิดจำหน่ายแก่ประชาชนต่อไป